องค์ประกอบที่ 5 การประเมินผล

ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การประเมินผล (การประเมินผู้เรียน)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5 คะแนน
1 ข้อ 2 ข้อ 3-4 ข้อ 5-6 ข้อ 7-9 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน AUN-QA ประเมินภาพรวมประเด็น 1-5 ประเมิน 7 ระดับ

ผลการดำเนินการ

1. การประเมินผู้เรียนสอดคล้องกับ วัตถุประสงค์และผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

ทางหลักสูตรมีการดำเนินการตรวจสอบการประเมินผู้เรียนตั้งแต่การออกข้อสอบตามหัวข้อ การถามตอบในชั้นเรียน ตลอดจนการประเมินผลการเรียนกลางภาคและปลายภาคซึ่งทางหลักสูตรได้มีคณะกรรรมการตรวจสอบการวัดผล และประเมินคะแนนของผู้เรียนเพื่อให้มั่นใจว่าการประเมินผู้เรียนได้สอดคล้องวัตถุประสงค์และผลการเรียนรู้ที่คาดหวังตามกำหนดในหลักสูตรและคณบดีเป็นผู้ตรวจทานในขั้นตอนสุดท้าย (5.1.1.1)

2. มีการประเมินผลและการอุทธรณ์ผลการประเมินที่ชัดเจน

ผลการประเมินผู้เรียนในทุกรายวิชามีคณะกรรมการพิจารณาคะแนน(ตัวแทนคณบดีจากคณะต่างๆและหัวหน้าทะเบียน) โดยมีการกระจายของคะแนนเป็น Normal Curve นอกจากนี้ยังมีการพิจารณาคะแนนการเข้าชั้นเรียนและคะแนนเก็บของนักศึกษาไม่ใช้มีคะแนนที่สูงจนผิดปกติ กรณีที่ผลคะแนนวิชาใดมีความผิดปกติทางคณะกรรมการพิจารณาคะแนนจะส่งกลับไปให้อาจารย์เจ้าของรายวิชาแก้ไขความผิดปกติ

หลักสูตรมีกระบวนการที่ผู้เรียนสามารถอุทธรณ์ หรือร้องเรียนผลการประเมิน ถ้านักศึกษาต้องการร้องทุกข์ สามารถยื่นเรื่องร้องทุกข์ผ่านทางช่องทางรับเรื่องร้องเรียนของคณะ หากมีเรื่องร้องเรียนจะส่งเรื่องร้องเรียนถึงประธานหลักสูตร หากเรื่องนั้นสามารถแก้ไขได้ จะดำเนินการแก้ไขทันที และแจ้งกลับให้ผู้ยื่นเรื่องทราบ สำหรับเรื่องที่ไม่สามารถแก้ไขได้ และนำเรื่องเข้าคณะกรรมการบริหารหลักสูตร เพื่อพิจารณาหาทางแก้ไข และหากเรื่องนั้นต้องการดำเนินการแก้ไขในระดับคณะ จะเสนอคณบดี คณะกรรมการประจำคณะเพื่อพิจารณาแก้ไขปัญหาต่อไป และแจ้งผู้ร้องให้รับทราบต่อไป (5.1.1.2)

3. มีมาตรฐานและขั้นตอนการประเมินความก้าวหน้า และการสำเร็จการศึกษาของผู้เรียนอย่างชัดเจนและเปิดเผย

ทางหลักสูตรร่วมกับสำนักทะเบียนและประเมินผลมีการใช้ระบบสารสนเทศ MIS เพื่อแสดงสถานะผลการเรียนของนักศึกษาของแต่ละภาคการศึกษาได้ ซึ่งนักศึกษาสามารถตรวจเช็ครายวิชาต่างๆที่ได้ลงทะเบียนหรือตรวจสอบผลการเรียนได้ด้วยตนเอง อีกทั้งอาจารย์ที่ปรึกษายังสามารถเข้าติดตามดูผลการเรียนของนักศึกษาได้เช่นกัน (5.1.1.3)

