องค์ประกอบที่ 2: ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 กลยุทธ์ (การจัดทำกลยุทธ์)

องค์ประกอบที่ 2 กลยุทธ์และการบริหาร

ตัวบ่งชี้ที่ 2.1 กลยุทธ์ (การจัดทำกลยุทธ์)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน2 คะแนน3 คะแนน4 คะแนน5 คะแนน
1 ข้อ2 ข้อ3-4 ข้อ5-6 ข้อ7-8 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน EdPEx ประเมินภาพรวมประเด็น 1-6 ประเมิน 45 คะแนน ประเมินแบบ ADLI

ผลการดำเนินการ

1 กระบวนการจัดทำกลยุทธ์(กระบวนการวางแผนกลยุทธ์)  คณบดีมีวิธีการอย่างไรในการวางแผนกลยุทธ์ ขั้นตอนที่สำคัญของกระบวนการวางแผนกลยุทธ์มีอะไรบ้าง ผู้เกี่ยวข้องที่สำคัญมีใครบ้าง กรอบเวลาของการวางแผนระยะสั้น ระยะยาวคืออะไร และคณบดีมีวิธีการอย่างไรในการทำให้กระบวนการวางแผนกลยุทธ์มีความสอดคล้องกับกรอบเวลาดังกล่าว กระบวนการวางแผนกลยุทธ์ได้คำนึงถึงความจำเป็นที่อาจเกิดขึ้นของคณะในเรื่อง การเปลี่ยนแปลงแบบพลิกโฉม การจัดลำดับความสำคัญของเรื่องที่ริเริ่มขึ้นเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ความคล่องตัวของคณะ อย่างไร

          การดำเนินการ

          แนวทางการดำเนินงาน : คณะฯ มีขั้นตอนกระบวนการวางแผนกลยุทธ์ ดังนี้

                     ขั้นที่ 1 ใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ SWOT Analysis

                     ขั้นที่ 2 กำหนดประเด็นยุทธศาตร์ กลยุทธ์ และเป้าประสงค์ของคณะวิชา สอดคล้องกับวิทยาลัย ที่มุ่งเน้นให้ให้ความสำคัญเพื่อให้สามารถบรรลุวิสัยทัศน์ของคณะวิชา และวิสัยพัฒนาของวิทยาลัย

                     ขั้นที่ 3 นำเป้าประสงค์ของแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ มาจัดทำแผนยุทธศาตร์ (Strategy Map) เชื่อมโยงสู่แผนปฏิบัติ

                     ขั้นที่ 4 เป้าประสงค์ในแต่ละกลยุทธ์ กำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน (Key Performance Indicators) ที่สะท้อนได้ว่าองค์กรสามารถดำเนินงานได้บรรลุเป้าประสงค์ พร้อมกำหนดเป้าหมาย (Target) สำหรับตัวชี้วัดแต่ละตัว

                     ขั้นที่ 5 สำหรับเป้าประสงค์ในแต่ละกลยุทธ์ พิจารณาปัจจัยเสี่ยง (Risk Factors) ที่จะทำให้ไม่บรรลุเป้าประสงค์ที่ต้องการ จัดทำแผนบริหารความเสี่ยง สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ

          การนำแผนสู่การปฏิบัติ : แผนกลยุทธ์ 5 ปี ของคณะเป็นเครื่องมือให้ผู้บริหาร นำสู่การบริหารในทิศทางเดียวกัน  เพื่อมุ่งสู่วิสัยทัศน์ของคณะ โดยการถ่ายทอดกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ 3 ช่องทางคือ

                               1) ถ่ายทอดเป็นแผนปฏิบัติงานประจำปี ผู้บริหารได้แก่รองคณบดี/หัวหน้าสำนักงานคณบดี/หัวหน้าสาขา รับผิดชอบในแต่ละตัวบ่งชี้ตามแผนกลยุทธ์

