องค์ประกอบที่ 2: ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 การบริหารกลยุทธ์ (การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ)

องค์ประกอบที่ 2 กลยุทธ์และการบริหาร

ตัวบ่งชี้ที่ 2.2 การบริหารกลยุทธ์ (การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน2 คะแนน3 คะแนน4 คะแนน5 คะแนน
1 ข้อ2 ข้อ3-4 ข้อ5-6 ข้อ7-9 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน EdPEx ประเมินภาพรวมประเด็น 1-7 ประเมิน 40 คะแนน ประเมินแบบ ADLI

ผลการดำเนินการ

1 การจัดทำแผนปฏิบัติการและการถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ(แผนปฏิบัติการ) –แผนปฏิบัติการที่สำคัญทั้งระยะสั้นและระยะยาวของคณะมีอะไรบ้าง

          การดำเนินการ : คณะฯ จัดทำแบบปฏิบัติการประจำปี โดยแผนกลยุทธ์ 5 ปี (2563-2567) และเป้าหมายตัวชี้วัดกลยุทธ์ มาดำเนินการวางแผนการปฏิบัติงาน ตามพันธกิจของคณะฯ แบ่งออกเป็นแผนปฏิบัติงานรวม 6 แผน ในการจัดทำแผน คณะฯ ได้ทำวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ มากำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของแผนงานตามพันธกิจ มีการกำหนดระยะเวลาในการดำเนินงาน งบประมาณ และผู้รับผิดชอบโครงการ คณะฯ เป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรงกับวิทยาลัยจึงมีการวางแผนระยะยาว 5 ปี แผนกลยุทธ์ตามยุทธศาสตร์ของวิทยาลัย แผนระยะสั้นใช้แผนปฏิบัติงานประจำปี โดยนำแผนกลยุทธ์ 5 ปี มาวางแผนปฏิบัติ รวมทั้งเพิ่มเติมการดำเนินงานตามนโยบายของวิทยาลัย

          การถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ : คณะฯ มีการถ่ายทอดแผนปฏิบัติประจำปีสู่การปฏิบัติผ่านรองคณบดี/คณะกรรมการชุดต่างๆ 3 ระดับดังนี้

  1. ถ่ายทอดแผนสู่การปฏิบัติ ระดับคณะตามพันธกิจ โดยมอบหมายรองคณบดีในแต่ละส่วนงานควบคุมกำกับการนำแผนสู่การปฏิบัติ
  2. ถ่ายทอดแผนสู่การปฏิบัติ ระดับภาควิชา โดยหัวหน้าภาควิชาแต่ละสาขาวิชา จะนำแผนปฏิบัติการประจำปีระดับคณะ ถ่ายทอดเป็นแผนปฏิบัติประจำปีระดับภาควิชา
  3. ถ่ายทอดแผนสู่คณะกรรมการชุดต่างๆ

          การนำแผนสู่การปฏิบัติโดยผู้รับผิดชอบโครงการ 1) เขียนโครงการเพื่ออนุมติจัดโครงการ และงบประมาณผ่านคณบดี และเสนอผู้บริหารวิทยาลัยเพื่ออนุมติจัดโครงการและงบประมาณ 2) ผู้รับผิดชอบโครงการ ประชุม วางแผนการจัดทำกิจกรรมตามโครงการ ซึ่งอาจมีอาจารย์และเจ้าหน้าที่เป็นผู้ร่วมดำเนินงาน 3) ดำเนินการตามเวลาที่กำหนดในแผน 4) ประเมินผลโครงการ จัดทำรายงานสรุปผลความสำเร็จของโครงการ 5) สรุปรายงานค่าใช้จ่ายพร้อมหลักฐานการเบิกจ่ายให้กับผ่ายบัญชีวิทยาลัย

          การเรียนรู้ : คณบดีมอบหมายให้ งานนโยบายและแผน รวบรวมผบการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติ และรายงานต่อคณะกรรมการบริหารในรอบ 6 เดือนและ 12 เดือน

