องค์ประกอบที่ 3 หลักสูตร

ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 หลักสูตร (โครงสร้างโปรแกรมและเนื้อหา)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5 คะแนน
1 ข้อ 2 ข้อ 3-4 ข้อ 5-6 ข้อ 7-9 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน AUN-QA ประเมินภาพรวมประเด็น 1-7 ประเมิน 7 ระดับ

ผลการดำเนินการ

1. หลักสูตรทันสมัยเป็นปัจจุบันและมีความเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม

          ในแต่ละปีการศึกษาเมื่อสิ้นสุดลง อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรจะร่วมประชุมปรึกษาหารือเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับบริบท นวัตกรรมที่เปลี่ยนแปลง โดยรวบรวมข้อมูลจากผลการประเมินผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งที่เป็นบุคลากรภายในองค์กรได้แก่ เจ้าหน้าที่ของคณะ และอาจารย์ของคณะ บุคลากรภายนอกได้แก่ บัณฑิต และผู้ใช้บัณฑิตที่จบการศึกษาไปแล้ว 1 ปี สภาการสาธารณสุขชุมชน สำนักประกันคุณภาพการศึกษา และความต้องการของชาติตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570) และนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง

          จากผลกระทบทั้งการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เป็นผลให้มีความจำเป็นต้องพัฒนาหลักสูตรในเชิงรุกและเพิ่มบทบาทของผู้สำเร็จการศึกษาให้สามารถพัฒนาศักยภาพของตนให้สร้างเสริมสุขภาพชุมชนแบบองค์รวม รวมทั้งสามารถในการประยุกต์ใช้องค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นในการแก้ไขปัญหาทางด้านสุขภาพและการระดมใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุด การพัฒนาตนเองให้เข้ากับงานด้านวิชาชีพและวิชาการ มีความคิดสร้างสรรค์ ปฏิบัติตนตามภาระงานบัญญัติอาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม และมีความซื่อตรงต่อวิชาชีพ

          ในการจัดทำหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565 ทางหลักสูตรได้ประเมินและปรับเปลี่ยนกระบวนการโดยการนำเกณฑ์ของสภาสาธารณสุขชุมชนมาร่วมใช้เป็นเกณฑ์ในการจัดทำหลักสูตร มคอ.2 และได้รับการพิจารณาจากสภาการสาธารณสุขชุมชนและสกอ.

          ดังนั้นการปรับปรุงหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตจึงต้องให้มีการทบทวน และพัฒนาการเรียนการสอนในวิชาต่างๆ ในหลักสูตรที่จะทำให้มีความเข้าใจทันต่อเหตุการณ์ปัญหาด้านสาธารณสุข เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม ที่เปลี่ยนไป การพัฒนาหลักสูตรมุ่งเน้นทั้งสร้างเสริมบัณฑิตให้มีความรู้และทักษะด้านสาธารณสุขที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมที่ไร้พรมแดนที่ส่งผลกระทบต่อการเป็นปัญหาสาธารณสุขอย่างรุนแรงและรวดเร็วอย่างไร้พรมแดน ร่วมทั้งการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและทันกับเหตุการณ์ปัจจุบัน พร้อมทั้งให้มีความสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570) ของประเทศไทยในอนาคต ซึ่งเน้นคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาและเตรียมความพร้อมของคนและการพัฒนาระบบกลไกที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการสร้างบัณฑิตให้มีภาวะผู้นำ สามารถปรับตัวพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีความสุข มีคุณค่า และมีผลผลิตที่ดีสามารถแสวงหาแนวทางการพัฒนาที่เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่าและเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน (3.1.1.1)

2. หลักสูตรครอบคลุม ทันสมัย และมีการสื่อสารไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

สำหรับหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565 ได้มีการสื่อสารไปให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ดังนี้

