องค์ประกอบที่ 4 การจัดการเรียนรู้

ตัวบ่งชี้ที่ 4.1  การจัดการเรียนรู้ (แนวทางการจัดเรียนการสอน)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5 คะแนน
1 ข้อ 2 ข้อ 3-4 ข้อ 5-6 ข้อ 7-8 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน AUN-QA ประเมินภาพรวมประเด็น 1-5 ประเมิน 7 ระดับ

ผลการดำเนินการ

1. ปรัชญาการศึกษาชัดเจน มีการสื่อสาร และนำไปสู่กิจกรรมการเรียนรู้

หลักสูตรหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2564 เป็นหลักสูตรที่บูรณาการความรู้ทางด้านสาธารณสุขศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศิลปศาสตร์ ภาษาศาสตร์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ รวมทั้งทักษะในภาคทฤษฏี และภาคปฏิบัติทางด้านสาธารณสุขศาสตร์ อย่างถูกต้องเหมาะสมกับการประกอบอาชีพและดำรงชีวิตในสังคมด้วยคุณภาพ คุณธรรม และจริยธรรมที่ดี เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพร่วมกับองค์กรที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์ ซึ่งทางหลักสูตรมีการเผยแพร่ให้ นักศึกษาใหม่ และบุคลคลที่สนใจ สามารถเข้าไปศึกษารายละเอียดของหลักสูตรได้ที่ www.stic.ac.th อีกทั้งยังมีการประชาสัมพันธ์ให้กับนักศึกษาในวันปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่อีกด้วย (4.1.1.1)

2. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดการเรียนรู้

รายวิชา 911 117 Seminar in Public Health Issues and Trends ให้นักศึกษาเลือกหัวข้อสัมมนาด้านสาธารณสุขที่สนใจเพื่อมานำเสนอ และมีการอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะในห้องเรียน  โดยให้นักศึกษาสามารถสืบค้นทั้งบทความวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศตามหัวข้อที่สนใจ หรือหัวข้อที่กำลังเป็นที่สนใจในปัจจุบัน นอกจากนี้ยังมีการประเมินผลการเข้าเรียน การมอบหมายงาน และการสอบข้อเขียน (4.1.1.2)

3. กิจกรรมการเรียนรู้เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม

รายวิชา 911 107 Community Health Practices in Primary Care Unit เป็นหนึ่งในหลายวิชาที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติจริง โดยให้นักศึกษาชั้นปีที่4 ได้ฝึกปฏิบัติด้านทักษะการตรวจบำบัดโรคเบื้องต้นในผู้ป่วย โดยอาจารย์ผู้สอน คือ Dr. Myo Zin Oo ซึ่งเป็นแพทย์ผู้มีประสบการณ์ในการตรวจรักษาผู้ป่วยเป็นอย่างดี ได้ให้นักศึกษาฝึกตรวจร่างกาย วินิจฉัยโรคและให้การบำบัดรักษาเบื้องต้น ตลอดจนการฝึกปฏิบัติช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) โดยฝึกปฏิบัติกับหุ่นมนุษย์จำลอง ในห้องปฏิบัติการของคณะพยาบาลศาสตร์ ทำให้นักศึกษามีความรู้ มีทักษะในการตรวจบำบัดโรคเบื้องต้นแก่ผู้ป่วย ทำให้เกิดความมั่นใจในการออกฝึกปฏิบัติงานด้านวิชาชีพสาธารณสุข (4.1.1.3)

4. มีกิจกรรมปลูกฝังให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต

 หลักสูตรได้จัดการเรียนการสอนที่ให้นักศึกษา มีทักษะทางปัญญา ทักษะการวิเคราะห์ การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งทักษะเหล่านี้จะส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อเป็นพื้นฐานไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยทางหลักสูตรได้จัดบรรยากาศ และกระบวนการแบบ KM (Knowledge Management) ในรายวิชา911 117 Seminar in Public Health Issues and Trends ที่ได้กำหนดให้นักศึกษาทุกคนจะต้องรวมกลุ่มกันทำงาน มีการค้นคว้างานวิจัยเพื่อนำมาสรุป วิพากษ์ วิจารณ์ ร่วมกัน โดยอาจารย์ผู้สอนจะสรุปวิธีการเรียนรู้ตอนท้าย และในรายวิชา   900 210 Professional Practice in Public Health ได้ให้นักศึกษาออกฝึกฏิบัติงานที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เพื่อให้นักศึกษาได้ใช้ความรู้ทุกวิชา ในการบูรณาการแก้ไขปัญหาด้านสาธารณสุข ที่เกิดขึ้นในชุมชน โดยจะต้องเชื่อมโยงการฝึกงานเข้ากับหลักวิชาการ และมีอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อให้คำปรึกษาทางด้านวิชาการให้กับนักศึกษา และสุดท้ายนักศึกษานำเสนอผลรายงานการฝึกประสบการณ์วิชาชีพสาธารณสุข และโครงการแก้ไขปัญหาสาธารณสุข พร้อมข้อเสนอแนะที่ได้แนะนำแก่ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  (4.1.1.4)