                               2) ถ่ายทอดเป็นแผนปฏิบัติการประจำปีระดับสาขาและคณะกรรมการชุดต่างๆ โดยพิจารณากลยุทธ์และตัวชี้วัดหลักให้สอดคล้องกับพันธกิจของสาขาวิชา และหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการ

          การเรียนรู้ : การประเมินผลติดตามความสำเร็จของานที่มีการถ่ายทอด KIP สู่ส่วนงานตามพันธกิจของคณะวิชา

          การบูรณาการ : ปี 2565 ปรับตัวชี้วัดเพิ่มเติมจากตัวชี้วัดกลยุทธ์ และผลการดำเนินงาน โดยใช้รูปแบบ Balance Scorecard ตามตัวชี้วัดเดิมที่ใช้อยู่และวางแผนพัฒนาให้ครอบคลุมมากขึ้นในปีการศึกษา2566 (NS 2.1.1-01 ถึง NS 2.1.1-03)

2 กระบวนการจัดทำกลยุทธ์(นวัตกรรม) กระบวนการจัดทำกลยุทธ์ของคณะกระตุ้นและทำให้เกิดนวัตกรรมได้อย่างไร

          การดำเนินการ

          แนวทางการดำเนินงาน : ในการจัดทำกลยุทธ์ได้คำนึงถึงการพัฒนาคุณภาพอาจารย์ และนักศึกษาด้านการสร้างนวัตกรรม โดยกำหนดตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายด้านนวัตกรรมไว้ 2 ตัว คือ 1) ผลงานนวัตกรรมของนักศึกษาได้รับรางวัล ≥1 รางวัล 2) จำนวนผลงานนวัตกรรมของอาจารย์ที่ได้รับรางวัลระดับชาติ ≥1 ผลงาน

          การนำสู่การปฏิบัติ : คณะฯ ได้มอบหมายให้รองคณบดี เป็นผู้รับผิดชอบหลักและติดตามกำกับ ในแต่ละกลยุทธ์และในการดำเนินงานตามแผน ทั้งนี้งานนโยบายและแผนได้ติดตามผลการดำเนินงาน และรายงานคณะกรรมการบริหารทุก 6 เดือนและ 12 เดือน

          การเรียนรู้ : มีการถ่ายทอดตัวชี้วัดหลักด้านนวัตกรรมสู่ภาควิชา เพื่อส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรม และมีการพัฒนาอาจารย์ด้านการสร้างนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง

          การบูรณาการ : การบูรณาการสร้างนวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอนวิชาหลักคือ วิชานวัตกรรม วิชารอง ได้แก่ รายวิชาพืชสมุนไพรและรายวิชาปฏิบัติการพยาบาล ให้มีการบูรณาการนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาะ และส่งนวัตกรรมเข้าประกวดอย่างสม่ำเสมอ (NS 2.1.2-01 ถึง NS 2.1.2-04)

3 กระบวนการจัดทำกลยุทธ์(การวิเคราะห์และกำหนดกลยุทธ์) คณบดีมีวิธีการอย่างไรที่รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งพัฒนาสารสนเทศเพื่อใช้ในกระบวนการวางแผนกลยุทธ์

          การดำเนินการ

          แนวทางการปฏิบัติ : คณะฯ มีการรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการกำหนดกลยุทธ์โดยใช้ข้อมูลตามพันธกิจ ดังนี้

พันธกิจ

การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

1. การผลิตบัณฑิต

– อัตราการสอบผ่านใบประกอบวิชาชีพในรอบ 1 ปี

– อัตราการมีงานทำของบัณฑิต

– ความพึ่งพอใจของผู้ใช้บัณฑิต

– ความพึ่งพอใจต่อคุณภาพการสอนและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