        ภายในองค์กรได้มีการประชุมชี้แจงข้อมูลการปรับปรุงหลักสูตรให้อาจารย์และผู้เกี่ยวข้องทราบ ในการประชุมคณะกรรมการประชุมระดับคณะ เพื่อพร้อมแจกมคอ.2 ไปให้แต่ละสาขาวิชาเก็บไว้เพื่อทบทวนหรือเป็นคู่มือในการปรับปรุงการเรียนการสอนได้เป็นไปตามแผนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง

      ภายนอกองค์กร กลุ่มนักศึกษา 1. มีการจัดทำเอกสารแผ่นพับแจกให้ผู้ที่ต้องการสมัครเป็นนักศึกษา และในวันที่สมัครเป็นนักศึกษาก็จะแจกให้ไปศึกษา ซึ่งในเอกสารแผ่นพับจะมีข้อมูลที่แจ้งให้ทราบผู้ติดต่อเมื่อต้องการข้อมูลเพิ่มเติม 2. มีการจัดปฐมนิเทศ เพื่อให้นักศึกษารับทราบถึงรายละเอียดในการเรียนการสอน กลุ่มผู้ใช้บัณฑิต 1. มีการประสานข้อมูลเพื่อประเมินสมรรถนะของบัณฑิตและความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต 2. มีการเชิญผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้แก่ ผู้ใช้บัณฑิต ศิษย์เก่า ผู้ทรงคุณวุฒิจากสภาวิชาชีพสาธารณสุขชุมชน สภาคณบดีคณะสาธารณสุขแห่งประเทศไทย (3.1.1.2)

3. การออกแบบเนื้อหาหลักสูตรสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

     ทางหลักสูตรได้กำหนดความคาดหวังของผู้เรียนไว้ 5 ข้อ และนำความคาดหวังนั้นมาออกแบบเนื้อหาของหลักสูตรเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ของผู้เรียนตามความคาดหวัง ดังนี้คือ (3.1.1.3)

ความคาดหวัง

เนื้อหาหลักสูตร

1.  มีความเป็นผู้นำ มีมนุษยสัมพันธ์ดี ทำงานเป็นทีมร่วมกับสหสาขาวิชาชีพ ภาคีเครือข่ายและผู้เกี่ยวข้องเพื่อแก้ปัญหาสาธารณสุขทุกระดับได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

– 930 109 การบริหารงานสาธารณสุข

– 930 105 สุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ในงานสาธารณสุข

– 930 110 สุขภาพและการจัดการบริการส่งเสริมสุขภาพ

2.  มีคุณธรรมและจริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพสาธารณสุขในการปฏิบัติงานทางด้านสาธารณสุขอย่างถูกต้องและเป็นไปตามหลักวิชาการ

 

– 930 106 วิธีการวิจัยทางสาธารณสุข

– 930 104 การจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย

– 930 110 สุขภาพและการจัดการบริการส่งเสริมสุขภาพ

3.  มีทักษะในการคิด วิเคราะห์ข้อมูลปัญหาสาธารณสุขที่ซับซ้อน โดยวิธีการ/เทคนิคการประเมินผลและดำเนินการแบบบูรณาการภายใต้การมีส่วนร่วมของชุมชนและสังคมได้

– 930 106 วิธีการวิจัยทางสาธารณสุข

– 930 107 ชีวสถิติสำหรับการวิจัยทางด้านสาธารณสุข

– 930 108 วิทยาการระบาดทางด้านสาธารณสุข

– 930 213 การประเมินผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

– 930 208 การสัมมนาทางด้านสาธารณสุข

– 930 310 วิทยานิพนธ์  

4.  มีความสามารถในการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่หรือนวัตกรรมทางสาธารณสุขในการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสาธารณสุขได้ด้วยวิธีการวิจัย

– 930 210 การจัดการสุขภาพผู้สูงอายุ

– 930 211 การจัดการธุรกิจทางด้านสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ

– 930 212 สุขภาพอาเซียน

– 930 214 การพัฒนาระบบสุขภาพอย่างยั่งยืน

– 930 215 การพัฒนาและการจัดการคุณภาพในงานสาธารณสุข

– 930 310 วิทยานิพนธ์  

5.  มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และการสื่อสาร และเผยแพร่องค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ในด้านวิชาการและทางวิชาชีพ

– 930 208 การสัมมนาทางด้านสาธารณสุข

– 930 209 การจัดการและการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในงานสาธารณสุข

(3.1.1.3)

4. การออกแบบหลักสูตรสอดคล้องผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

         ในการปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยนำความต้องการของผู้ใช้บัณฑิตและความต้องการของบัณฑิตที่จบการศึกษาไปในปี 2564 ร่วมกับการนำข้อเสนอแนะจากผลการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรปี 2564 มาเป็นฐานข้อมูลในการออกแบบหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอกองค์กร และได้ออกแบบหลักสูตรให้มีการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนและผลลัพธ์ที่จะเกิดกับผู้เรียนเป็นสำคัญ ส่วนในปัจจุบันได้นำแบบประเมินผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมาให้นักศึกษา 3 คน ที่อยู่ในระบบการศึกษาประเมิน เพื่อนำข้อมูลย้อนกลับในการพัฒนาหลักสูตรให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียนและสังคม (3.1.1.4)

5. โครงสร้างหลักสูตรจัดลำดับวิชาอย่างเป็นระบบและเหมาะสม

        หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตปรับปรุง พ.ศ. 2565 เป็นหลักสูตรมีการออกแบบโครงสร้างเนื้อหาที่มีการเรียงลำดับอย่างเหมาะสม บูรณาการ และทันสมัย ในหลักสูตรจะมีการเรียงลำดับเนื้อหาในหลักสูตรเริ่มตั้งแต่วิชา หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน หมวดวิชาแกน และหมวดวิชาเลือก โดยการจัดเรียงลำดับ รายวิชาได้พิจารณาตามระบบความง่าย-ยากของรายวิชาอย่างต่อเนื่องในวิชาต่อๆไป และการนำไปใช้ ดังนั้น โปรแกรมการจัดตารางสอนจึงจัดวิชาพื้นฐานหรือวิชาแทนที่เป็นวิชาทั่วไปให้นักศึกษาเรียนรู้ ซึ่งส่วนเป็นภาคทฤษฏีพื้นฐานที่จะนำไปใช้ทำวิทยานิพนธ์ในภาคเรียนที่ 2 ที่เน้นการคิดวิเคราะห์หรือการคำนวณทางสถิติ เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ และวิทยานิพนธ์นอกจากนี้ยังมีการปรับพื้นฐานนักศึกษาจำเป็นต้องใช้และต้องมีพื้นฐานทางสาธารณสุข (3.1.1.5)

          (2) หมวดวิชาแกน (Core Courses)                                             21 หน่วยกิต

               หมวดวิชานี้มีเป้าหมายเพื่อให้นักศึกษามีพื้นฐานในหลักวิชาการสาธารณสุข เพื่อนำไปใช้ในการศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาสาธารณสุขอย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วย

930 104

   การจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย

   Environmental and Occupational Health Management

3(3-0-6)

930 105

   สุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ในงานสาธารณสุข

   Health Education and Behavioral Science in Public Health

3(3-0-6)

930 106

   วิธีการวิจัยทางสาธารณสุข

   Research Methodology in Public Health

3(3-0-6)

930 107

   ชีวสถิติสำหรับการวิจัยทางด้านสาธารณสุข

   Biostatistics for Public Health Research

3(3-0-6)

930 108

   วิทยาการระบาดทางด้านสาธารณสุข

   Epidemiology in Public Health

3(3-0-6)

930 109

    การบริหารงานสาธารณสุข

   Public Health Administration

3(3-0-6)

930 110

   สุขภาพและการจัดการบริการส่งเสริมสุขภาพ

   Health and Health Promotion Service Management

3(3-0-6)

