Component 1: Indicator 1.2 Organizational Governance (Governance and Social Contributions)

Component 1 Leadership

Indicator 1.2 Organizational Governance (Governance and Social Contributions)

MHESI IQA (Items 1-7) assessment is indicated in the table below

1 mark2 marks3 marks 4 marks 5 marks
1 item2 items 3-4 items 5-6 items 7-8 items

According to EdPEx standard, the total score to assess items 1-6 is 50 marks, the factors used to evaluate the process are ADLI.

Performance

1. Organizational Governance (Governance System). How does the dean ensure responsible governance for all aspects?

1.ระบบในการบริหารจัดการคณะศึกษาศาสตร์

     ในนการบริหารจัดการ คณะศึกษาศาสตร์ได้ประยุกต์ใช้กระบวนการพัฒนาแบบเสริมพลังอำนาจ(The Empowerment Approach) ด้วยกระบวนการบริหารจัดการแบบ  6 ขั้นตอน คือ

1.1 วิเคราะห์ ทบทวนพันธกิจ(Mission Analysis) : ครอบคลุมในเรื่องการตรวจสอบการทำงานตามพันธกิจหลัก 4 ประการ และงานบริหารจัดการตามที่ได้รับมอบหมายจากวิทยาลัย

1.2 วิเคราะห์สภาพการดำเนินงานในรอบปีที่ผ่านมา(Taking Stock): เพื่อตรวจสอบผลการดำเนินงานตามแผน ผลการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการประกันคุณภาพภายในของสถาบันและของคณะ รวมถึงข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาต่าง ๆ ทั้งในระดับหลักสูตร ระดับคณะ หรือระดับสถาบัน

1.3 กำหนดเป้าหมายคุณภาพ(Setting the Goal) : เป็นการกำหนดเป้าประสงค์และค่าเป้าหมายสำคัญๆ ในรอบปีถัดไป ซึ่งในปัจจุบัน ยึดเกณฑ์คะแนนประกันคุณภาพภายในของปีล่าสุด โดยกำหนดค่าเป้าหมายคะแนนผลการประเมินจะต้องเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 20 % ของช่วงคะแนนที่ยังสามารถพัฒนาได้

1.4 การกำหนดยุทธศาสตร์และจัดทำแผนงานโครงการ(Developing Strategies) : ได้ทำแผนยุทธศาสตร์ระยะ 3 ปี ปัจจุบัน คือแผนปี 2565-2567 ที่มีการทบทวนแผนทุกปี ก่อนที่จะจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการประจำปี   โดยแผนปฏิบัติการประจำปีจะต้องรองรับหรือสอดคล้องปัญหา-ความต้องการจำเป็น  ผลการประเมินคุณภาพในปีการศึกษาที่ผ่านมา และมุ่งแก้ปัญหาหรือมุ่งป้องกันความเสี่ยงที่สำคัญ ๆ(มีโครงการ ED12: การบริหารจัดการความเสี่ยง)

ในการจัดทำแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการของคณะศึกษาศาสตร์ ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ได้ กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ตามกรอบแนวคิด The Balanced Score Card(BSC) ที่ยึดมิติ Customer เป็นสำคัญ พร้อมทั้งมียุทธศาสตร์ด้านกระบวนการบริหารจัดการ และการเตรียมบุคลากรให้มีศักยภาพสูง

1.5 ดำเนินการตามแผน(Implementing) : ในขั้นตอนนี้ ได้ให้ความสำคัญกับการจัดทำปฏิทินการกำกับติดตามงาน  การรายงานความก้าวหน้า หรือการสัมมนาประเมินผลการดำเนินงาน โดยจะเน้นเรื่องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ระหว่างโปรแกรมวิชา  ระหว่างคณาจารย์ที่มีผลงานโดดเด่น ตามแนวคิดและหลักการ Professional Learning Community(PLC)  ทั้งนี้ ได้ให้ความสำคัญกับการใช้ระบบ ไอ ซี ที เพื่อการกำกับติดตาม(E-Monitoring) และ

1.6 ประเมินผลการดำเนินงาน(Documenting Progress): เน้นการรวบรวมเอกสาร หลักฐานที่สะท้อนการทำงานหรือผลงาน  การจัดทำฐานข้อมูล หรือแฟ้มสะสมงานในระดับรายบุคคลของคณาจารย์ ระดับหลักสูตร และระดับคณะ ทั้งนี้ ได้พยายามพัฒนาระบบฐานข้อมูลออนไลน์ เพื่อง่ายแก่การสืบค้น  และนำสารสนเทศไปใช้ในการปรับปรุง-พัฒนางาน 

