องค์ประกอบที่ 4: ตัวบ่งชี้ที่ 4.2 การเรียนรู้ (การจัดการสารสนเทศและการเรียนรู้)

องค์ประกอบที่ 4 การจัดการความรู้

ตัวบ่งชี้ที่ 4.2 การเรียนรู้ (การจัดการสารสนเทศและการเรียนรู้)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน2 คะแนน3 คะแนน4 คะแนน5 คะแนน
1 ข้อ2 ข้อ3-4 ข้อ5-6 ข้อ7 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน EdPEx ประเมินภาพรวมประเด็น 1-5 ประเมิน 45 คะแนน ประเมินแบบ ADLI

ผลการดำเนินการ

1 ข้อมูลและสารสนเทศ(คุณภาพ) คณะมีวิธีการอย่างไรในการทวนสอบและทำให้มั่นใจว่าข้อมูลและสารสนเทศที่ใช้ในคณะมีคุณภาพ

2 ข้อมูลและสารสนเทศ(ความพร้อมใช้) คณะทำให้มั่นใจอย่างไร ว่าข้อมูลและสารสนเทศของคณะมีความพร้อมใช้

           ผลการดำเนินงาน (ข้อ 1 และ 2)

          แนวทางการปฏิบัติ : คณะมีการจัดการสารสนเทศที่มีคุณภาพและความพร้อมใช้ โดยมีโปรแกรมเชื่อมต่อกับฐานข้อมูล และระบบ MIS ของวิทยาลัยโดยคณะมีการดำนเนินการ ดังนี่

  1. ข้อมูลที่เชื่อมโยงกับวิทยาลัย เช่น การลงทะเบียนเรียนของนักศึกษา ข้อมูลบุคลากรของคณะ ผลการรายงานเกรด ระบบการบริการห้องสมุด เป็นต้น
  2. ข้อมูลระบบบุคคลเชื่อมโยงกับวิทยาลัยเช่นเดียวกัน และอาจารย์สามารถลงข้อมูลส่วนตัวได้ แต่ต้องแนบเอกสารรับรองข้อมูลประกอบ
  3. ข้อมูลระดับแผนงาน ผู้รับผิดชอบดำเนินงานตามแผนและสรุปข้อมูลด้านโครงการ ตัวชี้วัดโครงการ การใช้งบประมาณ การคิดภาระงาน การบันทึกมคอ. 3,4,5,6 โดยผลการสรุปผ่านผู้บริหารตามสายงานเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลก่อนลงในระบบ
  4. ข้อมูลระดับแผนกลยุทธ์ รองคณบดีทุกส่วนงานจัดทำผลการดำเนินงานตามปฏิบัติงาน งานนโยบายและแผน เป็นผู้รวบรวมและนำลงในระบบ ระบบประมวลผล เพื่อใช้เป็นสารสนเทศในการบริหาร

3 ความรู้ของคณะ(การจัดการความรู้) คณะมีวิธีการอย่างไรในการสร้างและจัดการความรู้ของคณะ

          ผลการดำเนินการ

          แนวทางการปฏิบัติ : คณะมีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดการเรียนรู้และจัดแผนการจัดการความรู้ โดยมีกระบวนการดำเนินงาน ดังนี้

  1. กำหนดกลยุทธ์และจัดทำแผน ดำเนินงานเพื่อพัฒนาคณะสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ ตามนโยบาย และสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา และเกณฑ์การประกันคุณภาพของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม
  2. กำหนดประเด็นความรู้และเป้าหมายของการจัดความรู้ ของคณะที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ของวิทยาลัย โดยครอบคลุมพันธกิจด้านการผลิตบัณฑิตและด้านการวิจัย
  3. จัดทำระบบการแบ่งปัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทักษะของผู้ทีมีประสบการณ์ตรง (Tacit knowledge) เพื่อค้นหาแนวปฏิบัติที่ดี หรือให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ตามประเด็นความรู้ที่กำหนด จัดทำเป็น Best Practice และเผยแพร่สู่บุคลากรในคณะ และวิทยาลัย
  4. กำกับ ติดตาม ดูแล สนับสนุนและประเมินการดำเนินงาน การจัดการความคณะ และรายงานผลการดำเนินงานต่อคณะกรรมการบริหารคณะ และคณะกรรมการจัดการความรู้ของวิทยาลัย

          การถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ : คณะกรรมการจัดการความรู้ถ่ายทอดแนวทางการจัดการความรู้สู่การปฏิบัติ ตามแผนการจัดการความรู้ (KM Action Plan) ในแต่ละปีการศึกษา โดยการกำหนดขอบเขต KM เป้าหมายและตัวชี้วัด และออกแบบกิจกรรมเพื่อดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย  โดยมีกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน ดังนี้

กิจกรรม

ขั้นตอนดำเนินงาน

1. การบ่งชี้ความรู้

1. สำรวจความต้องการในการจัดการความรู้

2. ประชุมชี้แจงการกำหนดประเด็นการจัดความรู้ของแต่ละภาควิชา

2. การสร้างและการแสวงหาความรู้

1. ประชุมคณะกรรมการ และจัดทำแผนการจัดการองค์ความรู้ย่อยของแต่ละภาค

2. รบรวมและทบทวนความรู้

3. แสวงหาข้อมูลประกอบองค์ความรู้จากผู้เชี่ยวชาญภายในองค์กร

4. มอบหมายคณะกรรมการจัดการความรู้/ผู้แทนแต่ละวิชาเพื่อแสวงหาความรู้เรื่องที่สนใจ สอดคล้องตามขอบเขต

3. การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ

1. ประชุมคณกรรมการจัดการความรู้ เพื่อจัดหมวดหมู่ความรู้ หลังจากแสงหาความรู้เพื่อจัดทำเป็นฐานข้อมูล

2. จัดทำระบบฐานข้อมูลให้สะดวกต่อการค้นหาและใช้งาน

4. การประมวลและกลั่นกรองความรู้(Knowledge Codification & Refinement)

1. ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของอาจารย์แต่ละภาควิชา

2. ประสานความร่วมมือกับทีมงานการจัดการความรู้ กับวิทยาลัย

5. การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Access)

1. ประชาสัมพันธ์ผ่านคณะกรรมการจัดการความรู้แต่ละภาควิชา

          การเรียนรู้ : คณะฯ มีการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing) โดย

  1. จัดการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในคณะฯ
  2. เข้าร่วมมหกรรมการจัดการเรียนรู้กับวิทยาลัย

          การบูรณาการ : คณะฯ มีการติดตามการทำ KM หรือ Best Practice ของแต่ละภาคไปใช้ประโยชน์ได้แก่ ระบบช่วยเหลือนักศึกษาที่มีผลการเรียนไม่เป็นไปตามเกณฑ์ The STIC Moodle of teaching method เป็นต้น (NS 4.2.3-01 ถึง NS 4.2.3-04)

4 ความรู้ของคณะ(วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ) คณะมีวิธีการอย่างไรในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศในคณะ

          ผลการดำเนินการ

          แนวทางการปฏิบัติ : คณะฯ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการเรียนรู้ โดยมีอาจารย์ทุกภาควิชาเป็นกรรมการร่วม จัดการอบรมให้ความรู้เรื่องแนวทางการจัดการความรู้สู่ความสำเร็จ และให้คณะกรรมการจัดทำแผนการจัดการความรู้สู่การปฏิบัติ ติดตามผล และนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในภาควิชา และนำเสนอแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคณะวิชาอื่นๆ ในกิจกรรมมหกรรมความรู้ของวิทยาลัย

5 ความรู้ของคณะ(การเรียนรู้ระดับคณะ) คณะใช้ความรู้และทรัพยากรอย่างไร เพื่อให้การเรียนรู้ฝังลึกเข้าไปในวิถีการปฏิบัติงานของคณะ

