องค์ประกอบที่ 4 การจัดการเรียนรู้

ตัวบ่งชี้ที่ 4.1  การจัดการเรียนรู้ (แนวทางการจัดเรียนการสอน)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5 คะแนน
1 ข้อ 2 ข้อ 3-4 ข้อ 5-6 ข้อ 7-8 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน AUN-QA ประเมินภาพรวมประเด็น 1-5 ประเมิน 7 ระดับ

ผลการดำเนินการ

1. ปรัชญาการศึกษาชัดเจน มีการสื่อสาร และนำไปสู่กิจกรรมการเรียนรู้

               หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561 มีการจัดการศึกษาตามปรัชญาการศึกษาที่เชื่อมโยงสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตร วิสัยทัศน์ พันธกิจ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบัณฑิต และมีคุณลักษณะพิเศษของบัณฑิตตามอัตลักษณ์ของคณะพยาบาลศาสตร์ คือ  มีความรู้ คู่คุณธรรม และมีคุณลักษณะตามเอกลักษณ์ของวิทยาลัย คือ ความเป็นนานาชาติ ภายใต้ความเชื่อว่า การศึกษาพยาบาลเป็นกระบวนพัฒนาผู้เรียน ที่เน้นปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน โดยผู้เรียนมีบทบาทและความรับผิดชอบในการแสวงหาความรู้ เรียนรู้ และฝึกฝน เพื่อพัฒนาตนเองให้มีความเจริญงอกงาม  ส่วนผู้สอนมีบทบาทในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และเอื้ออำนวยให้เกิดการเรียนรู้ รวมทั้งเป็นแบบอย่างที่ดีในทางวิชาชีพ และการดำเนินชีวิต กระบวนการจัดการเรียนรู้ เน้นการเคารพในความเป็นบุคคล มีอิสระในการคิด พัฒนากระบวนการคิด กระบวนการแสวงหาความรู้ วิธีวิเคราะห์และสังเคราะห์ความรู้ รวมทั้งการนำความรู้มาประยุกต์ใช้  และบูรณาการความรู้จากแหล่งต่างๆ  ในการแก้ปัญหาและตัดสินใจในสถานการณ์จริงทางคลินิกมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้เรียน กับผู้ใช้บริการ สหสาขาวิชาชีพ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดปัญญา พัฒนาทักษะในการแก้ปัญหา และรักการเรียนรู้ตลอดชีวิต ควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านคุณธรรมจริยธรรมอันเป็นคุณสมบัติที่สำคัญของพยาบาลวิชาชีพ

              คณะพยาบาลศาสตร์ได้กําหนดให้จัดการศึกษาให้เป็นไปตามปรัชญาการศึกษาของหลักสูตรและได้สื่อสารปรัชญาการศึกษาของหลักสูตรกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย คือ ผู้ใช้บัณฑิตในสถานบริการสุขภาพ พยาบาลพี่เลี้ยง ผู้ร่วมงาน/ทีมสุขภาพ ผู้ใช้บริการ ผู้ทรงคุณวุฒิจากภายในวิทยาลัยและภายนอก อาจารย์ ผู้เรียนปัจจุบันทุกชั้นปี และผู้สำเร็จการศึกษา ผ่านช่องทางที่ต่างๆ ที่หลากหลาย เช่น การเสวนาโครงการพัฒนาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต การประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาศักยภาพด้านการจัดการเรียนการสอนสำหรับพยาบาลพี่เลี้ยง การประชุมร่วมกับแหล่งฝึกปฏิบัติงาน การประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต คู่มือบริหารหลักสูตร หลักสูตร (File PDF : Google Drive คณะพยาบาลศาสตร์) การประชาสัมพันธ์ผ่านเว็บไซต์ https://www.stic.ac.th/th/undergraduate-program/nursing-science-th และแผ่นพับ การประชุมคณาจารย์ของคณะพยาบาลและวิทยาลัย กลุ่มไลน์ศิษย์เก่า โครงการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ คู่มือการฝึกภาคปฏิบัติ และคู่มือนักศึกษา เป็นต้น และนําผลการประเมินจากกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากช่องทางต่างๆ มาพัฒนา ปรับปรุงในกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้เป็นไปตามปรัชญาการศึกษาของหลักสูตร

2. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดการเรียนรู้

              หลักสูตรมีกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามระบบและกลไกการจัดการเรียนรู้/การบริหารหลักสูตร เพื่อช่วยพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่มุ่งหวังตามหลักสูตร (LO) ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ สาขาพยาบาลศาสตร์ พ.ศ. 2560 (TQF) ทั้ง 6 ด้าน มีกระบวนการดำเนินงานโดยคณะกรรมการบริหารหลักสูตรได้มีการประชุม มอบหมายอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา โดยอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร/หัวหน้าภาควิชาเสนอชื่ออาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาต่อคณะกรรมการบริหารหลักสูตรเพื่อขอความเห็นชอบ เมื่อได้รับความเห็นชอบ ผู้รับผิดชอบรายวิชาศึกษาคำอธิบายรายวิชาที่รับผิดชอบ และ curriculum mapping ใน มคอ.2 และออกแบบการเรียนการสอน (มคอ. 3 และ มคอ.4) ร่วมกับอาจารย์ผู้สอน โดยใช้ข้อมูลจากมคอ. 5 และ มคอ.6 ของปีที่ผ่านมา หลังจากนั้นคณะกรรมการวิพากษ์ มคอ. พิจารณาการออกแบบการเรียนการสอน (มคอ. 3 และ มคอ.4) ก่อนเปิดภาคการศึกษาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ เมื่อได้รับการเห็นชอบแล้วให้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนตาม มคอ. 3 และ มคอ.4 ที่ออกแบบไว้ และเมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอน มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา และประเมินการสอนของอาจารย์ โดยคณะกรรมการวัดและประเมินผลและหัวหน้าภาควิชา และผู้รับผิดชอบรายวิชาจัดทำมคอ.5 และ มคอ.6 ภายใน 30 วันหลังสิ้นสุดการเรียนการสอน และมีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยคณะกรรมการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ระดับรายวิชา เพื่อรายงานผลการบริหารหลักสูตรในภาพรวมของแต่ละปีการศึกษา
              ซึ่งในกระบวนการจัดการเรียนรู้ดังกล่าวหลักสูตรเปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในกระบวนการในทุกรายวิชา โดยเป็นการมีส่วนร่วมทั้งในลักษณะของรายบุคคล และรายกลุ่ม โดยในขณะจัดการเรียนการสอนนักศึกษาสามารถมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมการเรียนสอนในรูปแบบต่างๆ ตามที่รายวิชาออกแบบไว้ใน มคอ.3 และ มคอ.4 และเมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนนักศึกษาทุกคนมีส่วนร่วมในการประเมินประสิทธิภาพการสอนของอาจารย์ และประเมินผลการจัดการเรียนการสอนของรายวิชาผ่านระบบของวิทยาลัย ซึ่งผู้รับผิดชอบรายวิชาจะนำข้อมูลและผลการประเมินดังกล่าวมาจัดทำมคอ.5 และ มคอ.6 และนําผลการประเมินไปพัฒนาและปรับกลยุทธ์การเรียนการสอน และออกแบบการเรียนการสอน (มคอ. 3 และ มคอ.4) ของรายวิชานั้นในปีการศึกษาถัดไป เพื่อให้สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่มุ่งหวังตามหลักสูตร (LO) มากขึ้น
            นอกจากนี้หลักสูตรได้ให้นักศึกษาชั้นปีสุดท้าย มีส่วนร่วมในการประเมินหลักสูตรในทุกๆประเด็น เพื่อนําไปเป็นข้อมูลการพัฒนาปรับปรุงหลักสูตรต่อไป

