องค์ประกอบที่ 6 คณาจารย์

ตัวบ่งชี้ที่ 6.1 คุณภาพคณาจารย์ (คุณภาพของบุคลากรสายวิชาการ)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5 คะแนน
1 ข้อ 2 ข้อ 3-4 ข้อ 5-7 ข้อ 8-10 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน AUN-QA ประเมินภาพรวมประเด็น 1-8 ประเมิน 7 ระดับ

ผลการดำเนินการ

1. วางแผนด้านบุคลากรสายวิชาการให้มีคุณภาพและปริมาณที่เหมาะสม

หลักสูตรได้มีการกำหนดตำแหน่ง หน้าที่ ภาระงานและวางแผนให้อาจารย์และบุคลกรเข้าร่วมการอบรม การให้ความรู้เพื่อพัฒนาทักษะและความสามารถของตนเอง ไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมงต่อปีการศึกษา และในปีการศึกษา 2565 ทางหลักสูตรได้มีอาจารย์ใหม่ 2 ท่านคืออาจารย์ Jishin Jayan และอาจารย์ Chit Ko Pe มาทดแทนอาจารย์ที่ลาออกไป และอาจารย์ได้ผ่านการอบรมบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ทั้ง 4 พันธกิจ การจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ และมีแผนปฏิบัติการโครงการพัฒนาอาจารย์ เป็นต้น นอกจากนี้ทางหลักสูตรได้มีแผนการบริหารบุคลากร 5ปี เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาบุคลากกรสายวิชาการให้มีคุณภาพและปริมาณที่เหมาะสม (6.1.1.1)

2. มีการควบคุมปริมาณงานเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและคุณภาพของงาน

ทางหลักสูตรได้มีการกำหนดภาระหน้าที่การสอน งานวิจัย งานบริการวิชาการและงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารงาน และมีแผนการปฏิบัติงานประจำปี 2565 ให้การดำเนินกิจกรรมของหลักสูตรและคณะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ (6.1.1.2)

3. กำหนดสมรรถนะ มีการประเมินผล และมีการสื่อสารให้ทราบ

บุคลากรสายวิชาการในหลักสูตรทุกท่าน ได้รับการประเมินสมรรถนะของบุคลากรสายวิชาการด้วยแบบประเมินที่วิทยาลัยจัดทำขึ้นและประเมินโดยคณบดีภายใต้กรอบสมรรถนะของบุคลากรสายวิชาการพนักงานวิทยาลัยโดยประเมินตาม KPI ของบุคลากรสายวิชาการตามภาระงานและพันธกิจของสถาบันอุดมศึกษา คือด้านการผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ผลสัมฤทธิ์ของงาน และคณบดีได้สื่อสารให้อาจารย์ได้ทราบถึงผลการประเมินเพื่อให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีการประเมินอาจารย์ผู้สอนจากความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อคุณภาพการจัดการเรียนการสอนและการสนับสนุนการเรียนรู้ทุกรายวิชา โดยดำเนินการในทุกภาคการศึกษาผ่านระบบ MIS เพื่อนำผลไปปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนและการสนับสนุนการเรียนรู้ในปีการศึกษาถัดไป (6.1.1.3)

4. บุคลากรสายวิชาการมีจำนวน และ มีภาระหน้าที่ที่เหมาะสม

 อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีการประชุมร่วมกันในการบริหารหลักสูตรเพื่อวางนโยบาย วางแผน ติดตามแนวโน้มของงานอาขีวอนามัยและความปลอดภัยในปัจจุบันเพื่อนําไปเป็นแนวทางในการปรับปรุงเนื้อหาในการสอนของแต่ละวิชาต่อไปตลอดจนดําเนินงานตามแผนงานของคณะ และอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรกำหนดให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุกคนมีหน้าที่สอนตามความรู้ความเชี่ยวชาญและจัดทำแผนการสอนและภาระงานอื่นๆ เช่น การผลิตผลงานวิชาการ/ผลงานวิจัย การพัฒนาความรู้ทางวิชาการ การบริการวิชาการ การทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรมไทย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งงานควบคุมมาตรฐานคุณภาพการศึกษาให้เป็นไปตามเกณฑ์ประกันฯ (6.1.1.4)

5. มีระบบประเมินผลการปฏิบัติงานบนพื้นฐานคุณธรรม และเกี่ยวข้องกับงาน

 หลักสูตรฯ ใช้หลักเกณฑ์ประเมินประสิทธิภาพบุคลากรตามภาระงาน TOR อย่างชัดเจน แบ่งออกได้เป็นด้านต่างๆ ดังนี้ 1. งานด้านการเรียนการสอน 2. งานวิจัยหรือผลงานอื่นๆ ทางวิชาการ 3. การบริการวิชาการ 4. การทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม 5.งานกิจกรรมและพัฒนานักศึกษา โดยจะมีการประเมินจำนวน 1 ครั้งต่อปี โดยวิทยาลัยฯ จะมีการพิจารณาเลื่อนขั้นหรือเงินเดือนตามภาระงานทั้งในทางวิชาการและกิจกรรมที่ได้ปฏิบัติตามผลงานใน (TOR) ของวิทยาลัยฯ ผู้บริหารวิทยาลัยมอบหมายให้คณบดีพิจารณาประเมินเลื่อนขั้นเงินเดือนของบุคลากรสายวิชาการ และให้ข้อมูลประกอบการพิจารณาตัดสินใจแก่ผู้บริหารวิทยาลัย (6.1.1.5)

