Component 4: Indicator 4.1 Measurement, Analysis (Measurement, Analysis, and Improvement)

Component 4 Knowledge Management

Indicator 4.1 Measurement, Analysis (Measurement, Analysis, and Improvement)

MHESI IQA (Items 1-8) assessment is indicated in the table below

1 mark2 marks3 marks 4 marks 5 marks
1 item2 items 3-4 items 5-6 items 7-8 items

According to EdPEx standard, the total score to assess items 1-6 is 40 marks, the factors used to evaluate the process are ADLI.

Performance

1. Performance Measurement (Performance Measures). How does the dean track data and information on daily operations and overall organizational performance?

  1. การสุ่ม เยี่ยมห้องเรียนออนไลน์ ในระบบ Google Classroom
  2. สังเกตปฏิสัมพันธ์ระหว่างคณาจารย์ใน line group เพื่อการแจ้งข่าวสาร  แจ้งข้อมูล และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือรายงานการไปร่วมปฏิบัติกิจกรรม
  3. บันทึกแฟ้มข้อมูล โฟลเดอร์  “งานวันนี้ที่ระบุวันที่” เป็นรายการสารสนเทศที่เสนอเสนอเพื่อพิจารณา กลั่นกรอง รับทราบ หรืออนุมัติ
  4. การตรวจสอบ อนุมัติการลา ของบุคลากร
  5. การตรวจสอบกิจกรรมตามปฏิทินงาน(ซักถาม ติดตามความพร้อม และ ผลการดำเนินงาน)

2. Performance Measurement (Comparative Data). How does the dean select comparative data and information to support fact-based decision making?

การวัดประสิทธิภาพของ(ข้อมูลเปรียบเทียบ) เลือกข้อมูลเปรียบเทียบเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจอย่างไร?

  1. ยึดเกณฑ์ ความถูกต้อง ครบถ้วนสมบูรณ์ และสร้างสรรค์ของชิ้นงาน/ผลงาน เปรียบเทียบระหว่างโปรแกรมวิชา( 3 โปรแกรมระดับปริญญาตรี  5 โปรแกรมระดับบัณฑิคศึกษา)
  2. พิจารณาความครบถ้วนสมบูรณ์ของ ห้องเรียนออนไลน์ ที่ถือเป็นสื่อเสริมสำคัญในยุคปัจจุบัน  เป็น Active Classroom หรือไม่ เพียงใด
  3. พิจารณาพัฒนาการของงาน(ริเริ่ม สร้างสรรค์) เมื่อเทียบกับปีก่อน
  4. ทบทวนแนวปฏิบัติบัติในอดีตที่ผ่านมา/ขอดูข้อมูล/ต้นเรื่อง ที่เคยปฏิบัติ ก่อนตัดสินทบทวน/ปรับปรุงให้ดียิ่งขึ

3. Performance Measurement (Measurement Agility). How do you ensure that your performance measurement system can respond to rapid or unexpected organizational or external changes and provide timely data?

การวัดประสิทธิภาพ (Measurement Agility): จะมั่นใจได้อย่างไรว่าระบบการวัด-ประเมินผลการปฏิบัติงาน สามารถตอบสนองการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วหรือไม่คาดคิดขององค์กรหรือปัจจัยภายนอก และสามารถให้ข้อมูลได้ทันท่วงที

  1. การติดตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพขององค์กรหน่วยเหนือ(HEC) และสภาวิชาชีพ(คุรุสภา)
  2. นำเงื่อนไข แนวทางหรือวิธีการวัด ประเมินของหน่วยเหนือ มาใช้ในการออกแบบวิธีการวัดและประเมิน(PLOs) ของบุคลากรในสังกัด เช่น การทดสอบของคุรุสภาในอนาคต เพื่อรับใบอนุญาประกอบวิชาชีพ จะเน้นการใช้ข้อสอบเชิงสถานการณ์  ดังนั้น ในการประเมินสมรรถนะด้านการสอนและการประเมินผลของคณาจารย์ จะต้องพิจารณาในเรื่องการทดสอบโดยใช้เครืองมือในลักษณะเดียวกัน
  3. การยึดหลักในการวัด-ประเมินที่สำคัญ คือ Authentic Assessment  มาเป็นเงื่อนไขในการวัดและประเมิน เช่น การใช้ วิธีการ Portfolio Assessment ในการประเมินสมรรถนะนักศึกษาและอาจารย์ ในอนาคต  น่าจะเป็นหลักการที่ถูกต้องและแม่นตรงตลอดไป

4. Performance Analysis and Review. How does the faculty review your organization’s performance and capabilities?

วิเคราะห์และทบทวนประสิทธิภาพและความสามารถขององค์กรของคุณอย่างไร?

