องค์ประกอบที่ 4 การจัดการเรียนรู้

ตัวบ่งชี้ที่ 4.1  การจัดการเรียนรู้ (แนวทางการจัดเรียนการสอน)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5 คะแนน
1 ข้อ 2 ข้อ 3-4 ข้อ 5-6 ข้อ 7-8 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน AUN-QA ประเมินภาพรวมประเด็น 1-5 ประเมิน 7 ระดับ

ผลการดำเนินการ

1. ปรัชญาการศึกษาชัดเจน มีการสื่อสาร และนำไปสู่กิจกรรมการเรียนรู้

หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัยเป็นหลักสูตรที่มีปรัชญาว่าเป็นหลักสูตรบูรณาการความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ ศิลปศาสตร์ ภาษาศาสตร์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ รวมทั้งทักษะในภาคทฤษฏี และภาคปฏิบัติทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยอย่างถูกต้องเหมาะสมกับการประกอบอาชีพและดำรงชีวิตในสังคมด้วยคุณภาพ คุณธรรม และจริยธรรมที่ดี เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพร่วมกับองค์กรที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์ ซึ่งทางหลักสูตรมีการเผยแพร่ให้ นักศึกษาใหม่ และบุคลคลที่สนในสามารถเข้าไปที่ www.stic.ac.th อีกทั้งยังมีการประชาสัมพันธ์ให้กับนักศึกษาในวันปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ (4.1.1.1)

2. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดการเรียนรู้

รายวิชา 922 106 Seminar in Occupational Health and Safety ให้นักศึกษาเลือกหัวข้อสัมมนาด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยเพื่อนำมานำเสนอ และมีการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะในห้องเรียน โดยให้นักศึกษาสามารถสืบค้นทั้งบทความวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศตามหัวข้อที่สนใจ หรือหัวข้อที่กำลังเป็นที่สนใจในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีการประเมินผลการเข้าเรียน การมอบหมายงาน และการสอบข้อเขียน และในรายวิชาการเก็บตัวอย่างทางด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม นักศึกษาสามารถออกแบบเลือกจุดพื้นที่เก็บตัวอย่างเช่นพื้นที่ตรวจวัดแสงสว่าง เสียงดัง และความร้อนและมีการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นถึงความสาเหตุในการเลือกพื้นที่ดังกล่าวโดยมีอาจารย์คอยให้คำชี้แนะ (4.1.1.2)

3. กิจกรรมการเรียนรู้เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม

รายวิชา 922 119 Industrial Hygiene Sampling and Analysis เป็นรายวิชาที่เสริมทักษะการใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ได้แก่ เครื่องมือตรวจวัดเสียง แสงสว่าง ความร้อน อนุภาคฝุ่น สารเคมี ซึ่งนักศึกษาทุกคนจะได้เรียนรู้หลักการเก็บตัวอย่างของเครื่องมือ การออกแบบจุดเก็บตัวอย่าง ตลอดจนการแปลผลเปรียบเทียบกับกฎหมายและนำเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในชั้นเรียน และทางหลักสูตรจัดกิจกรรมเสริมความรู้โดยการศึกษาดูงานทางด้านอาชีวอนามัยฯ (4.1.1.3)

4. มีกิจกรรมปลูกฝังให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต

หลักสูตรได้จัดการเรียนการสอนที่ให้นักศึกษา มีทักษะทางปัญญา ทักษะการวิเคราะห์ การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งทักษะเหล่านี้จะส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อเป็นพื้นฐานไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยทางหลักสูตรได้จัดบรรยากาศ และกระบวนการแบบ KM (Knowledge Management) ในรายวิชา922 106 Seminar in Occupational Health and Safety ที่ได้กำหนดให้นักศึกษาทุกคนจะต้องรวมกลุ่มกันทำงาน มีการค้นคว้างานวิจัยเพื่อนำมาสรุป วิพากษ์ วิจารณ์ ร่วมกัน โดยผู้สอนจะสรุปวิธีการเรียนรู้ตอนท้าย และในรายวิชา922 105 Professional Practice in Occupational Health and Safety ได้จัดเนื้อหาเพื่อให้นักศึกษาได้ใช้ความรู้ทุกวิชาบูรณาการแก้ไขปัญหาอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่เกิดขึ้นในโรงงานอุตสาหกรรรมโดยจะต้องเชื่อมโยงการฝึกงานเข้ากับหลักวิชาการ และมีอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อให้คำปรึกษาทางด้านวิชาการให้กับนักศึกษา และสุดท้ายนักศึกษานำเสนอผลรายงานการฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่ได้จัดการแก้ไขปัญหาพร้อมข้อเสนอแนะที่ได้แนะนำแก่โรงงานฯ (4.1.1.4)

