องค์ประกอบที่ 8 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

ตัวบ่งชี้ที่ 8.1 สิ่งสนับสนุนการเรียน (สิ่งอำนวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐาน)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5 คะแนน
1 ข้อ 2-3 ข้อ 4-5 ข้อ 6-8 ข้อ 9-11 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน AUN-QA ประเมินภาพรวมประเด็น 1-9 ประเมิน 7 ระดับ

ผลการดำเนินการ

1. มีทรัพยากรทางกายภาพและสิ่งอำนวยความสะดวกดำเนินการเพียงพอ

ทางหลักสูตรฯจัดให้มีระบบการจัดสิ่งสนับสนุนการเรียน  มีกระบวนการสำรวจความพึงพอใจของอาจารย์และนักศึกษา และมีการจัดการเพื่อตอบสนองความต้องการตามคำร้องขอ โดยสะท้อนความพึงพอใจหรือข้อเสนอแนะ โดยการจัดทำรายงานเสนอต่อคณบดีเพื่อวางแผนร่วมกันกับกรรมการบริหารหลักสูตรและคณะฯในการปรับปรุง และมีการสำรวจความพร้อมของสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ เช่น หนังสือ คู่มือ ตำรา ระบบอินเตอร์เนต เครื่องมือสื่อการสอน เป็นต้น จากอาจารย์ผู้สอนหรืออาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เพื่อจัดหาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ให้เพียงพอ เหมาะสม และทันเวลา อาจารย์มีส่วนร่วมในการจัดหาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ โดยเสนอความต้องการผ่านคณบดีและอธิการบดีเพื่อพิจารณาความเพียงพอหรือการตัดสินใจในการจัดหา (8.1.1.1)

2. มีห้องปฏิบัติการ เครื่องมือและอุปกรณ์ที่มีความทันสมัยและใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หลักสูตรจึงได้จัดทำโครงการจัดเตรียมวัสดุการเรียนการสอนมารองรับการพัฒนาเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่ใช้ในการเรียนให้มีประสิทธิภาพพร้อมใช้งานอย่างสม่ำเสมอ และมีการจัดหาเครื่องมือการจัดการเรียนการสอนเป็นไปตามมาตรฐานของหลักสูตรอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ทำให้นักศึกษาและอาจารย์มีความพึงพอใจอยู่ในระดับที่ดีอย่างสม่ำเสมอ (8.1.1.2)

รายการเครื่องมือวิทยาศาสตร์สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ที่เพียงพอและเหมาะสมต่อการจัดการเรียนการสอน

ที่

รายการ

จำนวน

ความเพียงพอและเหมาะสม

ใช่

ไม่ใช่

1.

เครื่องวัดแสง

1

/

2.

เครื่องวัดเสียงดังแบบ SLP, Noise dosimeter, Octave band และ Noise Calibrator

4

/

3.

เครื่องวัดความร้อน

1

/

4.

ปั๊มเก็บตัวอย่างอากาศแบบวิธีมาตรฐาน

1

/

5.

ปั๊มเก็บตัวอย่างอากาศแบบวิธีสำรวจเบื้องต้น

1

/

6.

อุปกรณ์เก็บตัวอย่างฝุ่นรวมและฝุ่นที่มีขนาดเล็ก

1

/

7.

อุปกรณ์เก็บตัวอย่างก๊าซและไอระเหย

1

/

8.

อุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนการสอนอื่นๆเช่น PPE อุปกรณ์ช่างพื้นฐาน

1

/

3. มีห้องสมุดดิจิทัลที่ก้าวทันกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