ผลการดำเนินการ

          คณะฯ ดำเนินการตามกระบวนการจัดการความรู้ และนำวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ตามกระบวนการที่ได้เขียนไว้ในข้อ 3 และมีการนำ Best Practice ไปใช้ในวิธีการปฏิบัติงานคณะ เช่น ระบบการดูแลช่วยเหลือนักศึกษาที่มีผลการเรียนต่ำ การจัดการเรียนการสอนแบบส่วนร่วม โดยผ่าน Application Padlet วิธีการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ The STIC Moodle of teaching method เป็นต้น (NS 4.2.5-01)

6 มีการทบทวนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิผล

          ผลการดำเนินการ

          คณะฯ มีการทวนการดำเนินงาน ตามพันธกิจและปรับเปลี่ยนแผนให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในการประชุมคณะกรรมการบริหาร โดยมอบหมายให้รองคณบดีทุกส่วนงาน ทบทวนการดำเนินงานในความรับผิดชอบ นำเสนอผลการดำเนินงานและเสนอแนวทางการพัฒนาเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย หรือทันต่อการเปลี่ยนแปลงเสนอกรรมการบริหาร เพื่อเห็นด้วยและให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ทุก 6 เดือน (NS 4.2.6-01 ถึง NS 4.2.6-02)

7 มีการทบทวนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับผู้เรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างต่อเนื่อง

          ผลการดำเนินการ : คณะฯ มีการทบทวนการดำเนินงาน การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับผู้เรียน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างต่อเนื่องผ่านกระบวนการบริหารหลักสูตร เช่น การประชุมพี่เลี้ยงแหล่งฝึกหลังจบการเรียนการสอนในภาควิชาปฏิบัติการพยาบาล การติดตามความพึงพอใจผู้ใช้บัณฑิต การติดตามความก้าวหน้า/การได้รับรางวัลของศิษย์เก่า ในปีการศึกษา 2565 มีศิษย์ที่ได้รับรางวัลได้แก่ 1) นายสุทัศน์ ศุภนาม ได้รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่นด้านวิชาการและนวัตกรรม ระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 2) นายพิสันต์ ประชาชู ศิษย์เก่ารุ่นที่ 6 ได้รับรางวัลชนะเลิศลำดับ 2 การนำเสนอผลงานวิจัย Oral Presentation ภาษาอังกฤษ (ประชุมวิชาการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 16) (NS 4.2.7-01 ถึง NS 4.2.7-03)

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

….. 5 ข้อ …..

IQA (1-7)

1,2,3,4,5,6,7

7 ข้อ

5 คะแนน

EdPEx (1-5)

1,2,3,4,5

ร้อยละ 30 (45 คะแนน)

13.5 คะแนน

รายการหลักฐาน

รหัสหลักฐาน

รายการ

NS 4.2.3-01

แผนการจัดการความรู้คณะพยาบาลศาสตร์ ปี 2565

NS 4.2.3-02

ผลการดำเนินงาน KM 2565

NS 4.2.5-01

ข้อมูล KM ปี 2564, 2565

NS 4.2.6-01

บันทึกการประชุมคณะกรรมการบริหารครั้งที่ 3/25665

NS 4.2.6-02

บันทึกการประชุมคณะกรรมการบริหารครั้งที่ 4/25665

NS 4.2.7-01

ประชุมกรรมการบริหารหลักสูตร (ปี 2565)

NS 4.2.7-02

รูปแสดงความยินดีอาจารย์สุทัศน์ ศุภนาม

NS 4.2.7-03

รูปแสดงความยินดีอาจารย์พิสันต์ ประชาชู

ผลการประเมินตนเอง

ผลการประเมินตนเอง IQAEdPEx
ตัวบ่งชี้ที่ 4.1512
ตัวบ่งชี้ที่ 4.2513.5
คะแนนเฉลี่ย(IQA)/คะแนนรวม(EdPEx) 525.5