เมื่อจบการประเมินระยะสำคัญสำคัญๆ ก็จะนำผลการประเมินหรือข้อเสนอแนะ จัดทำ Improvement Plan ซึ่งอาจจะทำการเพิ่มเติมโครงการหรือกิจกรรมระหว่างปี ในแผนปฏิบัติการประจำปี หรือรวบรวมไว้เป็นฐานข้อมูลเพื่อการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี ในปีการศึกษาถัดไป

2. การถ่ายทอดวิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบาย แผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการประจำปี ให้แก่บุคลากร และผู้เกี่ยวข้องในการนำไปสู่การปฏิบัติ และมีการจัดสรรปัจจัยสนับสนุนการดำเนินงานให้บรรลุตามพันธกิจ การจัดทำแผนการพัฒนา ที่มีการระบุวิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบาย แผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการประจำปีที่เป็นรูปธรรม ที่ผ่านการดำเนินการแบบมีส่วนร่วมและมีการประชาพิจารณ์ให้รับทราบตรงกัน ถือเป็นการถ่ายทอดความเข้าใจหรือการสื่อสารที่ดี  อีกทั้งได้ระบุวิสัยทัศน์ พันธกิจ นโยบาย ไว้ในแผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการประจำปี และนำเสนอไว้ในเว็บไซต์ของคณะ ก็เป็นช่องทางเลือกในการสื่อสารกับผู้เกี่ยวข้องได้เป็นอย่างดี  

ในส่วนของการจัดปัจจัยสนับสนุนการดำเนินงาน ได้จัดให้มีคณะกรรมการคณะ  คณะทำงาน รองคณบดี ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายต่างๆ และอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรที่เป็นที่รับทราบตรงกัน และจัดงบประมาณเพื่อการพัฒนางานไว้พร้อมในทุกพันธกิจ ซึ่งตามโครงการในแผนยุทธ์ศาสตร์ระยะ 3 ปี 2565-2567 กำหนดโครงการสำคัญไว้ 16 โครงการ  ส่งผลให้การทำงานมีความสะดวกและเป็นไปได้อย่างราบรื่น

3. การกำกับ ติดตาม การดำเนินการของคณะให้เป็นไปตามแผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการประจำปี เพื่อให้เกิดผลสำเร็จตามเป้าประสงค์ คณะได้กำกับ ติดตาม การดำเนินการของคณะ โดยมีปฏิทินการกำกับติดตาม และใช้วิธีการที่หลากหลาย เช่น การรายงาน การประชุม-สัมมนา  การประชุมออนไลน์ การจัดห้องนิเทศงานในระบบออนไลน์ เป็นต้น  เพื่อให้งานเป็นไปตามแผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการประจำปี เพื่อให้เกิดผลสำเร็จตามมาตรฐานการอุดมศึกษา(มาตรฐานการศึกษาชาติ) มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ซึ่งก่อให้เกิดผลดี คือ (1) เกิดผลิตผลตามพันธกิจ คือ ด้านผู้เรียน ด้านการวิจัยและนวัตกรรม ด้านการบริการวิชาการ และด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย (2)ผลลัพธ์ด้านระบบปฏิบัติการหรือกระบวนการบริหารจัดการ-มีความราบรื่น คล่องตัว เกิดปัญหาน้อยที่สุด   (3)ผลลัพธ์ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร ให้มีศักยภาพสูง มีจำนวนที่เหมาะสมและเพียงพอต่อการขับเคลื่อนคุณภาพการจัดการศึกษา และ (4)ผลลัพธ์ด้านการนำองค์การ อย่างต่อเนื่อง ที่สะท้อนให้เห็นได้จากคะแนนผลการประเมินเมื่อเทียบระหว่างปี และการเป็นที่ยอมรับในวงวิชาการ   

การกำกับติดตามงานในทุกกรณี จะเน้นการรับทราบปัญหา การร่วมนิเทศและแก้ปัญหา และการถอดบทเรียนเกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดี(Good Practices) เพื่อนำไปใช้ในปีการศึกษาต่อๆ ไปหรือเพื่อเผยแพร่ต่อวงวิชาการ

4.การใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในการดำเนินการ และมีการจัดระบบรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และจัดการข้อมูล หรือจัดการความรู้ที่เหมาะสม และมีการใช้ข้อมูล หรือผลที่ได้จากการจัดการความรู้ หรือผลที่จากแนวปฏิบัติที่ดีจากการดำเนินการต่างๆ ของคณะ มาใช้ในการพัฒนางาน ตลอดจนนำมาใช้เป็นข้อมูลในการกำหนดแนวทางที่ส่งเสริมให้เกิดการบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล และเป็นไปตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คณะได้ให้ความสำคัญกับการปรับระบบงานให้เป็นสำนักงานอัตโนมัติ(Automatic Office) ใช้ระบบไอซีทีเพื่อการบริหารจัดการ ทั้งเพื่อการกำกับติดตามงาน ประชุมปรึกษาหารืองานหรือเพื่อการนิเทศงานรวมถึงการสื่อสารเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับนักศึกษา  ในปี 2562-2564 ได้จัดตั้งกลุ่ม Facebook Group และ Line Group  COCTACT CHANNEL เพื่อการสื่อสาร ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคณาจารย์กับนักศึกษา  กลุ่มอาจารย์ที่ปรึกษา  กลุ่มทีมบริหาร ฯลฯเพื่อความรวดเร็วในการบริหารจัดการ

