องค์ประกอบที่ 6 คณาจารย์

ตัวบ่งชี้ที่ 6.1 คุณภาพคณาจารย์ (คุณภาพของบุคลากรสายวิชาการ)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5 คะแนน
1 ข้อ 2 ข้อ 3-4 ข้อ 5-7 ข้อ 8-10 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน AUN-QA ประเมินภาพรวมประเด็น 1-8 ประเมิน 7 ระดับ

ผลการดำเนินการ

1. วางแผนด้านบุคลากรสายวิชาการให้มีคุณภาพและปริมาณที่เหมาะสม

หลักสูตรได้มีการกำหนดตำแหน่ง หน้าที่ ภาระงานและวางแผนให้อาจารย์และบุคลกรเข้าร่วมการอบรม การให้ความรู้เพื่อพัฒนาทักษะและความสามารถของตนเอง ไม่น้อยกว่า 15 ชั่วโมงต่อปีการศึกษา และในปีการศึกษา 2565 ทางหลักสูตรได้มีอาจารย์ใหม่หนึ่งท่าน คือ Dr. Myo Zin Oo มาทดแทนอาจารย์ที่ลาออกไป และอาจารย์ได้ผ่านการอบรมบทบาทหน้าที่ของอาจารย์ทั้ง 4 พันธกิจ การจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพ และมีแผนปฏิบัติการโครงการพัฒนาอาจารย์ เป็นต้น นอกจากนี้ทางหลักสูตรได้มีแผนการบริหารบุคลากร 5 ปี เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาบุคลากกรสายวิชาการให้มีคุณภาพและปริมาณที่เหมาะสม (6.1.1.1)

2. มีการควบคุมปริมาณงานเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพและคุณภาพของงาน

ทางหลักสูตรได้มีการกำหนดภาระหน้าที่การสอน งานวิจัย งานบริการวิชาการและงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารงาน และมีแผนการปฏิบัติงานประจำปี 2565 ให้การดำเนินกิจกรรมของหลักสูตรและคณะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ (6.1.1.2)

3. กำหนดสมรรถนะ มีการประเมินผล และมีการสื่อสารให้ทราบ

บุคลากรสายวิชาการในหลักสูตรทุกท่าน ได้รับการประเมินสมรรถนะของบุคลากรสายวิชาการด้วยแบบประเมินที่วิทยาลัยจัดทำขึ้นและประเมินโดยคณบดีภายใต้กรอบสมรรถนะของบุคลากรสายวิชาการพนักงานวิทยาลัยโดยประเมินตาม KPI ของบุคลากรสายวิชาการตามภาระงานและพันธกิจของสถาบันอุดมศึกษา คือด้านการผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ผลสัมฤทธิ์ของงาน และคณบดีได้สื่อสารให้อาจารย์ได้ทราบถึงผลการประเมินเพื่อให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีการประเมินอาจารย์ผู้สอนจากความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อคุณภาพการจัดการเรียนการสอนและการสนับสนุนการเรียนรู้ทุกรายวิชา โดยดำเนินการในทุกภาคการศึกษาผ่านระบบ MIS เพื่อนำผลไปปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนและการสนับสนุนการเรียนรู้ในปีการศึกษาถัดไป (6.1.1.3)

4. บุคลากรสายวิชาการมีจำนวน และ มีภาระหน้าที่ที่เหมาะสม

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรมีการประชุมร่วมกันในการบริหารหลักสูตรเพื่อวางนโยบาย วางแผน ติดตามแนวโน้มของงานอาขีวอนามัยและความปลอดภัยในปัจจุบันเพื่อนําไปเป็นแนวทางในการปรับปรุงเนื้อหาในการสอนของแต่ละวิชาต่อไปตลอดจนดําเนินงานตามแผนงานของคณะ และอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรกำหนดให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรทุกคนมีหน้าที่สอนตามความรู้ความเชี่ยวชาญและจัดทำแผนการสอนและภาระงานอื่นๆ เช่น การผลิตผลงานวิชาการ/ผลงานวิจัย การพัฒนาความรู้ทางวิชาการ การบริการวิชาการ การทํานุบํารุงศิลปวัฒนธรรมไทย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งงานควบคุมมาตรฐานคุณภาพการศึกษาให้เป็นไปตามเกณฑ์ประกันฯ (6.1.1.4)

