องค์ประกอบที่ 2 ผลลัพธ์การเรียนรู้

ตัวบ่งชี้ที่ 2.1  ผลลัพธ์การเรียนรู้ (ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5 คะแนน
1 ข้อ 2 ข้อ 3-4 ข้อ 5-6 ข้อ 7 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน AUN-QA ประเมินภาพรวมประเด็น 1-5 ประเมิน 7 ระดับ

ผลการดำเนินการ

1. กำหนดและสื่อสาร ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

หลักสูตรกำหนดการพัฒนาการเรียนรู้ในแต่ละด้านเพื่อใหผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (Program Learning Outcomes, PLOs)ปรกอบดด้วย

เริ่มจากการกำหนด POL

PLO1 ด้านคุณธรรม (1)เพื่อให้นักศึกษาแก้ปัญหาทางคุณธรรมจริยธรรมที่ซับซ้อนในเชิงวิชาการหรือเชิงอาชีพโดยความรู้สึกของผู้อื่น (2)สรุปปัญหาตามหลักการอย่างฉับไวต่อความรู้สึกของผู้ที่ได้รับผลกระทบ(3)ริเริ่มยกปัญหาทางจรรยาบรรณวิชาชีพครูในการจัดการกับข้อโต้แย้งและปัญหาที่มีผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น(4)แสดงออกซึ่งภาวะผู้นำในการส่งเสริมให้มีการประพฤติตามหลักคุณธรรมจริยธรรมและรรยาบรรณวิชาชีพครู

       โดยกลบุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรมนั่น หลักสูตรกำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กรเพื่อเป็นการปลูกฝั่งให้นักศึกษามีระเบียบวินัยมีความรับผิดชอบโดยการทำงานเป็นกลุ่มฝึกการเป็นผู้นำกลุ่มและเป็นสมาชิกกลุ่มมีความชื่อสัตย์สุจริตในทุกสถานการณ์

     กลยทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมประเมินจาก (1)ประเมินจากพฤติกรรมเชิงคุณธรรมจริยธรรมของบัณฑิตประกอบด้วยการร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรและกิจกรรมของสถาบัน (2)ประเมิยจากการปฏิบัติงานตามระเบียบของวิทยาลัย(3)ประเมินจากแฟ้มสะสมงาน(E-Portfolio)ที่สะท้อนด้านการเป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรม จรรยาบรรณและผู้รับผิดชอบต่อวิชาชีพ

PLO2 ด้านความรู้ (1)บัญพิตเป็นผู้มีมีความรู้ความเข้าใจในหลักของสาขาวิชาประกอบด้วย หลักทฤษฎีบริหารการศึกษาเพื่อนำไปพัฒนาวิชาการและวิชาชีพ(2) การเรียนรู้ผ่านกระบวนการที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นฝึกปฏิบัติในสถานประกอบการ การวิเคราะห์แลกเปลี่ยนความรู้กับผู้สอน หรือวิทยากรพิเศษ

        กลยุทธ์การวัดผลและประเมินผลด้านผลสัมฤทธ์การเรียนรู้ ใช้กลยุทธ์หลายประการได่แก่ (1)การทดสอบย่อย การสอบกลางภาค การสอบปลายภาคเรียน (2)ประเมินจากรายงานหรือผลงาน ประเมินจากโครงการที่นำเสนอ ในห้องเรียนและงานสัมมนาวิชาการ(3)ประเมินจากแฟ้มสะสมงาน(E-Portfolio)ที่สะท้อนด้านการศาสตร์บริหารการศึกษา

PLO3 ทักผาะทางปัญญา (1)ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญานักศึกษามีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ใช้ดุลยพินิจในการตัดสินใจในการพัฒนาความคิดใหม่ (2)สามารถวางแผนดำเนินการวิจัยด้วยตนเอง (2)รูปแบบการจัดการศึกษาเริ่มจากการเริ่มต้นการศึกษาจากเนื้อหาทฤษฎีบริหารการศึกษาและการแก้ปัญกาง่ายๆไปหาเนื้อหาทฤษฎีที่ยากและซับซ้อนมากขึ้น ด้วยสถานการณ์จำลองและสถานณ์การณ์จริงเพื่อแก้ปัญหาละพัฒนางานอย่างเป็นระบบ

        กลยุทธ์การวัดผลและประเมินผลด้านทักษะทางปัญญา ประเมินจากผลงานจริง การทดสอบการแสดงวิสัยทัศน์เชิงบริหารการศึกษาที่เหมาะสมเป็นต้น