          การบูรณาการ : การเชื่อมโยง แผนปฏิบัติงานประจำปีของคณะวิชา ถ่ายทอดสู่การทำแผนปฏิบัติการระดับภาควิชา และการสรุปผลการดำเนินการบริหารในระดับภาค ตามเกณฑ์การประเมินคุณภาพภายใน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ระหว่างภาควิชาผ่านโครงการ “พัฒนาความเข้าใจ การประกันคุณภาพการศึกษาภายในระบบดอุดมศึกษา สู่แนวปฏิบัติที่ดี” (NS 2.2.1-01)

2 การจัดทำแผนปฏิบัติการและการถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ(การนำแผนปฏิบัติการไปใช้) -คณบดีมีวิธีการอย่างไรในการถ่ายทอดแผนปฏิบัติการไปสู่การปฏิบัติ

          การดำเนินการ

          แนวทางการปฏิบัติ : คณบดีมีวิธีการถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ ตามที่ได้เขียนรายงานไว้ในผลการดำเนินงานในข้อที่ 1

3 การจัดทำแผนปฏิบัติการและการถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ(การจัดสรรทรัพยากร) คณบดีทำอย่างไรให้มั่นใจว่ามีทรัพยากรด้านการเงินและด้านอื่นๆ พร้อมใช้ในการสนับสนุนแผนปฏิบัติการจนประสบความสำเร็จและบรรลุพันธะผูกพันในปัจจุบัน

          การดำเนินการ

          แนวทางการปฏิบัติ : คณะฯ มีการจัดสรรทรัพยากรเพื่อให้คณะสามารถดำเนินการในแต่ละพันธกิจ โดยมีกระบวนการจัดสรรงบประมาณ ดังนี้

          1) การจัดทำแผนจะตั้งงบประมาณ คณะได้รับงบประมาณ 2 ส่วนคือ ส่วนหนึ่งเป็นงบที่เบิกใช้ในการดำเนินงานตามแผน อีกส่วนคืองบประมาณจากส่วนกลางสนับสนุน เช่น เงินทุนวิจัย งบให้ทุนการศึกษาอาจารย์ในระดับที่สูงขึ้น

          2) การจัดสรรงบประมาณ โดยใช้ข้อมูลการเบิกจ่ายของงบประมาณปีที่ผ่านมา และจะมีการปรับเพิ่มเติม ตามการเรียกเก็บของแหล่งฝึก

          3) การใช้จ่ายงบประมาณ คณะฯ มีการติดตามกำกับให้มีการใช้งบประมาณตามแผน หากเป็นโครงการจะติดตามผู้รับผิดชอบโครงการ ดำเนินการตามแผนในช่วงเวลาที่กำหนด

          4) ติดตาม กำกับการใช้จ่ายงบประมาณ งานนโยบายและแผน มีการติดตามกำกับ และรายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณในแต่ละไตรมาส และนำเสนอคณะกรรมการบริหารคณะพิจารณา และให้ข้อเสนอในการปรับแผนและเบิกจ่ายให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

          5) การประเมินประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในการใช้งบประมาณ คือการเบิกจ่ายในแต่ละไตรมาส (ในโครงการระยะยาว) และวิเคราะห์ความคุ้มค่าตามเกณฑ์ของวิทยาลัย คือเบิกจ่ายงบ ≥ ร้อยละ 80 และไม่เกินร้อยละ 120

          การถ่ายทอดแผนสู่การปฏิบัติ : ผู้รับผิดชอบโครงการ ดำเนินงานโดยการใช้งบประมาณในแต่ละโครงการให้พอดีและเน้นความคุ้มค่ามีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด

          การเรียนรู้ : การบริหารงบประมาณของวิทยาลัย ให้คณะวิชาบริหารงบประมาณ ยืดหยุ่น สามารถของงบเพิ่มเติมได้ หรือปรับแผนและงบประมาณได้ในกรณีที่มีความจำเป็น

          การบูรณาการ : ในปีการศึกษา 2563-2564 มีการระบาด Covid 19 ทำให้การจัดการเรียนการสอนเปลี่ยนเป็น Online ทางวิทยาลัยได้อนุมติงบพิเศษ ให้คณะจัดซื้อ หุ่น 3 ชุด เพื่อใช้ในห้องปฏิบัติการเสมือนจริง และจัดงบประมาณเพื่อการพัฒนาห้องปฏิบัติการเสมือนจริงอย่างต่อเนื่อง (NS 2.2.3-01 ถึง NS 2.2.3-03)