5. มีระบบประเมินผลการปฏิบัติงานบนพื้นฐานคุณธรรม และเกี่ยวข้องกับงาน

 หลักสูตรฯ ใช้หลักเกณฑ์ประเมินประสิทธิภาพบุคลากรตามภาระงาน TOR อย่างชัดเจน แบ่งออกได้เป็นด้านต่างๆ ดังนี้ 1. งานด้านการเรียนการสอน 2. งานวิจัยหรือผลงานอื่นๆ ทางวิชาการ 3. การบริการวิชาการ 4. การทำนุบำรุงศิลปะวัฒนธรรม 5.งานกิจกรรมและพัฒนานักศึกษา โดยจะมีการประเมินจำนวน 1 ครั้งต่อปี โดยวิทยาลัยฯ จะมีการพิจารณาเลื่อนขั้นหรือเงินเดือนตามภาระงานทั้งในทางวิชาการและกิจกรรมที่ได้ปฏิบัติตามผลงานใน (TOR) ของวิทยาลัยฯ ผู้บริหารวิทยาลัยมอบหมายให้คณบดีพิจารณาประเมินเลื่อนขั้นเงินเดือนของบุคลากรสายวิชาการ และให้ข้อมูลประกอบการพิจารณาตัดสินใจแก่ผู้บริหารวิทยาลัย (6.1.1.5)

6. กำหนดหน้าที่ ความรับผิดชอบที่ชัดเจน และทำความเข้าใจให้ทุกคนทราบ

 หลักสูตรฯกำหนดบทบาทหน้าที่ของบุคลากรสายวิชาการ ในหลักสูตรที่ชัดเจน โดยชี้แจงหน้าที่ความรับผิดชอบของอาจารย์ผู้สอนเพื่อให้อาจารย์ผู้สอนปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีของนักศึกษา และกำหนดให้อาจารย์ผู้สอนมีเสรีภาพทางวิชาการ โดยสนับสนุนให้อาจารย์ผู้สอนนำเสนอผลงานทางวิชาการในระดับชาติและระดับนานาชาติ (6.1.1.6)

7. กำหนดและวางแผนพัฒนา ตามความต้องการของหลักสูตรอย่างเป็นระบบ

 หลักสูตรได้มีการวางแผนพัฒนาศักยภาพของบุคลากรเพื่อให้เกิดทักษะการเรียนรู้ใหม่ๆให้ทันสมัยกับการเรียนการสอนในหลักสูตรโดยมีระบบและกลไกส่งเสริมพัฒนาอาจารย์และบุคลากรอย่างเป็นขั้นเป็นตอน และส่งเสริมให้อาจารย์ได้ไปอบรมเพื่อพัฒนาตนเองตามตัวชี้วัดของหลักสูตร มคอ.2  (6.1.1.7)

8. นำผลการประเมินการปฏิบัติงานมาใช้ในการบริหารจัดการหลักสูตร

ทางหลักสูตรได้มีการประเมินความพึงพอของอาจารย์และนักศึกษาต่อการบริหารหลักสูตรทุกปีเพื่อนำผลที่ได้ไปปรับปรุงประสิทธิภาพให้มีความทันสมัย (6.1.1.8)