3. กิจกรรมการเรียนรู้เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม

         หลักสูตรได้จัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้แบบ Active learning ในทุกรายวิชา โดยออกแบบการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ในรูปแบบที่หลากหลายทั้งหลักการทางทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ทางการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง เช่น การบรรยายแบบมีส่วนร่วม การอภิปราย การเรียนรู้แบบร่วมมือ การเรียนรู้แบบสัมมนา การเรียนรู้แบบโครงการ การศึกษาดูงาน การสาธิต กรณีศึกษา การเรียนรู้แบบสถานการณ์จำลอง และการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง ซึ่งเป็นกิจกรรมการเรียนการสอนที่ให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งแบบรายบุคคลที่เน้นการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้สอน ผู้เรียนกับบุคคลอื่น และแบบรายกลุ่มที่เน้นการทำงานเป็นทีม เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน โดยการมีส่วนร่วมในการวางแผนกิจกรรมในจัดทำโครงการต่างๆ และมีส่วนร่วมในการประเมินผลงาน และการประเมินการทำงานเป็นทีม เป็นต้น ยกตัวอย่าง เช่น รายวิชา 503 401 ประเด็น และแนวโน้มของวิชาชีพการพยาบาลโดยใช้กระบวนการสัมมนาที่ให้นักศึกษาสามารถเลือกประเด็นที่น่าสนใจ และสามารถนำความรู้ที่ได้จากกระบวนการกลุ่มไปเป็นทั้งผู้ถ่ายทอดความรู้เมื่อเป็นผู้นำเสนอ และเป็นผู้ร่วมอภิปรายเมื่อเพื่อนกลุ่มอื่นๆนำเสนอ รายวิชา 501 203 วิจัยทางสุขภาพ และรายวิชา 505 301 พืชสมุนไพร ที่เน้นให้นักศึกษามีการเรียนรู้เป็นกลุ่ม นักศึกษาสามารถเลือกหัวข้อวิจัย/ออกแบบผลิตภัณฑ์ที่สนใจศึกษา โดยมีกระบวนการให้ศึกษาทั้งในชั้นเรียน การศึกษาด้วยตนเอง และการทดลอง และมีอาจารย์ที่ปรึกษาประจำกลุ่มเป็นผู้สนับสนุนช่วยเหลือ และทุกรายวิชาในภาคปฏิบัติ มีกิจกรรมการจัดการเรียนรู้เป็นกลุ่มที่สนับสนุนให้นักศึกษาสามารถเลือกศึกษาในกรณีศึกษาที่สนใจ การเลือกหัวข้อในการสอนสุขศึกษา ร่วมออกแบบกิจกรรมต่างๆในการจัดโครงการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับบริการวิชาการ/ทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ศึกษาค้นคว้างานวิจัยและหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เกี่ยวข้อง ร่วมวางแผนการจัดโครงการเพื่อแก้ไขปัญหา ในสถานบริการและชุมชน ตัดสินใจเลือกใช้เทคโนโลยีในการการจัดทำสื่อสนับสนุนการเรียนรู้ สื่อดิจิทัล ในการนำเสนอ/ดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ และนอกจากนี้ในรายวิชา 504 404 ปฏิบัติการพยาบาลสู่วิชาชีพ เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เลือกฝึกปฏิบัติการพยาบาลในหน่วยงานและโรงพยาบาลตามความต้องการเพื่อให้นักศึกษามีความรู้เพิ่มเติมในการนำไปต่อยอดความเชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ

4. มีกิจกรรมปลูกฝังให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต

               หลักสูตรมีการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นและส่งเสริมและปลูกฝังให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตั้งแต่เริ่มเข้าศึกษาจนกระทั่งสำเร็จการศึกษา ผ่านกิจกรรมทั้งในห้องเรียนและกิจกรรมนอกห้องเรียน เพื่อช่วยพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่มุ่งหวังตามหลักสูตร (LO) มีคุณลักษณะพิเศษของบัณฑิตตามอัตลักษณ์ของคณะพยาบาลศาสตร์ คือ มีความรู้ คู่คุณธรรม มีคุณลักษณะตามเอกลักษณ์ของวิทยาลัย คือ ความเป็นนานาชาติ และเกิดผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการอุดมศึกษาทั้ง 3 ด้าน คือ การเป็นผู้รอบรู้ การเป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์ และการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง โดยผ่านกิจกรรมดังนี้
               การเตรียมความพร้อมนักศึกษาตั้งแต่เริ่มเข้าศึกษาผ่านโครงการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ โครงการ “Learning How to Learn” และโครงการ English Intensive Course เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาให้เกิดการเรียนรู้ทั้งทางด้านวิชาการและวิชาชีพ
             จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้น Active learning ทุกรายวิชา เช่น การบรรยายแบบมีส่วนร่วม การอภิปราย การเรียนรู้แบบร่วมมือ การเรียนรู้แบบสัมมนา การเรียนรู้แบบโครงการ การศึกษาดูงาน การสาธิต กรณีศึกษา การเรียนรู้แบบสถานการณ์จำลอง และการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง ซึ่งเป็นกิจกรรมการเรียนการสอนที่ให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งแบบรายบุคคลที่เน้นการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้สอน ผู้เรียนกับบุคคลอื่น และแบบรายกลุ่มที่เน้นการทำงานเป็นทีม เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน โดยการมีส่วนร่วมในการวางแผนกิจกรรมในจัดทำโครงการต่างๆ และมีส่วนร่วมในการประเมินผลงาน และการประเมินการทำงานทีม เพื่อให้นักศึกษาการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
                มีการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์จริงในสถานบริการสุขภาพทุกระดับ และชุมชน ครอบคลุมความหลากหลายทางวัฒนธรรมโดยคำนึงถึงความปลอดภัย (Patient safety) ภายใต้หลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence- based nursing practice) โดยให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติทักษะต่างๆ โดยใช้กระบวนการพยาบาลการประชุมปรึกษาผู้ป่วย ก่อน-หลัง ปฏิบัติการพยาบาล การดูแลผู้ใช้บริการเป็นรายบุคคล การวางแผนการพยาบาล การสอนข้างเตียง การศึกษาผู้ใช้บริการรายบุคคล การตรวจเยี่ยมทางการพยาบาล (Nursing round)  การประชุมปรึกษาทางการพยาบาล การให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยและครอบครัว ชุมชน เกี่ยวกับภาวะสุขภาพ (Health education) ฝึกบริหารการพยาบาลในบทบาทหัวหน้าทีม ผู้ปฏิบัติ และหัวหน้าเวร การสร้างสรรค์นวัตกรรม และการทำโครงงานต่างๆ การบริการวิชาการแก่สังคมร่วมกับอาจารย์ แหล่งฝึก ชุมชนส่งเสริมและปลูกฝังให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต

5. มีกิจกรรมปลูกฝังให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์ และการเป็นผู้ประกอบการ