PLO4ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและควมรับผิดชอบ

        หลักสูตรกำหนดผลการเรียนรู้ด้าน ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและควมรับผิดชอบ เพื่อให้บัณพิต สามารถทำงานเป็นทีม ประสานความร่วมมือ และมีทักษะในการสื่อสารกับบุคคลอื่นได้ดีเริ่มจาก (1)นักศึกษาสามารถแก้ปัญหาและตัดสินใจด้วยตนเองเพื่อให้การปฏิบัติงานในระดับที่สูงขึ้น(2)ให้ความร่วมมือกับผู้อื่นอย่างเต็มที่ในการจัดการในการจัดก่ีแสดงทักษะการเป็นผู้นำได้อย่างเหมาะสมตามโอกาสและสถานการณ์ (2)กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบนั่นผู้สอนจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือฝึกการทำงานร่วมกัน ปลูกฝังการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีเพื่อเข้าใจวัฒนธรรมองค์กร

      กลยุทธ์การวัดผลและประเมินผลด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและควมรับผิดชอบได้แก่ การแสดงพฤคิกรรมของนักศึกษาในรายงาน สังเกตการ่วมกิจกรรมในโอกาสต่างๆปีะเมินจากแฟ้มสะสมงาน(E-Portfolio)ที่สะท้อนด้านการทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและควมรับผิดชอบ

PLO5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

         หลักสูตรกำหนดให้บัณฑิตมีทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศประกอบด้วย (1)การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงตัวเลข และสถิติที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ (2) มีทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารผลการวิเคราะห์ผ่านกระบวนการเรียนรู้ทางวิชาการและการพัฒนาวิทยานิพนธ์โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการวิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอรายงาน(3)นักศึกษานำความรู้การพัฒนาระบบเทคโนโลยีทางการศึกาาไปเพื่อสร้างและพัฒนาให้ระบบ

        สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและระบบดิจิทัลในการสื่อสาร จัดการข้อมูล
และบริหารจัดการด้วยองค์ความรู้สมัยใหม่ได้แก่ การจัดระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Executive Information Systems)ซึ่งข้อดีของระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารได้แก่
 1) เพื่อการบริหารเฉพาะผู้บริหารระดับสูง 2) สามารถจัดระบบข้อมูลต่างๆให้เป็นระบบ ด้วยคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ 3)ค้นหาสารสนเทศที่ต้องการได้ในเวลาสั้น
4) ช่วยให้ผู้ใช้เข้าใจสารสนเทศที่นำเสนออย่างชัดเจน 5)ประหยัดเวลาในการดำเนินงานและการตัดสินใจและ 6)สามารถติดตามและจัดการสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ

PLO6 ทักษะการบริหารจัดการร่วมสมัย

      หลักสูตรพัฒนาบัณฑิตให้เป็นนักบริหารจัดการร่วมสมัย  สามารถพัฒนาทักษะในเชิงบริหารได้ดังนี้(1)นักศึกษาสามารถวิเคราะห์องค์กร(SWOT Analysis )เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสาคัญในการดำเนินงานสู่สภาพที่ต้องการของหน่วยงานที่นักศึกษาสำเร็จและจะเป็นผู้บริหารโดยการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมของทีมงานเ (2) สามารถนำผลการวิเคราะห์มาการกำหนด วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และกำหนดนโยบายและแผนกลยุทธ์ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้สอดคลองกับยุดสมัยการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 (3) นักศึกษาสามารถแปลงนโยาบและแผนยุทธ์ศาสตร์ขององค์กรสู่แผนงานและโครงการสู่การปฎิบัติ  เพื่อให้สมาชิกในองค์กรร่วมกันขับเคลือนให้บรรลุวิสัยทัศน์ (4) นักศึกษาสามารถประเมินผลทักษะการบริหารจัดการร่วมสมัยที่นักศึกษาออกแบบโดยผ่านกระบวนการวิจัยในรูปการประเมินโครงการโดยรายงานถึงระดับความสำเร็จที่ได้

         กลยุทธ์การวัดผลและประเมินผลด้านทักษะการบริหารจัดการร่วมสมัย ได้แก่ การประเมินจากแฟ้มสะสมงาน(E-Portfolio)ที่สะท้อนด้านการพัฒนาทักษะการบริหารร่วมสมัยจากการแสดงรายงาน การฝึกประสบการณืวิชาชีพ การศึกษาดูงานนพฤคิกรรมของนักศึกษาในรายงาน สังเกต

