องค์ประกอบที่ 3: ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 ความคาดหวัง (ความคาดหวังของลูกค้า)

องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษาและผู้รับบริการ

ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 ความคาดหวัง (ความคาดหวังของลูกค้า)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน2 คะแนน3 คะแนน4 คะแนน5 คะแนน
1 ข้อ2 ข้อ3 ข้อ4-5 ข้อ6 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน EdPEx ประเมินภาพรวมประเด็น 1-4 ประเมิน 40 คะแนน ประเมินแบบ ADLI

ผลการดำเนินการ

1 การรับฟังผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น(ผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่นที่มีอยู่ในปัจจุบัน) คณบดีมีวิธีการอย่างไรในการรับฟัง ปฏิสัมพันธ์ และสังเกตผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่นเพื่อให้ได้มาซึ่งสารสนเทศที่สามารถนำไปใช้ได้

2 การรับฟังผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น(ผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่นที่พึงมี) คณบดีมีวิธีการอย่างไรในการรับฟังผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่นที่พึงมีเพื่อให้ได้สารสนเทศที่นำไปใช้ได้

3 การจำแนกกลุ่มผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น และการกำหนดการจัดการศึกษา วิจัย และบริการวิชาการ(การจำแนกกลุ่มผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่นและการกำหนดการตามพันธกิจ) คณะมีวิธีการอย่างไรในการกำหนดกลุ่มผู้เรียน ลูกค้ากลุ่มอื่น และส่วนแบ่งการตลาด

4 การจำแนกกลุ่มผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น และการกำหนดการจัดการศึกษา วิจัย และบริการวิชาการ(การจัดการศึกษา วิจัย และบริการวิชาการ) คณะมีวิธีการอย่างไร

การดำเนินงานข้อ 1-4

          การดำเนินการ

          แนวทาวการดำเนินงาน : คณะฯ ได้จำแนกกลุ่มผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น ตามพันธกิจ และออกแบบระบบรับฟังเสียงของผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น และทำข้อมูลมาเป็นสารสนเทศที่นำไปใช้ประโยชน์ ในการดำเนินงานตามพันธกิจการจัดการเรียนการสอน การวิจัย และการบริการวิชาการ โดยมีระบบการรับฟังผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่น 4 ขั้นตอนดังนี้

          1) การกำหนดวัตถุประสงค์ของการรับฟัง ครอบคลุมความคาดหวัง ความพึงพอใจ ความไม่พึงพอใจ ความผูกพันธ์กับองค์กร (ทัศนคติต่อองค์กร) ข้อเสนอแนะข้อร้องเรียนต่างๆ  ตามพันธกิจหลักที่สำคัญ 3 พันธกิจ คือ การเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการ

          2) นำข้อมูลมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ให้เป็นสารสนเทศ เพื่อใช้เป็นปัจจัยนำเข้าของการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตร วิธีการจัดการเรียนการสอน การบริการวิชาการสังคม

          3) จัดทำโครงการหรือแนวปฏิบัติ เพื่อการพัฒนาตามความคาดหวังของผู้เรียน และกลุ่มลูกค้าอื่น

          4) ประเมินผลกระบวนการหลัก คือ การเรียนการสอน การวิจัย การบริการวิชาการสังคม มาทบทวนประสิทธิภาพของผลงาน และปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ตอบสนองความต้องคาดหวังของลูกค้า

          การนำสู่การปฏิบัติ : คณะฯ มีรูปแบบการรับฟังเสียงของผู้เรียนและลูกค้ากลุ่มอื่นที่หลากหลาย ทั้งรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ รูปแบบที่ไม่เป็นทางการ เช่น การพูดคุยกับผู้เรียนในระหว่างการเรียนและการฝึกปฏิบัติ การพบอาจารย์ที่ปรึกษา เป้นต้น รูปแบบที่เป็นทางการ การประเมินโดยใช้แบบสอบถามการรับฟังความคิดเห็นของผู้เรียน หรือหลังเสร็จสิ้นการเรียนการสอนในแต่ละภาควิชา ประเมินรับฟังความคิดเห็นผู้เรียน เกี่ยวกับหลักสูตร ระบบการบริการนักศึกษาปริญญาตรี เป็นต้น โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