          (3) หมวดวิชาเลือก (Elective Courses)                                 3 หน่วยกิต

930 208

   การสัมมนาทางด้านสาธารณสุข

   Seminars on Public Health

3(2-2-5)

930 209

   การจัดการและการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในงานสาธารณสุข

   Information Technology System Development and Management in Public Health

3(3-0-6)

930 210

   การจัดการสุขภาพผู้สูงอายุ

   Gerontological Health Management

3(3-0-6)

930 211

   การจัดการธุรกิจทางด้านสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ

   Business Management in Health Service for the Elderly

3(3-0-6)

930 212

   สุขภาพอาเซียน

   ASEAN Health

3(3-0-6)

930 213

   การประเมินผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

   Environmental and Health Impact Assessment : EHIA

3(3-0-6)

930 214

   การพัฒนาระบบสุขภาพอย่างยั่งยืน

   Sustainable Health System Development

3(3-0-6)

930 215

   การพัฒนาและการจัดการคุณภาพในงานสาธารณสุข

   Development and Quality Management in Public Health Works

3(3-0-6)

          (4) หมวดวิชาวิทยานิพนธ์ (Thesis)                                                  12 หน่วยกิต

930 310

   วิทยานิพนธ์

   Thesis

1 12(0-0-36)

6. หลักสูตรมีทางเลือกสำหรับผู้เรียนที่ต้องการความเชี่ยวชาญพิเศษ

        หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตปรับปรุง พ.ศ. 2565 ได้ออกแบบให้มีรายวิชาเลือกให้แก่นักศึกษาเพื่อให้นักศึกษาได้มีทางเลือกเพิ่มพูนความรู้ที่ตนเองถนัด หรือมีความสนใจให้มีทักษะที่มากขึ้น นอกจากนี้นักศึกษายังสามารถเลือกวิชาเลือกในคณะวิชาอื่นๆได้ (3 หน่วยกิต) ซึ่งในหลักสูตรได้มีรายวิชาเลือกด้านสาธารณสุข จำนวน 8 รายวิชา ซึ่งครอบคลุมความเชี่ยวชาญพิเศษ ตามกลุ่มนักศึกษาที่ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข ดังเช่น วิชาบริหารการสาธารณสุข จะมีวิชาเลือกที่มีความเฉพาะทาง ได้แก่ การจัดการสุขภาพผู้สูงอายุ การพัฒนาและการจัดการคุณภาพในงานสาธารณสุข เป็นต้น

        จากรายวิชาเลือกที่เน้นหนักเฉพาะด้านสาธารณสุข เนื่องจากในปัจจุบันหลักสูตรยังมุ่งประชาสัมพันธ์ไปที่กลุ่มเจ้าหน้าที่สาธารณสุข แต่จากปัญหาการรับนักศึกษา หลักสูตรกำลังจะวางแผนขยายกลุ่มผู้เรียนให้หลากหลายมากขึ้นเพราะเรื่องสุขภาพเป็นเรื่องที่สำคัญของทุกภาคส่วนโดยเฉพาะปัจจุบัน ประสบกับปัญหาการจัดการสิ่งแวดล้อมจึงจะปรับวิชาเลือกให้มีมากขึ้นทางด้านสิ่งแวดล้อมและอาชีวอนามัย ซึ่งนักศึกษาในอนาคตน่าจะเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่จะสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยและเจ้าหน้าที่ในภาคเอกชนที่ทำงานเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมขององค์กร ดังนั้นในปีต่อไปการประชาสัมพันธ์จะทำการประชาสัมพันธ์ให้นักศึกษาปีที่ 4 ก่อนจบการศึกษา อาจมีการให้คัดเลือกเข้ารับทุนการศึกษาต่อและรูปแบบการเรียนการสอนกับนักศึกษาที่มีงานทำอาจมีการปรับรูปแบบเป็น On-site – On-line – On-hand. (3.1.1.6)