ในช่วงเกิดปัญหา COVID-19  ตั้งแต่ปลายปี 2562และตลอดปี 2563-2564 วิทยาลัยและคณะได้เปิดโอกาสให้อาจารย์ทำงานจากบ้าน(Work From Home) เป็นระยะ ๆ โดยให้เสนอแผนการปฏิบัติงาน และรายงานการปฏิบัติงานเป็นระยะๆ บุคลากรของคณะมีโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในระบบออนไลน์ ที่ทุกคนมีโอกาสนำเสนอปัญหาและขอรับคำแนะนำจากผู้มีประสบการณ์ รวมทั้งการนำเสนอแนวปฏิบัติที่ดี(Good Practices/Best Practices) ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ในระบบออนไลน์ หลายลักษณะ เพื่อเพื่อนร่วมงานจะได้มีโอกาสนำไปประยุกต์ใช้

ในการกำกับติดตามงาน การรวบรวมข้อมูล-ความคิดเห็นต่าง ๆ  การใช้ระบบออนไลน์เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถือเป็นทางเลือกสำคัญในระบบจัดการความรู้(KM)(มีโครงการ ED11: โครงการจัดการความรู้)ที่ใช้ควบคู่กับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระบบห้องเรียนหรือห้องสัมมนาปกติ ซึ่งนอกจากจะทำให้เราสามารถรวบรวมแนวปฏิบัติที่ดีในหลายๆเรื่อง ยังเป็นการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมที่สำคัญถือเป็นลักษณะหนึ่งของการบริหารจัดการแบบธรรมาภิบาลของคณะ และถือเป็นการใช้ทรัพยากรที่คุ้มค่า มีประสิทธิภาพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

5.การกำกับ ติดตาม การดำเนินงานตามแผนการบริหารและแผนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน ให้มีประสิทธิภาพ มีบรรยากาศการทำงานที่เกื้อหนุนการใช้ศักยภาพของบุคลากร การสร้างความผูกพันต่อองค์การ และทำให้องค์การมีผลการดำเนินการเป็นไปตามเป้าหมาย หรือสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนด  คณะให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากร ที่มีการจัดทำโครงการพัฒนาบุคลากรอย่างชัดเจน (โครงการ ED13 โครงการพัฒนาสมรรถนะอาจารย์ด้านการบริหารจัดการงานตามพันธกิจ) กิจกรรมพัฒนาคณาจารย์เริ่มดำเนินการตั้งแต่แรกรับเข้าประจำหลักสูตร  การเสริมความรู้เรื่องการจัดการเรียนการสอนหรือการทำงานตามพันธกิจในวันประชุมต้นปี หรือ การอบรม-สัมมนาในเรื่อง การวัดผล-ประเมินผล หรือการวิจัยและสร้างนวัตกรรม ในระหว่างปี รวมถึง การนิเทศงานแบบร่วมคิด-ร่วมทำในขณะปฏิบัติงาน(On-the Job Training)ซึ่งได้ใช้ทั้งบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน

6.การวัด วิเคราะห์ผลลัพธ์ และการใช้ข้อมูลที่ได้จากการปฏิสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อค้นหาความต้องการใหม่ รวมถึงค้นหาโอกาสในการพัฒนา หลักสูตร การวิจัยและนวัตกรรม การบริการวิชาการ ศิลปะและวัฒนธรรมและความเป็นไทย เพื่อการทบทวนหรือปรับปรุงการดำเนินการให้เป็นไปตามกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษา สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและความต้องการของสังคม สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ตลอดจนนำผลที่ได้รับไปใช้ในการบริหารความเสี่ยงโดยรวมของคณะ เพื่อจัดการให้มีความเสี่ยงในการดำเนินการลดลง    คณะให้ความสำคัญกับการวัด วิเคราะห์ผลลัพธ์ จากการดำเนินงาน เช่น การรายงานความก้าวหน้า การสัมมนาประเมินผล หรือการสัมมนาเสนอแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งคณะจะรวบรวมและนำเสนอไว้ใน Line Group ของคณาจารย์เพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้ร่วมกัน หรือนำไปประยุกต์ใช้  รวมทั้งเมื่อทำงานไประยะหนึ่ง เช่น ครึ่งปีการศึกษา หรือ จบปี ก็จะมีการวิเคราะห์ ประเมินผลและจัดทำรายงานการดำเนินงาน ทั้งการายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปี และรายงานการดำเนินงานโครงการพิเศษ ที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจาก สป.อว.หรือองค์กรอื่น  

