องค์ประกอบที่ 5 การประเมินผล

ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การประเมินผล (การประเมินผู้เรียน)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5 คะแนน
1 ข้อ 2 ข้อ 3-4 ข้อ 5-6 ข้อ 7-9 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน AUN-QA ประเมินภาพรวมประเด็น 1-5 ประเมิน 7 ระดับ

ผลการดำเนินการ

1. การประเมินผู้เรียนสอดคล้องกับ วัตถุประสงค์และผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

           ปีการศึกษา2565 คณะพยาบาลศาสตร์มีการนำระบบและกลไกสู่การปฏิบัติโดยคณะกรรมการบริหารหลักสูตร กำหนดนโยบายในการประเมินผู้เรียน ให้ทุกรายวิชามีผู้รับผิดชอบวิชาและออกแบบการจัดการเรียนการสอนและการวัดประเมินผลผู้เรียน ผ่านการจัดทำ มคอ. 3 และ มคอ. 4 ที่สอดคล้องกับแผนที่การกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้สู่รายวิชา (curriculum mapping) เสนอต่อคณะกรรมการวิพากษ์มคอ. เพื่อวิพากษ์แนวทางการวัดและประเมินผล ความสอดคล้องเหมาะสมของการวัดและประเมินผลกับวิธี การจัดการเรียนการสอน และผลลัพธ์การเรียนรู้

2. มีการประเมินผลและการอุทธรณ์ผลการประเมินที่ชัดเจน

            ปีการศึกษา 2565 คณะพยาบาลศาสตร์ มีการดำเนินการประเมินผลผู้เรียนที่ชัดเจน โดยในระดับรายวิชานำผลการประเมินที่สอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้(LO)รายวิชา
ผู้รับผิดชอบรายวิชาดำเนินการประเมินผลผู้เรียนตามแผนการออกแบบการจัดการเรียนการสอนและ การวัดประเมินผลผู้เรียนใน มคอ. 3 หรือ มคอ. 4 นำมาประมวลผล(ตัดเกรด) เสนอต่อคณะกรรมการวัดและประเมินผลฯเพื่อวิพากษ์เกรด และเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ร้องเรียนหรือยื่นอุทธรณ์ผลการประเมิน ผ่าน 2 ช่องทางคือ ผ่านกล่องรับเรื่องร้องเรียนและอุทรณ์ หรือผ่านระบบออนไลน์

3. มีมาตรฐานและขั้นตอนการประเมินความก้าวหน้า และการสำเร็จการศึกษาของผู้เรียนอย่างชัดเจนและเปิดเผย

               คณะพยาบาลศาสตร์ มีมาตรฐานและขั้นตอนในการประเมินความก้าวหน้า และการสำเร็จการศึกษาของผู้เรียนอย่างชัดเจนและเปิดเผย โดย
              การประเมินผลการเรียนรู้ระดับรายวิชา ในภาคทฤษฎีประเมินโดยใช้ระบบอิงกลุ่ม(T score)และในภาคปฏิบัติประเมินโดยใช้ระบบอิงเกณฑ์
การประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ ระดับชั้นปี โดยใช้แบบประเมินสมรรถนะรายชั้นปีตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่มุ่งหวังตามหลักสูตร ในรายวิชาทฤษฎี 5 ด้าน และรายวิชาปฏิบัติครบทั้ง 6 ด้าน

4. มีวิธีการประเมินผล ที่คลอบคลุม วิธีการ ระยะเวลา เกณฑ์การประเมิน การกระจายค่าน้ำหนักและการตัดเกรด ที่มีความถูกต้อง เชื่อถือได้ และเป็นธรรม