พิจารณาจากตัวชี้วัดสำคัญ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

  1. พิจารณาคะแนนผลการประเมินภายใน เทียบระหว่างปีการศึกษา 2-3 ปี โดยเฉพาะในระดับหลักสูตรหรือโปรแกรมวิชา(กรณีใช้ตัวชี้วัดเดิม)
  2. การตรวจสอบตัวชี้วัดสำคัญ เช่น อัตราการสอบผ่านเพื่อรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู   อัตราการสำเร็จการศึกษาในเวลาปกติ  อัตราการมีงานทำในเวลาไม่เกิน 6 เดือน   คะแนนผลการจัดอันอับขององค์กรระดับนานาชาติ

5. Performance Improvement (Future Performance). How does the faculty project your organization’s future performance?

ในอนาคต คาดการณ์ว่าจะต้องเน้นการดำเนินการในเรื่องต่อไปนี้

  1. การพัฒนาหลักสูตรระยะสั้น หรือจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะเฉพาะทางมากขึ้น ทั้งนี้ ควรพัฒนาแบบเชื่อมโยงกับระบบธนาคารหน่วยกิต ของกระทรวงการอุดมศึกษาฯ
  2. เน้นการพัฒนาหลักสูตรในสาขาที่ขาดแคลนและเป็นที่ต้องการจริง ๆ เช่น สาขาปฐมวัย  สาขาการสอนภาษาไทย   หรือสาขาประถมศึกษา  โดยจะต้องเน้นการเป็นครูที่มีสมรรถนะภาษาอังกฤษ สามารถสอนเป็นภาษาอังกฤษได้ ซึ่งจะเป็นทางเลือกให้นักศึกษาสามารถขอในอนุญาตประกอบวิชาชีพพิเศษที่คุรุสภากำลังจะดำเนินการ คือ “ใบประกอบวิชาชีพครูในวิชาเอกใด ๆ ที่สามารถสอนเป็นภาษาอักฤษได้คล่อง”
  3. ขยายการรับนักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษามากขึ้น และเน้นการเรียนในระบบเก็บสะสมหน่วยกิต ที่อาจใช้การประเมินความรู้และสมรรถนะในการเก็บสะสมหน่วยกิต แล้วค่อยทำวิทยานิพนธ์  พร้อมผลักดันให้สำเร็จการศึกษาในระยะเวลาปกติตามหลักสูตร เพื่อจูงใจผู้ที่จะเข้าเรียน สามารถมองภาพความสำเร็จได้ในเวลาอันใกล้ได้อย่างชัดเจน
  4. พัฒนาระบบการเรียนรู้แบบ Project-Based Learning เช่น ควรออกแบบการจัดประสบการณ์ว่า “ในการเรียนวิชาพื้นฐาน 24 หน่วยกิต ในชั้นปีที่ 1  จะมอบให้นักศึกษาทำโครงงานจำนวนกี่โครงงาน แล้วจัดสัมมนาเสริมความรู้เป็นระยะ ๆ” ที่ไม่จำเป็นต้องมีตารางสอนรายสัปดาห์และเน้นการบรรยายของผู้สอน(lecture-Based Learning) แบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน 
  5. ด้านการบริการทางวิชาการ ควรบริการทางวิชาการแก่ชุมชน ท้องถิ่นที่เป็นที่ตั้งของสถาบันเป็นพิเศษ  เน้นการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิชาการของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาชุมชน ท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งอาจของบประมาณสนับสนุนการพัฒนาสังคมจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้กิจกรรมบริการทางวิชาการทุกประเภทจะต้องบูรณาการกับการจัดการเรียบนรู้ 
  6.  เน้นการสร้างเครือข่ายกับโรงเรียนร่วมพัฒนาวิชาชีพและโรงเรียนในเครือข่ายของวิทยาลัย(MOU-Schools) เพื่อร่วมกันสร้างองค์ความรู้ และเป็นเครือข่ายในการพัฒนาอย่างจริงจัง ซึ่งรวมถึงการเปิดโอกาสให้โรงเรียนเครือข่าย สามารถส่งตัวป้อนคือผู้เรียน เข้าสู่หลักสูตรในระดับปริญญาตรี โท หรือ เอก ในอนาคต ภายใต้เงื่อนไขการลดค่าเล่าเรียน เป็นกรณีพิเศษ
  7. จัดระบบการเรียนออนไลน์ที่มีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการเรียนในห้องเรียนปกติ ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายทั้งฝั่งผู้เรียนและฝ่ายสถาบันการศึกษา
  8. เน้นการเรียนบูรณาการกับการทำงานปกติ หรือการปฏิบัติ ในลักษณะ Work-Integrated Learning และปรับแก้เงื่อนไข ระเบียบที่ยังเน้นระบบชั้นเรียนหรือเน้นการบรรยายเป็นหลัก อย่างเช่นปัจจุบัน
  9. เน้นบริการทางวิชาการกับกลุ่มชุมชนทางวิชาชีพ(วิชาชีพครู)ในเขตภาคตะวันออก อย่างเจาะลึกและจริงจังมากขึ้น
  10. ขยายบริการด้านการวิจัยเชิงวิเคราะห์(Analytical Research) และการวิจัยและพัฒนา(R & D) ร่วมกับเครือข่ายทางการศึกษาในภาคตะวันออกมากขึ้น

