องค์ประกอบที่ 9 ผลผลิตและผลลัพธ์

ตัวบ่งชี้ที่ 9.1 ผลการจัดการศึกษา (ผลผลิตและผลลัพธ์)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5 คะแนน
1 ข้อ 2 ข้อ 3-4 ข้อ 5-6 ข้อ 7 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน AUN-QA ประเมินภาพรวมประเด็น 1-5 ประเมิน 7 ระดับ

ผลการดำเนินการ

1. มีระบบกำกับติดตามและเทียบเคียงสมรรถนะ เพื่อปรับปรุงเกี่ยวกับ อัตราการสำเร็จการศึกษา การออกกลางคัน และระยะเวลาเฉลี่ยในการสำเร็จการศึกษา

            คณะพยาบาลศาสตร์ ใช้เกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร ตามระเบียบของวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซาว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2559 เป็นแนวทางในการกำหนดการสำเร็จการศึกษา
          คณะพยาบาลศาสตร์การกำกับติดตามอัตราการสำเร็จการศึกษา และการลาออกกลางคันของนักศึกษา โดยมีการติดตามข้อมูลที่แสดงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับนักศึกษา ได้แก่ อัตราการคงอยู่ ของนักศึกษา อัตราการสำเร็จการศึกษา มีการสรุปจำนวนและอัตราการคงอยู่ของนักศึกษาทุกชั้นปีในทุกปีการศึกษา และนำเข้าเสนอในคณะกรรมการบริหารหลักสูตร เพื่อวางแผนช่วยเหลือนักศึกษา มีการแต่งตั้งอาจารย์ประจำชั้นปี และจัดกลุ่มอาจารย์ที่ปรึกษาประจำบ้านเพื่อให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษาทางวิชาการ/การใช้ชีวิตแก่นักศึกษาทุกคน จัดชั่วโมงพบอาจารย์ประจำชั้น และอาจารย์ที่ปรึกษาทุกสัปดาห์ในตารางเรียนทุกชั้นปี โดยนักศึกษาสามารถขอรับคำปรึกษาผ่านช่องทางต่างๆที่เหมาะสม เมื่อพบปัญหาทั้งด้านการเรียน ความประพฤติ เศรษฐกิจ หรืออื่นๆ จะให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นก่อน หากไม่ได้ผลจะต้องรายงานให้ผู้บริหารทราบต่อไป
          ในปีการศึกษา 2565 มีอัตราการลาออกของนักศึกษารวมทั้งหมดในชั้นปีที่ 1 ร้อยละ 0 นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ร้อยละ 5.46 นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ร้อยละ 6.36 และนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ร้อยละ 4.45 ซึ่งเมื่อเทียบกับ ปีการศึกษา 2564 มีอัตราการลาออกของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ร้อยละ 2.73 นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ร้อยละ 6.36 นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ร้อยละ 3.33 และนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ร้อยละ 7.93
        ปีการศึกษา 2565 อัตราการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษา ร้อยละ 95.55 และในปีการศึกษา 2564 อัตราการสำเร็จการศึกษาของนักศึกษา ร้อยละ 92.07

2. มีระบบกำกับติดตามและเทียบเคียงสมรรถนะ เพื่อปรับปรุงเกี่ยวกับ อัตราการได้งานทำ การเป็นผู้ประกอบการอิสระ และการศึกษาต่อของผู้เรียน

             คณะพยาบาลศาสตร์ได้กำหนดเป้าหมายการมีงานทำของบัณฑิตในสาขาวิชาชีพพยาบาล และบัณฑิตได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 คณะพยาบาลศาสตร์ได้ติดตามบัณฑิตภายหลังการสำเร็จการศึกษาประมาณ 1 ปี โดยให้นักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาในแต่ละปีการศึกษากรอกข้อมูลแบบสอบถามการมีงานทำของบัณฑิตผ่าน Google form นอกจากนั้นคณะพยาบาลศาสตร์ได้จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมภาวะการมีงานทำของบัณฑิตตั้งแต่ยังไม่สำเร็จการศึกษา ได้แก่ การจัดโครงการปัจฉิมนิเทศ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 โดยเปิดโอกาสให้โรงพยาบาลและสถานประกอบการทั้งภาครัฐและเอกชนได้เข้ามาให้ข้อมูลเกี่ยวกับการทำงาน การรับสมัครงาน ค่าตอบแทนและสวัสดิการต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเกี่ยวกับการทำงาน นอกจากนี้ยังให้ศิษย์เก่าที่จบการศึกษาและได้งานทำแล้วได้เข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมปัจฉิมนิเทศของนักศึกษา เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะการทำงาน การเตรียมความพร้อมในการทำงานและทางเลือกในสายวิชาชีพ ปีการศึกษา 2565 พบว่า มีบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา มีงานทำร้อยละ 100 ทั้งในสถานบริการสุขภาพภาครัฐและเอกชน และเมื่อเปรียบเทียบข้อมูลย้อนหลัง ปีการศึกษา 2564 พบว่าบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา มีงานทำร้อยละ 100 และมีสถานประกอบการมาเสนอให้ทุนการศึกษาแก่นักศึกษา เช่น โรงพยาบาลนครนายก และโรงพยาบาลตราด

