องค์ประกอบที่ 6: ตัวบ่งชี้ที่ 6.1 ระบบงาน (กระบวนการทำงาน)

องค์ประกอบที่ 6 ระบบการปฏิบัติงาน

ตัวบ่งชี้ที่ 6.1 ระบบงาน (กระบวนการทำงาน)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน2 คะแนน3 คะแนน4 คะแนน5 คะแนน
1 ข้อ2 ข้อ3-4 ข้อ5-7 ข้อ8-10 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน EdPEx ประเมินภาพรวมประเด็น 1-8 ประเมิน 45 คะแนน ประเมินแบบ ADLI

ผลการดำเนินการ

1 การออกแบบการจัดการศึกษา วิจัย และบริการฯ และกระบวนการ(การจัดทำข้อกำหนดของการจัดการศึกษา วิจัย และบริการฯ และกระบวนการทำงานที่สำคัญ) คณะมีวิธีการอย่างไร

          ผลการดำเนินการ

          แนวทางการดำเนินงาน : คณะมีแนวคิดการออกแบบหลักสูตร การบริการและกระบวนการทำงานโดยคำนึงถึงเป้าหมายองค์กร นโยบาย ระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ทบทวน กระบวนการดำเนินงานที่ผ่านมา วิเคราะห์ความต้องการความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เป็นข้อมูลนำเข้าในการออกแบบ ดังนี้

          การถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ : ผ่านคู่มือปฏิบัติงาน ดังนี้ 1) คู่มือบริหารหลักสูตร 2) คู่มืองานวิจัย 3) คู่มือบริการวิชาการ 4) คู่มืองานกิจการนักศึกษาและงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 5) คู่มือระบบอาจารย์ที่ปรึกษา 6) คู่มือบริหารความเสี่ยง 7) คู่มือการประกันคุณภาพของวิทยาลัย

          การเรียนรู้ : คณะมีระบบทบทวนแนวการดำเนินงานหลักด้านการจัดการศึกษา การวิจัย และการบริการ โดยดูผลการดำเนินงานลพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง สรุปแนวปฏิบัติที่ดีในเรื่องของระบบงานที่ดีของคณะวิชา

          การบูรณาการ : ระบบที่ดีและมีการพัฒนาและเป็นแนวปฏิบัติที่ดีหลายเรื่อง ได้แก่ ระบบการดูแลนักศึกษาทีมีผลการเรียนไม่เป็นไปตามเกณฑ์และ KM ของปีการศึกษา 2564 และ 2565 (NS 6.1.1-01 ถึง NS 6.1.1-02)

2 การออกแบบการจัดการศึกษา วิจัย และบริการฯ และกระบวนการ(กระบวนการทำงานที่สำคัญ) กระบวนการทำงานที่สำคัญของคณะมีอะไรบ้าง

และ

3 การออกแบบการจัดการศึกษา วิจัย และบริการฯ และกระบวนการ(แนวคิดในการออกแบบ) คณะมีวิธีการอย่างไรในการออกแบบการจัดการศึกษา วิจัย และบริการฯ และกระบวนการทำงานที่สำคัญเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนด

          ผลการดำเนินการในข้อ 2 และ 3

          แนวทางการดำเนินงาน : คณะมีการจัดกระบวนการทำงานที่สำคัญ นำข้อกำหนดสำคัญมาใช้เป็นแนวทางการออกแบบการจัดการศึกษา การวิจัย การบริการวิชาการ เพื่อให้การดำเนินการตามกระบวนการบรรลุตัวชี้วัดระบบงานหลักและระบบงานรอง ตามพันธกิจ 3 ด้าน คือ

          1) การผลิตบัณฑิต 2) การวิจัย และ 3) การบริการวิชาการ

                     โดยมีรายละเอียดข้อกำหนดที่สำคัญ แนวคิดในการออกแบบ ตัวชี้วัดภายในกระบวนการ ตัวชี้วัดระบบงาน และผู้รับผิดชอบดังนี้

ระบบงานหลัก

ระบบงานรอง

ข้อกำหนดที่สำคัญ

(แนวคิดในการออกแบบ)

ตัวชี้วัดภายในกระบวนการ Leading Indicator

ตัวชี้วัดผลของระบบงาน Lagging Indicator

ผู้รับผิดชอบ

1. การผลิตบัณฑิต

1. การบริหารหลักสูตร

– เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ.2565

– พัฒนาคุณภาพหลักสูตรตามเกณฑ์ AUNQA

– ข้อมูลคสามต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (ผู้ใช้บัณฑิต)

ปรับปรุงหลักสูตรทุก 5 ปี

– หลักสูตรผ่านการรับรองของสภาวิชาชีพ และ สกอ.