6. Performance Improvement (Continuous Improvement and Innovation). How does the faculty use findings from performance reviews to develop priorities for continuous improvement and opportunities for innovation?

การใช้ข้อค้นพบจากการทบทวนการปฏิบัติงานที่ผ่านมา เพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและเพิ่มโอกาสในการสร้างนวัตกรรม;

  1. สภาพที่ผ่านมา การเรียนการสอน ยังเน้นการบรรยาย (lecture-based) ทั้งในระดับปริญญาตรีและโท ซึ่งในอนาคตต้องเปลี่ยนเป็น การปฏิบัติ ในลักษณะ Work-Integrated Learning มากขึ้น ซึ่งจากการทดลองนำร่องในปี 2565 ที่ผ่านมา เห็นว่าเราควรพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และปรับช่องทางเสริม คือ การเรียนในระบบออนไลน์ ให้เป็นช่องทางหลักที่เป็นทางเลือกที่ต้องทำอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดค่าใช้จ่าย
  2. เน้นการให้นักศึกษาทำโครงงาน หรือเรียนในระบบ Project-based learning  แล้วส่งสมผลงานไว้ใน E-Portfolio ซึ่งจะเป็นทางเลือกในการสร้างครูนวัตกร แล้วมีการแสดงความก้าวหน้า และผลงาสร้างสรรค์ อย่างต่อเนื่อง อย่างน้อยภาคเรียนละครั้ง
  3. การพัฒนาโครงงานบริการทางวิชาการ ที่เน้นเขตบริการท้องถิ่น และภูมิภาคให้เป็นรูปธรรม ที่ควรครองตลาดบริการมากกว่า 10 % ของงบพัฒนาบุคลากรของภูมิภาค
  4. การพัฒนาโครงงานงวิจัยร่วมกับสถานศึกษาเคือข่าย และชุมชนในเขตพื้นที่บริการ ที่เน้นทำการวิจัยประยุกต์ เพื่อการเป็นสถาบันอุดมศึกษาต้นแบบในการพัฒนาท้องถิ่นที่บูรณาการไปกับการจัดการเรียนรู้

7. Collecting, analyzing, and managing information obtained from student and graduate satisfaction.

มีการให้นักศึกษา และผูํู้สำเร็จการศึกษาประเมินหรือให้ข้อมูลป้อนกลับ  นำข้อมูลมาประมวลผลในภาพรวม แต่ยังไม่มีการวิเคราะ์เชิงลึก และนำสู่การปรับปรุงพัฒนาอย่างเป็นระบบ ยกเว้น กรณี การเชิญศิษย์เก่ามาร่วมวิพากษ์หลักสูตร และร่วมกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง ครั้งล่าสุด(ปรับปรุงหลักสูตร ป.ตรี พ.ศ. 2567) ที่ศิษย์เก่าเสนอแนะว่า น่าจะให้ความสำคัญการมีสุนทรียภาพด้านดนตรี กีฬา หรือศิลปะ เพื่อลดความเครียดในชีวิต เพราะในปัจจุบัน เยาวชนเครียดมากขึ้น และมีคนฆ่าตัวตายมากขึ้น  ในการนี้ ได้นำสู่การกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังแล้ว

8. Collecting, analyzing, and managing information obtained from graduate users.

ได้มีการตรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสมรรถนะบัณฑิต และความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต การเก็บรวบรวมข้อมูลล่าสุด 3 สาขาวิชา  คือ