         ความสำเร็จของ PLOs ทั้งหกด้านเริ่มจากคณบดี อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ผู้สอนร่วมกันจัดทำหลักสูตรและผ่านคณะกรรมการเห็นชอบ และนำไปปฐมนิเทศชี้แจงให้นักศึกษาได้ทราบ และในทุกรายวิชาจะมีการจัดทำ มคอ. 3 และ มคอ. 4 ซึ่งจะมีผลลัพธ์การเรียนรู้ของแต่ละรายวิชา รวมทั้งการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล และ แจ้งนักศึกษาทราบก่อนการจัดการเรียนการสอน และจัดทำคู่มือนักศึกษาซึ่งมีรายละเอียดของหลักสูตรด้วย การสื่อสารกับอาจารย์ ฝ่ายวิชาการได้จัดทำคู่มือบริหารหลักสูตร เพื่อเป็นแนวทางให้อาจารย์ได้ใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารรายวิชา และทราบถึงผลลัพธ์การเรียนรู้ของรายวิชานั้นๆเพื่อใช้ในการออกแบบการจัดการเรียนการสอน และการวัดประเมินผลในวิชาต่างๆตรงกับที่กำหนดไว้ดังรายงานข้างต้น

2. . ออกแบบผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง เหมาะสมกับการจัดการเรียนรู้

    ปีการศึกษา 2565 หลักสูตรศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา(หลักสูตรนานาชาติ/หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564)

     ได้กำหนดชัดเจนในแต่ละรายวิชาในหลักสูตรใช้หลัก.ใช้หลักสูตรฉบับปรับปรุง 2564        มีการกำหนด เพื่อกำหนดว่าเมื่อสำเร็จการศึกษา มหาบัณฑิตสาขาบริหารการศึกษาจะมีคุณลักษณะและความสามารถดังนี้

  ด้านที่ 1ผลการเรียนรู้ในด้านคุณธรรมจริยธรรม ของนักศึกษาระดับมหาบัณฑิตสาขาบริหารการศึกษา ได้แก่
            1. มีคุณธรรมจริยธรรมเชิงวิชาการและเชิงวิชาชีพมีเหตผลและค่านิยมดีงาม                          2.มีจรรยาบรรณในวิชาชีพแสดงออกซึ่งภาวะผู้นำส่งเสริมการปฏิบัติตามหลักคุณธรรมจริยธรรมทั้งในสภาพแวดล้อม ที่ทำงานและชุมชน

ด้านที่ 2 ผลการเรียนรู้ในด้านความรู้ ของนักศึกษาระดับมหาบัณฑิตสาขาบริหารการศึกษา ได้แก่

           3.มีความรู้ในทฤษฎีบริหารการศึกษาและนำไปใช้ให้เกิดให้เกิดประโยชน์์ต่อ ตนเอง ต่องานในหน้าที่และสัมคมเพื่อร่วมงาน

          4.มีความรู้เกี่ยวกับศิสตร์เชิงวิชาชีพบริหารการศึกษาสามารถวิเคราะห์ผลกระทบต่อวิชาชีพและการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคน

ด้านที่ 3 ผลการเรียนรู้ในด้านสติปัญญา ของนักศึกษาระดับมหาบัณฑิตสาขาบริหารการศึกษา ได้แก่    

           5.สามารถบูรณาการหลักทฤษฎีและภาคปฎิบัติมาบูรณาการในการนำเอาหลักทฤษฎีบริหารองค์กรสมัยใหม่มาเพื่อการบริหารการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล

          6.พัฒนาด้านภาวะผู้นำการบริหารการศึกษาในทฤษฎีใหม่ ได้แก่ ทฤษฎีการบริหารการเปลี่ยนแปลง ทฤษฎีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ทฤษฎีภาวะผู้นำทางวิชาการมาพัฒนาการบริหารการศึกษาอย่างเป็นระบบ มีความคิดวิจารณญาณในการตัดสินใจ และแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์

ด้านที่ 4 ผลการเรียนรู้ในด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความรับผิดชอบ       ของนักศึกษาระดับมหาบัณฑิตสาขาบริหารการศึกษา ได้แก่    

        7.ผู้บริหารการศึกษามีความรู้ความสามารถในการแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นโดยเลือกใช้วิธีแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เพื่อให้การดำเนินงานขับเคลื่อนไปด้วยดี