            หลักสูตรได้ออกแบบการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริม active learner และมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อช่วยพัฒนามาตรฐานผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน 3 ด้าน และทักษะในศตวรรษที่ 21 เพื่อให้บรรลุตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่มุ่งหวังตามหลักสูตร (LO) โดยมีการออกแบบกิจกรรมการเรียนสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความคิดใหม่ ๆ ความคิดสร้างสรรค์ การสร้างนวัตกรรม และแนวคิดของผู้ประกอบการทั้งในภาคทฤษฎี ภาคทดลอง และภาคปฏิบัติ เช่น รายวิชา 501 204 นวัตกรรม และงานสร้างสรรค์ทางด้านสุขภาพ รายวิชา 501 203 วิจัยทางสุขภาพ รายวิชา 505 301 พืชสมุนไพร รายวิชา 504 305 ปฏิบัติการพยา บาลอนามัยชุมชน และรายวิชา 504 303 ปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารก และการผดุงครรภ์ 1 โดยมีกิจกรรมการเรียนการสอนที่ให้นักศึกษามีการเรียนรู้เป็นกลุ่ม ให้นักศึกษาค้นคว้าจัดทำโครงงานวิจัย ออกแบบชิ้นงาน/หรือผลิตภัณฑ์ จัดทำโครงงานต่างๆ และการสร้างสรรค์นวัตกรรม ซึ่งผลจากการดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมนักศึกษาดังกล่าว ส่งผลให้นักศึกษาสามารถนำโครงงานวิจัย/นวัตกรรม/ชิ้นงาน/ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ไปประยุกต์ใช้ ปรับปรุง พัฒนา บูรณาการ และต่อยอดในรายวิชาหรือโครงการอื่นๆ เช่น การนำงานวิจัยที่ศึกษาไปสร้างสรรค์นวัตกรรม การนำผลิตภัณฑ์พืชสมุนไพรไปใช้ในการจัดโครงการบริการวิชาการแก่สังคม และส่งผลให้นวัตกรรมเรื่อง “เส้นทางสุขภาพ”ได้รับเกียรติบัตร “รางวัลชมเชย” ในการประกวดนวัตกรรมและผลงานวิจัย โครงการ “นวัตกรรมก้าวไกล วิจัยก้าวหน้า พัฒนาสู่ความยั่งยืน” ประจำปี 2565 เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2566 นวัตกรรมเรื่อง “เสื้ออุ่นไอรัก” ได้รับเกียรติบัตร“รางวัลชมเชยนวัตกรรมทางการพยาบาล”และนวัตกรรมเรื่อง “Breast Feeding นมแม่สื่อรักสู่ลูกน้อย” ได้รับโล่และเกียรติบัตร “รางวัลชนะเลิศนวัตกรรมทางการพยาบาล” ในการประชุมวิชาการระดับชาติ “ทิศทางและแนวทางการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาพยาบาล” เมื่อวันที่ 27-28 เมษายน 2566
              นอกจากนี้รายวิชา 505 303 การประกอบธุรกิจด้านสุขภาพ ซึ่งเป็นรายวิชาเลือกในหลักสูตรที่ส่งเสริมให้นักศึกษาเรียนรู้ เข้าใจและฝึกฝนการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจด้านสุขภาพ โดยมีจัดการเรียนการสอนที่วางพื้นฐานของการเป็นผู้ประกอบการ ตั้งแต่เรื่องเศรษฐศาสตร์สุขภาพ คุณลักษณะ ความพร้อม การศึกษาความเป็นไปได้ก่อนตัดสินใจประกอบธุรกิจ และการบริหารจัดการธุรกิจตามบริบทของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป และให้นักศึกษาได้ดำเนินการออกแบบธุรกิจตามความสนใจของตนเอง จนกระทั่งเขียนแผนธุรกิจได้

6. ปรับปรุงกลยุทธ์การจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับอุตสาหกรรมและผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง

             การจัดการเรียนรู้ของคณะพยาบาลศาสตร์ในทุกรายวิชาจะมีการปรับปรุงกลยุทธ์การจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่องทั้งในภาคทฤษฎี ภาคทดลอง และภาคปฏิบัติ โดยก่อนดำเนินการเรียนการสอนในแต่ละรายวิชา อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาออกแบบการเรียนการสอน (มคอ. 3 และ มคอ.4) ร่วมกับอาจารย์ผู้สอน โดยใช้ข้อมูลจากมคอ. 5 และ มคอ.6 ของปีที่ผ่านมา หลังจากนั้นคณะกรรมการวิพากษ์ มคอ. พิจารณาความเหมาะสมของการจัดการเรียนการสอน ความสอดคล้องระหว่างมาตรฐานผลการเรียนรู้ กลยุทธ์การสอน และการประเมินผลตามที่ออกแบบไว้
                ขณะดำเนินการเรียนการสอนเรียนการสอน เมื่อพบปัญหาหรือเมื่อได้รับข้อมูล (Feedback) การสะท้อนคิด (Reflection) ของนักศึกษาหรือผู้เกี่ยวข้อง อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาร่วมกับผู้สอนประชุมทบทวนแผนการจัดการเรียนการสอนและปรับปรุงแก้ไข
              เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนจะมีการประเมินประสิทธิภาพการเรียนการสอนของรายวิชา โดยนักศึกษา อาจารย์ผู้สอน อาจารย์นิเทศภาคปฏิบัติ พยาบาลพี่เลี้ยง อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ เช่น การประเมินผลรายวิชา (Overall course) ในด้านคุณค่าของการเรียนรู้ ด้านโครงสร้างและสิ่งที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ด้านการสอบ การมอบหมายงาน และด้านการประเมินผล การประเมินอาจารย์ผู้สอน การประเมินความเพียงพอของสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ และการประเมินแหล่งฝึกภาคปฏิบัติ เป็นต้น จากนั้นผู้รับผิดชอบรายวิชาดำเนินการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา และจัดทำมคอ.5 และ มคอ.6 ภายใน 30 วัน
                 ซึ่งในปีการศึกษา 2565 คณะพยาบาลศาสตร์ประเมินผลการจัดการเรียนรู้ พบว่า ทุกรายวิชามีการออกแบบการจัดการเรียนการสอนที่มีความสอดคล้องกับข้อเสนอแนะที่ระบุในมคอ. 5 และ มคอ. 6 ผลการประเมินของรายวิชาที่เปิดสอนจำนวน 43 รายวิชา พบว่า มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 4.12 – 4.79 คะแนนเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.46 จากคะแนนเต็ม 5

