องค์ประกอบที่ 4: ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 การวัด วิเคราะห์ผล (การวัด วิเคราะห์ และปรับปรุง)

องค์ประกอบที่ 4 การจัดการความรู้

ตัวบ่งชี้ที่ 4.1 การวัด วิเคราะห์ผล (การวัด วิเคราะห์ และปรับปรุง)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน2 คะแนน3 คะแนน4 คะแนน5 คะแนน
1 ข้อ2 ข้อ3-4 ข้อ5-6 ข้อ7-8 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน EdPEx ประเมินภาพรวมประเด็น 1-6 ประเมิน 40 คะแนน ประเมินแบบ ADLI

ผลการดำเนินการ

1 การวัดผลการดำเนินการ(ตัววัดผลการดำเนินการ) คณะมีวิธีการติดตามข้อมูล และสารสนเทศของการปฏิบัติงานประจำวัน การดำเนินการโดยรวมของคณะ อย่างไร

        การดำเนินการ
แนวทางการดำเนินการ : คณะฯ เป็นการดำเนินธุรกิจด้านการเรียนการสอน สารสนเทศ หรือตัววัดผลการดำเนินการ ไม่มีความจำเป็นต้องวัดผลการดำเนินงานประจำวัน ใช้การรายงานผลตามช่วงเวลาของแต่ละพันธกิจ เช่น ผลสอบของนักศึกษา การรายงานผลปฏิบัติตามแผนงานโครงการ เป็นต้น คณะได้กำหนดตัวชี้วัดของการดำเนินงานของแต่ละพันธกิจ โดยนำตัวชี้วัดกลยุทธ์ลงสู่ตัวชี้วัดแผนงานและโครงการ และติดตามผลตามระยะเวลาของการดำเนินงาน ในระบบ MIS พร้อมประมวลผล 6 เดือน และ 1 ปี เสนอกรรมการบริหารคณะ โดยมีตัวชี้วัด (KPI) ผลการดำเนินงาน 3 ระดับ คือ 1) ตัวชี้วัดกลยุทธ์รายงานทุก 1 ปี 2) ตัวชี้วัดวัตถุประสงค์ของแผน รายงานทุก 1 ปี) ตัวชี้วัดการนำแผนสู่การปฏิบัติใน 3 มิติ (มิติโครงการ, มิติตัวชี้วัดโครงการ และมิติตัวชี้วัดการใช้งบประมาณ มีการติดตามทุกไตรมาสในระบบ MIS ของคณะและรายงานทุก 6 เดือน
การนำสู่การปฏิบัติ : คณะได้ถ่ายทอดตัวชี้วัดสู่แผนปฏิบัติตามพันธกิจ และมอบหมายรองคณบดีติดตามกำกับการดำเนินงาน และการรายงานผลตัวชี้วัดที่ได้รับมอบหมาย
การเรียนรู้ : คณะฯ มีการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานสิ่งที่คณะทำได้ดีและเป็นจุดแข็ง ปรับตัวชี้วัดให้เกิดการท้าทาย ตัวชีวัดใดที่ยังไม่บรรลุเป้าหมาย ให้นำไปวิเคราะห์กระบวนการและระดับความเสี่ยงและจัดลำดับความเสี่ยง และวางแผนบริหารความเสี่ยงต่อไป ในการดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ คณะได้ทำตัวชี้วัดในแต่ละพันธกิจตามแบบเครื่องมือ Balance Scorecard เพื่อจะได้เห็นโอกาสพัฒนาที่ชัดเจนมากขึ้น
การบูรณาการ : คณะมีการบูรณาการ กำกับตัวชี้วัดในระดับคณะลงสู่ระดับภาควิชาและระดับบุคคล เพื่อให้ผลการดำเนินงานบรรลุเป้าหมาย ดังนี้
1) ตัวชี้วัดระดับบคณะ ตามแผนปฏิบัติงานครอบคลุมทุกพันธกิจ
2) ตัวชี้วัดรายบุคคลที่สำคัญ ตามเกณฑ์ของอาจารย์ประจำหลักสูตรสาขาพยาบาลศาตร์ คือผลงานวิจัยในรอบ 5 ปี และใบอนุญาติประกอบวิชาชีพ ไม่หมดอายุ และตัวชี้วัดด้านผลลัพธ์การปฏิบัติตาม ทั้งคุณภาพและปริมาณ (NS 4.1.1-01 ถึง NS 4.1.1-03)