พันธกิจ

กลุ่มที่รับฟัง

วิธีการรับฟัง

สารสนเทศที่ต้องการ

ความถี่

การนำไปใช้ประโยชน์

ผู้รับผิดชอบ

การผลิตบัณฑิต

นักศึกษา

ศิษย์เก่า

ผู้ใช้บัณฑิต

ผู้เรียนในอนาคต

– แบบสอบถาม

– สนทนากลุ่ม

– ประชุมชั้นปี

– คุณภาพการจัดการเรียนการสอน

– คุณภาพของหลักสูตร

– หลังจบการเรียนทุกรายวิชา

– หลักจบการศึกษาครบหลักสูตร

– ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน

– พัฒนาหลักสูตร

อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา

คณะกรรมการบริหารหลักสูตร

แบบสอบถามประจำกลุ่ม

– คุณภาพของการพัฒนานักศึกษา (ความพึงพอใจ/ไม่พึงพอใจ)

– คุณภาพระบบบริการนักศึกษา(ความพึงพอใจ/ไม่พึงพอใจ)

หลังร่วมโครงการ

ปีละครั้ง

ปรับปรุงโครงการ/กิจกรรมพัฒนานักศึกษา

– ปรับปรุงระบบบริการนักศึกษา

คณะกรรมการกิจการนักศึกษา

– แบบสอบถาม

– แบบสอบถาม

– การสัมภาษณ์ผู้ใช้บัณฑิต

– แบบสอบถาม

– สอบถามในการเข้าไปแนะแนว

– ความต้องการและการพัฒนาวิชาชีพ

– ปีละ 1 ครั้ง

– ปรับปรุงการจัดโครงการพัฒนาวิชาการและวิชาชีพให้กับศิษย์เก่า

คณะกรรมการกิจการนักศึกษา

– คุณภาพบัณฑิต(ความพึงพอใจ/ไม่พึงพอใจ)

– คุณลักษณะบัณฑิตที่ผู้ใช้บัณฑิตคาดหวัง

– ทุกปี

– ตามรอบของการปรับปรุงหลักสูตร

– ปรับปรุงการจัดการรเรียนการสอน

– ปรับปรุงหลักสูตร

คณะกรรมการบริหารหลักสูตร

– การตัดสินใจเลือกเรียนในหลักสูตร

– ความคาดหวังต่อการเรียนในหลักสูตร

– ก่อนเปิดการศึกษา

– เพื่อพัฒนากลยุทธ์ด้านการตลาดในการสรรหาลูกค้า

ฝ่ายการตลาดของวิทยาลัย

งานวิจัย

อาจารย์

– ประชุมกรรมการ

– แบบสอบถาม

– ความต้องการในการพัฒนาศักยภาพด้านการผลิตผลงานวิจัยวิชาการ/นวัตกรรม

– 1 ครั้งต้นปีการศึกษา

– การพัฒนาศักยภาพนวัตกรรม

คณะกรรมการวิจับและพัฒนาองค์ความรู้

คณะกรรมการพัฒนาบุคลากร

บริการวิชาการ

นักศึกษา

– แบบสอบถาม

– ประชุมกลุ่ม

– ผลการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับบริชาการวิชาการ

– หลังเสร็จสิ้นโครงการ

– การพัฒนาการเรียนการสอนและการส่งเสริมทักษะนักศึกษา โดยใช้ชุมชนเป็นฐานการเรียนรู้

ผู้รับผิดชอบโครงการ

ผู้รับบริการ/ประชาชนที่มีส่วนร่วมในโครงการ

– การประเมินสุขภาพของชุมชน

– แบบสอบถาม

– ความต้องการการพัฒนาความสามารถในการดูแลตนเอง

– คุณภาพการบริการ (ความพึงพอใจ/ไม่พึงพอใจ)

– หลังเสร็จสิ้นโครงการ

– พัฒนาการทำโครงการในปีถัดไป

ผู้รับผิดชอบโครงการ

ผู้เข้าอบรมในหลักสูตรระยะสั้น

– แบบสอบถาม

– คุณภาพของหลักสูตร (ความพึงพอใจ/ไม่พึงพอใจในหลักสูตรและการจัดการอบรม)