3. มีระบบการกำกับติดตามและเทียบเคียงสมรรถนะ เพื่อปรับปรุง เกี่ยวกับการวิจัยและการสร้างสรรนวัตกรรมของบุคลากรและผู้เรียน

                คณะพยาบาลศาสตร์ได้วางแผนให้นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต มีคุณลักษณะที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ข้อ 6 คือ ประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ กระบวนการวิจัย การสร้างนวตกรรม และผลการวิจัยอย่างเหมาะสม โดยกำหนดแผนการจัดการศึกษาให้นักศึกษาเรียนวิชาวิจัยทางสุขภาพ ในชั้นปีที่ 2 ภาคฤดูร้อน ซึ่งนักศึกษาจะได้เรียนเกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัย การนำผลการวิจัยมาใช้ในการพยาบาล และฝึกปฏิบัติการทำวิจัย และเรียนวิชานวัตกรรมและงานสร้างสรรค์ทางสุขภาพ ในชั้นปีที่ 3 ซึ่งนักศึกษาจะได้เรียนเกี่ยวกับแนวคิดนวัตกรรม ขั้นตอนการผลิตนวัตกรรม และการประเมินประสิทธิภาพของนวัตกรรม นอกจากนั้น ในรายวิชาทางการพยาบาล ได้กำหนดให้นักศึกษาจัดทำนวัตกรรมทางการพยาบาล ได้แก่รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกและผดุงครรภ์
                ปีการศึกษา 2565 นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ได้นำผลงานสร้างสรรค์/นวัตกรรม เข้าร่วมนำเสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติของสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย สาขาพยาบาลศาสตร์เรื่องทิศทางและแนวทางการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาพยาบาล วันที่ 27-28 เมษายน 2566 มหาวิทยาลัยรังสิต จำนวน 6 ชิ้นงาน และผลงานนวตกรรม Breast Feeding นมแม่สื่อรักสู่ลูกน้อย ได้รับรางวัลชนะเลิศ และผลงานนวตกรรมเสื้ออุ่นไอรักได้รับรางวัลชมเชย และเมื่อเปรียบเทียบข้อมูลย้อนหลัง พบว่า ปีการศึกษา 2564 นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ได้รับคัดเลือกให้นำผลงานนวตกรรม เรื่องฺ Breast Feeding during Covid -19 ในการประชุมวิจัยทางการพยาบาลแห่งชาติครั้งที่ 7 วันที่27-28 กันยายน 2564 และ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ได้นำเสนอผลงานนวตกรรม ICD Hang Case Drainage ในการประชุมเสนอผลงานนักศึกษาระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 5 วันที่ 10-12 กันยายน 2564 และได้รับรางวัลที่3 ประเภท International Innovation ปีการศึกษา 2563 นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ได้เข้าร่วมประกวดในโครงการเยาวชนคนสร้างชาติในนวตกรรมแผนปฏิบัติการด้านชุมชนและได้รับรางวัลที่ 1
             ส่วนผลงานวิจัย ถึงแม้ว่านักศึกษาจะเรียนรู้กระบวนการทำวิจัยทางการพยาบาลได้ปฏิบัติการวิจัยในทุกขั้นตอน มีอาจารย์เป็นที่ปรึกษาและให้ข้อเสนอแนะแต่ผลงานวิจัยของนักศึกษายังไม่ได้นำเสนอและตีพิมพ์ระดับชาติ แต่อย่างไรก็ตามคณะพยาบาลศาสตร์ได้คำนึงถึงความสำคัญของการเผยแพร่ผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ของนักศึกษา จึงวางแผนให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบวิชาและทีมผู้สอนผลักดันให้เกิดการเผยแพร่งานวิจัย เช่น การนำเสนอผลงานและการตีพิมพ์ระดับชาติ