  1. สาขาวิชาภาษาอังกฤษ

สรุปผลแบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตต่อคุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐาน คุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ของวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา คณะศึกษาศาสตร์ หลักสูตรศึกษาบัณฑิต สาขาภาษาอังกฤษ ปีการศึกษา 2565 ได้รับความอนุเคราะห์จากผู้ประกอบการโดย ดำเนินการจัดส่งแบบประเมินเพื่อวัดระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ได้จัดส่งจดหมายให้ผู้ประกอบการจำนวน 31 ชุด และได้แบบสอบถามที่กลับคืนจำนวน 12 ชุด คิดเป็นร้อยละ 38.71 
     ผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยรวม พบว่า ผู้ใช้บัณฑิตมีความพึงพอใจต่อสมรรถนะบัณฑิต 
ปรากฎคะแนนผลการประเมินเฉลี่ย เท่ากับ 4.32 จากระบบคะแนนเต็ม 5.00  ผลการประเมินจะนำสู่การทบทวน ว่งแผนของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ในโอกาสต่อไป

      2. สาขาวิชาคณิตศาสตร์
สรุปผลแบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตต่อคุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐาน คุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ของวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา คณะศึกษาศาสตร์ หลักสูตรศึกษาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ ปีการศึกษา 2565 ได้รับความอนุเคราะห์จากผู้ประกอบการโดย ดำเนินการจัดส่งแบบประเมินเพื่อวัดระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ได้จัดส่งจดหมายให้ผู้ประกอบการจำนวน 8 ชุด และได้แบบสอบถามที่กลับคืนจำนวน 6 ชุด คิดเป็นร้อยละ 75
     ผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยรวม พบว่า ผู้ใช้บัณฑิตมีความพึงพอใจต่อสมรรถนะบัณฑิต 
ปรากฎคะแนนผลการประเมินเฉลี่ย เท่ากับ 4.30 จากระบบคะแนนเต็ม 5.00  ผลการประเมินจะนำสู่การทบทวน วางแผนของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ในโอกาสต่อไป

     3. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์
สรุปผลแบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตต่อคุณภาพบัณฑิตตามกรอบมาตรฐาน คุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ของวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา คณะศึกษาศาสตร์ หลักสูตรศึกษาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ ปีการศึกษา 2565 ได้รับความอนุเคราะห์จากผู้ประกอบการโดย ดำเนินการจัดส่งแบบประเมินเพื่อวัดระดับความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิตที่มีต่อการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ได้จัดส่งจดหมายให้ผู้ประกอบการจำนวน 3 ชุด และได้แบบสอบถามที่กลับคืนจำนวน 3 ชุด คิดเป็นร้อยละ 100
     ผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยรวม พบว่า ผู้ใช้บัณฑิตมีความพึงพอใจต่อสมรรถนะบัณฑิต 
ปรากฎคะแนนผลการประเมินเฉลี่ย เท่ากับ 3.45 จากระบบคะแนนเต็ม 5.00  ผลการประเมินจะนำสู่การทบทวน ว่งแผนของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร ในโอกาสต่อไป

Self-Assessment

Goal

Performance

Qualitative indicators

(indicated items)

Self-Assessment

….. 5 items …..

IQA (1-8)

1-8

     8 items

 5 marks

EdPEx (1-6)

1-8

   Percentage=Level 5

 4 marks

Evidence

Evidence No.List of evidences
4.1.1.1 Google Classroom
ภาพไลน์กลุ่ม Ed-Lecturer
4.1.2.1ตัวอย่าง Google Classroom ของอาจารย์
ตัวอย่างผลงานของอาจารย์ /ภาพการจัดกิจกรรม
4.1.3.1ตัวอย่าง มคอ.3
Google Classroom
E-portfolio
4.1.4.1ผลการประเมินคุณภาพภายในระดับคณะ 3 ปีย้อนหลัง (25ุ62-2564)
ผลการสอบผ่านใบประกอบวิชาชีพครู
การได้รางวัลของนักศึกษา
4.1.5.1คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรภาษาไทย ปฐมวัย
ภาพกิจกรรมร่วมมือกับโรงเรียนเครือข่าย
ภาพการประชุมร่วมกับโรงเรียน U-school
4.1.6.1โครงการของคณะศึกษาศาสตร์
ตัวอย่าง มคอ.3
ภาพกิจกรรม Project -ฺBase
E-portfolio
4.1.7.1คำสั่งกรรมการวิพากษ์หลักสูตร
4.1.8.1ความพึงพอใจผู้ใช้บัณฑิต 3 สาขาวิชา