7. จัดการเรียนรู้ในระบบชั้นเรียน ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

             หลักสูตรได้จัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้แบบ Active learning ในทุกรายวิชา โดยออกแบบการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ในรูปแบบที่หลากหลายทั้งหลักการทางทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ทางการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง ได้แก่ การบรรยายแบบมีส่วนร่วม การอภิปราย การเรียนรู้แบบร่วมมือ การเรียนรู้แบบสัมมนา การเรียนรู้แบบโครงการ การศึกษาดูงาน การสาธิต กรณีศึกษา การเรียนรู้แบบสถานการณ์จำลอง และการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง ซึ่งเป็นกิจกรรมการเรียนการสอนที่ให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งแบบรายบุคคลที่เน้นการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้สอน ผู้เรียนกับบุคคลอื่น และแบบรายกลุ่มที่เน้นการทำงานเป็นทีม เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน

8. จัดการเรียนรู้ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้วยเทคนิควิธีการต่างๆ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

                 หลักสูตรได้จัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้แบบ Active learning ในทุกรายวิชา โดยออกแบบการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศซึ่งเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการจัดการเรียนรู้มาบูรณาการร่วมกับการจัดการเรียนการสอนผ่านหลากหลายช่องทาง เช่น การจัดการเรียนรู้และนำเสนอผลงานผ่าน Video clip, การ Upload สื่อการสอนต่างๆใน Google Drive, การใช้ Application Google workspace: Google class room, Google Meet, Google jam board, Facebook live, Quizizz, Wordwall, Line, E-Learning, E-Book, สื่อดิจิทัลต่างๆ และการสืบค้นข้อมูลในคอมพิวเตอร์และระบบอินเทอร์เน็ต เป็นต้น มีการวัดและประเมินผลโดยมีกระบวนการประเมินผลการเรียนรู้ผ่านระบบ Moodle, Google form เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาเป็นส่วนประกอบอื่นๆ ที่สนับสนุนการเรียนการสอนให้เกิดขึ้นบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น การลงทะเบียน ตารางเรียน และผลการเรียนของนักศึกษา เป็นต้น
                ซึ่งในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศดังกล่าวมาใช้เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ใช้ความสามารถของตนเองในการเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ และช่วยพัฒนามาตรฐานผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน 3 ด้าน และทักษะในศตวรรษที่ 21 เพื่อให้บรรลุตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่มุ่งหวังตามหลักสูตร (LO)

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

…5….ข้อ

IQA(1-8)

1,2,3,5,7

….5…ข้อ

…4..คะแนน

AUN-QA(1-6)

1(4), 2(4), 3(4) ,5(3)

ระดับ……4…….