       8. นำทฤษฎีการสร้างมนุษย์สัมพันธการบริหาร ตัวอย่างเช่น ทฤษฎีการสร้างมนุษยสัมพันธ์มีองค์ประกอบ 3 องค์ประกอบคือ  1) ให้มนุษย์มีความสุข ( Happy )
2)ให้การยอมรับแก่เพื่อมนุษย์ ( Acceptable )และ3)ให้เพื่อนมนุษย์ได้รับประโยชน์ร่วมกัน ( Productivity ) เพื่อสร้างทีมงานที่ดี ตลอดจน ทฤษฎีความขัดแย้งและสามารถแก้ไขความขัดแย้งในองค์กรได้ดำเนินงานร่วมกันได้ด้วยดี

          ด้านที่ 5  ผลการเรียนรู้ในด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยี  ของนักศึกษาระดับมหาบัณฑิตสาขาบริหารการศึกษา ได้แก่ 

            9. มีทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิตอล เพื่อเข้าถึงแหล่งข้อมูลสารสนเทศ รู้เท่าทัน และนำมาใช้ อย่างมีประสิทธิภาพ และมีจริยธรรม
            10. ประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ กระบวนการวิจัย การสร้างนวัตกรรม และผลการวิจัยได้อย่างเหมาะสม
           11. มีทักษะในการใช้ภาษาไทย และภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
           12. สามารถบริหารจัดการตนเอง และงานที่รับผิดชอบ ตลอดจนทำงานร่วมกับสหวิชาชีพ และผู้อื่นได้ ทั้งในบทบาทผู้นำ และผู้ตาม
           13. แสดงออกถึงการมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ เคารพในคุณค่าแห่งตน ผู้อื่น และวิชาชีพ ใฝ่รู้ และพัฒนาตนเอง วิชาชีพ และสังคมอย่างต่อเนื่อง
           14. มีความเป็นนานาชาติ เป็นพลเมืองดีของชาติ และประชาคมโลกและกำหนดมาตรฐานผลลัพธ์การเรียนรู้ 6 ด้านได้แก่ 1) คุณธรรม จริยธรรม 2) ความรู้ 3) ทักษะทางปัญญา 4) ทักษะด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5) ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและ 6) ทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพ และมีการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum mapping) ที่แสดงให้เห็นว่า แต่ละรายวิชารับผิดชอบผลลัพธ์การเรียนรู้ โดยผู้รับผิดชอบรายวิชาจะนำผลลัพธ์การเรียนรู้ของรายวิชา ไปออกแบบการจัดการเรียนการสอน เพื่อตอบสนองต่อผลลัพธ์การเรียนรู้แต่ละด้าน ใน มคอ. 3 และ มคอ. 4

ด้านที่ 6  ผลการเรียนรู้ในด้านทักษะการบริหารร่วมสมัย ของนักศึกษาระดับมหาบัณฑิตสาขาบริหารการศึกษา ได้แก่ 

           14.สามารถสร้างวิสัยทัศน์ร่วมของทีมงานและเป็นผู้นำเครือข่ายในองค์กรและวิชาชีพทางการศึกษา

          15 สามารถกำหนด นโยบายและยุทธ์ศาสตร์เชิงบริหารการศึกษาให้สอดคลองกับยุคสมัย 

         16.เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาองค์กรทางการศึกษาให้เป็นองค์สมัยใหม่องค์การสมัยใหม่ (Modern organization)โดยนักศึกษาสามารถนำหลักทฤษฎีการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาองค์กร (Organization Development : OD) ให้ก้าวสู่ความสำเร็จแบบมีส่วนร่วมของทีมงาน

    กลยุทธิ์สู่ความสำเร็จในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ทุกรายงวิชาในหลักสูตร จะ  ระบุรายละเอียดผลการดำเนินการการจัดการเรียนใน มคอ 2 และมคอ 3 และประเมินผลผู้เรียนทั้ง 6 ทักษาผ่านการประเมินตามสภาพจริง เช่น การรายงาน การอภิปราย การศึกษาวิจัย การฝึกประสบการณ์เชิงบริหาร และการจัดทำแฟ้มสะสมงานมานำเสนอผลการพัฒนาทักษะในเวทีสัมมนาทางวิชาการของวิทยาลัย

3. ระบุผลลัพธ์การเรียนรู้ทั่วไป และผลลัพธ์การเรียนรู้เฉพาะทาง

    หลักสูตรศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาฉบับปรับปรุง 2564 ได้กำหนดวัตถุประสงค์ของหลักสูตร โดยกำหนดปรัชญาของหลักสูตร วัตถุประสงค์ของหลักสูตร และความสำคัญของหลักสูตรดังนี้

