องค์ประกอบที่ 2 ผลลัพธ์การเรียนรู้

ตัวบ่งชี้ที่ 2.1  ผลลัพธ์การเรียนรู้ (ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5 คะแนน
1 ข้อ 2 ข้อ 3-4 ข้อ 5-6 ข้อ 7 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน AUN-QA ประเมินภาพรวมประเด็น 1-5 ประเมิน 7 ระดับ

ผลการดำเนินการ

1. กำหนดและสื่อสาร ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

ทางหลักสูตรมีการกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและสื่อสารให้กับนักศึกษาทราบ โดยใช้มคอ.2 เป็นคู่มือดำเนินการโดยแบ่งเป็นการพัฒนาผลการเรียนรู้ตามโครงสร้างในหลักสูตรได้แก่ หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน หมวดวิชาแกน หมวดวิชาเลือก และหมวดวิชาวิทยานิพนธ์ และได้มีการสื่อสารให้กับคณาจารย์และนักศึกษาในวันปฐมนิเทศให้กับนักศึกษาใหม่ (2.1.1.1)

2. ออกแบบผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง เหมาะสมกับการจัดการเรียนรู้

การออกแบบผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังประกอบด้วย 5 ด้านตามมคอ.2 คือ 1. ด้านความรู้ 2. ทักษะทางปัญญา 3. ด้านคุณธรรมจริยธรรม 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์ตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โดยในแต่ละรายวิชามีการบูรณาการออกแบบในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและสร้างเสริมประสบการณ์แบบ Active Learning เช่น การใช้สถานการณ์จำลองและการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน และจัดชั้นเรียนในสถานที่ปฏิบัติงานของนักศึกษา (2.1.1.2)

3. ระบุผลลัพธ์การเรียนรู้ทั่วไป และผลลัพธ์การเรียนรู้เฉพาะทาง

ทางหลักสูตรมีการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังและสื่อสารให้กับนักศึกษาทราบโดยใช้มคอ.2 เป็นคู่มือดำเนินการโดยแบ่งเป็นการพัฒนาผลการเรียนรู้ในหมวดวิชาแกน หมวดวิชาเลือก และหมวดวิชาวิทยานิพนธ์ โดยไม่มีการแบ่งออกเป็น การเรียนรู้ทั่วไปและการเรียนรู้เฉพาะทาง ดังนี้คือ (2.1.1.3)

    1    คุณธรรม จริยธรรม

          1.1     ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม

                   1)       มีวินัย ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม และมีความเคารพในระเบียบและข้อบังคับต่างๆขององค์กรและสังคม

                   2) มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีม และสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญของงานที่ตนเองปฏิบัติได้

                   3) มีความเคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ โดยเฉพาะจริยธรรมทางการวิจัย

    2    ความรู้

          2.1     ผลการเรียนรู้ด้านความรู้

                   1) มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฏีที่สำคัญในเนื้อหาวิชาของสาขา

                   2) สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ด้านสาธารณสุขในการพัฒนาสุขภาพในระดับบุคคล ชุมชน สังคม และประเทศชาติ

                   3) เข้าใจและสนใจพัฒนาความรู้ทางด้านสาธารณสุข โดยการติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและวิวัฒนาการทางการสาธารณสุข

                   4) สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาสาธารณสุขกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

    3    ทักษะทางปัญญา

          3.1     ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา

                   1) สามารถสืบค้น ตีความ และประเมินสารสนเทศเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ

                   2) สามารถคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ผลงานวิจัย สิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการหรือรายงานทางด้านสาธารณสุขถูกต้องและเหมาะสม

                   3)       สร้างองค์ความรู้ใหม่ จากการวิเคราะห์และสังเคราะห์วรรณกรรมและวรรณกรรมวิจัยในศาสตร์ได้

    4    ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

          4.1     ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความรับผิดชอบ

                   1) สามารถสื่อสารและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับงานทางวิชาการและวิชาชีพด้านสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                   2) ให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ปัญหาสถานการณ์ต่างๆ ในบทบาทของผู้นำหรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน

                   3) มีความรับผิดชอบในการพัฒนา การเรียนรู้ของตนเองและวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง

    5    ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

      5.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

                   1) สามารถค้นคว้าข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างรู้เท่าทันสื่อ