รายการหลักฐานอ้างอิง

รหัสหลักฐานรายการ
4.1.1.1หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561
4.1.1.2รายงานการเสวนาโครงการพัฒนาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต
4.1.1.3การประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาศักยภาพด้านการจัดการเรียนการสอนสำหรับพยาบาลพี่เลี้ยง
4.1.1.4สรุปโครงการความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต ปีการศึกษา 2564
4.1.1.5Google Drive คณะพยาบาลศาสตร์: File หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561
4.1.1.6https://www.stic.ac.th/th/undergraduate-program/nursing-science-th
4.1.1.7แผ่นพับประชาสัมพันธ์หลักสูตร
4.1.1.8รายงานการประชุมคณะพยาบาลศาสตร์ ครั้งที่ 1/2565
4.1.1.9Page line ศิษย์เก่าคณะพยาบาลศาสตร์
4.1.1.10โครงการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ปีการศึกษา 2565
4.1.1.11คู่มือการฝึกภาคปฏิบัติรายวิชา ปีการศึกษา 2565
4.1.1.12คู่มือนักศึกษา ปีการศึกษา 2565
4.1.2.1ระบบและกลไกการจัดการเรียนรู้/การบริหารหลักสูตร
4.1.2.2 มคอ. 3-4 และมคอ. 5-6 ปีการศึกษา 2565
4.1.2.3กำหนดการวิพากษ์ มคอ. ปีการศึกษา 2565
4.1.2.4รายงานการวิพากษ์ มคอ. ปีการศึกษา 2565
4.1.3.1มคอ.3 รายวิชา 503 401 ประเด็น และแนวโน้มของวิชาชีพการพยาบาล
4.1.3.2มคอ.3 รายวิชา 501 203 วิจัยทางสุขภาพ
4.1.3.3มคอ.3 รายวิชา 505 301 พืชสมุนไพร
4.1.3.4มคอ.4 รายวิชา 504 404 ปฏิบัติการพยาบาลสู่วิชาชีพ
4.1.4.1โครงการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ ปีการศึกษา 2565
4.1.4.2โครงการ “Learning How to Learn” ปีการศึกษา 2565
4.1.4.3โครงการ English Intensive Course ปีการศึกษา 2565
4.1.5.1มคอ.3 รายวิชา 501 204 นวัตกรรม และงานสร้างสรรค์ทางด้านสุขภาพ
4.1.5.2มคอ.3 รายวิชา 501 203 วิจัยทางสุขภาพ
4.1.5.3มคอ.3 รายวิชา 505 301 พืชสมุนไพร
4.1.5.4 มคอ.4 รายวิชา 504 305 ปฏิบัติการพยาบาลอนามัยชุมชน
4.1.5.5มคอ.4 รายวิชา 504 303 ปฏิบัติการพยาบาลมารดาทารก และการผดุงครรภ์ 1
4.1.5.6เกียรติบัตร “รางวัลชมเชย” นวัตกรรมเรื่อง “เส้นทางสุขภาพ”
4.1.5.7เกียรติบัตร “รางวัลชมเชยนวัตกรรมทางการพยาบาล” นวัตกรรมเรื่อง “เสื้ออุ่นไอรัก”
4.1.5.8โล่และเกียรติบัตร “รางวัลชนะเลิศนวัตกรรมทางการพยาบาล” นวัตกรรมเรื่อง “Breast Feeding นมแม่สื่อรักสู่ลูกน้อย”
4.1.5.9มคอ.3 รายวิชา 505 303 การประกอบธุรกิจด้านสุขภาพ
4.1.6.1มคอ. 3-4 และมคอ. 5-6 ปีการศึกษา 2565
4.1.6.2รายงานผลการประเมินการจัดการเรียนการสอนรายวิชา ปีการศึกษา 2565
4.1.7.1มคอ. 3-4 ปีการศึกษา 2565
4.1.8.1มคอ. 3-4 ปีการศึกษา 2565
4.1.8.2ตัวอย่าง : Video clip, Google Drive, Application Google workspace: Google class room, Google Meet, Google jam board, Facebook live, Quizizz, Wordwall, Line, E-Learning, E-Book

ผลการประเมินตนเอง

ผลการประเมินตนเองIQAAUN-QA
ตัวบ่งชี้ที่ 4.1…4……4…

Leave a Reply