9. คณาจารย์ ผู้เรียน และชุมชน ร่วมกันสร้างประสบการณ์การเรียนรู้

หลักสูตรมีโครงการบริการวิชาการด้านสาธารณสุขแก่ชุมชน โดยความร่วมมือจากคณาจารย์คณะสาธารณสุขศาสตร์ นักศึกษาและบุคลากรทางด้านสาธารณสุขของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสมเด็จย่า 84 ตำบลบึงน้ำรักษ์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี จัดให้มีการให้ความรู้ด้านส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง และทำการตรวจวัดความดันโลหิต ให้แก่ประชาชนและอาสาสมัครสาธารณสุขกลุ่มเป้าหมายในชุมชน ตามโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ เพื่อสุขภาพที่ดีและมีคุณภาพชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน (6.1.1.9)

10.  คณาจารย์บูรณาการศิลปะและวัฒนธรรม ในการจัดการเรียนรู้

 ทางหลักสูตรกำหนดให้มีการบูรณาการศิลปวัฒนธรรมเชิงพหุวัฒนธรรมเนื่องจากคณาจารย์ในหลักสูตรมีทั้งอาจารย์ไทยและต่างประเทศ ดังนั้นทางหลักสูตรจึงได้กำหนดโครงการที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมไทยและวัฒนธรรมต่างชาติโดยจัดในรูปแบบบูรณาการกับกิจกรรมนักศึกษาเพื่อให้นักศึกษาได้รับรู้การอยู่ร่วมกับสังคมที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม และเป็นประโยชน์นักศึกษาเมื่อสำเร็จการศึกษาจะต้องทำงานร่วมกับคนที่มีความแตกต่างในวัฒนธรรมได้ โดยกิจกรรมเหล่านี้ได้บูรณการกับเรียนการสอนรายวิชา 900 111 Public Health Ethics  (6.1.1.10)

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

…5 ข้อ…

IQA(1-10)

1,2,3,4,5,6,7,8,9,10

 10 ข้อ

 5 คะแนน

AUN-QA(1-8)

1,2,3,4,5,6,7,8

ระดับ 3

รายการหลักฐานอ้างอิง

Evidence No. List of Evidences
6.1.1.1 แผนการบริหารบุคลากร 5ปี/แผนปฏิบัติการโครงการพัฒนาอาจารย์
6.1.1.2 แผนการปฏิบัติงานประจำปี 2565 จำแนกตามแผนงานต่างๆ
6.1.1.3 ผลประเมินอาจารย์ผู้สอนจากความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อคุณภาพการจัดการเรียนการสอน
6.1.1.4 รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
6.1.1.5 ผลการประเมินประสิทธิภาพบุคลากรวิทยาลัย
6.1.1.6 แผนบริหารบุคคล (ฉบับปรับปรุง) พ.ศ. 2563 – 2567
6.1.1.7 แผนโครงการพัฒนาอาจารย์และรายละเอียดแต่ละโครงการ
6.1.1.8 ผลการประเมินความพึงพอของอาจารย์และนักศึกษาต่อการบริหารหลักสูตร
6.1.1.9 โครงการบริการวิชาการด้านสาธารณสุขแก่ชุมชน
6.1.1.10 ผลการบูรณาการศิลปวัฒนธรรมกับการเรียนการสอน

ตัวบ่งชี้ที่ 6.2 คุณวุฒิปริญญาเอก

ผลการดำเนินการ

มีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก จำนวน 2 คน คือ   Dr. Myo Zin Oo และ  Dr. Sasikala –   P. Reddy Mutha  ดังนั้น

1) ร้อยละอาจารย์ที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก = (2/5)*100 = 40

2) คะแนนที่ได้ = (40/20) * 5 = 10 ได้ 5 คะแนน

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

ร้อยละ 20

IQA(1)

อาจารย์ปริญญาเอก 2 คน/อาจารย์ผู้รับผิดชอบ 5 คน

ร้อยละ 40

5 คะแนน

AUN-QA(ไม่มี)

ไม่มี

ระดับ…ไม่มี….