รองคณบดีฝ่ายวิชาการ

และผู้รับผิดชอบหลักสูตร

2. การรับนักศึกษา

– คุณสมบัติของผู้เรียนหลักสูตร

– วิธีการรับนักศึกษาของวิทยาลัย

– ร้อยละคุณสมบัติผู้เรียนตามที่กำหนด

– ความพึงพอใจต่อกระบวนการรับเข้า

– ร้อยละของนิสิตรับเข้าได้ตามแผน

รองคณบดีฝ่ายวิชาการ

3. การจัดการเรียนการสอน

– ผลลัพธ์การเรียนรู้ตามาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2565

– มาตรฐานรับรองสถาบันการศึกษา พ.ศ.2563

– ผลการประเมินความพึงพอใจผู้ใช้บัณฑิต

– ร้อยละของรายวิชาในหลักสูตรมีการจัดการเรียนการสอน Active Learning

– ร้อยละอาจารย์ที่ได้รับการพัฒนาศักยภาพ

– ร้อยละของผู้เรียนที่ศึกษาตามระยะเวลาที่กำหนด

– ระดับความพึงพอใจต่อหลักสูตร

– ร้อยละของผลการสอบความรู้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพ (ในปีแรก)

– ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต

รองคณบดีฝ่ายวิชาการและผู้รับผิดชอบหลักสูตร

4. การพัฒนานักศึกษา

– คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ (TQF 4 ด้าน)

– ความต้องการของนักศึกษาและผู้ใช้บัณฑิต

– จำนวนการทำความผิดด้านคุณธรรม จริยธรรมของนักศึกษา

– ระดับความพึงพอใจต่อสิ่งสนับสนุนการศึกษา

– ร้อยละของบัณฑิตที่ได้งานทำในระยะ 1 ปีแรก

– ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต

– คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมเชิงคุณธรรมที่พึงประสงค์ (ประพฤติดี มีวินัย ใฝ่กิจการ และประสานประโยชน์)

รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา

5. การประเมินผลการเรียนรู้

– กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา และผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง พ.ศ.2565

– มาตรฐานการับรองสถาบันปีการศึกษา 2563

– มีการทวนสอบการให้คะแนนและการตัดเกรดทุกรายวิชา

– ร้อยละของวิชาที่มีการจัดทวนสอบผลสัมฤทธิ์

– ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่หลักสูตรกำหนด

รองคณบดีฝ่ายวิชาการ

รองคณบดีฝ่ายส่งเสริมการศึกษา

2.การวิจัย

1. การผลิตผลงานวิจัย

– พัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่

– ระเบียบการของจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (ของวิทยาลัย

– ทำวิจัยตามความต้องการของแหล่งทุน หรือด้านความเชี่ยวชาญของนักวิจัย

– มีการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยอย่างต่อเนื่องปีละ 1 ครั้ง

– รายงานความก้าวหน้าของกระบวนการวิจัยทุก 6 เดือน

– จำนวนวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ 5 ปี/ชิ้นงาน/คน (เป็นชื่อแรก)

รองคณบดีฝ่ายวิจัย

2. การตีพิมพ์ผลงานวิจัย

– ค้นวารสารที่ตรงกับศาสตร์ของผลงานวิจัย

– ต้นฉบับผลงานวิจัยเป็นไปตามข้อกำหนดของการตีพิมพ์

– ร้อยละค่าถ่วงน่ำหนักของผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ เผยแพร่ในระดับชาติ และนานาชาติ ต่อจำนวนอาจารย์

3. การบริการวิชาการ

1. จัดโครงการบริการวิชาการแบบทั่วไป (ให้เปล่า)

2. โครงการบริการวิชาการ แบบเฉพาะ (จัดอบรมหลักสูตรระยะสั้น)