ในส่วนของผลการวิเคราะห์ความเสี่ยงสำคัญ ๆ เช่น การรับนักศึกษาไม่เป็นไปตามเป้าหมาย คณะได้นำผลไปวางแผนแก้ปัญหา จนปัจจุบันเกิดแนวทางใหม่ๆ ในระบบดูแลนักศึกษา เช่น Family System for Advising  อีกทั้งได้เน้นการสร้างเครือข่ายกับโรงเรียนมัธยมศึกษา อย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น  จะอย่างไรก็ตาม ยังไม่ประสบความสำเร็จในการจัดการความเสี่ยงเรื่องจำนวนนักศึกษาในระดับปริญญาตรี (ทั้ง 3 หลักสูตร ภาษาอังกฤษ มีแนวโน้มสูงขึ้น คณิตศาสตร์ มีแนวโน้มสูงขึ้น วิทยาศาสตร์ทั่วไป จำนวนลดลง ในปี 2565 ) และการกำกับคุณภาพให้ผู้เรียนสำเร็จการศึกษาในเวลาปกติ ของหลักสูตรมากขึ้น

ในส่วนของการผลิตบัณฑิต จะมีการติดตามเพื่อตรวจสอบสมรรถนะบัณฑิตจากผู้ใช้บัณฑิต ทุกรุ่น เมื่อทำงานแล้ว 1 ปี เพื่อนำข้อมูลมาใช้ประกอบการพัฒนาหลักสูตร รวมถึงการประเมินสมรรถนะผู้เรียนกลุ่มที่เข้ารับการฝึกปฏิบัติการทางวิชาชีพ ก็จะถูกประเมิน เช่นกัน   ผลการประเมิน ทุกรายการ จะถูกนำไปประมวลผลเพื่อการวิเคราะห์สภาพปัจจุบันของงานตามพันธกิจ(Taking Stock) และเตรียมการสำหรับการจัดทำแผนปรับปรุง-พัฒนางานในระยะต่อไป(Improvement Plan) หรือเตรียมการสำหรับจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี  ในส่วนของแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนการสอน การวิจัยและผลิตงานสร้างสรรค์  การบริการทางวิชาการ หรือการทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม และความเป็นไทย จะเก็บเป็นบทเรียน นำไปใช้ในปีถัดไป  

2. Organizational Governance (Performance Evaluation). How does the faculty evaluate the performance of the dean and the governance board?

การประเมินการปฏิบัติงานของคณบดีและทีมบริหาร คณะได้ดำเนินการประเมินดดยใช้กรอบการบริหารจัดการแบบธีรรมภืบาล 6 ประการ มาเป็นกรอบในการประเมิน คือ 1) การใช้หลักนิติธรรม  คือ ยึดการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการที่เป็นข้อตกลกร่วมกัน ตามระเบียบของสถาบันและตามกฎหมาย 2) หลักคุณธรรม ยึดหลักการปฏิบัติงานที่ซื้อสัตย์ ไม่มีปัญหาคอรัปชั่น ยึดมั่นในความถูกต้องหรือความดีงาม  3) หลักความโปร่งใส ที่สามารถตรวจสอบได้ รับรู้หลักเกณฑ์ แนวปฏิบัติ ปัญหา หรือผลงานร่วมกัน 4)  หลักความมีส่วนร่วม บุคลากรมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของกระบวนการบริหารจัดการ  5) หลักคามรับผดิชอบต่อความ คือ ความมุ่งมั่น ทุมเทในการปฏิบัติงาน รับผิดชอบงานจนแล้วเสร็จ หรือร่วมแก้ปัญหาในงาน และ 6) หลักความคุ้มค่า การตระหนักถึงข้อจำกัดของทรัพยากรแล้วใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า

   การประเมินตามเกรฑ์สำคัยดังกล่าวข้างต้น ดำเนินการผ่านการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบออนไลน์ ปีละ 1 ครั้ง  ผลการประเมิน ปรากฏคะแนนเฉลี่ยในปี 2565 เท่ากับ 4.27

3. Legal and Ethical behavior (Legal, Regulatory, and Accreditation Compliance). How does the dean address current and anticipate future legal, regulatory, and community concerns with your educational programs, research, academic services, and operations?