(3) หมวดวิชาเลือก (Elective Courses)                                        3 หน่วยกิต

930 208

   การสัมมนาทางด้านสาธารณสุข

   Seminars on Public Health

3(2-2-5)

930 209

   การจัดการและการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในงานสาธารณสุข

   Information Technology System Development and Management in Public Health

3(3-0-6)

930 210

   การจัดการสุขภาพผู้สูงอายุ

   Gerontological Health Management

3(3-0-6)

930 211

   การจัดการธุรกิจทางด้านสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ

   Business Management in Health Service for the Elderly

3(3-0-6)

930 212

   สุขภาพอาเซียน

   ASEAN Health

3(3-0-6)

930 213

   การประเมินผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ

   Environmental and Health Impact Assessment : EHIA

3(3-0-6)

930 214

   การพัฒนาระบบสุขภาพอย่างยั่งยืน

   Sustainable Health System Development

3(3-0-6)

930 215

   การพัฒนาและการจัดการคุณภาพในงานสาธารณสุข

   Development and Quality Management in Public Health

   Works

3(3-0-6)

7. หลักสูตรได้รับการทบทวนให้ทันสมัยและความต้องการของอุตสาหกรรม

        หลักสูตรได้มีการทบทวนผลลัพธ์จากแผนการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง จำแนกตามผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ดังนี้

        นักศึกษา          

        หลักสูตรมีการทบทวนกระบวนการเรียนการสอนและการประเมินผลผู้เรียนอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มั่นใจว่ากระบวนการดังกล่าวมีความเกี่ยวเนื่องและสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง โดยทบทวนจาก มคอ.3 และ มคอ.5 ของแต่ละรายวิชา โดยมีจุดมุ่งหมายทบทวนผลลัพธ์การเรียนรู้ให้เป็นไปตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร หลักสูตรได้จัดการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของการเรียนโดยผ่านการสอบย่อย สอบกลางภาค และสอบปลายภาค และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ร้อยละ 25 ของรายวิชาที่เปิดสอนในปีการศึกษา 2565 เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาประเมินผลและพิจารณาข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาและนำไปใช้ในการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนต่อไป โดยการสอนทวนมีทั้งระบบ Formative และ Summative คือ จะมีการสอบทวนผลสัมฤทธิ์ของการเรียนกลางภาค เมื่อพบนักศึกษาไม่ผ่านเกณฑ์ โดยเฉพาะเกณฑ์ในเรื่องการประยุกต์ใช้ทฤษฏี อาจารย์ผู้สอนจะทำการสอบซ่อม แต่ก่อนจะสอบจะต้องทำความเข้าใจกับนักศึกษาโดยให้นักศึกษาช่วยกันตอบคนละข้อและให้วิพากษ์กันเองก่อนโดยอาจารย์จะเป็นเพียงผู้ชี้แนะหรือแสดงบทบาทเป็นเพียงผู้อำนวยการหรือเป็นโค้ช (Coach) และทำการสอบทวนใหม่จนผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ส่วนการสอบทวนปลายภาคก็จะนำหัวข้อของภาคแรกมาสอบทวนซ้ำด้วยเพื่อให้นักศึกษาเห็นความสอดคล้องของรายวิชาที่ต้องเชื่อมโยงกัน

      อาจารย์   มีการตรวจสอบแผนการเรียนการสอนและมีการติตตามผลลัพธ์ของกระบวนการเรียนการสอนด้วยการเข้าสังเกตการเรียนการสอนโดยอาจารย์ท่านอื่นหรือคณบดี ขณะมีการเรียนการสอนและเมื่อเสร็จสิ้นการเรียนการสอนก็มีการเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ว่าเป็นไปตามเกณฑ์หรือไม่