4 การจัดทำแผนปฏิบัติการและการถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ(แผนด้านบุคลากร)แผนบุคลากรที่สำคัญที่สนับสนุนวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการทั้งระยะสั้นและระยะยาวมีอะไรบ้าง

          การดำเนินการ

          แนวทางปฏิบัติ : แผนด้านบุคลากรได้บรรจุไว้ในยุทธศาสตร์ที่ 5 คือ ยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศ เป้าประสงค์ที่ 7 ใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารองค์กร มุ่งสู่งานได้ผลงานเป็นสุข แผนงานที่ 6 การบริหารจัดการ ในส่วนแผนงานย่อย 6.2 การบริหารงานบุคคล โดยมีตัวชี้วัดรายบุคคลของแผนบริหารบุคคล กับตัวชี้วัดความสำเร็จและเป้าประสงค์ของแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี ดังนี้

ตัวชี้วัดด้านบุคลากร

กลยุทธ์

โครงการ/กิจกรรม

ความเชื่อมโยงกับยุทธ์ศาสตร์ 5 ปี (2563-2568)

1. ร้อยละ 60 ของบุคลากรทุกระดับ มีดังนี้ ความสุขในการปฏิบัติงาน ผ่านเกณฑ์

2. ร้อยละ 100 ของ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรได้รับการพัฒนา/อบรมไม่ต่ำกว่า 30 ชั่วโมง/คน/ปี

3. ร้อยละ 100 ของอาจารย์ได้รับการพัฒนา/อบรมไม่ต่ำกว่า 15 ชั่วโมง/คน/ปี

ก.9 บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลมุ่งสู่องค์กรที่มีสมรรถนะสูง

– โครงการพัฒนาอาจารย์

– โครงการพัฒนาอาจารย์ด้านการจัดการเรียนการสอนด้วยภาษาอังกฤษ

– โครงการประชุมสัมมนาประจำปี

ย.5 ยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการสถาบันสู่ความเป็นเลิศ

4. ร้อยละ 100 ของอาจารย์มีภาระงานตามเกณฑ์ของคณะ

 

การเก็บภาระงานครอบคลุมทุกพันธกิจของคณะวิชาในแต่ละตำแหน่งงาน

 

5.

– ร้อยละของจำนวนอาจารย์ที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก ไม่น้อยกว่าร้อยละ 40

– ร้อยละของอาจารย์ที่มีตำแหน่งทางวิชาการไม่น้อยกว่าร้อยละ 40

– พัฒนาบุคลากรสายวิชาการให้มีคุณวุฒิระดับปริญญาเอก

– สนับสนุนการขอตำแหน่งทางวิชาการ

– จัดดสรรงินทุนระดับปริญญาเอก

– โครงการ “ส่งเสริมตำแหน่งทางวิชาการ”

ย.5 ผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในระดับชาติ

การถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ : ผ่านการดำเนินโครงการ/กิจกรรม ที่กำหนดไว้ในแผนปฏิบัติงาน แผนงานย่อย 6.2 แผนงานบริหารบุคคล

          การเรียน : คณะฯ พบประเด็นที่ต้องมีกลยุทธ์เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย ร่วมกับวิทยาลัยคือเร่งรัดพัฒนาให้อาจารย์มีตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มขึ้น และการเสนอให้ทุนอาจารย์เพื่อศึกษาในระดับปริญญาเอกเพิ่มขึ้น และให้ทุนศิษย์เก่าเพื่อศึกษาต่อระดับปริญญาโทเพื่อเป็นอาจารย์ประจำ

          การบูรณาการ : คณะฯ ทำการบูรณาการร่วมกับ ผู้เชี่ยวชาญของวิทยาลัยเพื่อเร่งรัด ช่วยเหลือ สนับสนุนให้อาจารย์มีตำแหน่งทางวิชากาสูงขึ้น (NS 2.2.4-01)