– หลังเสร็จสิ้นการอบรม

– นำไปพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในรุ่นต่อไป

ผู้รับผิดชอบโครงการ

          การเรียนรู้ : ข้อมูลที่ได้รับจากวิธีการรับฟังผู้เรียน จะถูกแปลงเป็นสารสนเทศ และนำเข้าไปหารือในการประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตร และคณะกรรมการประจำคณะ เพื่อพิจารณาตอบสนองในส่วนที่เห็นว่าเหมาะสมและสามารถปฏิบัติได้

          การบูรณาการ : การพัฒนาจากการรับฟังเสียงของลูกค้าและความคาดหวังของลูกค้า และการพัฒนากระบวนการดำเนินงาน มีผลลัพธ์ที่ดีอย่างต่อเนื่อง และในปี 2565 ผลการประเมินการรับรองสถาบันการศึกษาพยาบาล ได้รับรองเป็นระยะเวลาสูงสุดคือ 5 ปี (NS 3.1.1-01 ถึง NS 3.1.1-03)

5 พัฒนาผู้เรียนให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาในระดับชาติและนานาชาติ

          การดำเนินการ : คณะมีระบบการพัฒนาผู้เรียนให้สอดคล้องกับพันธกิจระดับชาติ โดยมีขั้นตอนดังนี้

                     1) จัดทำหลักสูตรปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ ตามข้อบังคับของสภาพยาบาล ว่าด้วยการเห็นชอบหลักสูตรการศึกษาวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2563 และเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2565 และรายละเอียดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565

                     2) การจัดทำแผนการศึกษาตลอดหลักสูตร

                     3) ออกแบบการจัดการเรียนการสอน การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ ทุกรายวิชา

                    4) จัดการเรียนการสอนตามแผนการจัดการศึกษา และการออกแบบการสอน

                     5) ทวนสอบผลการจัดการเรียนการสอน การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ทุกรายวิชา ตามที่ระบุไว้ในหลักสูตร และกำหนดแนวทางการพัฒนาในการจัดการเรียนการสอนในปีถัดไป

                     6) ประเมินสมรรถนะผู้เรียนทุกชั้นปี ทุกปีการศึกษา

          คณะฯ ได้นำเกณฑ์คุณภาพต่างๆ เช่น IQA, AUNQA, EdPEX เกณฑ์รับรองสถาบันการศึกษาพยาบาล เป็นแนวทางในการกำกับและประเมินคุณภาพ การบริหารหลักสูตรและการพัฒนาองค์กร

          บัณฑิตสาขาพยาบาลศาสตร์ สามารถทำงานในใบอาชีพการพยาบาล หรือการศึกษาต่อระดับปริญญาโท สาขาการพยาบาลในต่างประเทศได้  (NS3.1.5-01)

6 บริหารหลักสูตรให้เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา

          การดำเนินการ : คณะได้บริหารหลักสูตรปีการศึกษา 2565 โดยผู้รับผิดชอบหลักสูตรเป็นผู้ควบคุม กำกับ การบริหารหลักสูตร ผลการดำเนินงานบรรลุเป้าหมายตัวชี้วัดของหลักสูตร ในการจัดการเรียนที่การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ สอดคล้องกับมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ผลการดำเนินงานปีการศึกษา 2565 4 ด้าน คือ 1) ด้านความรู้ 2) ด้านทักษะ 3) ด้านจริยธรรม 4) ด้านลักษณะบุคคล และมีการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ทุกชั้นปี และมีการพัฒนาหลักสูตรทุก 5 ปี ตามเกณฑ์มาตรฐาน

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

6 ข้อ 

IQA (1-6)

1,2,3,4,5,6

6 ข้อ

5 คะแนน

EdPEx (1-4)

1,2,3,4

ร้อยละ 50 (40 คะแนน)

20 คะแนน

รายการหลักฐาน

รหัสหลักฐาน

รายการ

NS 3.1.1-01

คู่มือระบบการฟังเสียงของลูกค้า และลูกค้ากลุ่มอื่น

NS 3.1.1-02

ผลการประเมินความพึงพอใจในหลักสูตร ปี 2563, 2564, 2565

NS 3.1.1-03

หนังสือรับรองสถาบันการศึกษาพยาบาล

NS 3.1.5-01

ผลการประเมินผู้ใช้บัณฑิต ปี 2565

NS 3.1.6-01

คู่มือการบริหารหลักสูตร

NS 3.1.6-02

ผลการประเมินสมรรถนะรายชั้นปีตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ปี 2565