องค์ประกอบที่ 4 การจัดการเรียนรู้

ตัวบ่งชี้ที่ 4.1  การจัดการเรียนรู้ (แนวทางการจัดเรียนการสอน)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5 คะแนน
1 ข้อ 2 ข้อ 3-4 ข้อ 5-6 ข้อ 7-8 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน AUN-QA ประเมินภาพรวมประเด็น 1-5 ประเมิน 7 ระดับ

ผลการดำเนินการ

1. ปรัชญาการศึกษาชัดเจน มีการสื่อสาร และนำไปสู่กิจกรรมการเรียนรู้

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิตหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565 เป็นหลักสูตรบูรณาการความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ศิลปะศาสตร์ ภาษาศาสตร์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ รวมทั้งทักษะในภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติทางด้านสาธารณสุขศาสตร์อย่างถูกต้องเหมาะสมกับการประกอบอาชีพและดำรงชีวิตในสังคมด้วยคุณภาพ และจริยธรรมที่ดี เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพร่วมกับองค์กรที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์ ซึ่งทางหลักสูตรมีการเผยแพร่ให้นักศึกษาใหม่ และบุคคลที่สนใจสามารถ เข้าไป ที่ www. Stic.ac.th อีกทั้งยังมีการประชาสัมพันธ์ให้กับนักศึกษาในวันปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ (4.1.1.1)

2. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดการเรียนรู้

รายวิชา 930 208 การสัมมนาทางด้านสาธารณสุข ให้นักศึกษาเลือกหัวข้อสัมมนาด้านสาธารณสุข เพื่อนำมานำเสนอและมีการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดและให้ข้อเสนอแนะในห้องเรียน โดยให้นักศึกษาสามารถสืบค้นทั้งบทความวิจัยทั้งในและต่างประเทศตามหัวข้อที่สนใจ หรือหัวข้อที่กำลังเป็นที่สนใจในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีการประเมินผลการเข้าเรียน การมอบหมายงาน และการสอบข้อเขียน (4.1.1.2)

3. กิจกรรมการเรียนรู้เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม

รายวิชา 930 109 การบริหารงานสาธารณสุข ให้นักศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบสุขภาพ การบริหารจัดการบุคคลและองค์กรด้านสุขภาพแบบใหม่ ภายใต้จรรยาบรรณและกฎหมายวิชาชีพ การประกันคุณภาพในงานสาธารณสุข การจัดองค์กรระบบบริการเพื่อรองรับภาวะวิกฤตและสถานการณ์ฉุกเฉินและภัยคุกคามทางสุขภาพตามสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไป โดยมีการนำเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในชั้นเรียน (4.1.1.3)

4. มีกิจกรรมปลูกฝังให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต

หลักสูตรได้จัดการเรียนการสอนที่ให้นักศึกษา มีทักษะทางปัญญา ทักษะการวิเคราะห์ ทักษะการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งทักษะเหล่านี้จะส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อเป็นพื้นฐานไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยทางหลักสูตรมีการจัดการเรียนการสอนทุกรายวิชากำหนดให้นักศึกษาทุกคนจะต้องรวมกลุ่มกันทำงาน มีการค้นคว้างานวิจัยเพื่อนำมาสรุปวิพากษ์ วิจารณ์ ร่วมกัน โดยผู้สอนจะสรุปวิธีการเรียนรู้ตอนท้าย เพื่อนำไปสู่การพัฒนาให้เป็นวิทยานิพนธ์ต่อไป (4.1.1.4) 

5. มีกิจกรรมปลูกฝังให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์ และการเป็นผู้ประกอบการ

ในรายวิชา 930 208 การสัมมนาทางด้านสาธารณสุข ได้มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าหาปัญหาที่เกี่ยวกับการจัดการอนามัยและอาชีวอนามัยและการบริการส่งเสริมสุขภาพ โดยให้นักศึกษาฝึกหัดในการประเมินความเสี่ยงสิ่งที่คุกคามต่อสุขภาพ การใช้ระบบการจัดการที่เหมาะสม รวมทั้งการใช้มาตรฐานและกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการจัดการป้องกัน แก้ไข ควบคุมอันตรายและโรคอันเกิดจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน (4.1.1.5)

6. ปรับปรุงกลยุทธ์การจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับอุตสาหกรรมและผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง

หลักสูตรมีการทบทวนกระบวนการเรียนการสอนและการประเมินผลผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่ากระบวนการดังกล่าวมีความเกี่ยวเนื่องและสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและสถานการณ์ของโลกที่เปลี่ยนแปลงไป โดยทบทวนจาก มคอ.3 และ มคอ.5 ของแต่ละรายวิชา และมีการประชุมอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ซึ่งมีจุดหมายทบทวนผลลัพธ์การเรียนรู้ ให้เป็นไปตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (4.1.1.6)

7. จัดการเรียนรู้ในระบบชั้นเรียน ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ทางหลักสูตรกำหนดให้อาจารย์ผู้สอนเน้นให้ผู้เรียน เรียนรู้ด้วยตนเองและเน้นการเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning) เพื่อฝึกให้นักศึกษาคิดวิเคราะห์สาเหตุและการแก้ไขปัญหาในหัวข้อต่างๆของรายวิชา โดยผู้สอนทำหน้าที่อำนวยความสะดวกและให้คำแนะนำ คำปรึกษา (4.1.1.7)

8. จัดการเรียนรู้ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้วยเทคนิควิธีการต่างๆ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

อาจารย์ที่ปรึกษาได้รวบรวม Website ที่จำเป็นต่อการเรียนการสอนในวิชาต่างๆในหลักสูตร เพื่อให้นักศึกษาเกิดความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ด้วยตนเอง อีกทั้งจัดช่องทางการถ่ายทอดความรู้ Application Line เพื่ออาจารย์หรือนักศึกษาที่พบประเด็นที่น่าสนใจในวิชาชีพ (4.1.1.8)

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

…5….ข้อ

IQA(1-8)

1,2,3,4,5,6,7,8

8 ข้อ

5 คะแนน

AUN-QA(1-6)

1,2,3,4,5,6

ระดับ 3

รายการหลักฐานอ้างอิง

รหัสหลักฐานรายการ
4.1.1.1 การเผยแพร่หลักสูตร ใน www.stic.ac.th
4.1.1.2 TQF3 รายวิชา 930 208 การสัมมนาทางด้านสาธารณสุข
4.1.1.3 TQF3 รายวิชา 930 109 การบริหารงานสาธารณสุข
4.1.1.4 การนำเสนอผลการจัดทำโครงร่างวิทยานิพนธ์
4.1.1.5 TQF3 วิชา 930 208 การสัมมนาทางด้านสาธารณสุข
4.1.1.6 ระบบ MIS ทวนสอบ มคอ.3 และ มคอ.5 ของแต่ละรายวิชา และรายงานการประชุมติดตาม มคอ.3 และ มคอ.5 ของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
4.1.1.7 ภาพการเรียนของนักศึกษาที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning) และนำเสนอข้อมูลวิชาการ
4.1.1.8 เว็บไซด์ต่างๆที่จำเป็นต่อการเรียนในวิชาชีพสาธารณสุขหรือสื่อต่างๆ

ผลการประเมินตนเอง

ผลการประเมินตนเองIQAAUN-QA
ตัวบ่งชี้ที่ 4.153

Leave a Reply