               ผู้รับผิดชอบรายวิชา ออกแบบการจัดการเรียนการสอนและการวัดประเมินผลผู้เรียน ในรายวิชาที่รับผิดชอบ ครอบคลุมวิธีการ เกณฑ์การประเมิน การกระจายค่าน้ำหนักและการตัดเกรด ตามที่ระบุใน มคอ.3 หรือ มคอ.4 ให้ชัดเจน ดำเนินการประเมินผลในระหว่างเรียน และเมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนในรายวิชา เพื่อวัดผลสำเร็จของผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตรและรายวิชา ให้แล้วเสร็จภายใน 2 สัปดาห์หลังสิ้นสุดการจัดการเรียนการสอน นำมาประมวลผล(ตัดเกรด) เสนอต่อคณะกรรมการวัดและประเมินผลฯเพื่อวิพากษ์เกรดให้มีความถูกต้อง เชื่อถือได้และเป็นธรรมต่อผู้เรียน ก่อนนำเสนอต่อคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
          ผลการดำเนินงานพบว่าทุกรายวิชาวางแผนการประเมินผลผู้เรียนและดำเนินการประเมินผลผู้เรียน และบรรลุตามผลลัพธ์การเรียนรู้ในรายวิชาทฤษฎีครบทั้ง 5 ด้าน และรายวิชาปฏิบัติครบทั้ง 6 ด้าน

5. มีวิธีการประเมินเพื่อวัดผลสำเร็จของผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตรและรายวิชา

                 คณะพยาบาลศาสตร์ มีการดำเนินการตามระบบและกลไกการประเมินผู้เรียนรายวิชา โดยคณะ กรรมการบริหารหลักสูตร เป็นผู้กำหนดนโยบายการประเมินผู้เรียน ให้ทุกรายวิชามีผู้รับผิดชอบวิชา และจัดทำ มคอ. 3 และ มคอ. 4 โดยออกแบบการจัดการเรียนการสอนและการวัดประเมินผลผู้เรียน ที่สอดคล้องกับหลักสูตรและผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง เกณฑ์การประเมิน เครื่องมือในการวัดและประเมินผล การกระจายค่าน้ำหนัก เสนอต่อคณะกรรมการวิพากษ์มคอ. เพื่อทวนสอบความสอดคล้องเหมาะสมของเครื่องมือวิธีการวัดและประเมินผลกับวิธีการจัดการเรียนการสอนและผลลัพธ์การเรียนรู้ ผู้รับผิดชอบรายวิชาดำเนินการจัดการเรียนการสอน ประเมินผลในระหว่างเรียนและเมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนในรายวิชา ตามที่กำหนดไว้ในมคอ. 3 หรือ มคอ. 4 และเมื่อสิ้นสุดการจัดการเรียนการสอน ผู้รับผิดชอบรายวิชาดำเนินการประมวลผล(ตัดเกรด) ให้แล้วเสร็จภายใน 2 สัปดาห์ และนำเสนอต่อคณะกรรมการวัดและประเมินผลฯเพื่อวิพากษ์ผลสัมฤทธิ์รายวิชา(เกรด) ให้มีความถูกต้อง เชื่อถือได้และเป็นธรรมต่อผู้เรียน เมื่อมีนักศึกษาที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินผล หรือนักศึกษาที่มีผลการเรียนไม่เป็นไปตามเกณฑ์ ผู้รับผิดชอบรายวิชาจะแจ้งผลการประเมินให้ผู้เรียนรับทราบ ให้การช่วยเหลือโดยการสอนเสริม/อธิบายเพิ่มเติม และซ่อมเสริมเติมเต็มจนผ่านตามเกณฑ์ของรายวิชา และนำเสนอต่อคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ก่อนส่งรายงานผลการวัดและประเมินผลต่อสำนักวิชาการและทะเบียนของวิทยาลัย
                คณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณะกรรมการกิจการนักศึกษา ร่วมกันประเมินนักศึกษารายชั้นปี เมื่อสิ้นสุดการจัดการเรียนการสอนของปีการศึกษา ตามกรอบมาตรฐานผลลัพธ์การเรียนรู้ (TQF) มาตรฐานผลลัพธ์ผู้เรียนและผลการเรียนรู้ในศตวรรษที่21 เมื่อสิ้นสุดหลักสูตรคณะกรรมการบริหารหลักสูตรจะประเมินคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์และผลสัมฤทธิ์การเรียนการสอนตลอดหลักสูตรของผู้เรียน และนำไปปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอนและการดำเนินงานของหลักสูตร
               ผลการดำเนินงานพบว่าทุกรายวิชาได้ออกแบบการวัดประเมินผลการจัดการเรียนการสอนใน มคอ.3 หรือมคอ.4 และรับการวิพากษ์ตามแผน ดำเนินการวัดประเมินผลการจัดการเรียนการสอนเป็นไปตามที่กำหนด และประมวลผล (ตัดเกรด) รายวิชาให้แล้วเสร็จภายใน 2 สัปดาห์เมื่อสิ้นสุดการจัดการเรียนการสอน ให้การช่วยเหลือและซ่อมเสริมนักศึกษาที่มีผลการเรียนไม่เป็นไปตามเกณฑ์ รับการวิพากษ์ผลสัมฤทธิ์รายวิชา(เกรด) ตามแผนที่กำหนด และจัดทำมคอ.5 มคอ.6ส่งหัวหน้าภาควิชา