– ผลการสอบภาษาอังกฤษของนักศึกษาตามเกณฑ์ของวิทยาลัย

2. ด้านการวิจัย

– ร้อยละถ่วงน้ำหนักของผลงานวิจัยต่อจำนวนอาจารย์ประจำ

– จำนวนเงินทุนวิจัยต่อจำนวนอาจารย์

3. ด้านการบริหารวิชาการ

– ผลการประเมินโครงการบริการวิชาการ

– ข้อคิดเห็น/ความต้องการของชุมชน

4. ด้านการบริการ

– ผลการประเมินคุณภาพระดับคณะ

– ผลการประเมินคุณภาพระดับหลักสูตร

– ผลการดำเนินงานในการนำแผนสู่การปฏิบัติใน 3 มิติ (มิติโครงการ, มิติตัวชี้วัดโครงการ, มิติการใช้งบประมาณ)

– อัตราความพึ่งพอใจและมีความสุขในการปฏิบัติงานของอาจารย์และบุคลากร

          การถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ : งานนโยบายและแผนเป็นผู้รวบรวมข้อมูลและนำเสนอ คณะกรรมการบริหาร เพื่อวิเคราะห์และนำสู่การปรับแผนหรือปรับกลยุทธ์ในการทำงาน         

          การเรียนรู้ : ข้อมูลที่ใช้จะรวบรวมนำเสนอ คณะกรรมการบริหารทุก 6 เดือนและ 12 เดือน เพื่อพิจารณาและรวบรวมวิเคราะห์ ผลการดำเนินงาน นำสู่กระบวนการวางแผนกลยุทธ์ต่อไป

          การบูรณาการ : คณะฯ มีการสรุปผลการดำเนินการตามกลยุทธ์อย่างต่อเนื่องและมีแนวทางการพัฒนาตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการบริหาร (NS 2.1.3-01 ถึง NS 2.1.3-02)

4 กระบวนการจัดทำกลยุทธ์(ระบบงานและสมรรถนะหลัก) คณบดีมีวิธีการอย่างไรในการตัดสินใจว่ากระบวนการสำคัญใดจะดำเนินการโดยบุคลากรของคณะ และกระบวนการใดจะดำเนินการจากภายนอกโดยผู้ส่งมอบ คู่ความร่วมมือ ที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ

          การดำเนินการ

          แนวทางการดำเนินงาน : คณะฯ ได้ออกแบบงานตามระบบพันธกิจ ซึ่งมีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจและสมรรถนะหลักของคณะ ทั้งในการดำเนินงานตามนโยบายของวิทยาลัยในการใช้ทรัพยากรร่วมกัน รวมถึงการอาศัยคู่ความร่วมมือ เพื่อให้การผลิตบัณฑิตมีประสิทธิภาพ โดยมีรายละเอียดดังนี้