1. ความต้องการของชุมชน

2. ศักยภาพและความเชียวชาญของบุคลากรของคณะฯ

– หลักสูตรได้รับการรับรองจากสภาการพยาบาล

– ดำเนินโครงการได้ตามระยะเวลาที่กำหนด

– หลักสูตรได้รับการปรับปรุงตรวจสอบ

– ระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมของการ

– ร้อยละของผู้เข้าอบรมสำเร็จตามเกณฑ์ของหลักสูตร

รองคณบดีฝ่ายวิจัยและการพัฒนาองค์ความรู้

          การนำสู่การปฏิบัติ : คณะฯ มอบหมายให้รองคณบดี ในแต่ละส่วนงานนำข้อกำหนดที่สำคัญ มาออกแบบรูปแบบการดำเนินงาน/โครงการ ตามแผนปฏิบัติงานพร้อมการกำหนดค่าเป้าหมายตัวชี้วัด ให้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์และเกณฑ์มาตรฐานที่เกี่ยวข้อง

          การเรียนรู้ : คณะฯ มีการปรับการดำเนินงาน เพื่อให้บรรลุตามตัวชี้วัดค่าเป้าหมายของกระบวนการ ทั้ง 3 พันธกิจอย่างต่อเนื่อง พันธกิจการวิจัย มีผลการดำเนินงานในปี พ.ศ.2564 สูงขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจนคือ ค่าถ่วงน้ำหนักของผลงานวิจัย ที่ได้รับการเผยแพร่ตีพิมพ์ในระดับชาติและนานาชาติ ค่าเฉลี่ย 3 ปี = 37.45 (เกณฑ์รับรองสถาบันการศึกษาพยาบาลสภาการพยาบาล ร้อยละ 30 ได้คะแนนเต็ม)

          การบูรณาการ : คณะฯ มีการดำเนินงานตามกระบวนการหลัก และตามเกณฑ์มาตรฐานการรับรองสถาบันพยาบาล ซึ่งผลการรับรองมีระยะเวลาการรับรองที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปีการศึกษาได้รับการรับรองเป็นระยะเวลาสูงสุดคือ 5 ปี (2565-2570) (NS 6.1.2-01)

4 การจัดการและการปรับปรุงกระบวนการ(การนำกระบวนการไปสู่การปฏิบัติ) คณะมั่นใจได้อย่างไรว่าการปฏิบัติงานประจำวันของกระบวนการทำงานต่างๆเป็นไปตามข้อกำหนดที่สำคัญ

          แนวทางการดำเนินงาน : คณะฯ มีการนำกระบวนการไปสู่การปฏิบัติตามโครงกร้างการบริหารของคณะ โดยคณบดีมอบหมายให้รองคณบดี หัวหน้างานสำนักงานคณบดี หัวหน้าภาควิชา และการดำเนินงานในรูปแบบของกรรมการดำเนินงาน โดยใช้แผนปฏิบัติงาน และคู่มือปฏิบัติงานเป็นเครื่องมือ ในการถ่ายถอดนโยบายเป้าหมายของการดำเนินงาน เพื่อนำไปออกแบการดำเนินงาน กำกับติดตาม ประเมินผลตัวชี้วัด ที่ระบุไว้ในแผนปฏิบัติงาน มีการทบทวนผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง ปรับปรุงแผนการดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมาย (NS 6.1.4-01)

5 การจัดการและการปรับปรุงกระบวนการ(กระบวนการสนับสนุน) คณะมีวิธีการอย่างไรในการกำหนดกระบวนการสนับสนุนที่สำคัญ

          แนวทางการดำเนินงาน : ระบบงานสนับสนุนภายใต้การดำเนินงาน รองคณบดีฝ่ายสนับสนุนการศึกษา และหัวหน้าสำนักงานคณบดี โดยมีหน้าที่ความรับผิดชอบ ตามแผนงานบริหารบุคคล แผนงานอาคารอุปกรณ์และสถานที่ และถ่ายทอดสู่การปฏิบัติผ่านโครงการและกิจกรรม ตามแผนงานและกำกับติดตามผลการดำเนินงาน ตามตัวชี้วัดโครงการและแผนงาน และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (NS 6.1.5-01)