6. ให้ข้อมูลป้อนกลับกับผู้เรียนที่เหมาะสมกับระยะเวลาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้

           ปีการศึกษา 2565 คณะพยาบาลศาสตร์ มีการดำเนินการให้ข้อมูลป้อนกลับกับผู้เรียนในรายที่มีผลการเรียนไม่เป็นไปตามเกณฑ์ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้โดย ผู้รับผิดชอบรายวิชาดำเนินการแจ้งผลการประเมินผู้เรียนให้ผู้เรียนรับทราบ และดำเนินการให้การช่วยเหลือในเนื้อหาที่ผู้เรียนยังไม่เข้าใจ โดยการสอนเสริมและเปิดโอกาสให้สอบถามอาจารย์ผู้สอน ในช่วงเวลาที่กำหนดไว่ในมคอ.3 และมคอ.4 และสอบซ่อมจนผ่านเกณฑ์ สรุปรายงานเสนอคณะกรรมการวัดและประเมินผลฯ และคณะกรรมการบริหารหลักสูตรต่อไป

7. มีการทบทวนและปรับปรุงการประเมินผลผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ให้สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

             ปีการศึกษา 2565 คณะพยาบาลศาสตร์มีการทบทวน และปรับปรุงการประเมินผลผู้เรียน อย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
            ผู้รับผิดชอบรายวิชาจัดทำ มคอ.3 และมคอ.4 โดยออกแบบการจัดการเรียนการสอน และการวัดประเมินผลผู้เรียนที่สอดคล้องกับหลักสูตรและผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง เกณฑ์การประเมิน เครื่องมือในการวัดและประเมินผล การกระจายค่าน้ำหนัก เสนอต่อคณะกรรมการวิพากษ์มคอ. เพื่อทวนสอบความสอดคล้องเหมาะสมของเครื่องมือวิธีการวัดและประเมินผลกับวิธีการจัดการเรียนการสอนและผลลัพธ์การเรียนรู้
            เมื่อสิ้นสุดการจัดการเรียนการสอนผู้รับผิดชอบวิชาจัดทำ มคอ.5 หรือ มคอ.6 และนำผลไปพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในปีการศึกษาต่อไป
คณะกรรมการบริหารหลักสูตรดำเนินการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ระดับรายวิชา อย่างน้อยร้อยละ 25 ของรายวิชาที่เปิดสอนทั้งหมดในปีการศึกษานั้นๆทุกสิ้นปีการศึกษา เพื่อทวนสอบผลลัพธ์การเรียนรู้ตามที่ระบุไว้ในมคอ. 3 หรือ มคอ. 4

8. มีการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้และการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน

        ปีการศึกษา 2565 คณะพยาบาลศาสตร์ มีการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้(สมรรถนะรายชั้นปี) เมื่อสิ้นสุดปีการศึกษา แต่ยังไม่ได้นำผลการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้มาพัฒนาอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรม

9. มีการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ตามที่กำหนดในหลักสูตรการศึกษา