4. มีวิธีการประเมินผล ที่คลอบคลุม วิธีการ ระยะเวลา เกณฑ์การประเมิน การกระจายค่าน้ำหนักและการตัดเกรด ที่มีความถูกต้อง เชื่อถือได้ และเป็นธรรม

ทางหลักสูตรได้กำหนดหลักเกณฑ์การประเมินผลคะแนนกลางภาค ปลายภายและการมีส่วนร่วมที่สัดส่วนร้อยละ20, ร้อยละ60, และร้อยละ20 ตามลำดับใน TQF3 และทางหลักสูตรมีการปฏิบัติการประเมินผลตามปฏิทินการศึกษาของวิทยาลัย ผลการประเมินแต่ละรายวิชาจะถูกคัดกรองในระดับหลักสูตรและส่งผลคะแนนไปยังคณะกรรมการพิจารณาผลการเรียนระดับวิทยาลัยเพื่อทำการทวนสอบ การประเมินผลการกระจายค่าน้ำหนักและการตัดเกรดโดยโปรมแกรมคอมพิวเตอร์ ทำให้ผลการประเมินมีความถูกต้องเชื่อถือได้และเป็นธรรรม (5.1.1.4)

5. มีวิธีการประเมินเพื่อวัดผลสำเร็จของผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตรและรายวิชา

หลักสูตรฯ มีกระบวนการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา (5.1.1.5)

ดังนี้คือ

1) เมื่อเสร็จสิ้นภาคการศึกษาหลักสูตรฯ ได้กำหนดให้อาจารย์ผู้สอนจะต้องจัดทำ มคอ.5 และ มคอ.6 เพื่อให้ประธานหลักสูตรฯ ตรวจสอบอีกครั้ง ซึ่งเป็นการรายงานผลเมื่อสิ้นภาคเรียนของการจัดการเรียนการสอนของ

อาจารย์ผู้สอนแต่ละรายวิชาให้ดำเนินการสอนอย่างครอบคลุมและเป็นไปตามแผนที่วางไว้ในรายละเอียดของรายวิชา (มคอ.3 , 4)

2) ถ้าผลการเรียนรู้ไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ต้องให้เหตุผลและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนของรายวิชาในครั้งต่อไป ซึ่งรายงานจะครอบคลุมถึงผลการเรียนของนักศึกษา จำนวนนักศึกษาตั้งแต่เริ่มเรียนจนสิ้นสุด ปัญหาในด้านการบริหารจัดการและสิ่งอำนวยความสะดวก การวิเคราะห์ผลการประเมิน รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะแผนการปรับปรุงต่อหลักสูตรเพื่อปรับปรุงและพัฒนารายวิชานี้ต่อไป

 3) หลักสูตรฯ มีการทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ขณะนักศึกษายังไม่สำเร็จการศึกษาในระดับรายวิชาโดยใช้การประเมินทั้งในภาคทฤษฎีและปฏิบัติ

4) หลักสูตรฯ มีการประเมินการสอนของผู้สอนโดยนักศึกษาเพื่อการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ของนักศึกษาซึ่งมีการประเมินผ่านระบบของวิทยาลัยฯ

6. ให้ข้อมูลป้อนกลับกับผู้เรียนที่เหมาะสมกับระยะเวลาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้

หลักสูตรฯ กำหนดให้อาจารย์ผู้สอนต้องแจ้งผลคะแนนกลางภาค หรือผลการประเมินเพื่อให้นักศึกษาทราบ ภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยชี้แจงจุดอ่อน จุดแข็งเพื่อที่จะให้นักศึกษาได้ปรับปรุงการเรียนของตนเองได้ทันเวลา และในกรณีที่นักศึกษามีผลการเรียนที่น้อยและต้องการที่ถอนรายวิชาก็จะสามารถดำเนินการได้ทันกำหนดเวลา ในส่วนผลคะแนนปลายภาคนั้นกำหนดให้สำนักทะเบียนฯเป็นผู้แจ้งผลการประเมิน หลักสูตรวิชาฯ ใช้ระบบประเมินการจัดการการเรียนการสอนของวิทยาลัย ซึ่งได้กำหนดช่วงเวลาที่เหมาะสมของการประเมินผลโดยนักศึกษาออกเป็น 2 ช่วง คือ กลางภาค และปลายภาค และมีการระบุช่วงระยะเวลาการ เพิ่ม ถอน รายวิชาที่ชัดเจน (5.1.1.6)

