องค์ประกอบที่ 3 หลักสูตร

ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 หลักสูตร (โครงสร้างโปรแกรมและเนื้อหา)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5 คะแนน
1 ข้อ 2 ข้อ 3-4 ข้อ 5-6 ข้อ 7-9 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน AUN-QA ประเมินภาพรวมประเด็น 1-7 ประเมิน 7 ระดับ

ผลการดำเนินการ

1. หลักสูตรทันสมัยเป็นปัจจุบันและมีความเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม

                   ปีการศึกษา 2565 คณะพยาบาลศาสตร์ ใช้หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561 ในการจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2561-2565 โดยมีระบบและกลไกในการพัฒนาหลักสูตร และสาระของรายวิชาในหลักสูตร ให้มีความมีเนื้อหาที่ทันสมัย และสอดคล้องกับบริบททางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม นวัตกรรม และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง และความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในการบริหารหลักสูตร โดยคณะกรรมการบริหารหลักสูตร มีการพัฒนาเนื้อหาสาระในหลักสูตรให้ทันสมัยและสอดคล้องกับบริบทและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงของประเทศทุกปีการศึกษา เช่นการบูรณาการเนื้อหาสาระเรื่องโรคอุบัติใหม่ ,บุหรี่กับสุขภาพตามนโยบายควบคุมยาสูบ และการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล ในรายวิชาทางการพยาบาล เป็นต้น

2. หลักสูตรครอบคลุม ทันสมัย และมีการสื่อสารไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

                 ปีการศึกษา 2565 คณะพยาบาลศาสตร์ ใช้หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561 ในการจัดการเรียนการสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2561-2565 โดยมีระบบและกลไกในการพัฒนาหลักสูตร และสาระของรายวิชาในหลักสูตร ให้มีความมีเนื้อหาที่ทันสมัย และสอดคล้องกับบริบททางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม นวัตกรรม และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง และความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในการบริหารหลักสูตร โดยคณะกรรมการบริหารหลักสูตร มีการพัฒนาเนื้อหาสาระในหลักสูตรให้ทันสมัยและสอดคล้องกับบริบทและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงของประเทศทุกปีการศึกษา เช่นการบูรณาการเนื้อหาสาระเรื่องโรคอุบัติใหม่ ,บุหรี่กับสุขภาพตามนโยบายควบคุมยาสูบ และการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล ในรายวิชาทางการพยาบาล ปรับวิธีการจัดการเรียนการสอนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน เป็นต้น
                 คณะพยาบาลศาสตร์มีการสื่อสารหลักสูตรให้กับนักศึกษา อาจารย์ และแหล่งฝึกปฏิบัติ การสื่อสารกับนักศึกษาโดยผ่านการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ โดยรองคณบดีฝ่ายวิชาการจะพบนักศึกษาและนำเสนอหลักสูตร และผลลัพธ์การเรียนรู้ให้กับนักศึกษาได้ทราบ และฝ่ายกิจการนักศึกษาได้จัดทำคู่มือนักศึกษาซึ่งมีรายละเอียดของหลักสูตรด้วย การสื่อสารกับอาจารย์ ฝ่ายวิชาการได้จัดทำคู่มือบริหารหลักสูตร เพื่อเป็นแนวทางให้อาจารย์ได้ใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารรายวิชา และได้สื่อสารหลักสูตร(file PDF) ผ่าน google drive ของคณะพยาบาล การสื่อสารกับพยาบาลพี่เลี้ยง ผ่านการประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาศักยภาพด้านการจัดการเรียนการสอนสำหรับพยาบาลพี่เลี้ยงเพื่อให้พยาบาลพี่เลี้ยงเข้าใจและร่วมสอนภาคปฏิบัติให้สอดคล้องกับหลักสูตร

3. การออกแบบเนื้อหาหลักสูตรสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

                  คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร ได้นำผลการเรียนรู้ที่คาดหวังซึ่งสอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา สาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ. 2560 มาเป็นหลักในการพิจารณาออกแบบโครงสร้างหลักสูตร (มคอ. 2) และมีการจัดทำแผนที่การกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (curriculum mapping) ที่สะท้อนความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ระดับหลักสูตรสู่วัตถุประสงค์รายวิชา โดยในกระบวนการจัดทำวัตถุประสงค์ระดับรายวิชาทุกครั้งจะมีการตรวจสอบความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ระดับหลักสูตรโดยมีคณะกรรมการวิพากษ์มคอ. และหลังจากดำเนินการจัดการเรียนการสอนแล้ว จะต้องมีการทวนสอบเพื่อประเมินผลการเรียนรู้ระดับรายวิชา พร้อมทั้งนำผลการทวนสอบไปปรับปรุงรายวิชาในปีการศึกษาต่อไป