พันธกิจระบบงานผู้ดำเนินการคู่ความร่วมมือ/พันธมิตร
การผลิตบัณฑิต การบริหารหลักสูตรและการจัดการศึกษา
1 การบริหารหลักสูตร
2 การรับนักศึกษา
3 การจัดการเรียนการสอน
4 การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้
การประเมินหลักสูตร
– คณะพยาบาลศาสตร์
– คณะพยาบาลศาสตร์
– คณะพยาบาลศาสตร์
– คณะพยาบาลศาสตร์
-คณะศึกษาศาสตร์ให้ความร่วมมือ ในการจัดการเรียนการสอนในหมวดการศึกษาทั่วไป เป็นภาษาอังกฤษ
– แหล่งฝึกปฏิบัติ โดยใช้สถานที่ในการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติ
– อาจารพี่เลี้ยงจากแหล่งฝึกปฏิบัติ
– อาจารย์พิเศษร่วมสอนในรายวิชาเฉพาะ Anatomy และ Physiology เป็นต้น
– อาจารย์พิเศษวิทยากร กิจกรรมการทำงานเป็นทีม
ระบบงานวิจัย
1 การสร้างนักวิจัย
2 การจัดหาทุนวิจัย
3 การทำวิจัย
4 การตีพิมพ์ผลงานวิจัย
คณะพยาบาลศาสตร์ สำนักวิจัย (วิทยาลัย) เพื่อให้ความรู้ และช่วยเหลือการทำวิจัย(คลีนิควิจัย)และร่วมมือในการทำวิจัย
การบริการวิชาการ ระบบงานการบริการวิชาการ
1 การค้นหาความต้องการของชุมชน
2 จัดทำแผนงาน/โครงการ
3 ดำเนินโครงการ
4 การตีพิมพ์ผลงานวิจัย
คณะพยาบาลศาสตร์ ผู้นำท้องถิ่น เขตอำเภอองครักษ์ร่วมมือโครงการพัฒนาชุมชน
นักศึกษากรณีบูรณาการกับการจัดการเรียนการสอน
การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมระบบงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
1 จัดทำแผนงาน/โครงการ
2 ดำเนินโครงการ
3 ติดตามประเมินผล
4 ปรับปรุงแผนงาน/โครงการ
คณะพยาบาลศาสตร์ ฝ่ายกิจการนักศึกษาวิทยาลัย โครงการจัดกิจกรรมร่วมกัน
เครือข่าย/รพสต./สถาบันการศึกษาในความร่วมมือทำวิจัยด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
การบริหารงานบุคคล
1 การสรรหา
2 การปฐมนิเทศ
3 การพัฒนาและฝึกอบรม
4 การธำรงรักษา
5 การประเมินผล
6 การให้รางวัลและการลงโทษ
คณะพยาบาลศาสตร์ ฝ่ายบุคคลวิทยาลัย ทำหน้าที่ทำสัญญารับเข้าทำงาน และบันทึกลงเวลาการทำงานและงานบุคคลอื่นๆ
– งานนโยบายและแผน
1 จัดทำแผนและตั้งงบประมาณ
2 การจัดสรรงบประมาณที่ได้รับ
3 การใช้จ่ายงบประมาณ
4 ติดตามกำกับการใช้งบประมาณ
5 การประเมินประสิทธิผลความคุ้มค่าของการใช้งบ
-การจัดหาพัสดุและการบำรุงรักษา
-งานบริการรถรับ-ส่งอาจารย์และนักศึกษาไปแหล่งฝึก
คณะพยาบาลศาสตร์


คณะพยาบาลศาสตร์


คณะพยาบาลศาสตร์
เช่น งบทุนวิจัย งบพัฒนาอาจารย์ งบการให้ทุนการศึกษาต่อในระดับสูงสำหรับอาจารย์ประจำคณะวิชา



ผ่ายพัสดุวิทยาลัย คณะเปิดพัสดุตามงบที่ตั้งไว้ และแจ้งซ่อมบำรุงอาคารสถานที่และอุปกรณ์
เครื่องใช้อื่นๆกับฝ่ายสถานที่ของวิทยาลัย

วิทยาลัยเป็นผู้จัดจ้างรถตู้เพื่อให้บริการ

การนำแผนสู่การปฏิบัติ : ระบบงานหลักของคณะพยาบาลศาสตร์ ระบุไว้ในคู่มือปฏิบัติงานดังนี้ คู่มือบริหารหลักสูตร คู่มือบริหารบุคคล คู่มือกิจการนักศึกษา คู่มืองานวิจัย คู่มืองานบริการวิชาการสังคม คู่มืองานศิลปวัฒนธรรม คู่มืองานบริหารบุคคล สำหรับระบบงานรอง ปฏิบัติตามระเบียบปฏิบัติของวิทยาลัย 

(NS 2.1.4-01)

5 วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์(วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ที่สำคัญ) วัตถุประสงค์ของคณะมีอะไรบ้าง

การดำเนินการ
แนวทางการปฏิบัติ : คณะฯ มีการทำวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ในแต่ละยุทธศาสตร์มาเป็นแนวทางการพิจารณาวัตถุประสงค์/เป้าประสงค์ที่สำคัญตามพันธกิจและระบบงานของคณะ ดังนี้

วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์

กลยุทธ์

วัตถุประสงค์ของคณะวิชาตามพันธกิจ

– บัณฑิตมีคุณภาพได้มาตรฐาน มีสมรรถนะด้านภาษาอังกฤษ

ก.1 พัฒนาหลักสูตรการศึกษาตอบสนองความต้องการของสังคมไทยและภูมิภาคอาเซียน

ก.2 พัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียน มีทักษะทางปัญญาและมีสมรรถนะด้านภาษาอังกฤษ

1. หลักสูตรมีคุณภาพและมาตรฐานระดับชาติและได้รับการรับรองจากสภาวิชาชีพ

2 จัดการศึกษาตามกรอบมาตรฐานของอุดมศึกษาของชาติ

3. พัฒนาบัณฑิตให้มีสมรรถนะด้านวิชาการ/วิชาชีพตามมาตรฐานระดับชาติและสภาวิทยาลัย

4. พัฒนาอาจารย์ในการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพมาตรฐานสากล

– ผลิตผลงานวิจัย ผลงานวิชาการและนวัตกรรมที่มีคุณภาพระดับชาติ

ก.3 ผลิตผลงานวิจัย ผลงานวิชาการและนวัตกรรมที่มีคุณภาพ

ก.4 พัฒนาเครือข่ายการผลิตผลงานวิจัย ผลงานวิชาการและนวัตกรรมทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ

1. พัฒนาองค์ความรู้ด้านการวิจัย/วิชาการและนวัตกรรมที่สอดคล้องกับบริบทของสถาบัน และตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ

2. พัฒนาเครือข่ายด้านการวิจัย/วิชาการและนวัตกรรม

3. ส่งเสริมพัฒนาสมรรถนะและสร้างขวัญนักวิจัย

– มีศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิชาการ/ด้านวิชาชีพที่ได้รับการยอมรับ

ก.5 ยกระดับความเชี่ยวชาญของบุคลากรและให้บริการทางวิชาการในการสร้างชุมชนเข้มแข็ง

ก.6 เร่งรัดพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศตามความเชี่ยวชาญ

1. จัดบริการวิทยากร แบบทั่วไปและแบบเฉพาะ และมีแผนการใช้ประโยชน์ที่สร้างคุณค่าจากบริการวิชาการ

2. สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆในการให้บริการวิชาการ

3. สร้างรายได้จากการให้บริการวิชาการสังคม

4. ส่งเสริมการจัดประสบการณ์การเรียนการสอนจากสภาพจริง

5. จัดบริการวิชาการให้เกิดผลลัพธ์ที่สร้างความพึ่งพอใจต่อชุมชนและสังคมอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

– บุคลากรทุกระดับและนักศึกษาตระหนักและเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมไทย

ก.7 ส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรทุกระดับและนักศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมนานาชาติ

ก.8 เร่งรัดพัฒนาสถาบันให้เป็นสถาบันอุดมศึกษาสีเขียว

1. ส่งเสริมให้บุคลากรและนักศึกษาตระหนักถึงคุณค่าต่อศิลปวัฒนธรรมของชาติและภูมิปัญญาไทย

2. เพื่อบูรณาการการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และหรือภูมิปัญญาไทยในการจัดการเรียนการสอน

3. เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ด้านศิลปวัฒนธรรม และการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมให้กับบุคลากรภายในและภายนอก

– ใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารองค์กรที่มุ่งสู่ “งานได้ผลคนเป็นสุข”

ก.9 บริหารงานด้วยหลักธรรมภิบาลมุ่งสู่องค์กรที่มีสมรรถนะสูง

ก.10 เร่งรัดพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ส่งเสริมการปฏิบัติงาน

1. พัฒนากระบวนการบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลและแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

2. พัฒนาระบบบริหารงานบุคคลให้มีประสิทธิภาพ ครอบคลุมการสรรหา การพัฒนา และการธำรงรักษาไว้

3. พัฒนระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อใช้ในการบริหารจัดการเรียนการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ

4. สนับสนุนส่งเสริมสภาพแวดล้อม และสิ่งสนับสนุนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักศึกษาและเอื้อต่อการปฏิบัติงงานของบุคลากร

