About Curriculum

ประวัติความเป็นมาของหลักสูตร

  1. ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

    1.ปรัชญาของหลักสูตร      

    “สุขภาพดีเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการพัฒนาองค์กร และสังคม”

    1.2  ความสำคัญของหลักสูตร

      สาธารณสุขศาสตร์เป็นศาสตร์ของการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค โดยบูรณาการความรู้จากศาสตร์ด้านสาธารณสุข วิทยาศาสตร์การแพทย์ สังคมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ และศาสตร์สาขาที่เกี่ยวข้อง และประสบการณ์บนพื้นฐานของการจัดการที่มีคุณภาพและประสิทธิผลในการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขของกลุ่มประชากรเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรที่มีมิติทางสังคมและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันผ่านการทำงานเป็นทีมระหว่างหลายสาขาวิชาชีพ และเป็นระบบบริการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของพลเมืองโลก

      ปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยและประเทศต่างๆ ในโลก จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีสุขภาพและการสาธารณสุขเพื่อการแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง การแก้ปัญหาและการจัดการสาธารณสุขจึงต้องการบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถทางด้านการบริหารงานสาธารณสุขสูงขึ้น ฉะนั้นบุคลากรทางสาธารณสุข จึงต้องได้รับการพัฒนาทางวิชาชีพให้ทันกับการพัฒนาของปัญหาและเทคโนโลยีต่างๆ ด้านสุขภาพ ด้านสาธารณสุข ด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป

  • วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

      หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นผลิตมหาบัณฑิตที่เป็นผู้นำ ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติในการรับผิดชอบงานด้านสาธารณสุข ดังนี้

  1. มีความเป็นผู้นำ มีมนุษยสัมพันธ์ดี ทำงานเป็นทีมร่วมกับสหสาขาวิชาชีพ ภาคีเครือข่ายและผู้เกี่ยวข้องเพื่อแก้ปัญหาสาธารณสุขทุกระดับได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
  2. มีคุณธรรมและจริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพสาธารณสุขในการปฏิบัติงานทางด้านสาธารณสุขอย่างถูกต้องและเป็นไปตามหลักวิชาการ
  3. มีทักษะในการคิด วิเคราะห์ข้อมูลของปัญหาสาธารณสุขที่ซับซ้อน โดยวิธีการ/เทคนิคการประเมินผลและดำเนินการแบบบูรณาการภายใต้การมีส่วนร่วมของชุมชนและสังคมได้
  4. มีความสามารถในการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่หรือนวัตกรรมทางสาธารณสุขในการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับงานด้านสาธารณสุขได้ด้วยวิธีการวิจัย
  5. มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และการสื่อสาร และเผยแพร่องค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ในด้านวิชาการและทางวิชาชีพ

 

  1. แผนพัฒนาปรับปรุง

          หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มีแผนพัฒนาปรับปรุงที่ระบุกลยุทธ์และตัวบ่งชี้ความสำเร็จ  

  โดยจะดำเนินการแล้วเสร็จภายใน 5 ปี

แผนการพัฒนา/เปลี่ยนแปลง

กลยุทธ์

หลักฐาน / ตัวบ่งชี้

1. จัดทำและปรับปรุงหลักสูตรให้มีความสอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิและดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงานของกระทรวงศึกษาธิการ  และความต้องการเปลี่ยนแปลงของสังคม

1. ติดตามประเมินและปรับปรุงหลักสูตรอย่างสม่ำเสมอ ทุก 3-5 ปี หรือเมื่อครบวงรอบของหลักสูตร

2. ประเมินผลการดำเนินงานหลักสูตรทุกปีและนำผลประเมินการปรับปรุงแผนดำเนินงานในปีต่อไป

3. ประเมินผลความพึงพอใจต่อคุณภาพหลักสูตรและข้อเสนอแนะจากมหาบัณฑิตและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกปี

1.  หลักสูตรฉบับปรับปรุงได้รับการรับทราบหลักสูตรจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม

    (มคอ.2)

2. รายงานผลการประเมินหลักสูตร(มคอ.7)

3. รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตรและการประชุมคณาจารย์

4.  เอกสารหลักสูตรฉบับปรับปรุง (มคอ.2)

5. รายงานผลการประเมินความพึงพอใจหลักสูตรและข้อเสนอแนะจากมหาบัณฑิตและผู้ใช้มหาบัณฑิต

2. ปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับบริบทและความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในงานสาธารณสุขในระดับประเทศและระดับสากล

1. ติดตามความเปลี่ยนแปลงในความต้องการขององค์กรทางสาธารณสุข

2. นำแนวคิด  รวมทั้งเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มศักยภาพของหลักสูตร

3. ติดตามประเมินความพึงพอใจ และข้อเสนอแนะความต้องการของผู้ใช้มหาบัณฑิตทุก 3-5 ปี หรือเมื่อครบวงรอบของหลักสูตร

1. ผู้ใช้มหาบัณฑิตมีความพึงพอใจในด้านทักษะความรู้  ความสามารถในการทำงานโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับดี

2. รายงานผลประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนต่อหลักสูตร

3. รายงานผลการประเมินความพึงพอใจในคุณภาพของบัณฑิต

4.  ความสามารถในการทำงานของมหาบัณฑิต

3. พัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องด้านการเรียนการสอน ให้มีทักษะด้านการเรียนการสอน วิชาการ การวิจัย บริการวิชาการให้เชี่ยวชาญด้านการสาธารณสุข รวมทั้งการใช้ภาษาอังกฤษ

1. อาจารย์ทุกคนโดยเฉพาะอาจารย์ใหม่ต้องเข้าอบรมเกี่ยวกับหลักสูตรการสอนรูปแบบต่างๆ  และการวัดผลประเมินผล  ทั้งนี้เพื่อให้มีความรู้ความสามารถในการประเมินผลตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิที่ผู้สอนจะต้องสามารถวัดและประเมินผลได้เป็นอย่างดี และได้รับการพัฒนาความรู้และทักษะทางวิชาชีพอย่างสม่ำเสมอ

2. สนับสนุนให้อาจารย์ และบุคลากรพัฒนางานวิจัยภายใต้องค์ความรู้ในสาขาวิชา และร่วมมืองานวิจัยกับหน่วยงานอื่นๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

3. สนับสนุนอาจารย์ และบุคลากรด้านการเรียนการสอนให้ทำงานบริการวิชาการแก่องค์กรภายนอก

4. ส่งเสริมให้มีการนำความรู้ทั้งจากภาคทฤษฎีและปฏิบัติและงานวิจัยไปใช้จริงเพื่อนำประโยชน์ให้แก่ชุมชน

1. จำนวนอาจารย์และบุคลากรได้รับการพัฒนาความรู้  ความสามารถและทักษะทางวิชาการและวิชาชีพอย่างสม่ำเสมอ

2. ปริมาณงานวิจัยและงานบริการวิชาการต่ออาจารย์ในหลักสูตร

3. รายงานการพัฒนาบุคลากรของคณะสาธารณสุขศาสตร์

4. รายงานผลประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการวิชาการ

5. จำนวนโครงการวิจัย/กิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและความบรรลุผลสำเร็จ และนำไปใช้ในการเรียนการสอนและการบริการวิชาการ

 

 

Leave a Reply