4. การออกแบบหลักสูตรสอดคล้องผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

             คณะพยาบาลศาสตร์มีการออกแบบหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตฉบับปรับปรุง พศ 2561 โดยศึกษาข้อมูลจากบริบททางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม นวัตกรรม และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลง และความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอก โดยคณะกรรมการพัฒนาพัฒนาหลักสูตรได้ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมในการให้ข้อคิดเห็น ผ่านการเสวนาโครงการพัฒนาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตเกี่ยวกับคุณภาพของบัณฑิต ความคาดหวัง และความต้องการในอนาคต รวมทั้งนำผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตมาใช้ในการออกแบบหลักสูตร
                 จากการประเมินผลการบริหารหลักสูตร โดยอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร ผู้สำเร็จการศึกษา รวมทั้งคณะกรรมการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ระดับหลักสูตร และการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตสรุปได้ดังนี้ ผู้สำเร็จการศึกษาบรรลุมาตรฐานผลลัพธ์การเรียนรู้ 6 ด้าน ค่าเฉลี่ย 3.63 จากค่าคะแนน 5 ระดับ โดยค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านคุณธรรม จริยธรรม ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.95 และน้อยที่สุด คือ ทักษะทางปัญญา ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.48 ส่วนด้านทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.56 จากผลการประเมินหลักสูตรโดยสรุป พบว่าผู้สำเร็จการศึกษามีสมรรถนะที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน โดยมีข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา 3 ประเด็นคือ 1) พัฒนาทักษะทางปัญญา เน้นการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ คิดสร้างสรรค์ในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการดูแล 2) พัฒนาทักษะด้านภาษาอังกฤษ และ 3) พัฒนาทักษะปฏิบัติทั้งในสถานการณ์จริงและสถานการณ์จำลอง จากผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตดังกล่าว คณะกรรมการบริหารหลักสูตร ได้นำข้อมูลป้อนกลับ ข้อเสนอแนะ ร่วมกับผลการทวนสอบและผลการประเมิน ผลการความคาดหวังของผลลัพธ์การเรียนรู้เมื่อสิ้นปีการศึกษามาวิเคราะห์ และทบทวน ก่อนนำไปใช้ในการปรับปรุงระดับรายวิชาและระดับหลักสูตร ในปีการศึกษา 2565 คณะกรรมการบริหารหลักสูตรได้เสนอแนวทางการจัดทำโครงการ Selected Nursing Skill ของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 โดยให้ทุกภาควิชาออกแบบและวางแผนจัดการสอบทักษะที่สำคัญและจำเป็นของแต่ละภาควิชา โดยให้จัดทำสถานการณ์เสมือนจริง และได้มีการจัดซื้อหุ่น simulator สำหรับจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์เสมือนจริงจำนวน 1 ตัว และการประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตรได้มีการเน้นย้ำในเรื่องการออกแบบการเรียนการสอนผ่านหัวหน้าภาควิชา ให้มีการออกแบบการจัดการเรียนการสอน มคอ. 3 และ มคอ.4 โดยให้เน้นการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริม active learner เพื่อช่วยพัฒนามาตรฐานผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน 3 ด้าน และ ทักษะในศตวรรษที่ 21