      สังคม  มีการนำนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขมาศึกษาเป้าหมายและผลักดันให้นักศึกษาค้นหาปัญหาขององค์กรที่ปฏิบัติงานอยู่ว่ามีปัญหาสาธารณสุขในเรื่องใดแล้วให้นักศึกษาพยายามหาวิธีแก้ปัญหาของหน่วยงานด้วยการนำเอาวิชาในหลักสูตรไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหาของหน่วยงาน ซึ่งผลของการทบทวนที่ทำให้ได้หัวข้อวิทยานิพนธ์ที่เป็นปัญหาขององค์กรที่นักศึกษาปฏิบัติงานอยู่  (3.1.1.7)

8. หลักสูตรเป็นไปตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา

        หลักสูตรได้มีระบบการกำกับการบริหารหลักสูตรให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ผลการดำเนินการทราบว่า การบริหารหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตเป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพ เป็นไปตามมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา และเป็นไปตามมาตรฐานหลักสูตร พ.ศ. 2565 หลักสูตรได้มีการตรวจสอบคุณภาพด้วยระบบการรับรองทั้งจากคณะกรรมการตรวจสอบคุณภาพภายในวิทยาลัยและจากภายนอกองค์กรจากคณะ ซึ่งภายหลังจากการตรวจสอบคุณภาพทุกครั้งจะมีการนำข้อเสนอแนะทั้งข้อที่เป็นผลงานเด่นมาปฏิบัติอย่างต่อเนื่องส่วนข้อที่เป็นผลงานที่ต้องปรับปรุงแก้ไขก็จะนำมาทบทวนหาสาเหตุของปัญหาตามระบบ PDCA และรวบรวมข้อมูลเพื่อนำไปพัฒนาได้อย่างถูกต้องกับสาเหตุของปัญหาโดยเฉพาะการนำผลลัพธ์ของการเรียนรู้ 4 ด้าน ตามมาตรฐานมาพิจารณาและนำมาปรับปรุงการเรียนการสอนและหลักสูตร  (3.1.1.8)

9. บริหารหลักสูตรให้เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา

หลักสูตรได้นำข้อเสนอแนะจากการรายงานผลการบริหารหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตต่อคณบดี คณะสาธารณสุขศาสตร์ ในปีการศึกษา 2564 มาใช้ในการวางแผนพัฒนาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต ปี พ.ศ. 2565 ผลการดำเนินการตามแผนที่กำหนด (Improvement Plan) ทำให้ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาสูงขึ้น และเมื่อเปรียบเทียบตั้งแต่มีการศึกษา 2563-2564 จะพบว่าผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง (3.1.1.9)

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

…5 ข้อ…

IQA(1-9)

1,2,3,4,5,6,7,8,9

9 ข้อ

5 คะแนน

AUN-QA(1-7)

1,2,3,4,5,6,7

ระดับ 3

รายการหลักฐานอ้างอิง

รหัสหลักฐานรายการ
3.1.11) มคอ.ที่ประทับตราฯ หน้าปก
2) แบบประเมินบุคลากร
3) แบบประเมินบัณฑิต
4) แบบประเมินผู้ใช้บัณฑิต
5) เกณฑ์การประเมินบัณฑิต
3.1.21) โบว์ชัว
2) มคอ.2
3.1.31) หลักสูตรมคอ.2
2) รายงานการประเมินหลักสูตรและข้อเสนอแนะ
3) แบบประเมินของผู้ใช้บัณฑิต
4) แบบประเมินของผู้ใช้บัณฑิต (วิไล)
3.1.4, 3.1.5หลักสูตรมคอ.2 หน้า 18-19
3.1.6มคอ.2 หมวดวิชาเลือก
3.1.7หัวข้อวิทยานิพนธ์
3.1.81) ข้อเสนอแนะภายใน
2) ข้อเสนอแนะภายนอก
3.1.9รายงานการรับรองผลการตรวจคุณภาพตามเกณฑ์

ผลการประเมินตนเอง

ผลการประเมินตนเองIQAAUN-QA
ตัวบ่งชี้ที่ 3.153

Leave a Reply