                   2) สามารถกำหนดวิธีการในการบันทึกข้อมูลได้อย่างเหมาะสมและนำไปวิเคราะห์ได้

                   3) สามารถใช้โปรแกรมทางสถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

                   4) สามารถแสดงผลการวิเคราะห์ข้อมูลและสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้

4. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังบรรลุตามความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ทางหลักสูตรได้ดำเนินการวัดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังว่าบรรลุตามความต้องการของนักศึกษาปี พ.ศ. 2563 จำนวน 3 คน โดยประเมินการบริหารหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนการสอนที่นักศึกษาได้รับตลอดระยะเวลาการเรียนในภาคทฤษฏี ดังนี้ (2.1.1.4)

 

แบบประเมินการบริหารหลักสูตรและกิจกรรมการเรียนการสอนที่นักศึกษาได้รับ

 

ระดับ

รายการประเมิน

(n=3)

คะแนนเต็ม 5

1

การบริหารหลักสูตรของอาจารย์

5

5

2

การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

5

5

3

ผลลัพธ์การเรียนรู้จากการศึกษาในหลักสูตร

4

5

4

ความรู้ความสามารถของอาจารย์ผู้สอน

5

5

5

สภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้

2

5

6

วิธีการวัดประเมินผลการเรียน

5

5

7

ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของผู้เรียน

4

5

รวมคะแนนเฉลี่ยทั้งหมด= 4.42

5. ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง บรรลุผลกับผู้เรียนเมื่อสำเร็จการศึกษา

ทางหลักสูตรดำเนินการวัดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของบัณฑิตที่จบการศึกษาปีการศึกษา 2564 จากการสอบถามความพึงพอใจผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อการปฏิบัติงานของบัณฑิต จากผลการดำเนินการพบว่า ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าแต่ละด้านมีค่าอยู่ในระดับดี ซึ่งได้แก่ (2.1.1.5)

  1. ด้านคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพ
  2. ด้านความรู้ ความสามารถทางวิชาการ/วิชาชีพ
  3. ด้านเชาว์ปัญญาที่ส่งผลต่อการปฏิบัติ
  4. ด้านปฏิสัมพันธ์กับผู้ร่วมงานและความรับผิดชอบ
  5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี

6. ผลการประเมินผลการเรียนรู้ ด้านความรู้ ทักษะ จริยธรรม และลักษณะบุคคล ของนักศึกษา(กลุ่มตัวอย่างทุกชั้นปี) สูงกว่า 3.51

          หลักสูตรได้ทำการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ 4 ด้าน  เมื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ ได้แก่ (2.1.1.6)

  1. ด้านความรู้
  2. ด้านทักษะ
  3. ด้านจริยธรรม
  4. ด้านลักษณะบุคคล

ผลการประเมินทั้ง 4 ด้าน สูงกว่า 3.51

 

7. ผลการประเมินผลการเรียนรู้เฉลี่ยทั้ง 4 ด้าน สูงกว่า 3.51

หลักสูตรได้ทำการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ 4 ด้าน ตามหลักสูตรของนักศึกษา ดังนี้

  1. ด้านความรู้
  2. ด้านทักษะ
  3. ด้านจริยธรรม
  4. ด้านลักษณะบุคคล

ผลการดำเนินการพบว่าการเรียนรู้ทั้ง 4 ด้าน สูงกว่า 3.51 (2.1.1.7)

 

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

….5ข้อ….

IQA(1-7)

1,2,3,4,5,6,7

7 ข้อ

5 คะแนน

AUN-QA(1-5)

1,2,3,4,5

ระดับ 3

รายการหลักฐานอ้างอิง

รหัสหลักฐานรายการ
2.1.1.1โครงการปฐมนิเทศให้กับนักศึกษา
2.1.1.2เล่มมคอ.2 และตัวอย่าง TQF 3
2.1.1.3การพัฒนาผลการเรียนรู้ในหมวดวิชาแกนและวิชาเลือก
2.1.1.4ระดับความพึงพอใจต่อการบริหารหลักสูตรของนักศึกษา
2.1.1.5ระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อการปฏิบัติงาน
2.1.1.6ผลการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ 4 ด้านตามหลักสูตรของนักศึกษา
2.1.1.7ผลการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ 4 ด้านจำแนกตามรายด้านของนักศึกษา

ผลการประเมินตนเอง

ผลการประเมินตนเองIQAAUN-QA
ตัวบ่งชี้ที่ 2.153

Leave a Reply