2 การวัดผลการดำเนินการ(ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบ) คณะมีวิธีการเลือกและใช้ข้อมูล สารสนเทศเชิงเปรียบเทียบ อย่างไร เพื่อสนับสนุนการตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลจริง

          การดำเนินการ

          แนวทางการดำเนินการ : คณะฯ เริ่มใข้ข้อมูลสารสนเทศในการบริหาร และได้ใช้ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบในเบื้องต้น ดังนี้

                     1) การเปรียบเทียบ ผลการดำเนินงานตามเป้าหมาย

                     2) การเปรียบเทียบ ผลการดำเนินงานในปีปัจจุบัน เทียบกับปีที่ผ่านมา

          การนำสู่การปฏิบัติ : คณะมีการดำเนินงานเปรียบเทียบผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องปี 2563, 2564 และปี 2565

          การเรียนรู้ : ผู้บริหารสามารถติดตามดูผลการดำเนินงานได้เป็นปัจจุบัน ครอบคลุมทุกพันธกิจ

          การบูรณาการ : คณะฯ ได้บูรณาการระบุตามงานของอาจารย์เป็นหน่วยภาระงานตามคู่มือภาระงาน ครอบคลุม 5 พันธกิจ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและเสมอภาคในการทำงาน สอดคล้องกับความเชี่ยวชาญของอาจารย์แต่ละบุคคล  (NS 4.1.2-01 ถึง NS 4.1.2-03)

3 การวัดผลการดำเนินการ(ความคล่องตัวของการวัดผล) คณะมั่นใจได้อย่างไรว่าระบบการวัดผลการดำเนินการของคณะสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในหรือภายนอกที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วหรือที่ไม่ได้คาดคิด และให้ข้อมูลที่ทันเวลา

          แนวทางการดำเนินการ : คณะฯ ใช้ระบบติดตามประเมินผลตัวชี้วัด และระบบติดตามประเมินการดำเนินโครงการ/กิจกรรม ในระบบ MIS ของคณะวิชาเป็นสื่อกลางในการรวมรวบข้อมูลผลการดำเนินงานตามระยะเวลา เช่น ปีปฏิทิน ปีงบประมาณ เป็นต้น ผู้รับผิดชอบระบบ MIS ของคณะตามพันธกิจสามารถเข้าสู่ระบบเพื่อบันทึกและแก้ไขข้อมูลได้ ตามรอบการเก็บข้อมูล (รายไตรมาส) และผู้ที่รับผิดชอบสามารถเรียกดูในระบบได้ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการติดตามผลนั้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของผู้บริหารที่รับผิดชอบตัวชี้วัดได้ หากเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินที่ไม่สามารถทำงานในสถาบัน ก็สามารถทำงาน Online จากนอกสถานที่ได้

          การนำสู่การปฏิบัติ : คณะฯ มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ธุรการคณะเป็นคนบันทึกข้อมูลในระบบ MIS และมีการอธิบายผู้บริหาร ถึงวิธีการเรียนดูผลการดำเนินการในระบบ ครอบคลุมทุกพันธกิจ

          การเรียนรู้ : การเก็บข้อมูลในระบบ MIS ทำให้มีข้อมูลครบภาพรวม เรียกดูง่าย ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนกว่าการเก็บข้อมูลโดยเอกสาร

          การบูรณาการ : คณะฯ จะพัฒนาระบบการทำงานโดยไม่ต้องใช้เอกสารในอนาคต (NS 4.1.3-01)

4 การวิเคราะห์และทบทวนผลการดำเนินการ คณะมีวิธีการทบทวนผลการดำเนินการและขีดความสามารถของของคณะอย่างไร

          แนวทางการดำเนินการ : คณะฯ มีการทบทวนผลการดำเนินงานใน 2 ส่วน คือ

          1) การทบทวนผลการดำเนินงานบรรลุเป้าหมายตัวชี้วัดของกลยุทธ์ ตามพันธกิจของคณะ           วิชา

          2) การทบทวนประเมินตนเอง เพื่อรับการตรวจประเมินคุณภาพภายใน ตามเกณฑ์ของ                        วิทยาลัย