6 การจัดการและการปรับปรุงกระบวนการ(การปรับปรุง) คณะมีวิธีการอย่างไรในการปรับปรุงกระบวนการทำงานที่เพิ่มการเรียนรู้ของผู้เรียน ปรับปรุงการจัดการศึกษา วิจัย และบริการฯ และผลการดำเนินการ เสริมสร้างสมรรถนะหลักของคณะ และลดความแปรปรวนของกระบวนการ

          แนวทางการดำเนินงาน : คณะฯ มีการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานหลักในประเด็นที่ผลการดำเนินงานไปม่บรรลุเป้าหมาย จัดทำแผนพัฒนา (Improvement plan) และแผนบริหารความเสี่ยง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการ และผลงานให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้

          การนำสู่การปฏิบัติ : โดยผู้รับผิดชอบโครงการตามแผนพัฒนา และแผนบริหารความเสี่ยง

การเรียนรู้ : มีการติดตามผลการดำเนินงานตามแผนพัฒนาและแผนบริหารความเสี่ยง ผลการดำเนินงานทำให้ประสิทธิภาพของผลลัพธ์ของระบบงานดีขึ้น และความเสี่ยงลดลงได้

          การบูรณาการ : มีการบูรณาการเรื่องการบริหารความเสี่ยงลงไปยังสาขาวิชา เพื่อให้มีการพัฒนาประสิทธิภาพของภาควิชาตามพันธกิจหลัก สอดคล้องกับคณะวิชา (NS 6.1.6-01ถึง NS 6.1.6-07)

7 การจัดการเครือข่ายอุปทาน คณะมีการจัดการเครือข่ายอุปทานอย่างไร

          ผลการดำเนินการ

          แนวทางการดำเนินงาน : คณะฯ กำหนดเครือข่ายอุปทาน (Supply) คือผู้ส่งมอบ โดยมีผู้ส่งมอบ(อุปทาน) งานคือ รถตู้ (รับ-ส่งนักศึกษา/อาจารย์ไปแหล่งฝึก) วัสดุสิ้นเปลืองในการดำเนินงาน อุปกรณ์ในการจัดการเรียนการสอน และอุปกรณ์สำนักงาน คณะมีการดำเนินงาน โดยวิทยาลัยดำเนินการจัดการเครือข่ายอุปทานของทุกคณะวิชา (NS 6.1.6-01 ถึง NS 6.1.6-02)

8 การจัดการนวัตกรรม คณะมีการดำเนินการกับโอกาสในการสร้างนวัตกรรมอย่างไร

          การดำเนินการ

          แนวทางการดำเนินงาน : ในการจัดทำกลยุทธ์ได้คำนึงถึงการพัฒนาคุณภาพอาจารย์ และนักศึกษาด้านการสร้างนวัตกรรม โดยกำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายด้านนวัตกรรมไว้ 2 ตัว คือ 1) ผลงานนวัตกรรมของนักศึกษาได้รับรางวัล ≥1 รางวัล 2) จำนวนผลงานนวัตกรรมของอาจารย์ที่ได้รับรางวัลระดับชาติ ≥1 ผลงาน

          การนำสู่การปฏิบัติ : คณะฯ ได้มอบหมายให้รองคณบดี เป็นผู้รับผิดชอบหลักและติดตามกำกับ ในแต่ละกลยุทธ์และในการดำเนินงานตามแผน ทั้งนี้งานนโยบายและแผนได้ติดตามผลการดำเนินงาน และรายงานคณะกรรมการบริหารทุก 6 เดือนและ 12 เดือน

          การเรียนรู้ : มีการถ่ายทอดตัวชี้วัดหลักด้านนวัตกรรมสู่ภาควิชา เพื่อส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรม และมีการพัฒนาอาจารย์ด้านการสร้างนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง

          การบูรณาการ : การบูรณาการสร้างนวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอนวิชาหลักคือ วิชานวัตกรรม วิชารอง ได้แก่ รายวิชาพืชสมุนไพรและรายวิชาปฏิบัติการพยาบาล ให้มีการบูรณาการนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาวะ และส่งนวัตกรรมเข้าประกวดอย่างสม่ำเสมอ (NS 6.1.8-01)

9 มีระบบการออกแบบหลักสูตรและสาระวิชาในหลักสูตรให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง

          ผลการดำเนินงาน

          แนวทางการดำเนินงาน : คณะฯ มีการพัฒนาหลักสูตรตามวงรอบทุก 5 ปี ในปีการศึกษา 2565 ได้จัดทำหลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566 ทั้งนี้ในกระบวนการพัฒนาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ ได้ให้พัฒนาให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม เศรษฐกิจ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และบริบทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรวมทั้งนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาหลักสูตร นำมาเป็นข้อมูลในการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ ที่คาดหวังของหลักสูตร หรือผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตร (PLOs) การออกแบบการเรียนการสอน โดยใช้ระบบการบริหารหลักสูตรของคณะ ในการควบคุมกำกับการดำเนินงาน การติดตามประเมินผลการเรียนรู้ ในรายวิชาตามแผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบผลลัพธ์การเรียนรู้ ระดับหลักสูตร (PLOs) สู่รายวิชา (Curriculum Mapping) และทดสอบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ เพื่อปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ โดยทำหลักสูตรที่ปรับปรุงใหม่ เริ่มดำเนินการในปีการศึกษา 2566 นี้ (NS 6.1.9-01 ถึง NS 6.1.9-02)

10 มีระบบการจัดเตรียมสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และการบำรุงรักษาให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง

          ผลการดำเนินการ

          แนวทางการดำเนินงาน : คณะฯ มีการจัดงบประมาณ และทรัพยากรที่เอื้อต่อการดำเนินงาน ตามพันธกิจครบทุกพันธกิจ และมีการอนุมติงบประมาณด้านการจัดหาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ในแผนปฏิบัติงาน อย่างต่อเนื่องทุกปีการศึกษา โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้

  1. สำรวจความต้องการในการใช้ทรัพยากรทุกพันธกิจ
  2. จัดตั้งงบประมาณเพื่อจัดซื้อ/จัดหา ประจำปีการศึกษา
  3. จัดซื้ออุปกรณ์/สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ตามแผน
  4. ประเมินความพึงพอใจต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ของอาจารย์ และนักศึกษา

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

10 ข้อ 

IQA (1-10)

1,2,3,4,5,6,7,8,9,10

10 ข้อ

5 คะแนน

EdPEx (1-8)

1,2,3,4,5,6,7,8

ร้อยละ 30 (45)

13.5 คะแนน

รายการหลักฐาน

รหัสหลักฐาน

รายการ

NS 6.1.1-01

คู่มือ การบริหารหลักสูตรปี 2565

NS 6.1.1-02

คู่มือ งานวิจัย

NS 6.1.1-03

คู่มือ งานบริการวิชาการ

NS 6.1.1-04

คู่มือ งานกิจการนักศึกษา/งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

NS 6.1.1-05

คู่มือ อาจารย์ที่ปรึกษา

NS 6.1.1-06

รายงานสรุป KM ปีการศึกษา 2564 และ 2565

NS 6.1.2-01

ใบรับรองสถาบันการศึกษา (ปี2565)

NS 6.1.4-01

ผลการดำเนินงานปีการศึกษา 2565

NS 6.1.5-01

ผลการดำเนินงานปีการศึกษา 2565

NS 6.1.6-01

แผนพัฒนาคุณภาพ (Improvement Plan) ปี 2565

NS 6.1.6-02

แผนบริหารความเสี่ยง ระดับคณะ

NS 6.1.6-03

ผลการดำเนินงานแผนพัฒนา (ปี2565)

NS 6.1.6-04

ผลการบริหารความเสี่ยง ปี 2565

NS 6.1.7-01

ใบขอใช้รถตู้

NS 6.1.7-02

แผนงานย่อย 6.3 แผนบริหารอาคาร วัสดุ อุปกรณ์

NS 6.1.8-01

แผนปฏิบัติงานปีการศึกษา 2565

NS 6.1.9-01

สรุปผลการทวนสอบรายวิชาการพยาบาลปี 2565

NS 6.1.9-02

สรุปผลกการทวนสอบระดับหลักสูตรปี 2565

NS 6.1.10-01

แผนปฏิบัติงานปีการศึกษา 2565 (แผนงานย่อย 6.3)

NS 6.1.10-02

ผลการประเมินความพึงพอใจต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ของอาจารย์และนักศึกษาปี 2565