คณบดีได้พิจารณาในเรื่องสภาพปัจจุบันของการปฏิบัติตนของเยาวชน พฤติกรรมจริยธรรมของคน และบริบทของสังคมที่สำคัญ ๆ  ที่เราจะต้องวางแผน เตรียมการ และเตรียมตัว ดังตัวอย่างแนวคิด ต่อไปนี้

  1. ค่านิยมทางสังคมของคนไทยจะเปลี่ยนไป เยาวชนจะเน้นการเรียนรู้ในสาขาวิชาที่คลาดแคลนและเรียนเพื่อการมีงานทำมากขึ้น ไม่ใช่เรียนเพื่อปริญญาอีกต่อไป ในการนี้ เราต้องคิดหลักสูตรระยะสั้น หรือจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะเฉพาะทางมากขึ้น ทั้งนี้ ควรพัฒนาแบบเชื่อมโยงกับระบบธนาคารหน่วยกิต ของกระทรวงการอุดมศึกษาฯ
  2. ในการจัดทำหลักสูตรในอนาคต จะต้องเน้นสาขาที่คลาดแคลนและเป็นที่ต้องการจริง ๆ เช่น สาขาปฐมวัย  สาขาการสอนภาษาไทย   หรือสาขาประถมศึกษา  โดยจะต้องเน้นการเป็นครูที่มีสมรรถนะภาษาอังกฤษ สามารถสอนเป็นภาษาอังกฤษได้ ซึ่งจะเป็นทางเลือกให้นักศึกษาสามารถขอในอนุญาตประกอบวิชาชีพพิเศษที่คุรุสภากำลังจะดำเนินการ คือ “ใบประกอบวิชาชีพครูในวิชาเอกใด ๆ ที่สามารถสอนเป็นภาษาอักฤษได้คล่อง”
  3. ภายใต้สถานการณ์ที่นักศึกษาปริญญาตรีลดลงทั่วไปประเทศ คณะควรขยายการรับนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษามากขึ้น และเน้นการเรียนในระบบเก็บสะสมหน่วยกิต ที่อาจใช้การประเมินความรู้และสมรรถนะในการเก็บสะสมหน่วยกิต แล้วค่อยทำวิทยานิพนธ์  พร้อมผลักดันให้สำเร็จการศึกษาในระยะเวลาปกติตามหลักสูตร เพื่อจูงใจผู้ที่จะเข้าเรียน สามารถมองภาพความสำเร็จได้ในเวลาอันใกล้ได้อย่างชัดเจน
  4. ควรพัฒนาระบบการเรียนรู้แบบ Project-Based Learning เช่น ควรออกแบบการจัดประสบการณ์ว่า “ในการเรียนวิชาพื้นฐาน 24 หน่วยกิต ในชั้นปีที่ 1  จะมอบให้นักศึกษาทำโครงงานจำนวนกี่โครงงาน แล้วจัดสัมมนาเสริมความรู้เป็นระยะ ๆ” ที่ไม่จำเป็นต้องมีตารางสอนรายสัปดาห์และเน้นการบรรยายของผู้สอน(lecture-Based Learning) แบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ที่เรียนจบรายวิชาแล้ว ลืมหมด ไม่ได้เกิดทักษะหลงเหลืออยู่ในตัวผู้เรียน  วิธีการนี้ จะเป็นการประหยัดทรัพยากรในการเรียน โดยที่ยังคงสามารถส่งเสริมให้นักศึกษาเกิดความรู้และประสบการณ์ หรือเกิดทักษะได้เป็นอย่างดี
  5. ด้านการบริการทางวิชาการ ควรบริการทางวิชาการแก่ชุมชน ท้องถิ่นที่เป็นที่ตั้งของสถาบันเป็นพิเศษ  เน้นการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิชาการของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งอาจของบประมาณสนับสนุนการพัฒนาสังคมจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้กิจกรรมบริการทางวิชาการทุกประเภทจะต้องบูรณาการกับการจัดการเรียบนรู้ คือเปิดโอกาสให้นักศึกษาหรือองค์กรนักศึกษา(สโมสรนักศึกษา)มีบทบาทร่วมในโครงการบริการทางวิชาการต่าง ๆ เป็นการเรียนรู้ประสบการณ์ในสถานการณ์ชีวิตจริงไปในตัว ไม่ใช่เรียนในโลกเสมือน(Virtual World) เพียงอย่างเดียว
  6.  ควรเน้นการสร้างเครือข่ายกับโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพและโรงเรียนในเครือข่ายของวิทยาลัย(MOU-Schools) เพื่อร่วมกันสร้างองค์ความรู้ และเป็นเครือข่ายในการพัฒนาอย่างจริงจัง ซึ่งรวมถึงการเปิดโอกาสให้โรงเรียนเครือข่าย สามารถส่งตัวป้อนคือผู้เรียน เข้าสู่หลักสูตรในระดับปริญญาตรี โท หรือ เอก ในอนาคต ภายใต้เงื่อนไขการลดค่าเล่าเรียน เป็นกรณีพิเศษ
  7. ประสานงานกับองค์กรที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาและจัดระบบการเรียนออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการเรียนในห้องเรียนปกติ ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายทั้งฝั่งผู้เรียนและฝ่ายสถาบันการศึกษา  ในการนี้ สถาบันจะต้องลงทุนในการพัฒนาระบบสื่อสารออนไลน์ให้เพียงพอและมีประสิทธิภาพ
  8. การจัดการเรียนในหลักสูตรทุกประเภทในอนาคต ต้องเน้นการเรียนบูรณาการกับการทำงานปกติ หรือการปฏิบัติ ในลักษณะ Work-Integrated Learning และปรับแก้เงื่อนไข ระเบียบที่ยังเน้นระบบชั้นเรียนหรือเน้นการบรรยายเป็นหลัก อย่างเช่นปัจจุบัน
  9. คณะจะต้องเน้นบริการทางวิชาการกับกลุ่มชุมชนทางวิชาชีพ(วิชาชีพครู)ในเขตภาคตะวันออก อย่างเจาะลึกและจริงจังมากขึ้น
  10. ขยายบริการด้านการวิจัยเชิงวิเคราะห์(Analytical Research) และการวิจัยและพัฒนา(R & D) ร่วมกับเครือข่ายทางการศึกษาในภาคตะวันออกมากขึ้น