หลักสูตรได้ใช้ห้องสมุดของวิทยาลัย มีการจัดหาหนังสือทั้งภาษาไทยและภาษาต่างชาติ วารสาร และสื่อต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนและการทำวิจัย โดยการเสนอชื่อหนังสือ วารสาร และสื่อ ที่เกี่ยวข้องกับองค์ความรู้ที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้กับห้องสมุดวิทยาลัยเพื่อทำการจัดหาเข้าห้องสมุดในทุกปี ระบบห้องสมุดของวิทยาลัยนักศึกษาสามารถเข้าถึงข้อมูลทางวิชาการผ่านทางระบบออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นการค้นหางานวิจัยที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่จากวารสารทั้งในและต่างประเทศ โดยหลักสูตรได้จัดให้มีการเข้ารับการอบรมการใช้งาน มีคู่มือการใช้ห้องสมุด และการสืบค้น online ของระบบห้องสมุดจากเจ้าหน้าที่บรรณารักษ์ (8.1.1.3)

4. มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศตอบสนองความต้องการ บุคลากรและผู้เรียน

หลักสูตรร่วมกับสำนักสารสนเทศของวิทยาลัยได้มีการปรับปรุงระบบเครือข่ายสัญญาณอินเตอรฺเน็ตครอบคลุมกว่าร้อยละ 90 ในพื้นที่อาคารเรียน หอพักนักศึกษา โรงอาหาร พร้อมทั้งจัดระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อตอบสนองความต้องการของบุคลากรและผู้เรียนโดยเพิ่มเทคโนโลยีการสื่อสารกับผู้เรียนหลายช่องทางเช่น ระบบการเรียนการสอนทางไกล LMS  ระบบการเรียนการสอนผ่านทาง Google Meet  และระบบสารสนเทศอื่นๆ เช่น ระบบลงทะเบียนออนไลน์ การให้บริการอีเมล์สำหรับนักศึกษา และบุคลากร (8.1.1.4)

5. มีระบบเครือข่ายที่สามารถเข้าถึงได้ในพื้นที่ของวิทยาลัย

หลักสูตรร่วมกับวิทยาลัยได้จัดให้มีห้องคอมพิวเตอร์ได้รองรับการเรียนการสอนและการทดสอบภาษาอังกฤษTOEICให้นักศึกษาสามารถเข้าไปเตรียมความพร้อมอยู่เสมอ และพื้นที่บริเวณจัดการเรียนการสอนมีระบบเครือข่ายอินเตอร์ครอบคุมทุกชั้นเรียน นักศึกษาสามารถเข้าถึงได้ด้วยตนเองแบบ Free Wifi ทำให้อาจารย์และนักศึกษาสามารถศึกษาค้นคว้าความรู้จากแหล่งเรียนรู้ในอินเตอร์เน็ตได้อย่างมีประสิทธิภาพ (8.1.1.5)

6. กำหนดและดำเนินการตามมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพและความปลอดภัย

หลักสูตรร่วมวิทยาลัย ฯ มีมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม เช่น มีการคัดแยกขยะตามประเภท มาตรการด้านสาธารณสุขมีจุดลวกช้อนซ้อมบริเวณโรงอาหาร และน้ำดื่มสะอาดบริการทั้งในอาคารเรียนและโรงอาหาร และในช่วงเกิดโรคระบาด โควิด-19 ได้เพิ่ม มาตรการเรื่องสุขภาพและความปลอดภัย เช่น ตรวจวัดอุณหภูมิก่อนเข้าวิทยาลัย ฯ มีจุดบริการเจลแอลกอฮอล์ และมีการติดตั้งกล้องวงจรปิดในจุดต่าง ๆ โดยรอบ มีการติดตั้งสัญญาณเตือนภัย กรณีเกิดอัคคีภัย และมีอุปกรณ์สำหรับดับเพลิง รวมทั้งมีการจัดทางเดินแบบมีหลังคาจากอาคารเรียนไปยังหอพักนักศึกษา (8.1.1.6)

7. สภาพแวดล้อมทางกายภาพ สังคมและจิตใจที่เอื้อต่อการเรียน การวิจัย และคุณภาพชีวิต

หลักสูตรร่วมกับวิทยาลัยจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพมีการปรับปรุงให้ดีขึ้น เช่น มีการปรับสภาพ