4. มีระบบกำกับติดตามข้อมูล ที่แสดงความสำเร็จของหลักสูตรตามเป้าหมายที่กำหนด

            คณะพยาบาลศาสตร์ได้มีการตั้งเป้าหมายอัตราการสำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาที่หลักสูตรกำหนด(ระยะเวลา 4 ปี) ร้อยละ 90 โดยนักศึกษาจะสำเร็จการศึกษาได้ต้องมีเกรดเฉลี่ยตลอดหลักสูตรฯ ไม่ต่ำกว่า 2.00 และต้องเรียนครบหน่วยกิตและรายวิชาที่กำหนดไว้ในหลักสูตร ได้มอบหมายให้อาจารย์ประจำชั้น อาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ทำหน้าที่ติดตาม ตรวจสอบผลการเรียนของนักศึกษาแต่ละภาคการศึกษา และผู้รับผิดชอบวิชาและทีมอาจารย์ผู้สอนในแต่ละรายวิชา ต้องปฏิบัติตามแนวทางการช่วยเหลือนักศึกษาที่มีปัญหาเช่น ผลการสอบกลางภาคได้คะแนนต่ำกว่าร้อยละ 60 เพื่อหาแนวทางช่วยเหลือผ่านระบบอาจารย์ที่ปรึกษา นอกจากนั้นยังมีระบบการให้คำปรึกษา ในปีการศึกษา 2565 พบว่า มีอัตราการสำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาที่หลักสูตรกำหนด 4 ปี คิดเป็นร้อยละ 95.55

5. มีระบบกำกับติดตามและเทียบเคียงสมรรถนะ เพื่อปรับปรุงเกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

            คณะพยาบาลศาสตร์มีการสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตทุกปี เมื่อนักศึกษาสำเร็จการศึกษาอย่างน้อย6 เดือน โดยส่งแบบแบบสอบถาม ไปยังผู้บังคับบัญชาของผู้สำเร็จการศึกษา

           ปีการศึกษา 2564 คณะพยาบาลศาสตร์ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษาในปีการศึกษา2563 โดยประเมินตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี (TQF) 6 ด้าน พบว่าความพึงพอใจเฉลี่ยรวมทุกด้านเท่ากับ 3.86 โดยด้านคุณธรรมจริยธรรมมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.15 ด้านความรู้ มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.78 ด้านทักษะทางปัญญามีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.76 ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.93 ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.77 และทักษะะการปฏิบัติทางวิชาชีพมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ3.80 คณะกรรมการบริหารหลักสูตรได้นำผลการประเมินมาพิจารณาพบว่า ความพึงพอใจต่อทักษะทางปัญญามีค่าน้อยที่สุด จึงได้วางแผนและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนเน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์เพิ่มมากขึ้น ในรายวิชาทางการพยาบาล ส่งเสริมให้นักศึกษาส่งผลงานนวัตกรรมเข้าร่วมประกวดในเวทีระดับชาติและนานาชาติ จนได้รับรางวัลชนะเลิศและรางวัลชมเชยระดับชาติจำนวน 3 ชิ้นงาน ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับปีการศึกษา2564 นักศึกษาได้รับผลงานนวัตกรรม ในเวทีระดับชาติและนานาชาติ จำนวน 1 ชิ้นงาน