4. Legal and Ethical behavior (Ethical Behavior). How does the dean promote and ensure ethical behavior in all interactions?

  1. ปรับปรุงอัตลักษณ์ในตัวนักศึกษาและว่าที่บัณฑิต จากเดิมที่เน้น “มีวินัย มีน้ำใจ และรับผิดชอบ” ซึ่งปรากฏในแผนยุทธศาสตร์ 2561-2563   ต่อมาในแผนกลยุทธ์ ปี 2565-2567 ได้เน้น “มีทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร มีวินัย มีน้ำใจ รับผิดชอบ และปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพ”
  2. ในการออกแบบหลักสูตรฉบับปรับปรุงและหลักสูตรใหม่ตั้งแต่ ปี 2565 ทุกหลักสูตร เน้นมาตรฐานผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านจริยธรรม และลักษณะบุคคลที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
  3. มีแผนงานโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรนักศึกษาในแผนปฏิบัติการประจำปี รวมถึงโครงการร่วมพัฒนาร่วมกับโรงเรียนเครือข่าย  การส่งเสริมกิจกรรมค่ายคุณธรรม
  4. เน้นให้นักศึกษาจัดทำ E-Portfolio ที่บันทึกรายการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพ แล้วสั่งสมไว้ใน E-Portfolio
  5. ร่วมกับคุรุสภาในการจัดทำโครงการ Ethics -PLC หรือ e-PLC ตั้งแต่ปี 2562-2565 เพื่อเสริมทักษะการสอนที่มุ่งปลูกฝังคุณธรรม สำหรับนักศึกษาครูทั้งในหลักสูตรระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา ซึ่งเชื่อว่ากิจกรรมนี้ จะเป็นการพัฒนาคุณธรรม จรยธรรมสำหรับนักศึกษาไปในตัวด้วย
  6. ได้วางแผน เตรียมการพัฒนาระบบประเมินและรับสรองสมรรถนะนักศึกษาก่อนจบเป็นบัณฑิต  การรับรองจะครอบคลุมสมรรถนะด้านคุณธรรมและจริยธรรมด้วย
  7. สำหรับคณาจารย์ของคณะ ได้กำหนดสมรรถนะสำคัญด้านคุณธรรม จริยธรรมด้วย คือ “มีวินัย มีน้ำใจ และรับผิดชอบ” ทั้งเพื่อการดำเนินชีวิตของอาจารย์และการทำตนเป็นแบบอย่างแก่นักศึกษา
  8. คณบดี เป็นกรรมการมาตรฐานวิชาชีพครูของประเทศไทยชุดที่ 4 (2565-2569) ได้เน้นเรื่องคุณธรรม จริยธรรมและการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพสำหรับวิชาชีพครูอย่างต่อเนื่อง และอยู่ระหว่างการวิจัยและพัฒนาในด้านนี้ร่วมกับเขตพื้นที่การศึกษาและคุรุสภา

5. Societal Contributions (Societal Well-Being). How does the dean consider societal well-being and benefit as part of the strategy and daily operations?