ภูมิทัศน์ปลูกต้นไม้ให้ร่มรื่นและสวยงาม มีสถานที่พักผ่อนหย่อนใจเช่น บึงน้ำ สนามไดร์กอล์ฟ มีหอพักในวิทยาลัย มีการให้บริการสนามกีฬาได้แก่ สนามฟุตบอล สนามวอลเลย์บอล และห้องฟิตเนสต่าง ๆ ที่ให้บุคลากร นักศึกษาเข้ามาใช้บริการ อีกทั้งภายในห้องสมุดได้จัดโซนการค้นคว้าส่วนตัว ห้องวิจัย ห้องเรียนกลุ่ม ไว้บริการ (8.1.1.7)

8. กำหนดสมรรถนะของบุคลากรสายสนับสนุนที่ให้บริการที่เกี่ยวข้องกับสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หลักสูตรร่วมกับคณะสาธารณสุขศาสตร์มีระบบบริหารบุคคล ในการกำหนดคุณสมบัติ ขั้นตอนการรับและกำหนดลักษณะงานของบุคลากรฝ่ายสนับสนุนเพื่อให้ได้มาซึ่งบุคลากรที่มีคุณภาพ และหลักสูตรกำหนดโครงการพัฒนาความรู้ของตนเองที่เกี่ยวเนื่องเกี่ยวกับงานที่ปฏิบัติและช่วยสนับสนุนการเรียน การสอนของอาจารย์และนักศึกษา และหลักสูตรร่วมกับวิทยาลัยในการประเมินสมรรถนะประจำปีเพื่อพัฒนาส่งเสริมให้มีคุณภาพที่ดียิ่งขึ้น (8.1.1.8)

9. มีการประเมินและการปรับปรุงคุณภาพของสิ่งอำนวยความสะดวก

ทางหลักสูตรได้ดำเนินการสำรวจแบบสอบถามเพื่อแสดงความคิดเห็นของอาจารย์และนักศึกษาในเรื่องสิ่งสนับสนุนการเรียนและสีงอำนวยความสะดวก พบว่านักศึกษามีความพึงพอใจต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ในปีการศึกษา 2565 อยู่ในระดับดี โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.21 จาก 5 และอาจารย์มีความพึงพอใจต่อสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้อยู่ในระดับดี โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.23 จาก 5 (8.1.1.9)

10. มีทรัพยากรการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับบริบทสังคมดิจิทัล

หลักสูตรได้ตระหนักและคำนึงถึงความก้าวหน้าของแหล่งเรียนรู้ในวิชาชีพและแหล่งเสริมการเรียนรู้ทางด้านภาษาดังนั้นหลักสูตรได้กำหนดโครงการพัฒนาศักยภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ 4.0เพื่อให้นักศึกษามีคุณภาพและทันต่อความต้องการและความก้าวหน้าในวิชาชีพของหลักสูตร (8.1.1.10)

11. มีการวิเคราะห์ต้นทุนต่อหน่วยและความคุ้มค่าของหลักสูตรการศึกษา

ข้อมูลทางการเงินในแต่ละหลักสูตรและในภาพรวม มีดังนี้

หลักสูตร

จำนวน

ค่าใช้จ่าย(หน่วย:พันบาท)

ต้นทุนต่อหน่วย(ค่าใช้จ่าย/นศ.)

นศ.

อาจารย์

อาจารย์

ครุภัณฑ์

วัสดุ/สื่อ

กิจกรรม นศ.

วท.บ.สาธารณสุข

13

5

700

40

50

60

65

วท.บ.อาชีวอนามัยฯ

28

5

700

60

50

60

31

สาธารณสุขฯมหาบัณฑิต

4

3

350

50

50

50

125

ภาพรวมของคณะ

45

13

1750

150

150

170

49

สัดส่วนค่าใช้จ่ายในการพัฒนา

38.88

3

3

3.77

          ต้นทุนต่อหน่วยของคณะ  49,000 บาท

สัดส่วนค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนาอาจารย์ และบุคลากร: ครุภัณฑ์  :การจัดการเรียนการสอน:การพัฒนานักศึกษา

          ของคณะ  คือ 38.88 : 3.00 : 3.00: 3.77

  1. การวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตร

ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตรในการผลิตบัณฑิต และโอกาสในการแข่งขันมีดังนี้