6. มีผลลัพธ์ด้านบริการวิชาการ/การทำประโยชน์ให้ท้องถิ่นและสังคม

คณพยาบาลศาสตร์ได้มีการกำหนดให้ภาควิชาบูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับการบริการวิชาการชึ่งเกิดประโยชน์กับชุมชนและสังคม ปีการศึกษา 2565 ภาควิชาการพยาบาล              ผู้ใหญ่ผู้สูงอายุได้จัดโครงการday care สำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องจากปี 2564 โดยได้รับทุนสนับสนุนจากองค์กรการกุศล (Molta ) ในการจัดกิจกรรมให้ผู้สูงอายุ ที่เน้นกิจกรรมสร้างสุขตามการจำแนกกลุ่มของผู้สูงอายุ โดยความสุข 5 ด้าน ประกอบด้วย สุขสบาย เน้นเรื่องสุขภาพร่างกายการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน และพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพของผู้สูงอายุ สุขสนุก เป็นความสามารถของผู้สูงอายุในการเลือกวิถีชีวิตที่รื่นรมย์ด้วยการทำกิจกรรมที่ก่อให้เกิดอารมณ์เป็นสุข จิตใจสดชื่นแจ่มใส สุขสง่า เน้นความเข้าใจในความเป็นไปในชีวิต ความมีคุณค่าในตนเอง มีมุมมองและความรู้สึกต่อตนเองและผู้อื่นอย่างเห็นอกเห็นใจ ไม่ซึมเศร้า ไม่ท้อแท้ สุขสว่างเป็นความสามารถด้านความจำ ความเข้าใจความคิดแบบนามธรรมการสื่อสาร การใช้เหตุผล และการวางแผนแก้ไขปัญหา สุขสงบ เป็นการรับรู้เข้าใจความรู้สึกของตนเอง รู้จักควบคุมอารมณ์และสามารถจัดการกับภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งความสามารถในการควบคุมความต้องการจากแรงกระตุ้นได้อย่างเหมาะสม สามารถผ่อนคลายให้เกิดความสุขสงบกับตัวเองได้
ภาควิชาการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์จัดโครงการบูรณาการการบริการวิชาการกับการเรียนการสอนในโครงการ 3 S (Safe Sex Success) สำหรับนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องเพศวิถีศึกษา และสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการปฏิบัติตัวเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะทางเพศ การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นหรือการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ได้เพื่อป้องกันปัญหาสังคมที่จะเกิดขึ้นต่อไป
ภาควิชาการพยาบาลอนามัย จัดโครงการบูรณาการการบริการวิชาการกับการเรียนการสอนในโครงการ ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ กับรายวิชาสร้างเสริมสุขภาพ โดยจัดโครงการให้กับผู้สูงอายุในชุมชน ให้สามารถดูแล ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคได้

7. มีผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านศิลปะและวัฒนธรรม

          คณะพยาบาลศาสตร์ได้จัดกิจกรรมในการส่งเสริมให้นักศึกษาตระหนักรู้ในด้านศิลปะวัฒนธรรมผ่านกิจกรรมการพัฒนานักศึกษานอกหลักสูตรเช่น พิธีมอบหมวกและตะเกียงไนติงเกล พิธีไหว้ครู พิธีมอบตัวเป็นศิษย์ พิธีมอบใบสัมฤทธิ์ผลทางการศึกษา และพิธีอำลาสถาบัน และในส่วนของการจัดการเรียนการสอนรายวิชา คณะพยาบาลศาสตร์ได้มีรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารกและการผดุงครรภ์2 ผ่านโครงการภูมิปัญญาไทย ก้าวไปกับการให้นมแม่ รายวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ ผ่านโครงการสร้างสรรค์สื่อนวัตกรรมผสานภูมิปัญญาไทย สดใสเสริมวัยผู้สูงอายุ ผลการประเมินโครงการพบว่านักศึกษาตระหนักและเห็นคุณค่าการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทยเท่ากับ 4.78 และ 4.73 ตามลำดับ

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

…5 ข้อ…

IQA(1-7)

1,2,3,4,5,6,7

….7…ข้อ

…5..คะแนน

AUN-QA(1-5)

1(2), 2(4), 3(3), 4(3), 5(3)

ระดับ……3…….

รายการหลักฐานอ้างอิง

รหัสหลักฐานรายการ
9.1.1.1ระเบียบวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา ว่าด้วย การศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2559
9.1.1.2รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตรปีการศึกษา 2565
9.1.1.3ตารางสอนปีการศึกษา 2565
9.1.1.4หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2561 หน้า 71
9.1.1.5ตารางแสดงจำนวนนักศึกษาแต่ละชั้นปี และอัตราการออกจากการศึกษา ปีการศึกษา 2564, 2565)
9.1.2.1รายงานผลการติดตามบัณฑิตที่สำเร็จ ปีการศึกษา 2563 และ 2564
9.1.3.1ผลงานสร้างสรรค์/นวัตกรรมที่ได้รับรางวัล ปีการศึกษา2564 และ 2565
9.1.4.1รายชื่อนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษา ปีการศึกษา 2565
9.1.5.1รายงานความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต ที่สำเร็จการศึกษาปีการศึกษา 2564
9.1.6.1สรุปโครงการday care สำหรับผู้สูงอายุ / โครงการ 3 S (Safe Sex Success) และโครงการ ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
9.1.1.7ผลการประเมินโครงการภูมิปัญญาไทย ก้าวไปกับการให้นมแม่ และโครงการสร้างสรรค์สื่อนวัตกรรมผสานภูมิปัญญาไทย สดใสเสริมวัยผู้สูงอายุ