คณะศึกษาศาสตร์ ได้พิจารณาและให้ความสำคัญในเรื่องความผาสุขสังคมและผลประโยชน์ของสังคม นำมาเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ในการพัฒนาภายใต้ภารกิจบริการทางวิชาการ ที่มีจุดเน้นหรือการดำเนินงาน ดังนี้

  1. ในปี 2562-63 ได้เข้าร่วมโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและท้องถิ่นโดยมีสถาบันอุดมศึกษาเป็นพี่เลี้ยง(๊U-School Mentoring) ร่วมกับเครือข่ายอุดมศึกษาภาคตะวันออกที่มีมหาวิทยาลัยบูรพาเป็นแม่ข่าย  ในปีแรก เน้นการพัฒนาทักษะและนิสัยรักการอ่านของนักเรียน ทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และ การเป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ ได้ทดลองนำร่องปีละ 3 โรงเรียนในจังหวัดนครนายก(ได้รับประมาณจาก สป.อว. ปีละ 90,000 บาท รวม 2 ปี เท่ากับ 180,000 บาท)
  2. ปี 2564 ได้เข้าร่วมโครงการ U-Schools Mentoring  ที่เน้นการปลูกฝังค่านิยม เรื่อง การเป็นลูกที่ดีของพ่อแม่  การจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต(Education for Well-being)   การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญท้องถิ่น เพื่อรองรับการพัฒนาจังหวัดนครนายกเป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยว และการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร  ในปีนี้ ได้ขยายโครงการในโรงเรียนเป้าหมายเป็น 13 โรงเรียน โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก สป.อว.จำนวน 408,000 บาท
  3. ปี 2565  ได้จัดทำโครงการเดิม เน้นการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และจัดทำฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่น(งปม. 180,000 บาท)
  4. ปี 2566 โครงการเดิม  เน้น SDG(Sustainable Development Goal-SDG ของ UN)  และพัฒนาแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นแบบต่อยอดและแปลเป็นภาษาอังกฤษ

…ตามนัยข้างต้นนี้ แสดงถึงการตระหนักในเรื่องคุณภาพชีวิตและการเป็นอยู่ที่ดีและประโยชน์ที่ชุมชนจะได้รับ ในการดำเนินการบริการทางวิชาการของคณะศึกษาศาสตร์ มาอย่างต่อเนื่อง

6. Societal Contributions (Community Support). How does the dean actively support and strengthen the faculty’s key communities?

เขตพื้นที่บริการสำคัญของวิทยาลัย ที่ถือเป็นเขตพพื้นที่บริการชั้นใน คือ จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี และสระแก้ว ซึ่งในปัจจุบันคณะศึกษาศาสตร์ได้เป็นแกนนำในการพัฒนาท้องถิ่นและวิชาชีพครูในท้องถิ่น ผ่านโครงการที่สำคัญ 4 โครงการ คือ 

  • โครงการ U-School Mentoring  ตั้งแต่ปี 2562-ปัจจุบัน
  • โครงการนิเทศและพัฒนาครู ในโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถื่น(THE DEVELOPMENT OF TEACHERฆ FOR LOCAL DEVELOPME์T) ตั้งแต่ปี 2560-ปัจจุบัน
  • โครงการโรงเรียนเครือข่ายเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา(STIC-SCHOOL NETWORK) เริ่มปีการศึกษา 2564-ปัจจุบัน  ในปัจจุบัน ถือว่า โรงเรียนเครือข่ายเพื่อการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ  โรงเรียนที่เข้าร่วม MOU  เป็นโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายภายใต้โครงการนี้
  • โครงการพัฒนาระบบบริหารงานบุคคล ของสพม.ปราจีนบุรี นครนายก(ดำเนินการในบทบาทของ ประธาน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ได้รับมอบหมายจาก ก.ค.ศ.ให้ปฏิบัติหน้าที่นี้)

7. The faculty has monitored governance for staff to work efficiently and effectively.

คณะได้จัดทำข้อตกลงกับโปรแกรมวิชาทุกวิชา กำหนดสมรรถนะของคณาจารย์ประจำโปรแกรมวิชา และกำหนดกระบวนการในการกำกับคุณภาพโปรแกรมวิชา ดังนี้

1 ใช้ระบบบริหารจัดการคุณภาพทั่วไป ดังที่ได้ระบุในรายการพฤติกรรมบ่งชี้ที่ 1 ที่กล่าวถึงการใช้กระบวนการพัฒนาแบบเสริมพลังอำนาจ 6 ขั้นตอน ที่มีปฏิทินการกำกับคุณภาพหลักสูตร อย่างชัดเจน เป็นกลไกในการกำกับคุณภาพการปฏิบัติงาน