5 การจัดทำแผนปฏิบัติการและการถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ(ตัววัดผลการดำเนินการ)ตัววัดผลที่สำคัญที่ใช้ติดตามความสำเร็จและประสิทธิผลของแผนปฏิบัติการมีอะไรบ้าง

          การดำเนินการ

          แนวทางการดำเนินงาน : คณะฯ มีการกำหนดตัวชี้วัดระยะยาว คือตัวชี้วัดกลยุทธ์ ซึ่งมีระดับตัวชี้วัดที่ท้าทายตลอดระยะเวลา 5 ปี และตัวชี้วัดระยะสั้นที่สอดคล้องกับตัวชี้วัดระยะยาว คือตัวชี้วัดวัตถุประสงค์ของแผนตามพันธกิจ และตัวชี้วัดวัตถุประสงค์โครงการ

          การนำสู่การปฏิบัติ : มีการติดตามตัวชี้วัดระยะสั้นคือ เมื่อผู้รับผิดชอบโครงการดำเนินงานแล้ว ต้องรายงานผลการดำเนินงาน และการใช้งบประมาณ พร้อมรับรองภาระงาน ทุกโครงการ ทุก 6 เดือนและ 12 เดือน รองคณบดีทุกส่วนงานติดตามรายงานผลตัวชี้วัดวัตถุประสงค์ของแผน และตัวชี้วัดกลยุทธ์ และงานนโยบายและแผน จะรวบรวมผลการดำเนินงาน เสนอกรรมกรรมการบริหารคณะเพื่อทราบตามลำดับ

          การเรียนรู้ : การติดตามงาน เป็นการรายงานตรงต่อผู้รับผิดชอบส่วนงานนั้นๆ  ซึ่งคณะกรรมการบริหาร/คณบดี ไม่สามารถติดตามการดำเนินงานได้เป็นปัจจุบัน

          การบูรณาการ : คณะจึงได้จัดทำ ระบบ MIS เพื่อให้ผู้บริหารได้ติดตามผลการดำเนินงานได้เป็นปัจจุบัน (NS 2.2.5-01 ถึง NS 2.2.5-02)

6 การจัดทำแผนปฏิบัติการและการถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ(การคาดการณ์ผลการดำเนินการ)ตัวชี้วัดที่สำคัญตามกรอบเวลาของการวางแผนทั้งระยะสั้นและระยะที่ยาวขึ้นของคณะมีอะไรบ้าง

การดำเนินการ

แนวทางการดำเนินงาน : เหมือนข้อ 5

7 การปรับเปลี่ยนแผนปฏิบัติการ -คณะรับรู้และตอบสนอง อย่างไร ในกรณีที่สถานการณ์บังคับให้ต้องปรับแผนปฏิบัติการและนำแผนใหม่ไปปฏิบัติอย่างรวดเร็ว

          การดำเนินการ

          แนวทางการดำเนินงาน : ในการผลิตบัณฑิตตามหลักสูตรซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์หลักของคณะ การปรับแผน จะปรับเฉพาะในกรณีที่มีความจำเป็นที่กระทบต่อกระบวนการผลิตหลัก คือ การจัดการเรียนการสอน โดยใช้การประชุมการบริหารหลักสูตร เพื่อวางแผนการปรับปฏิทินการจัดการศึกษา และรูปแบบการจัดการศึกษาให้เหมาะสมกับสถานการณ์

          การนำสู่การปฏิบัติ : คณะกรรมการบริหารหลักสูตร มีการประชุมเพื่อวางแผนการจัดการเรียนการสอนทุกภาคการศึกษา จึงสามารถใช้กระบวนการประชุมนี้ มาวางแผนปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมได้ทันต่อเหตุการณ์

          การเรียนรู้ : ในปีการศึกษา 2563 และ 2564 มีการระบาด Covid 19 มีการปรับกระบวนการจัดการเรียนการสอน โดยการปรับปฏิทินการศึกษา ให้เรียนภาคทฤษฎีในช่วงที่มีการระบาดรุ่นแรง และเรียนภาคปฏิบัติในห้องทดลอง และให้เก็บประสบการณ์หลักที่จำเป็นกับแหล่งฝึกปฏิบัติ ในช่วงการระบาดน้อยลง