รายการหลักฐานอ้างอิง

Evidence No. List of evidences
6.2.1.1 คุณวุฒิปริญญาเอก Dr. Myo Zin Oo และ  Dr. Sasikala  P. Reddy Mutha

ตัวบ่งชี้ที่ 6.3 ผลงานวิจัยตีพิมพ์

การกำหนดค่าถ่วงน้ำหนักตามระดับคุณภาพผลงานทางวิชาการ ดังนี้

ค่าน้ำหนัก ระดับคุณภาพ
0.20 -บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ
0.40 -บทความวิจัยหรือบทความวิชาการฉบับสมบูรณ์ที่ตีพิมพ์ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ
-ผลงานที่ได้รับการจดอนุสิทธิบัตร
0.60 บทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ในวารสารที่ปรากฏในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 2
0.80 บทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่ปรากฏในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 1
1.00 -บทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่ปรากฏในฐานข้อมูลระดับนานาชาติตามประกาศ ก.พ.อ. หรือระเบียบคณะกรรมการการอุดมศึกษาว่าด้วยหลักเกณฑ์ การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
-ผลงานได้รับการจดสิทธิบัตร
-ผลงานวิจัยการรับใช้สังคมที่ได้รับการประเมินผ่านเกณฑ์การขอตำแหน่งทางวิชาการแล้ว
-ผลงานวิจัยที่หน่วยงานหรือองค์กรระดับชาติว่าจ้างให้ดำเนินการ
-ผลงานค้นพบพันธุ์พืช  พันธุ์สัตว์ ที่ค้นพบใหม่และได้รับการจดทะเบียน
-ตำราหรือหนังสือหรืองานแปลที่ได้รับการประเมินผ่านเกณฑ์การขอตำแหน่งทางวิชาการแล้ว
-ตำราหรือหนังสือหรืองานแปลที่ผ่านการพิจารณาตามหลักเกณฑ์การประเมินตำแหน่งทางวิชาการ แต่ไม่ได้นำมาขอรับการประเมินตำแหน่งทางวิชาการ
-บทความวิจัยหรือบทความวิชาการที่ได้รับการอ้างอิงในวารสารวิชาการระดับชาติที่ปรากฏในฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 1 หรือในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่ปรากฏในฐานข้อมูลระดับนานาชาติ ตามประกาศ ก.พ.อ

ผลการดำเนินการ

ในปีการศึกษา 2565 อาจารย์ผู้รับผิดชอบมีผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ จำนวน 1 เรื่อง ดังนี้

ตารางแสดงข้อมูลผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ ประจำปีการศึกษา 2565

No. Title Name of the Lecturer Name of Journal Index Weight
1 The Effect of Social Media use on the Well- Being of the Thai Elderly in the Bangkok Metro- politan Region, Thailand Chirattana Greewong Tanawadee Kangnoi Somporn Naklang Porntip Layanun Social Evolution and History, 11(9), 51-59 SCOPUS Q2 1
  1. ร้อยละผลรวมถ่วงน้ำหนักของผลงาน = (1/5) *100 = 20
  2. คะแนนที่ได้ = (20/20) * 5 = 5

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

ร้อยละ 20

IQA(1)

ผลรวมถ่วงน้ำหนักผลงาน 1 คน/อาจารย์ผู้รับผิดชอบ 5 คน

ร้อยละ 20

5 คะแนน

AUN-QA(ไม่มี)

ไม่มี

ระดับ…ไม่มี….

รายการหลักฐานอ้างอิง

รหัสหลักฐาน รายการ
6.3.1.1The Effect of Social Media use on the Well- Being of the Thai Elderly in the Bangkok Metropolitan Region, Thailand

ผลการประเมินตนเอง

ผลการประเมินตนเองIQAAUN-QA
ตัวบ่งชี้ที่ 6.153
ตัวบ่งชี้ที่ 6.2 5
ตัวบ่งชี้ที่ 6.3 5
คะแนนเฉลี่ย5

Leave a Reply