กำหนดปรัชญาของหลักสูตร ดังนี้ “มุ่งผลิตมหาบัณฑิตทางการบริหารการศึกษาที่มีสมรรถนะในการบริหารจัดการร่วมสมัยและมีความรับผิดชอบต่อวิชาชีพ”

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

       1.เพื่อให้มหาบัณฑิตมีความรอบรู้ในศาสตร์การบริหารการศึกษา มีสมรรถนะในการบริหารจัดการร่วมสมัยและสามารถประยุต์ความรู้สู่การปฏิบัติทางวิชาชีพในระดับนานาชาติ

      2.เพื่อให้มหาบัณฑิตมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์มีวิสัยทัศน์มีทักษะในการคิด วิเคราะห์แก้ปัญหา เผชิญปํญหากล้าตัดสินใจ มีความสามารถในการวางแนและขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาของหน่วยงานทางการศึกษาที่รับผิดชอบ

      3.เพื่อให้มหาบัณฑิตมีความมีภาวะผู้นำทางการศึกษาที่เหมาะสม เป็นสมาชิกที่มีคุณค่าของวงการวิชาชีพ รู้จักการทำงานเป็นทีมและมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี

      4,เพื่อให้มหาบัณฑิตมีความมีเจตคติที่ดียึดมั่นศรัทธาในวิชาชีพครูและวิชาชีพการบริหารด้วยความรับผิดชอบ

4. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังบรรลุตามความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

      ในการพัฒนาหลักสูตรศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาฉบับปรับปรุง 2564 ได้ประชุมประกอบด้วย ผู้บริหารของวิทยาลัย คณบดีคณศึกษาศาสตร์ อาจารย์ประจำหลักสูตร ผู้ใช้บัณฑิต และศิษย์เก่า  ผลการเสวนาพบว่าคุณลักษณะบัณฑิตที่ต้องการในอนาคตคือ 1)  สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพในด้านบริหารการศึกษา การสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 2) มีความรู้ทางทฤษฎี ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง  ทฤษฎีภาวะผู้นำ เชิงจริยธรรม ทฤษฎีการบริหารองค์กรทางการศึกษาสมัยใหม่ โดยยุดสามารถเชื่อมโยงความรู้ ประยุกต์ในการปฏิบัติการบริหารการศึกษาได้อย่างมีประสิทธภาพได้แก่ การพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ 3)  ส่งเสริมให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ สามารถคิดอย่างเป็นระบบ คิดสร้างสรรค์ และสามารถแก้ปัญหาทางการบริหารการศึกษาได้อย่างเหมาะสมถูกต้อง 4)  ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมอย่างมีจริยธรรมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง 5)  ยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในคุณค่าศักดิ์ศครีความเป็นมนุษย์ รวมทั้งทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ  ซึ่งพบว่าวัตถุประสงค์ของหลักสูตรบรรลุตามความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ดังตารางทต่อไปนี้

ข้อที่

รายละเอียดของวัตถุประสงค์

ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

1

เพื่อให้มหาบัณฑิตมีความรอบรู้ในศาสตร์การบริหารการศึกษา มีสมรรถนะในการบริหารจัดการร่วมสมัย ร่วมทั้งมีทักษะการใช้เทคโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษา และสามารถประยุต์ความรู้สู่การปฏิบัติทางวิชาชีพในระดับนานาชาติ

มีความรู้ทางทฤษฎีเกี่ยวกับวิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สุขภาพและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง สามารถเชื่อมโยงความรู้ประยุกต์ในการปฏิบัติการบริหารการศึกษาระดับนานาชาติได้และ

ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมอย่างมีจริยธรรมในการเรียนรู้ด้วยตนเอง

2

เพื่อให้มหาบัณฑิตมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์มีวิสัยทัศน์มีทักษะในการคิด วิเคราะห์แก้ปัญหา เผชิญปัญหากล้าตัดสินใจ มีความสามารถในการวางแผนและขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาของหน่วยงานทางการศึกษาที่รับผิดชอบ

สามารถคิดอย่างเป็นระบบ คิดสร้างสรรค์ และสามารถแก้ปัญหาทางการพยาบาลได้อย่างเหมาะสมถูกต้อง

3

เพื่อให้มหาบัณฑิตมีความมีภาวะผู้นำทางการศึกษาที่เหมาะสม เป็นสมาชิกที่มีคุณค่าของวงการวิชาชีพ รู้จักการทำงานเป็นทีมและมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี

พัฒนาตนเองให้เป็นผู้มีภาวะผู้นำการบริหารด้วยทฤษฎีภาวะผู้นำยุดใหม่ ได้แก่ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ภาวะผู้นำทางวิชาการ ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์เป็นต้ร

4

เพื่อให้มหาบัณฑิตมีความมีเจตคติที่ดียึดมั่นศรัทธาในวิชาชีพครูและวิชาชีพการบริหารด้วยความรับผิดชอบ

ยึดมั่นในจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในคุณค่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ รวมทั้งทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ

5. ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง บรรลุผลกับผู้เรียนเมื่อสำเร็จการศึกษา

       หลักสูตรได้กำหนดให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ที่จะเกิดกับผู้เรียนระหว่างศึกษา และหลังจากนักศึกษาสำเร็จการศึกษา
             1.  ประเมินผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ที่จะเกิดกับผู้เรียนระหว่างศึกษาเป็นการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ระดับรายวิชา โดยการคัดเลือกรายวิชา อย่างน้อยร้อยละ 25 ของรายวิชาที่เปิดสอนในปีการศึกษานั้นๆ โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการทวนสอบ และดำเนินการทวนสอบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักศึกษา คะแนน/เกรด โดยทวนสอบการวัดและประเมินผล ความสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่กำหนดใน มคอ.3 และ มคอ.4 และสรุปรายงานเสนอคณะกรรมการบริหารคณะศึกษาศาสตร์
              2. การทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้หลังจากนักศึกษาสำเร็จการศึกษา โดยการสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต ครอบคลุมผลลัพธ์การเรียนรู้ 6 ด้านและผลลัพธ์ผู้เรียน 3 ด้าน ได้แก่ Learner person Co-creator และActive citizenและ PLOs
                ในปีการศึกษา 2565 ไม่ประเมินทั้ง 3 ด้านทั้งนี้เพราะ นักศึกษาอยู่ระหว่างการพัฒนาวิทยานิพนธ์

6. ผลการประเมินผลการเรียนรู้ ด้านความรู้ ทักษะ จริยธรรม และลักษณะบุคคล ของนักศึกษา(กลุ่มตัวอย่างทุกชั้นปี) สูงกว่า 3.51

        ปีการศึกษา 2565 หลักสูตรศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ได้ประเมินผลการเรียนรู้ พบว่านักศึกษา มีผลการประเมินผลการเรียนรู้ ด้านความรู้ ทักษะ จริยธรรม และลักษณะบุคคล ของนักศึกษา(กลุ่มตัวอย่างทุกชั้นปี) สูงกว่า 3.51

       จากนักศึกษาจำนวน 13 คน กำลังพัฒนาวิทยานิพนธ์ โดยใช้ทฤษฎีด้านความรู้ ทักษะ จริยธรรม และลักษณะบุคคลภาพโดยนักศึกษา พัฒนางานต่อเนื่อง โดยนำวิจัยมาเสนอขอคำแนะนำจากอาจารย์ผู้ควบคุม   ถือว่ามีความรับผิดชอบในระดับดี  รวมประเมิน มีค่าเฉลี่ย = 3.75

7. ผลการประเมินผลการเรียนรู้เฉลี่ยทั้ง 4 ด้าน สูงกว่า 3.51

         ปีการศึกษา 2565 หลักสูตรศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ได้ประเมินผลการเรียนรู้ ได้ประเมินผลการเรียนรู้ พบว่านักศึกษา ทั้งหมด 13 คน ศึกษาสำเร็จภาคทฤษฎีเรียบร้อยแล้วขณะนี้กำลังพัฒนาวิทยานิพนธ์ผลการประเมินนักศึกษาทั้ง 4 ด้าน มีค่าเฉลี่ย = 3.75

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

….5ข้อ….

IQA(1-7)

1,2,3,6,7

….5…ข้อ

…4..คะแนน

AUN-QA(1-5)

1(4), 2(4), 3(4)

ระดับ……3…….

รายการหลักฐานอ้างอิง

2.1.1.1มคอ.2
2.1.1.2เวปไซด์คณะศึกษาศาสตร์
2.1.1.3มคอ.2
2.1.1.4
2.1.1.5
2.1.1.6ผลงานวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา
2.1.1.7ผลงานวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา

ผลการประเมินตนเอง

ผลการประเมินตนเองIQAAUN-QA
ตัวบ่งชี้ที่ 2.143

Leave a Reply