5. มีกิจกรรมปลูกฝังให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์ และการเป็นผู้ประกอบการ

ในรายวิชา 922 105 Professional Practice in Occupational Health and Safety ได้ฝึกให้นักศึกษาค้นหาปัญหาที่เกี่ยวกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรมโดยฝึกใช้ความสังเกต การตรวจวัด ข้อมูลที่ได้จากเอกสารต่างๆ รวมทั้งการเดินสำรวจบริเวณพื้นที่โรงงาน Walk through survey เพื่อกำหนดประเด็นปัญหาต่างๆที่พบเจอมาจัดลำดับความสำคัญของปัญหาโดยใช้ปัจจัยทางวิชาการร่วมพิจารณาเพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจของผู้บริหารโรงงานในการเลือกลำดับก่อนหลังในการแก้ปัญหา ซึ้งกระบวนการเรียนรู้ดังกล่าวมีความสำคัญมากในการบริหารงานเนื่องจากทุกปัญหามีความสำคัญเหมือนกันหมด แต่ต้องเลือกแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมกับบริบทกับความเป็นไปได้ของสถานประกอบการณ์ให้มากที่สุดด้วยเหมือนกัน (4.1.1.5)

6. ปรับปรุงกลยุทธ์การจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับอุตสาหกรรมและผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง

หลักสูตรมีการทบทวนกระบวนการเรียนการสอนและการประเมินผลผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่ากระบวนการดังกล่าวมีความเกี่ยวเนื่อง และสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและสถานการณ์ของโลกและเป็นไปตามความต้องการของอุตสาหกรรมการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป โดยทบทวนจาก มคอ.3 และ มคอ.5 ของแต่ละรายวิชา และมีการประชุมอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร โดยมีจุดมุ่งหมายทบทวนผลลัพธ์การเรียนรู้ให้เป็นไปตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (4.1.1.6)

7. จัดการเรียนรู้ในระบบชั้นเรียน ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ทางหลักสูตรกำหนดให้อาจารย์ผู้สอนเน้นให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง และเน้นการเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning) เพื่อฝึกให้นักศึกษาคิดวิเคราะห์สาเหตุและฝึกการแก้ไขปัญหาในหัวข้อต่างๆของรายวิชา โดยผู้สอนเป็นเพียงผู้อำนวยความสะดวก (4.1.1.7)

8. จัดการเรียนรู้ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้วยเทคนิควิธีการต่างๆ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

อาจารย์ผู้สอนได้รวบรวมเวปไซด์ต่างๆที่จำเป็นต่อการเรียนในวิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัยเพื่อให้นักศึกษาเกิดอยากเรียนรู้ด้วยตนเอง อีกทั้งจัดช่องทางการถ่ายทอดความรู้ผ่านแอปพลิเคชั้น line เมื่ออาจารย์หรือนักศึกษาพบประเด็นที่น่าสนใจในวิชาชีพ (4.1.1.8)

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

…5….ข้อ

IQA(1-8)

1,2,3,4,5,6,7,8

8 ข้อ

5 คะแนน

AUN-QA(1-6)

1,2,3,4,5,6

ระดับ 3

รายการหลักฐานอ้างอิง

รหัสหลักฐานรายการ
4.1.1.1การเผยแพร่หลักสูตร ใน www.stic.ac.th
4.1.1.2TQF3 รายวิชา 922 106 Seminar in Occupational Health and Safety
4.1.1.3TQF3 รายวิชา 922 119 Industrial Hygiene Sampling and Analysis และภาพการใช้เครื่องมือ
4.1.1.4การนำเสนอผลรายงานการฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่ได้จัดการแก้ไขปัญหาโรงงาน
4.1.1.5TQF3 วิชา 922 210 Professional Practice in Occupational Health and Safety
4.1.1.6ระบบ MIS ทวนสอบ มคอ.3 และ มคอ.5 ของแต่ละรายวิชา และรายงานการประชุมติดตาม มคอ.3 และ มคอ.5ของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ครั้งที่ 1, 3, 5และ7
4.1.1.7ภาพการเรียนของนักศึกษาที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning) และนำเสนอข้อมูลวิชาการ
4.1.1.8เว็บไซด์ต่างๆที่จำเป็นต่อการเรียนในวิชาชีพอาชีวอนามัยและความปลอดภัยหรือสื่อต่างๆ

ผลการประเมินตนเอง

ผลการประเมินตนเองIQAAUN-QA
ตัวบ่งชี้ที่ 4.153

Leave a Reply