          การนำสู่การปฏิบัติ : คณะฯ ได้ถ่ายทอดวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ผ่าน การกำหนดวัตถุประสงค์ของแผนปฏิบัติงาน และการกำหนดตัวชี้วัดค่าเป้าหมายในการบรรลุผลการดำเนินงาน สอดคล้องกับตัวชี้วัดค่าเป้าหมายของตัวชี้วัดกลยุทธ์ และเป้าหมายตัวชี้วัดตามพันธกิจของคณะวิชา

          การเรียนรู้ : มีการพัฒนาตัวชี้วัดให้สามารถสะท้อนถึงผลการดำเนินงานที่นำสู่วิสัยทัศน์ของคณะพยาบาลศาสตร์

          การบูรณาการ : การถ่ายทอดความสำเร็จของตัวชี้วัดในแต่ละปีงบประมาณ โดยกำหนดเป้าหมายให้มีความท้าทายในแต่ละปี ตามศักยภาพและงบประมาณในการดำเนินงาน (NS 2.1.5-01 ถึง NS 2.1.5-02)

6 วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์(การพิจารณาวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์) วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ของคณะสามารถสร้างความสมดุลอย่างเหมาะสมกับความต้องการที่มีความหลากหลาย และที่มีโอกาสจะแข่งขันกันเองได้อย่างไร

          การดำเนินการ

          แนวทางการปฏิบัติ : คณะฯ นำวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ของวิทยาลัย การนำข้อมูลการวิเคราะห์องค์กร (SWOT) คือจุดแข็งและจุดอ่อนของคณะวิชา อุปสรรคและโอกาสของผลิตภัณฑ์หลักของคณะคือ หลักสูตรพยาบาลและผู้ช่วยพยาบาล มาเป็นแนวทางการพิจารณาวัตถุประสงค์/เป้าประสงค์ที่สำคัญตามพันธกิจและระบบงานของคณะ และคำนึงถึงความสมดุลต่อความต้องการงบประมาณโดยใช้ความสำคัญตามพันธกิจหลักคือการผลิตบัณฑิต และจัดงบประมาณให้เพียงพอในทุกพันธกิจเพื่อสร้างโอกาสในการแข่งขันคือคุณภาพของผลผลิตบัณฑิตและการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน

          การถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ : คณะฯ กำหนดวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์และวัตถุประสงค์ตามพันธกิจและระบบงานของคณะ โดยการจัดทำแผนปฏิบัติงานประจำปี และให้ผู้รับผิดชอบตามพันธกิจนำสู่การปฏิบัติ

          การเรียนรู้ : คณะฯ มีการกำหนดกรอบของการบรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายเป็นระยะเวลา 5 ปี มีการกำหนดค่าเป้าหมายให้มีความท้าทายในแต่ละปีงบประมาณ เพื่อสร้างโอกาสของการแข่งขัน

          การบูรณาการ : คณะฯ จัดทำแผนปฏิบัติการโดยมีการบูรณาการพันธกิจหลักกับพันธกิจอื่น เช่น การวิจัย การบริการวิชาการสังคม การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตบัณฑิต พบว่าบัณฑิตมีอัตราจบการศึกษาตามระยะเวลาของหลักสูตรด้ตามเกณฑ์ และมีแนวโน้มสูงขึ้น เกณฑ์ รับรองสสถาบันการศึกษาพยาบาลร้อยละ ≥90 ของนักศึกษาที่จบตามเวลาของหลักสูตรในปีการศึกษา 2565 นักศึกษาจบการศึกษาตามเกณฑ์ร้อยละ 93  

7 กลยุทธ์ที่จัดทำ ทำให้บรรลุความสำเร็จตามวิสัยทัศน์ที่กำหนด

          การดำเนินการ

          คณะพยาบาลศาสตร์มีวิสัยทัศน์คือเป็นสถาบันการศึกษาพยาบาล ที่ได้มาตรฐานระดับชาติ และระดับนานาชาติ เป็นที่เชื่อมั่นและยอมรับของสังคมไทย และนานาชาติ