6. กำหนดหน้าที่ ความรับผิดชอบที่ชัดเจน และทำความเข้าใจให้ทุกคนทราบ

 หลักสูตรฯกำหนดบทบาทหน้าที่ของบุคลากรสายวิชาการ ในหลักสูตรที่ชัดเจน โดยชี้แจงหน้าที่ความรับผิดชอบของอาจารย์ผู้สอนเพื่อให้อาจารย์ผู้สอนปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีของนักศึกษา และกำหนดให้อาจารย์ผู้สอนมีเสรีภาพทางวิชาการ โดยสนับสนุนให้อาจารย์ผู้สอนนำเสนอผลงานทางวิชาการในระดับชาติและระดับนานาชาติ (6.1.1.6)

7. กำหนดและวางแผนพัฒนา ตามความต้องการของหลักสูตรอย่างเป็นระบบ

 หลักสูตรได้มีการวางแผนพัฒนาศักยภาพของบุคลากรเพื่อให้เกิดทักษะการเรียนรู้ใหม่ๆให้ทันสมัยกับการเรียนการสอนในหลักสูตรโดยมีระบบและกลไกส่งเสริมพัฒนาอาจารย์และบุคลากรอย่างเป็นขั้นเป็นตอน และส่งเสริมให้อาจารย์ได้ไปอบรมเพื่อพัฒนาตนเองตามตัวชี้วัดของหลักสูตร มคอ.2  (6.1.1.7)

8. นำผลการประเมินการปฏิบัติงานมาใช้ในการบริหารจัดการหลักสูตร

ทางหลักสูตรได้มีการประเมินความพึงพอของอาจารย์และนักศึกษาต่อการบริหารหลักสูตรทุกปีเพื่อนำผลที่ได้ไปปรับปรุงประสิทธิภาพให้มีความทันสมัย (6.1.1.8)

9. คณาจารย์ ผู้เรียน และชุมชน ร่วมกันสร้างประสบการณ์การเรียนรู้

 หลักสูตรมีโครงการบริการวิชาการด้านอาชีวอนามัยแก่ชุมชน โดยความร่วมมือจากคณาจารย์คณะสาธารณสุขศาสตร์ นักศึกษาและบุคลากรทางด้านสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสมเด็จย่า 84 พรรษา ตำบลบึงน้ำรักษ์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี จัดให้มีการสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพเพื่อลดความเสี่ยงหรืออันตรายทางอาชีพเกษตรกรรม โดยการดำเนินให้ความรู้ ให้คำแนะนำแนวการปฏิบัติที่ปลอดภัยในการทำงาน ให้กับเกษตรกรและอาสาสมัครสาธารณสุข มีสุขภาพดีและมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน (6.1.1.9)

10.  คณาจารย์บูรณาการศิลปะและวัฒนธรรม ในการจัดการเรียนรู้

 ทางหลักสูตรกำหนดให้มีการบูรณาการศิลปวัฒนธรรมเชิงพหุวัฒนธรรมเนื่องจากคณาจารย์ในหลักสูตรมีทั้งอาจารย์ไทยและต่างประเทศ ดังนั้นทางหลักสูตรจึงได้กำหนดโครงการที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมต่างชาติโดยจัดในรูปแบบบูรณาการกับกิจกรรมนักศึกษาเพื่อให้นักศึกษาได้รับรู้การอยู่ร่วมกับสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม และเป็นประโยชน์นักศึกษาเมื่อสำเร็จการศึกษาจะต้องทำงานร่วมกับคนที่มีความแตกต่างในวัฒนธรรมได้ (6.1.1.10)

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

…5 ข้อ…

IQA(1-10)

1,2,3,4,5,6,7,8,9,10

10 ข้อ

5 คะแนน

AUN-QA(1-8)