          3) การทบทวนประเมินตนเอง เพื่อรับรองสถาบันการศึกษา สาขาพยาบาลศาสตร์และการ             ผดุงครรภ์

          การประเมินขีดความสามารถคณะ คือ

                     1) ผลการดำเนินงานบรรลุเป้าหมายตามเกณฑ์ของวิทยาลัย

                     2) การประเมินคุณภาพภายในระดับหลักสูตรและระดับคณะ มีคะแนนเพิ่มขึ้นจากเดิม

                     3) การรับรองสถาบันการศึกษา ระยะเวลาในการรับรองเพิ่มขึ้น

          การนำสู่การปฏิบัติ : คณะฯ กำหนดให้รองคณบดีติดตาม ทบทวน ผลการดำเนินงานตามระยะเวลาของโครงการ และสรุปผลการดำเนินการทุก 6 เดือน และ 12 เดือน

          การเรียนรู้ : คณะฯ วิเคราะห์และทบทวนผลการดำเนินการโดยผู้บริหารและคณะกรรมการชุดต่างๆ ของแต่ละพันธกิจ ร่วมกันจัดทำแผนปฏิบัติงานและแผนการปรับปรุง (Improvement Plan) โดยมีวัตถุประสงค์เบื้องต้น คือผลการดำเนินการในอนาคตต้องสูงกว่าปัจจุบัน และผลการดำเนินการใดที่ต่ำกว่าเป้าประสงค์ที่กำหนดไว้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มผลการดำเนินการให้สูงขึ้น

          การบูรณาการ : คณะฯ มีการบูรณาการปัจจัยภายในด้านการดำเนินการ และปัจจัยภายนอกที่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานที่ไม่บรรลุเป้าหมาย มาทำแผนบริหารความเสี่ยง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินงาน (NS 4.1.4-01 ถึง NS 4.1.4-04)

5 การปรับปรุงผลการดำเนินการ(ผลการดำเนินการในอนาคต) คณะคาดการณ์ผลการดำเนินการในอนาคตอย่างไร

          แนวทางการดำเนินงาน : คณะกรรมการบริหารคณะ คาดการผลการดำเนินงานในอนาคต โดยเริ่มจาก

  1. นำข้อมูลสรุปผลการดำเนินการประจำปีมาวิเคราะห์เทียบกับเป้าหมาย
  2. ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นไปเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ผู้บริหารที่เกี่ยวข้องกับพันธกิจ/ภารกิจนั้นๆ จะทำการวิเคราะห์ผ่านกระบวนการ PDCA เพื่อปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ หรือคาดการณ์ไว้
  3. หลังจากได้นำแนวทางการปรับปรุงไปปฏิบัติแล้ว จะมีการติดตามความก้าวหน้าโดยการทบทวนผลการดำเนินการ เพื่อให้มั่นใจว่าผลการดำเนินงานในอนาคตจะบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้
  4. กระบวนการคาดการณ์ผลการดำเนินงานในอนาคต จะพิจารณาการตามค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ ในกรณีที่ผลงานบรรลุเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง คณะพิจารณาดึงศักยภาพและทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินการ ว่ามีความสามารถที่จะกำหนดค่าเป้าหมายที่ท้าทาย และส่งเสริมประสิทธิภาพผลการดำเนินงานให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันกับหน่วยงานอื่นๆ มากยิ่งขึ้น

          การนำสู่การปฏิบัติ : ผู้บริหารคณะที่เกี่ยวข้องกับพันธกิจ ที่ผลลัพธ์การดำเนินงานไม่บรรลุเป้าหมาย เสนอแนวทางการพัฒนาโดยการปรับปรุงกระบวนการ หรือปรับกิจกรรมดำเนินการ เสนอกรรมการบริหารคณะเพื่ออนุมติและให้ข้อเสนอเพิ่มเติม ก่อนนำไปปฏิบัติและติดตามประเมินผล

          การเรียนรู้ : คณะฯ มีการใช้ผลการวิเคราะห์และทบทวนการดำเนินงานและนำไปจัดลำดับความสำคัญของเรื่องที่ต้องปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเกี่ยวกับพันธกิจหลักคือการผลิตบัณฑิต และการพัฒนาศักยภาพอาจารย์ เช่น ผลงานวิจัยของอาจารย์ไม่เป็นไปตามเกณฑ์