          การบูรณาการ : ในการปรับแผนการจัดการเรียนการสอน ส่งผลให้อาจารย์ทุกคนมีความสามารถในการสอน Online ได้ และยังคงใช้อย่างต่อเนื่องในกรณีที่ อาจารย์/นักศึกษาบางคนติดเชื้อ Covid และต้องกักตัว 5 วัน ทำให้การดำเนินงานคณะสามารถดำเนินการได้ตามแผนการจัดการศึกษา ตั้งแต่ปี 2563 จนถึงปัจจุบัน (NS 2.2.7-01 ถึง NS 2.2.7-02)

8 แผนปฏิบัติการ ครอบคลุมการดำเนินการตามกลยุทธ์และการดำเนินการตามพันธกิจ

          การดำเนินการ

          คณะฯ มีการจัดทำแผนการดำเนินการตามกลยุทธ์ และการดำเนินการตามพันธกิจ 5 ด้าน คือ

                     1) การผลิตบัณฑิต

                     2) การผลิตผลงานวิจัย

                     3) การบริการวิชาการสังคม

                     4) การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

                     5) การบริหาร

                     (NS 2.2.8-0)

9 มีการประเมินผลการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติตามตัวชี้วัดความสำเร็จ

          การดำเนินการ

          คณะฯ มีการประเมินผลการดำเนินการ นำกลยุทธ์สู่การปฏิบัติใน 3 ส่วน ดังนี้ โดยมีเกณฑ์ดังนี้

                     1) การบรรลุตัวชี้วัดกลยุทธ์

                     2) การบรรลุตัวชี้วัดวัตถุประสงค์ของแผน ≥ ร้อยละ 80

                     3) ผลการนำแผนสู่การปฏิบัติใน 3 มิติ (มีการดำเนินงานบรรลุ ≥ ร้อยละ 80 ไม่น้อยกว่า 2            มิติ)

                               3.1 มิติโครงการ ≥ ร้อยละ80

                               3.2 มิติตัวชี้วัดโครงการ

                               3.3 มิติการใช้งบประมาณ

          ผลการดำเนินงานของคณะ บรรลุเป้าหมายตามเกณฑ์วิทยาลัยต่อเนื่อง ทุกปีการศึกษา

(NS 2.2.9-01)

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

9 ข้อ

IQA (1-9)

1,2,3,4,5,6,7,8,9

9 ข้อ

5 คะแนน

EdPEx (1-7)

1,2,3,4,5,6,7

ร้อยละ 50 (40 คะแนน)

20 คะแนน

รายการหลักฐาน

รหัสหลักฐาน

รายการ

NS 2.2.1-01

สรุปโครงการ “พัฒนาความเข้าใจการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน” ปี 2565

NS 2.2.1-02

รายงานการประเมินตนเองของภาควิชา ปี 2565

NS 2.2.3-01

แผนงบประมาณปี 2565

NS 2.2.3-02

สรุปการใช้งบประมาณปี 2565

NS 2.2.3-03

ใบรายการการจัดซื้อหุ้นโดยวิทยาลัย

NS 2.2.4-01

แผนปฏิบัติงานย่อย 6.2 แผนบริหารงานบุคคล

NS 2.2.5-01

แผนกลยุทธ์ ปี 2563-2567

NS 2.2.5-02

แผนปฏิบัติงานปีการศึกษา 2565

NS 2.2.5-03

MIS ในหัวข้อ Management, Budged & Spending

NS 2.2.7-01

แผนแม่บทการจัดการศึกษาตลอดหลักสูตร ปี 2563, 2564, 2565

NS 2.2.7-02

แผนแม่บทการจัดการศึกษาตลอดหลักสูตร ปี 2563, 2564, 2565 (ฉบับปรับปรุง)

NS 2.2.8-01

แผนปฏิบัติการประจำปี 2565

NS 2.2.9-01

ผลการดำเนินงานปีการศึกษา ปี 2563, 2564, 2565

ผลการประเมินตนเอง

ผลการประเมินตนเอง IQAEdPEx
ตัวบ่งชี้ที่ 2.1522.5
ตัวบ่งชี้ที่ 2.2522
คะแนนเฉลี่ย(IQA)/คะแนนรวม(EdPEx) 544.5