        การบรรลุวิสัยทัศน์ที่กำหนด ดังนี้

ประเด็นวิสัยทัศน์

การบรรลุความสำเร็จ

– เป็นสถาบันการศึกษาพยาบาลที่ได้มาตรฐานระดับชาติและที่เป็นยอมรับของสังคมไทย

– เป็นสถาบันการศึกษาที่ได้มาตรฐานระดับนานาชาติและเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ

– คณะได้รับการรับรองสถาบันการศึกษาพยาบาลจากสภาการพยาบาลในระดับสูงสุดคือ 5 ปี

– บรรลุเป้าหมายใน 2 ประเด็น

   1) บัณฑิตสามารถไปทำงานต่างประเทศได้

   2) บัณฑิตสามารถเทียบวุฒิและไปเรียนต่อระดับปริญญาโทต่างประเทศได้

(NS 2.1.7-01 ถึง NS 2.1.2-02)

8 กลยุทธ์ที่จัดทำ สอดคล้องกับแผนด้านการอุดมศึกษาเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนของประเทศ

          การดำเนินการ

          แนวทางการดำเนินงาน : คณะฯ มีการพัฒนาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์ และผู้ช่วยพยาบาล และมีการจัดการศึกษาและประเมินผลลัพธ์การผลิตบัณฑิตได้ตามเกณฑ์ของมาตรฐานอุดมศึกษาแห่งชาติ และตอบสนองความต้องการของประเทศ ด้านบุคลากรสายอาชีพในธุรกิจการบริการทางการแพทย์ ที่เป็นความต้องการของประเทศ ในภาครัฐและภาคเอกชน (NS 2.1-8-01)

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

8 ข้อ

IQA (1-8)

1,2,3,4,5,6,7,8

8 ข้อ

5 คะแนน

EdPEx (1-6)

1,2,3,6

ร้อยละ 50 (45คะแนน)

22.5 คะแนน

รายการหลักฐาน

https://drive.google.com/file/d/1UZJtPq_DqDILY8ufKs73Bf4PFWQnFEwE/view?usp=drive_link

รหัสหลักฐาน

รายการ

NS 2.1-1-01

แผนกลยุทธ์ 5 ปี (2563-2567) คณะพยาบาลศาสตร์

NS 2.1-1-02

แผนการปฏิบัติปีการศึกษา 2565

NS 2.1-1-03

รายงานการดำเนินงาน ตามแผลกลยุทธ์และ Balance Scorecard

NS 2.1-2-01

แผนปฏิบัติการประจำปี 2565

NS 2.1-2-02

มคอ. 3 วิชาวัตกรรม

NS 2.1-2-03

มคอ. 3 วิชาพืชสมุนไพร

NS 2.1-2-04

มคอ. 4 วิชาปฏิบัติการมารดาและทารก

NS 2.1-3-01

รายงานผลการดำเนินงานปี 2565

NS 2.1-3-02

รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารครั้งที่ 4/2565

NS 2.1-4-01

แฟ้มคู่มือระบบงาน ดังนี้

          – คู่มือบริหารหลักสูตร

          – คู่มือกิจการนักศึกษา/ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

          – คู่มือวิจัย

          – คู่มือบริการวิชาการ

NS 2.1-5-01

แผนกลยุทธ์คณะ 5 ปี (2563-2567)

NS 2.1-5-02

แผนปฏิบัติงานปี พ.ศ.2565

NS 2.1-6-01

รายงานนักศึกษาที่จบการศึกษาตามระยะเวลาที่กำหนด ปี 2565

NS 2.1-7-01

เอกสารรับรองสถาบันการศึกษาพยาบาลของสภาพยาบาล

NS 2.1-7-02

ใบเสนอทุนการศึกษาระดับปริญญาโทจากต่างประเทศ

NS 2.1-8-01

รายงานภาวะการมีงานทำของบัณฑิต ปี 2563-2565