          การบูรณาการ : คณะฯ วางแผนกำหนดนโยบายให้อาจารย์ทุกคนจะต้องมีผลงานวิจัย 1) เรื่องภายในรอบ 2 ปี และลงเผยแพร่ในวารสารไม่ต่ำกว่า TCI 2 เพื่อจะทำให้เกิดผลงานตามเกณฑ์มาตรฐานทุกปีการศึกษา และส่งผลถึงความสามารถเชิงวิชาการ และการเพิ่มจำนวนอาจารย์ที่มีตำแหน่งทางวิชาการ (NS 4.1.5-01)

6 การปรับปรุงผลการดำเนินการ(การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและการสร้างนวัตกรรม) คณะใช้ผลการทบทวนผลการดำเนินการ นำจัดลำดับความสำคัญของเรื่องที่ต้องปรับปรุงอย่างต่อเนื่องและโอกาสในการสร้างนวัตกรรมอย่างไร

          ผลการดำเนินการ

          แนวทางการดำเนินการ : คณะมีการปรับปรุงการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องตามแนวทางการดำเนินการ ในประเด็นการถ่ายทอดตัวชี้วัดด้านการสร้างนวัตกรรม ลงไปยังแผนปฏิบัติการของพันธกิจ การจัดการเรียนการสอน และงานวิจัย

          การถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ : ผ่านการทำแผนปฏิบัติงาน และโครงการ “พัฒนานักศึกษาในการผลิตผลงานวิจัย/นวัตกรรมทางการพยาบาล” โครงการ “พัฒนานักศึกษาในการผลิตนวัตกรรมด้านการพยาบาลและสื่อการเรียนรู้ทางเทคโนโลยี โครงการ “ผลิตสื่อการสอนโดยการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และส่งเสริมการเรียนรู้โดยใช้ Active Learning

          การเรียนรู้ : มีการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับการจัดทำนวัตกรรม และนำนวัตกรรมที่นักศึกษาคิด จัดบริการวิชาการในชุมชนเพื่อส่งเสริมสุขภาพ  เช่น การจัดการเรียนการสอนรายวิชาพืชสมุนไพรให้นักศึกษาคิดผลิตภัณฑ์ส่งเสริมสุขภาพ และนำไปจัดบริการวิชาการ

          การบูรณาการ : คณะได้ส่งนวัตกรรมของนักศึกษาเข้าประกวดในระดับชาติ ผลการดำเนินงานได้รับรางวัลอย่างต่อเนื่อง โดยมีรางวัล ดังนี้

          ปี 2564 นวัตกรรม ICD Hang Case Drainage ได้รับรางวัลที่ 3 ในการประชุมเสนอผลงานนักศึกษาระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 5  ณ มหาวิทยาลัยบรมราชชนนี พะเยา เมื่อวันที่ 10-12 กันยายน 2564

          ปี 2565 1) นวัตกรรม Breast Bleeding นมแม่สื่อรักสู่ลูกน้อยได้รับรางวัลชนะเลิศ นวัตกรรมทางการพยาบาลในการประชุมวิชาการระดับชาติ วันที่ 28 เมษายน 2566 มหาวิทยาลัยรังสิต

                     2) นวัตกรรม “เสื้ออุ่นไอรัก” ได้รับรางวัลชมเชยนวัตกรรมทางการพยาบาลในการประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2566 (NS 4.1.6-01 ถึง NS 4.1.6-04)

7 มีการรวบรวม วิเคราะห์ และจัดการข้อมูลที่ได้จากความพึงพอใจของผู้เรียนและบัณฑิต

          ผลการดำเนินการ

                     คณะมีการวางระบบติดตามความพึงพอใจของผู้เรียน 4 ส่วนดังนี้

  1. ความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอน
  2. ความพึงพอใจในหลักสูตร
  3. ความพึงพอใจในระบบบริการนักศึกษา
  4. ความพึงพอใจในสิ่งสนับสนุนนักศึกษา

                     คณะมีการติดตามบัณฑิตหลังจบการศึกษา 6 เดือน ประเด็นดังนี้

  1. การมีงานทำและอัตราการจ้างงาน
  2. ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตตามผลลัพธ์การเรียนรู้ ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ ระดับอุดมศึกษา
  3. ความคาดหวังของผู้ใช้บัณฑิต ด้านคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์

          และนำผลการประเมินมาพัฒนาการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนานักศึกษาในปีการศึกษาถัดไป (NS 4.1.7-01 ถึง NS 4.1.7-04)

8 มีการรวบรวม วิเคราะห์ และจัดการข้อมูลที่ได้จากผู้ใช้บัณฑิต

              คณะได้วิเคราะห์ข้อมูลจากผู้ใช้บัณฑิต โดยเลือกประเด็นคะแนนการประเมินที่ต่ำกว่า 3.51 มาพัฒนากระบวนการจัดการศึกษาและพัฒนานักศึกษา เพื่อให้บัณฑิตมีการประเมินสูงขึ้น

          ผลการประเมินบัณฑิตปีการศึกษา 2565 พบว่าค่าเฉลี่ยมาตรฐานคุณวุฒิ 4 ด้าน ≥ 3.51 ทุกด้าน ด้านที่ได้คะแนนสูงสุดคือ ด้านคุณธรรมจริยธรรม มีคะแนน = 4.15 ด้านที่ได้คะแนนต่ำสุดคือ ด้านทักษะทาง

ปัญญา มีคะแนน = 3.76 พิจารณาข้อผู้ใช้บัณฑิตมีค่าเฉลี่ยเกิน 3.5 ทุกข้อ

          และนำข้อเสนอแนะไปพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในปี 2566 เพื่อตอบสนองความคาดหวังของผู้ใช้บัณฑิต ในเรื่องการพัฒนาทักษะการปฏิบัติการพยาบาลพื้นฐานและตามสมรรถนะวิชาชีพ

          ในปีการศึกษานี้ใช้กรอบการประเมินเดิมคือผลลัพธ์การเรียนรู้ (TQF) 6 ด้าน ซึ่งเชื่อมโยงมาจากวัตถุประสงค์ของหลักสูตร และผลลัพธ์รายวิชาตามผังกระจายความรับผิดชอบรายวิชา ในปีการศึกษา 2566 ในการจัดการเรียนการสอนด้วยหลักสูตรเก่า ผู้รับผิดชอบหลักสูตรจะกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังและตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรและวางแผนกำหนดวิธีการวัดผลตามเกณฑ์ AUNQA ต่อไป

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

8ข้อ 

IQA (1-8)

1,2,3,4,5,6,7,8

8 ข้อ

5 คะแนน

EdPEx (1-6)

1,2,3,4,5,6

ร้อยละ 30 (40คะแนน)

12 คะแนน

รายการหลักฐาน

รหัสหลักฐาน

รายการ

NS 4.1.1-01

รายงานผลการดำเนินประจำปี 2565

NS 4.1.1-02

MIS ผลงานวิจัยของอาจารย์ในรอบ 5 ปี

NS 4.1.1-03

MIS รายงานการต่อใบอนุญาติประกอบวิชาชีพ

NS 4.1.2-01

แผนปฏิบัติงานปี 2565

NS 4.1.2-02

คู่มือภาระงาน

NS 4.1.2-03

MIS การรายงานภาระงานรายบุคคล

NS 4.1.3-01

ระบบ MIS การรายงานตัวชี้วัด

NS 4.1.4-01

รายงานการรับรองสถาบันปี 2565

NS 4.1.4-02

สรุปผลการดำเนินตามแผนปฏิบัติ 2565

NS 4.1.4-03

แผนบริหารความเสี่ยงปี 2566

NS 4.1.5-01

แผนกลยุทธ์ 5 ปี (2563-2567)

NS 4.1.6-01

มคอ. 3 วิชาพืชสมุนไพร

NS 4.1.6-02

เกียรติบัตรนวัตกรรม ICD Hang Case Drainage

NS 4.1.6-03

เกียรติบัตรนมแม่สื่อรักสู่ลูกน้อย

NS 4.1.6-04

เกียรติบัตรเสื้ออุ่นไอรัก

NS 4.1.7-01

ผลการประเมินความพึงพอใจในการเรียนการสอน

NS 4.1.7-02

ผลการประเมินความพึงพอใจในหลักสูตร

NS 4.1.7-03

ผลการประเมินความพึงพอใจในระบบบริการ

NS 4.1.7-04

ผลการประเมินความสิ่งสนับสนุนการศึกษา

NS 4.1.8-01

ผลการประเมินผู้ใช้บัณฑิต ปีการศึกษา 2565