7. มีการทบทวนและปรับปรุงการประเมินผลผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ให้สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

  1. มีการประเมินผลการเรียนรู้รายวิชา ตามที่กำหนดใน มคอ.3,4 ผ่าน มคอ.5,6
  2. มีการสำรวจความพึงพอใจผู้ใช้บัณฑิตต่อผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ 5 ด้านตาม ผ่านระบบของวิทยาลัยฯ
  3. หลักสูตรมีระบบให้นักศึกษาประเมินการเรียนการสอนแต่ละรายวิชา (Evaluation System) ออนไลน์โดยนักศึกษาจะเข้าไปประเมินภาคการศึกษาละครั้ง คือช่วงปลายภาค ทั้งนี้หัวข้อการประเมินครอบคลุมเรื่องการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ และอาจารย์ผู้สอนจะได้นำไปปรับปรุงรายวิชาในครั้งต่อไป
  1. ก่อนสำเร็จการศึกษานักศึกษาจะต้องฝึกประสบการณ์วิชาชีพสาธารณสุข ในสถานบริการด้านสาธารณสุข โดยมีคณะเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทั้ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาล นักวิชาการสาธารณสุข พยาบาลวิชาชีพ และเจ้าหน้าที่อื่นๆ เป็นพี่เลี้ยงและเป็นผู้ประเมินผลการฝึกฯและให้ข้อเสนอแนะต่างๆ (5.1.1.7)

8. มีการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้และการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน

ทางหลักสูตรได้ทำการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ การประเมินผลลัพธ์ผู้เรียนและประเมินด้านภาษาอังกฤษและทักษะศตวรรษที่ 21 จากผู้ใช้บัณฑิตทุกปี ซึ่งพบว่ามีแนวโน้มสูงขึ้น โดยมีค่าระดับคะแนนเฉลี่ยแต่ละด้านมีค่า 3.91, 3.92 และ 4.05 ตามลำดับ (5.1.1.8)

9. มีการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ตามที่กำหนดในหลักสูตรการศึกษา

ทางหลักสูตรได้จัดตั้งให้มีคณะกรรมการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาที่เปิดสอนในปีการศึกษา 2565 เพื่อประเมินระบบการจัดการเรียนการสอนและประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ดำเนินการเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร มคอ.2 (5.1.1.9)

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

 ….9ข้อ….

IQA(1-9)

1,2,3,4,5,6,7,8,9

 9 ข้อ

5 คะแนน

AUN-QA(1-7)

1,2,3,4,5,6,7

ระดับ 3

รายการหลักฐานอ้างอิง

Evidence No. List of evidences
5.1.1.1 แบบฟอร์มการประเมินข้อสอบ
5.1.1.2 การแต่งตั้งคณะกรรมการทวนสอบผลสัมฤทธิ์และมีโปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับประเมินเกรด
5.1.1.3 ระบบสารสนเทศ MIS เพื่อแสดงสถานะผลการเรียนของนักศึกษาของแต่ละภาคการศึกษา
5.1.1.4 ภาพระบบ MIS ในการกำหนดสัดส่วนการให้คะแนนในแต่ละรายวิชา
5.1.1.5 ระบบ/กระบวนการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์
5.1.1.6 ปฏิทินการศึกษาระบุช่วงเวลา กลางภาค และปลายภาค และมีการระบุการ เพิ่ม ถอนวิชา
5.1.1.7 แบบฟอร์มผู้ประเมินผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพให้กับนักศึกษา
5.1.1.8 ผลการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ การประเมินผลลัพธ์ผู้เรียนและประเมินด้านภาษาอังกฤษและทักษะศตวรรษที่ 21 จากผู้ใช้บัณฑิต
5.1.1.9 คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ผลการประเมินตนเอง

ผลการประเมินตนเองIQAAUN-QA
ตัวบ่งชี้ที่ 5.153

Leave a Reply