5. โครงสร้างหลักสูตรจัดลำดับวิชาอย่างเป็นระบบและเหมาะสม

              หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2561 มีระบบจัดการศึกษาเป็นแบบชั้นเรียน ในระบบทวิภาค มีการจัดการเรียนการสอน ปีการศึกษาละ 2 ภาคการศึกษา และภาคฤดูร้อน การจัดรายวิชาของหลักสูตร พ.ศ.2561 มีจำนวนหน่วยกิต ตลอดหลักสูตร 140 หน่วยกิต โดยแบ่งรายวิชาในหลักสูตร ดังนี้ 1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 31 หน่วยกิต 2. หมวดวิชาเฉพาะ 103 หน่วยกิต 3. หมวดวิชาเลือกเสรีไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต เรียง ตามลำดับองค์ความรู้และเนื้อหาที่สำคัญในการปูพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับกลุ่มสังคมศาสตร์ กลุ่มคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และกลุ่มพัฒนาคุณภาพชีวิต ในชั้นปีที่ 1 เพื่อช่วยให้นักศึกษาสามารถปรับตัวให้เข้ากับการดำรงชีวิตในช่วงเปลี่ยนผ่านจากมัธยมศึกษา สู่ระดับอุดมศึกษา และเริ่มเรียนวิชาเกี่ยวกับหมวดวิชาชีพเฉพาะ ในกลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ ได้แก่ กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา 1,2 พยาธิสรีรวิทยา โภชนาการและสุขภาพ เภสัชวิทยา ฯลฯ และกลุ่มวิชาชีพ ได้แก่ แนวคิดทฤษฏีและกระบวนการพยาบาล ศิลปะการพยาบาล การพยาบาลในสาขาต่างๆ และรายวิชาภาคปฏิบัติทางการพยาบาลในสาขาต่างๆ ซึ่งจะเรียนในชั้นปีที่สูงขึ้นตามลำดับ จะเห็นได้ว่าหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2561 กำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ เนื้อหาวิชา และจัดการเรียนการสอนมีความต่อเนื่องจากง่ายไปยากตามลำดับชั้นปี โดยอาจารย์ผู้สอนจะออกแบบการเรียนการสอน และการประเมินผลที่ส่งเสริมกระบวนการทางปัญญาในศาสตร์ทางการพยาบาล และศาสตร์ที่เกี่ยวข้องให้บรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา 5 ด้าน 

6. หลักสูตรมีทางเลือกสำหรับผู้เรียนที่ต้องการความเชี่ยวชาญพิเศษ

              หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2561 มี จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร รวม 140 หน่วยกิต โดยแบ่งรายวิชาในหลักสูตร ดังนี้ 1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 31 หน่วยกิต 2. หมวดวิชาเฉพาะ 103 หน่วยกิต 3. หมวดวิชาเลือกเสรีไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต ซึ่งหลักสูตรมีการเปิดรายวิชาใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการของสังคม เช่น วิชานวัตกรรมและงานสร้างสรรค์ทางด้านสุขภาพ วิชาการประกอบธุรกิจด้านสุขภาพ วิชาพืชสมุนไพร และวิชาการดูแลสุขภาพข้ามวัฒนธรรม เป็นต้น นอกจากนั้น ยังมีการเปิดสอนวิชาภาษาอังกฤษ English Proficiency for Nursing Students ให้แก่นักศึกษาทุกชั้นปี เพื่อพัฒนานักศึกษาด้านทักษะภาษาอังกฤษ ตามอัตลักษณ์บัณฑิตของสถาบัน และเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เลือกเรียนได้ตามความสนใจในรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลสู่วิชาชีพที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาเลือกฝึกปฏิบัติการพยาบาลตามความต้องการเพื่อให้นักศึกษามีความรู้เพิ่มเติมในการนำไปต่อยอดความเชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ

7. หลักสูตรได้รับการทบทวนให้ทันสมัยและความต้องการของอุตสาหกรรม

             ในปีการศึกษา 2565 คณะพยาบาลศาสตร์มีการใช้หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2561 คณะพยาบาลศาสตร์ได้มีการบริหารหลักสูตร โดยคณะกรรมการบริหารหลักสูตร มีการพัฒนาเนื้อหาสาระในหลักสูตรให้ทันสมัยและสอดคล้องกับบริบทและสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงของประเทศทุกปีการศึกษา มีการบูรณาการเรื่องความปลอดภัยของผู้ป่วย และการใช้ยาอย่างสมเหตุผล และการควบคุมยาสูบ และเพิ่มเนื้อหาสาระเกี่ยวกับโรคอุบัติใหม่ ในรายวิชาทางการพยาบาลในสาขาต่างๆ และมีการติดตามบัณฑิต และผู้ใช้บัณฑิตอย่างต่อเนื่องทุกปี คณะพยาบาลศาสตร์เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการผลิตบัณฑิต เช่น อาจารย์ นักศึกษา แหล่งฝึกภาคปฏิบัติ ผู้ใช้บัณฑิต และ ผู้บริหารของวิทยาลัย ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการประเมินผลหลักสูตร และให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงหลักสูตร

8. หลักสูตรเป็นไปตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา

              หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2561 สร้างโดยอ้างอิงตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง มาตรฐานคุณวุฒิระดับบัณฑิตศึกษา สาขาพยาบาลศาสตร์พ.ศ. 2560 ประกอบด้วยผลลัพธ์การเรียนรู้ 6 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี่สารสนเทศ 6. ด้านทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ และ ผลการเรียนรู้ระดับหลักสูตร (มคอ.2) มีความสอดคล้องกับปรัชญาและวัตถุประสงค์ของหลักสูตร คือ มีคุณลักษณะพิเศษของบัณฑิตตาม อัตลักษณ์ของคณะพยาบาลศาสตร์ คือ ความรู้ คู่คุณธรรม และมีคุณลักษณะตามเอกลักษณ์ของวิทยาลัย คือ ความเป็นนานาชาติ และมีการจัดทำแผนที่การกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (curriculum mapping) ที่สะท้อนความสอดคล้องของวัตถุประสงค์ระดับหลักสูตร สู่วัตถุประสงค์รายวิชา และ ผลการเรียนรู้ของหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2561 มีการสนองตอบความต้องการด้านสุขภาพของประชาชน ผู้ใช้บัณฑิต หรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

9. บริหารหลักสูตรให้เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา

                 คณะกรรมการบริหารหลักสูตร ซึ่งประกอบด้วยอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร หัวหน้าภาควิชา และผู้บริหารของคณะ มีคณบดีเป็นประธาน และรองคณบดีฝ่ายวิชาการเป็นรองประธานเป็นกลไกหลักในการดำเนินงาน ตามระบบ คณะกรรมการบริหารหลักสูตรมีหน้าที่ในการออกแบบหลักสูตร ควบคุมกำกับการจัดทำมคอ.3, 4 ของรายวิชาในหลักสูตรให้มีสาระเนื้อหาที่ทันสมัย สอดคล้องกับบริบทนวัตกรรมเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงและบริหารจัดการให้การจัดการเรียนการสอนเป็นไปตามที่ออกแบบไว้ และกำกับติดตามโดยการทวนสอบ การวัดประเมินผล และการจัดทำ มคอ.5 และมคอ.6 และนำข้อมูลที่ได้สรุปในรายงานผลการดำเนินงานระดับหลักสูตร นำเสนอในที่ประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตร และใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนในปีการศึกษาต่อไป

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

…5 ข้อ…

IQA(1-9)

1,2,3,4,5,8

….6..ข้อ

…4..คะแนน

AUN-QA(1-7)

1(4), 2(3), 3(4) ,4(3),5(4)

ระดับ……4…….

รายการหลักฐานอ้างอิง

รหัสหลักฐานรายการ
3.1.1.1 ระบบและกลไกการพัฒนาหลักสูตร ปีการศึกษา 2565
3.1.1.2 หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2561
3.1.2.1มคอ 3 และ มคอ 4 รายวิชาที่มีการสอดแทรกเนื้อหาสาระเรื่องโรคอุบัติใหม่ ,บุหรี่กับสุขภาพการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล
3.1.2.2คู่มือนักศึกษาพยาบาล
3.1.2.3คู่มือบริหารหลักสูตร ปีการศึกษา 2565
3.1.2.4โครงการการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพด้านการจัดการเรียนการสอนสำหรับอาจารย์และพยาบาลพี่เลี้ยง ในระหว่าง วันที่ 15 -19 พ.ค. 66
3.1.3.1หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2561
3.1.3.2รายงานการวิพากษ์ มคอ 3 และ 4
3.1.3.3สรุปผลการทวนสอบระดับรายวิชา 11 รายวิชา
3.1.4.1หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2561
3.1.4.3ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต ปีการศึกษา 2564
3.1.4.4รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ครั้งที่ 1/2565
3.1.5.1 -หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2561
-แผนแม่บทปีการศึกษา 2565
3.1.6.1หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2561
3.1.6.2มคอ. 3 รายวิชาพืชสมุนไพร
3.1.6.3มคอ. 3 รายวิชาการประกอบธุรกิจด้านสุขภาพ
3.1.6.4มคอ. 4 รายวิชาปฏิบัติการพยาบาลสู่วิชาชีพ
3.1.7.1หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2561
3.1.7.2มคอ. 3 และ มคอ. 4 รายวิชาที่มีการสอดแทรกเนื้อหาสาระเรื่องโรคอุบัติใหม่ , บุหรี่กับสุขภาพการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล
3.8.1.1มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ. 2560
3.8.1.2หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2561
3.9.1.1ระบบและกลไกการพัฒนาหลักสูตร ปีการศึกษา 2565
3.9.1.2รายงานการวิพากษ์ มคอ. 3 และ 4
3.9.1.3มคอ. 5 และ 6 ของรายวิชาทางการพยาบาล

ผลการประเมินตนเอง

ผลการประเมินตนเองIQAAUN-QA
ตัวบ่งชี้ที่ 3.1…4……4.

Leave a Reply