ปีการศึกษา 2565 คณะพยาบาลศาสตร์ มีการดำเนินการประเมินผลผู้เรียน ตามระบบและกลไกการประเมินผู้เรียนแต่ละชั้นปี โดย คณะกรรมการบริหารหลักสูตรและคณะกรรมการกิจการนักศึกษา ตามกรอบมาตรฐานผลลัพธ์การเรียนรู้(TQF) มาตรฐานผลลัพธ์ผู้เรียน และผลการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ดังนี้

รายการประเมิน

ชั้นปี /(จำนวนนักศึกษา)

1

(110)

2

(101)

3

(90)

4

(98)

มาตรฐานผลลัพธ์ผู้เรียน

ค่าเฉลี่ยรวม 4 ด้าน

4.38

4.37

4.25

4.33

1.ด้านการเป็นผู้รอบรู้

4.25

4.28

4.15

4.28

2.ด้านการเป็นผู้สร้างสรรค์นวตกรรม

4.30

4.30

4.16

4.18

3.ด้านการเป็นพลเมืองโลกที่เข้มแข็ง

4.59

4.52

4.45

4.55

มาตรฐานผลลัพธ์การเรียนรู้(TQF)

ค่าเฉลี่ย TQF 1 – 6

4.38

4.35

4.18

4.22

1.ด้านคุณธรรม จริยธรรม

4.54

4.48

4.35

4.46

2.ด้านความรู้

4.07

4.28

4.12

4.22

3.ด้านปัญญา

4.27

4.29

4.16

4.20

4.ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

4.57

4.51

4.40

4.49

5.ด้านการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและเทคโนโลยี

4.28

4.10

4.02

3.94

6.ด้านการปฏิบัติเชิงวิทยา

4.24

4.30

4.02

4.36

ผลการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

ค่าเฉลี่ยรวม 3 ด้าน

4.38

4.35

4.18

4.22

1.ด้านทักษะการเรียนรู้และนวตกรรม

4.24

4.25

4.12

4.20

2.ด้านทักษะสารสนเทศและเทคโนโลยี

4.34

4.24

4.00

3.91

3.ด้านทักษะชีวิต

4.43

4.41

4.31

4.40

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

 ….9ข้อ….

IQA(1-9)

1,4,5,7,9

….5…ข้อ

…4..คะแนน

AUN-QA(1-7)

1(4),4(4),5(3)

ระดับ……4…….

รายการหลักฐานอ้างอิง

รหัสหลักฐานรายการ
5.1.1.1คู่มือการวัดและประเมินผล คณะพยาบาลศาสตร์
5.1.1.2บันทึกรายงานผลการวิพากษ์ มคอ.ปีการศึกษา 2565
5.1.2.1บันทึกรายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ประจำปีการศึกษา 2565
5.1.3.1คู่มือการวัดและประเมินผล คณะพยาบาลศาสตร์
5.1.3.2ผลการประเมินนักศึกษารายชั้นปี ปีการศึกษา 2565
5.1.4.1บันทึกรายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ประจำปีการศึกษา 2565
5.1.4.2มคอ.3 , 4, 5, 6 ปีการศึกษา2565
5.1.4.3ตัวอย่างแฟ้มรายวิชา ปีการศึกษา2565
5.1.5.1บันทึกรายงานผลการวิพากษ์ มคอ.ปีการศึกษา 2565
5.1.5.2บันทึกผลการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ระดับรายวิชา ประจำปีการศึกษา 2565
5.1.5.3ผลการประเมินนักศึกษารายชั้นปี ปีการศึกษา 2565
5.1.6.1ตัวอย่างแฟ้มรายวิชา ปีการศึกษา2565/รายงานผลการเรียนนักศึกษาที่มีผลการเรียนอ่อน
5.1.7.1บันทึกผลการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ระดับรายวิชา ประจำปีการศึกษา 2565
5.1.7.2บันทึกรายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ประจำปีการศึกษา 2565
5.1.8.1ผลการประเมินนักศึกษารายชั้นปี ปีการศึกษา 2565
5.1.9.1ผลการประเมินนักศึกษารายชั้นปี ปีการศึกษา 2565

ผลการประเมินตนเอง

ผลการประเมินตนเองIQAAUN-QA
ตัวบ่งชี้ที่ 5.144

Leave a Reply