ตัวบ่งชี้ที่ 9.2 คุณภาพบัณฑิต

ผลการดำเนินการ

ปีการศึกษา 2565 ผลการประเมินคุณภาพบัณฑิตตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พบว่าความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตต่อผลการเรียนรู้ทั้ง 6 ด้าน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.63 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า1)ด้านคุณธรรมจริยธรรมมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.95 2) ด้านความรู้มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.53 3) ด้านทักษะทางปัญญามีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.48 4) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.69 5) ด้านการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.57 6) ด้านทักษปฏิบัติวิชาชีพมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.56 ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตต่อผลลัพธ์ผู้เรียน (DOEs) พบว่ามีค่าเฉลี่ยรวมทั้ง 3 ด้านเท่ากับ 3.90 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า 1) ด้านการเป็นผู้รอบรู้ (Learner person) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.89 2) ด้านการเป็นผู้สร้างสรรค์นวตกรรม (Co- creator) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.86 3) ด้านการเป็นพลเมืองโลกที่เข้มแข็ง (Active citizen) มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.74

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

ร้อยละ…

IQA(1)

3.63

ผู้ตอบร้อยละ 62.16

3.63 คะแนน

AUN-QA(ไม่มี)

ไม่มี

ระดับ…ไม่มี….

รายการหลักฐานอ้างอิง

รหัสหลักฐาน รายการ
9.2.1.1รายงานความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต ที่สำเร็จการศึกษาปีการศึกษา 2564

ตัวบ่งชี้ที่ 9.3 การมีงานทำ/ผลงานวิจัยตีพิมพ์ของบัณฑิต

ผลการดำเนินการ

การได้งานทำหรือประกอบอาชีพภายใน 1 ปี (หลักสูตรระดับปริญญาตรี)

  1. ร้อยละบัณฑิตที่ได้งานทำ = (จำนวนบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระ/จำนวนบัณฑิตที่ตอบแบบสำรวจทั้งหมด) *100
  2. คะแนนที่ได้ = (ร้อยละบัณฑิตที่ได้งานทำ/100) *5

……แสดงวิธีการคำนวณ…..

ตารางแสดงการได้งานทำหรือประกอบอาชีพภายใน 1 ปี (หลักสูตรระดับปริญญาตรี)

รายการจำนวน
1. จำนวนบัณฑิตระดับปริญญาตรีทั้งหมด99
2. จำนวนบัณฑิตระดับปริญญาตรีที่ตอบแบบสำรวจเรื่องการมีงานทำภายใน 1 ปี หลังสำเร็จการศึกษา86
3. จำนวนบัณฑิตระดับปริญญาตรีที่ได้งานทำหลังสำเร็จการศึกษา (ไม่นับรวมผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ)86
4. จำนวนบัณฑิตระดับปริญญาตรีที่ประกอบอาชีพอิสระ
5. จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีงานทำก่อนเข้าศึกษา
6. จำนวนบัณฑิตระดับปริญญาตรีที่ศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา
7. เงินเดือนหรือรายได้ต่อเดือน ของผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระ (ค่าเฉลี่ย)29,819
8. ผลการประเมินจากความพึงพอใจของนายจ้างที่มีต่อผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีตามกรอบ TQF เฉลี่ย (คะแนนเต็ม 5)3.63
9. จำนวนบัณฑิตระดับปริญญาตรีที่มีกิจการของตนเองที่มีรายได้ประจำอยู่แล้ว
10. จำนวนบัณฑิตระดับปริญญาตรีที่อุปสมบท
11. จำนวนบัณฑิตระดับปริญญาตรีที่เกณฑ์ทหาร

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

ร้อยละ…

IQA(1) ปริญญาตรี

จำนวนผู้มีงานทำใน 1 ปี/จำนวนผู้สำเร็จการศึกษา

ร้อยละ100

5 คะแนน

ปริญญาโท/เอก

ผลรวมถ่วงน้ำหนักผลงาน/จำนวนผู้สำเร็จการศึกษา

AUN-QA(ไม่มี)

ไม่มี

ระดับ…ไม่มี….

รายการหลักฐานอ้างอิง

รหัสหลักฐาน รายการ
9.3.1.1รายงานผลการติดตามบัณฑิต ที่สำเร็จการศึกษาปีการศึกษา 2564

ผลการประเมินตนเอง

ผลการประเมินตนเองIQAAUN-QA
ตัวบ่งชี้ที่ 9.15…3…
ตัวบ่งชี้ที่ 9.2 3.86
ตัวบ่งชี้ที่ 9.3 5
คะแนนเฉลี่ย4.62

Leave a Reply