1,2,3,4,5,6,7,8

ระดับ 4

รายการหลักฐานอ้างอิง

รหัสหลักฐานรายการ
6.1.1.1แผนการบริหารบุคลากร 5ปี/แผนปฏิบัติการโครงการพัฒนาอาจารย์
6.1.1.2แผนการปฏิบัติงานประจำปี 2565 จำแนกตามแผนงานต่างๆ
6.1.1.3ผลประเมินอาจารย์ผู้สอนจากความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อคุณภาพการจัดการเรียนการสอน
6.1.1.4รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
6.1.1.5ผลการประเมินประสิทธิภาพบุคลากรวิทยาลัย
6.1.1.6แผนบริหารบุคคล (ฉบับปรับปรุง) พ.ศ. 2563 – 2567
6.1.1.7แผนโครงการพัฒนาอาจารย์และรายละเอียดแต่ละโครงการ
6.1.1.8ผลการประเมินความพึงพอของอาจารย์และนักศึกษาต่อการบริหารหลักสูตร
6.1.1.9โครงการบริการวิชาการด้านอาชีวอนามัยแก่ชุมชน
6.1.1.10ผลการบูรณาการศิลปวัฒนธรรมกับกิจกรรมการเรียน

ตัวบ่งชี้ที่ 6.2 คุณวุฒิปริญญาเอก

ผลการดำเนินการ

มีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก จำนวน 1 คน คือ    รศ.ดร.ชมพูศักดิ์ พูลเกษ  ดังนั้น

1) ร้อยละอาจารย์ที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก = (1/5)*100 = 20

2) คะแนนที่ได้ = (20/20) * 5 = 5 ได้ 5 คะแนน

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

ร้อยละ…

IQA(1)

อาจารย์ปริญญาเอก 1 คน/อาจารย์ผู้รับผิดชอบ 5 คน

ร้อยละ 20

5 คะแนน

AUN-QA(ไม่มี)

ไม่มี

ระดับ ไม่มี 

รายการหลักฐานอ้างอิง

รหัสหลักฐาน รายการ
6.2.1.1คุณวุฒิปริญญาเอก รศ.ดร.ชมพูศักดิ์ พูลเกษ

ตัวบ่งชี้ที่ 6.3 ผลงานวิจัยตีพิมพ์

การกำหนดค่าถ่วงน้ำหนักตามระดับคุณภาพผลงานทางวิชาการ ดังนี้

ค่าน้ำหนัก ระดับคุณภาพ
0.20 -บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ
0.40 -บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ
-ผลงานที่ได้รับการจดอนุสิทธิบัตร
0.60 บทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ในวารสารที่ปรากฏในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 2
0.80 บทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่ปรากฏในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 1
1.00 -บทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่ปรากฏในฐานข้อมูลระดับนานาชาติตามประกาศ ก.พ.อ. หรือระเบียบคณะกรรมการการอุดมศึกษาว่าด้วยหลักเกณฑ์ การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
-ผลงานได้รับการจดสิทธิบัตร
-ผลงานวิจัยการรับใช้สังคมที่ได้รับการประเมินผ่านเกณฑ์การขอตำแหน่งทางวิชาการแล้ว
-ผลงานวิจัยที่หน่วยงานหรือองค์กรระดับชาติว่าจ้างให้ดำเนินการ
-ผลงานค้นพบพันธุ์พืช  พันธุ์สัตว์ ที่ค้นพบใหม่และได้รับการจดทะเบียน
-ตำราหรือหนังสือหรืองานแปลที่ได้รับการประเมินผ่านเกณฑ์การขอตำแหน่งทางวิชาการแล้ว
-ตำราหรือหนังสือหรืองานแปลที่ผ่านการพิจารณาตามหลักเกณฑ์การประเมินตำแหน่งทางวิชาการ แต่ไม่ได้นำมาขอรับการประเมินตำแหน่งทางวิชาการ
-บทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่ได้รับการอ้างอิงในวารสารวิชาการระดับชาติที่ปรากฏในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 1 หรือในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่ปรากฏในฐานข้อมูลระดับนานาชาติ ตามประกาศ ก.พ.อ

ผลการดำเนินการ

  1. ร้อยละผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงาน = (1/5)*100 = 20
  2. คะแนนที่ได้ = (20/20)*5 = 5

ตารางแสดงข้อมูลผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ ประจำปีการศึกษา 2565

No.TitleName of the LecturerName of JournalIndexWeight
1Safety Behaviors Affecting the Quality of Life at Work of Safety Officers in the Eastern Economic Corridor, ThailandRubaba Nawrin, Rattanathorn Intarak, Orawan Janchalor, Malee DhamasiriSocial Evolution and History
Vol. 11, No. 9 September 2022

Page : 77-86
Scopus
Q2
1

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

ร้อยละ 20

IQA(1)

ผลรวมถ่วงน้ำหนักผลงาน 1 /อาจารย์ผู้รับผิดชอบ 5 คน

ร้อยละ 20

5 คะแนน

AUN-QA(ไม่มี)

ไม่มี

ระดับ…ไม่มี….

รายการหลักฐานอ้างอิง

รหัสหลักฐาน รายการ
6.3.1.1วารสารงานวิจัยที่ตีพิมพ์

ผลการประเมินตนเอง

ผลการประเมินตนเองIQAAUN-QA
ตัวบ่งชี้ที่ 6.153
ตัวบ่งชี้ที่ 6.2 5
ตัวบ่งชี้ที่ 6.3 5
คะแนนเฉลี่ย5

Leave a Reply