5. มีกิจกรรมปลูกฝังให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์ และการเป็นผู้ประกอบการ

ในรายวิชา 900 210 Professional Practice in Public Health ได้ฝึกให้นักศึกษาค้นหาปัญหาที่เกี่ยวกับการสาธารณสุข ในชุมชนที่เป็นพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยฝึกใช้การสังเกต การใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล รวมทั้งการออกสำรวจชุมชนในพื้นที่จริง โดยใช้เครื่องมือศึกษาชุมชน 7 ชิ้น เพื่อกำหนดประเด็นปัญหาทางด้านสุขภาพ แล้วนำมาจัดลำดับความสำคัญของปัญหา โดยใช้ปัจจัยทางวิชาการ ร่วมกับการทำประชาพิจารณ์ของประชาชนในชุมชน เพื่อเป็นข้อมูลในการตัดสินใจของผู้บริหาร ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในการเลือกปัญหาสาธารณสุข เพื่อนำมาจัดทำโคงการแก้ไขปัญหา โดยเรียงลำดับความสำคัญตามลำดับก่อนหลัง ซึ่งกระบวนการเรียนรู้ดังกล่าวมีความสำคัญมากในการฝึกปฏิบัติงานสาธารณสุข เนื่องจากทุกปัญหามีความสำคัญเหมือนกันหมด แต่ต้องเลือกแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมกับบริบท เวลา และความเป็นไปได้ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้มากที่สุด (4.1.1.5)

6. ปรับปรุงกลยุทธ์การจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับอุตสาหกรรมและผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง

หลักสูตรมีการทบทวนกระบวนการเรียนการสอนและการประเมินผลผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มั่นใจว่ากระบวนการดังกล่าวมีความเกี่ยวเนื่อง และสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและสถานการณ์ของโลกหรืออุตสาหกรรมการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป โดยทบทวนจาก มคอ.3 และ มคอ.5 ของแต่ละรายวิชา และมีการประชุมอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร โดยมีจุดมุ่งหมายทบทวนผลลัพธ์การเรียนรู้ให้เป็นไปตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (4.1.1.6)

7. จัดการเรียนรู้ในระบบชั้นเรียน ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ทางหลักสูตรกำหนดให้อาจารย์ผู้สอนเน้นให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง และเน้นการเรียนที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning) เพื่อฝึกให้นักศึกษาคิดวิเคราะห์สาเหตุและฝึกการแก้ไขปัญหาในหัวข้อต่างๆของรายวิชา โดยผู้สอนเป็นเพียงผู้อำนวยความสะดวก (4.1.1.7)

8. จัดการเรียนรู้ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้วยเทคนิควิธีการต่างๆ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

อาจารย์ผู้สอนได้รวบรวมเวปไซด์ต่างๆที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ในวิชาชีพสาธารณสุขเพื่อให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง อีกทั้งจัดช่องทางการถ่ายทอดความรู้ผ่านแอปพลิเคชั้น line เมื่ออาจารย์หรือนักศึกษาพบประเด็นที่น่าสนใจในวิชาชีพ (4.1.1.8)

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

…5….ข้อ

IQA(1-8)

1,2,3,4,5,6,7,8

 8 ข้อ

5 คะแนน

AUN-QA(1-6)

1,2,3,4,5,6

ระดับ 3

รายการหลักฐานอ้างอิง

Evidence No. List of evidences
4.1.1.1 การเผยแพร่หลักสูตร ใน www.stic.ac.th
4.1.1.2 TQF3 รายวิชา 911 117 Seminar in Public Health Issues and Trends
4.1.1.3 TQF3 รายวิชา 911 107 Community Health Practices in Primary Care Unit และภาพการฝึกปฏิบัติการตรวจร่างกาย
4.1.1.4 การนำเสนอผลรายงานการฝึกประสบการณ์วิชาชีพสาธารณสุข
4.1.1.5 TQF3 วิชา 900 210 Professional Practice in Public Health
4.1.1.6 ระบบ MIS ทวนสอบ มคอ.3 และ มคอ.5 ของแต่ละรายวิชา และรายงานการประชุมติดตาม มคอ.3 และ มคอ.5ของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร ครั้งที่ 1, 3, 5และ7
4.1.1.7 ภาพการเรียนของนักศึกษาที่ใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning) และนำเสนอข้อมูลวิชาการ
4.1.1.8 เว็บไซด์ต่างๆที่จำเป็นต่อการเรียนในวิชาชีพสาธารณสุขและสื่อต่างๆ

Self-Assessment

Self-Assessment IQA AUN-QA
Indicator 4.1 5 3

Leave a Reply