2. ในระดับโปรแกรมวิชา มีการกำหนดข้อตกลงและปราชาพิจารณ์ให้เห็นตรงกันในกลุ่มอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร เกี่ยวกับกระบวนการบริหารหลักสูตรที่ควรจะเป็น และถือเป็นกระบวนการบริหารจัดการในระดับโปรแกรมวิชา

3. กำหนดสมรรถนะอาจารย์ประจำหลักสูตร และประชาพิจารณ์ให้เห็นตรงกัน ดังที่โพสต์ไว้ในเว็ปเพจของโปรแกรมวิชา ทุกโปรแกรม เพื่อเป็นกรอบสมรรถนะ ให้คณาจารย์ทุกคนพัฒนาตนเอง และคณะจัดกิจกรรมกลางเพื่อเสริมสมรรถนะ เป็นระยะ ๆ

8. The faculty has an evaluation for continuous development.

  1. คณะได้ทำการวิจัยตรวจสอบประสิทธิผลในการจัดการเรียนการสอนในระดับรายวิชาและหลักสูตร ในระดับรายวิชา ใช้วิธีการให้นักศึกษาประเมินการสอนของอาจารย์  ส่วนในในระดับหลักสูตร คือ การประเมินคุณภาพภายในปีละ 1 ครั้ง 
  2. คณะได้ทำการวิจัยประเมินผลโครงการบริการทางวิชาการ นำเสนอผลการประเมินต่อผู้สนับสนุนงบประมาณ และผู้เกี่ยวข้องเป็นระยะ ๆ
  3. คณะได้ติดตามความสำเร็จของบัณฑิตในการสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ซึ่งพบว่า ในรอบแรก(ปี2564) สอบผ่านประมาณ ประมาณ 16 %(ค่าเฉลี่ยประเทศ 11 %) รุ่นที่ 2(ปี 2565) สอบผ่านประมาณ 38 % ในขณะที่ค่าเฉลี่ยระดับประเทศ ผ่านประมาณ 18 % ซึ่งถือว่า อัตราสอบผ่านของนักศึกษาอยู่ในเกณฑ์สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ อย่างมีนัยสำคัญ
  4. คณะได้ประเมินกระบวนการบริหารจัดการคณะ/การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลนับตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นมา

   ผลการประเมินจาก 1-4 ได้ถูกนำไปใช้ในการปรับปรุงพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง โดยใช้ผลการประเมินปีล่าสุดเป็นฐานในการพัฒนา ที่ได้บรรยายไว้ในส่วนต้นของเว็บต์ไซต์ QA ทั้งระดับคณะและระดับหลักสูตร เพื่อใช้เป็นฐานในการเทียบเคียงคุณภาพ( Benchmarking) สำหรับปีการศึกษาต่อไป  ทั้งนี้ผลการประเมินในทุกกรณีจะถูกนำไปใช้ประกอบการพิจารณาปรับเปลี่ยนกิจกรรมของโครงการในแผนปฏิบัติการ ปรับเปลี่ยนโครงการบริการทางวิชาการ หรือปรับเปลี่ยนกระบวนการเสริมสมรรถนะนักศึกษา เพื่อสามารถตรวจสอบได้ว่าก่อนให้เกิดผลสำเร็จสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องหรือไม่(ในกรณีของการปรับเปลี่ยนมาตรฐานและตัวชี้วัด อาจทำให้การพิจารณาเปรียบเทียบกับปีก่อน ไม่สามารถทำได้อย่างเป็นรูปธรรม)

Self-Assessment

Goal

Performance Qualitative indicators (indicated items)

Self assessment

. 5 item …..

IQA (1-8)

1-8

         …..8…… items

……5…. marks

EdPEx

(1-6)

1-6

Percentage ระดับ 4

….. 4… marks

Evidence

Evidence
No.
List of evidence
1.2.1.1Empowerment Approach
1.2.2.1แบบประเมิน(ไทย), แบบประเมิน(ENG), ผลประเมิน
1.2.3.1WIL CONCEPT : CURR. Focused WIL
1.2.4.1หลักสูตรเน้น PLOด้านจริยธรรม,, e-PLC Project
1.2.5.1Project: U-Schools Mentoring
1.2.6.1U-School พัฒนานครนายก,, ค.ครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
1.2.7.1ตัวอย่างการกำกับหลักสูตร,, ปฏิทินกำกับหลักสูตร
1.2.8.1ตัวอย่างรายงานประเมิน ,, นำเสนอผลการวิจัยเชิงประเมิน

Self-Assessment Factor 1

Self-Assessment IQAEdPEx
Indicator 1.1……5……4…
Indicator 1.2……5….…4…
Overall Average Score(IQA)/
Overall Score (EdPEx)
…5….…4…