หลักสูตร

ค่าใช้จ่ายต่อหน่วย

(หน่วย:พันบาท)

ประสิทธิภาพ(หน่วย:พันบาท)

โอกาสในการแข่งขัน

รายรับ

ต้นทุน

ส่วนกลาง

วท.บ.สาธารณสุข

1862.9

65

45.00

1752.9

/

วท.บ.อาชีวอนามัยฯ

4012.4

31

45.00

3936.4

/

สาธารณสุขฯมหาบัณฑิต

370

125

45.00

200

/

ผลรวมค่าใช้จ่ายต่อหน่วย

6245.3

221

135

5889.3

ค่าเฉลี่ยภาพรวมของคณะ

2081.77

73.67

45.00

1963.1

/

  1. การบริหารหลักสูตรวท.บ.สาธารณสุข วท.บ.อาชีวอนามัย และสาธารณสุขฯมหาบัณฑิต มีความคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ และมีโอกาสในการแข่งขันการรับนักศึกษา
  2. จากจำนวนนักศึกษามีจำนวนน้อยจึงส่งผลให้ภาพรวมของการบริหารหลักสูตรของคณะมีความคุ้มค่าลดลง

แนวทางการพัฒนา

จากการวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตรทุกหลักสูตรควรใช้จุดเด่นในเรื่อง  คุณภาพบัณฑิต และความสอดคล้องกับทิศทางการพัฒนากำลังคน ที่ขับเคลื่อนในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เป็นจุดประชาสัมพันธ์

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

…5 ข้อ…

IQA(1-11)

1,2,3,4,5,6,7,8,9,10,11

11 ข้อ

5 คะแนน

AUN-QA(1-9)

1,2,3,4,5,6,7,8,9

ระดับ 4

รายการหลักฐานอ้างอิง

รหัสหลักฐานรายการ
8.1.1.1ตัวอย่างลักษณะทางกายภาพของสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ เช่น หนังสือ คู่มือ ตำรา ระบบอินเครื่องมือสื่อการสอน อาคารเรียน ห้องออกกำลังกาย
8.1.1.2ตัวอย่างรูปภาพเครื่องมือวิทยาศาสตร์/โครงการจัดเตรียมวัสดุการเรียนการสอน
8.1.1.3การสืบค้นข้อมูลห้องสมุดและคู่มือการใช้ห้องสมุด
8.1.1.4โปรแกรมระบบการเรียนการสอนทางไกล LMS, ระบบการเรียนการสอนผ่านทาง Google Meet และระบบสารสนเทศอื่นๆ เช่น ระบบลงทะเบียนออนไลน์
8.1.1.5ห้องคอมพิวเตอร์พร้อมอินเตอร์เน็ตรองรับการเรียนการสอนและการทดสอบภาษาอังกฤษTOEIC
8.1.1.6รูปภาพถังขยะคัดแยกขยะตามประเภท จุดลวกช้อนซ้อมบริเวณโรงอาหาและน้ำดื่มสะอาดบริการ จุดบริการแอลกอฮอล์
8.1.1.7รูปภาพสภาพภูมิทัศน์ปลูกต้นไม้ สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ห้องฟิตเนท ห้องวิจัย ห้องเรียนกลุ่ม
8.1.1.8แผนการบริหารบุคลากรและโครงการพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนฯ
8.1.1.9ผลการประเมินอาจารย์และนักศึกษาในเรื่องสิ่งสนับสนุนการเรียนและสีงอำนวยความสะดวก
8.1.1.10โครงการพัฒนาศักยภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้ 4.0
8.1.1.111.การวิเคราะห์ข้อมูลทางการเงินต้นทุนต่อหน่วยในแต่ละหลักสูตร
2.การวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการบริหารหลักสูตร (หน้า 13 ในแผนปฏิบัติการคณะฯ)

ผลการประเมินตนเอง

ผลการประเมินตนเองIQAAUN-QA
ตัวบ่งชี้ที่ 8.153

Leave a Reply