Component 5: Indicator 5.2 Engagement (Workforce Engagement)

Component 5 Faculty Members and Staff

Indicator 5.2 Engagement (Workforce Engagement)

MHESI IQA (Items 1-9) assessment is indicated in the table below

1 mark2 marks3 marks 4 marks 5 marks
1 item2 items3-4 items5-6 items7-9 items

According to EdPEx standard, the total score to assess items 1-7 is 45 marks, the factors used to evaluate the process are ADLI.

Performance

1. Assessment of workforce engagement (Drivers of Engagement). How does the faculty determine the key drivers of workforce engagement?

กลไกการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคณาจารย์ หรือบุคลากร

  1. การมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์กร; มีส่วนร่วมในการวิพากษ์ ภาพความสำเร็จขององค์กร ในชั้นการประชาพิจารณ์วิสัยทัศน์ และแผนกลยุทธ์ขององค์กร
  2. มีส่วนร่วมในการเสนอกิจกรรมเพื่อการพัฒนางานตามพันธกิจ ตามกลยุทธ์การพัฒนางาน ก่อนที่จะจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการประจำปี  และร่วมวิพากษ์ความเหมาะสมและเป็นไปได้ของแผนปฏิบัติการประจำปี
  3. มีส่วนร่วมในการออกแบบโครงการวิจัย เพื่อสร้างองค์ความรู้ และร่วมในกิจกรรม KM ของคณะและของวิทยาลัย
  4. ร่วมรับผิดชอบงานตามโครงการสำคัญ ๆที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร หรือการบริหารจัดการทั่วไป
  5. ร่วมประชุม สัมนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และสัมมนาความก้าวหน้าของงานของคณะเป็นระยะ ๆ
  6. ร่วมประเมินผลการดำเนินงานโครงการต่างๆ ตามแผนปฏิบัติการประจำปี
  7. ร่วมรับผิดชอบในการประเมินผลการดำเนินงานจัดการศึกษาขตามหลักสูตร และร่วมเขียนรายงานการประเมิน(บางคน)
  8. ร่วมในการสัมมนา วิเคราะห์ผลการประกันคุณภาพภายใน และเสนอแนะกิจกรรมเพื่อการพัฒนาตามข้อเสนอแนะ หรือจัดทำ Improvement Plan

2. Assessment of workforce engagement (Assessment of engagement). How does the faculty assess workforce engagement?

การประเมินการมีส่วนร่วมของคณาจารย์/บุคลากร

  •  ควรนำกลไกการมีส่วนร่วมในข้อ 1 ให้ บุคลากรร่วมประเมินความพึงพอใจ และประโยชน์ที่เกิดจากมีส่วนร่วม(ที่ผ่านมา ยังไม่ได้ดำเนินการ)      

3. Organizational Culture. How does the faculty foster an organizational culture that is characterized by open communication, high Performance, and an engaged workforce?

การส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรที่โดดเด่น ด้วยระบบสื่อสารที่มีประสิทธิภาพสูง ที่เน้นการมีส่วนร่วมของคณาจารย์หรือบุคลากร

  1. “วัฒนธรรม การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้” ที่ให้ความสำคัญกับการสัมมนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างปี  และ การสัมมนาเสนอผลงานในช่วงสิ้นภาคการศึกษา หรือในรอบปี  รวมถึงการร่วมกิจกรรม KM ของคณะและสถาบัน
  2. “วัฒนธรรม การใช้ ICT เพื่อสนับสนุนการเรียนรู้”  ทั้งการส่งเสริมการพัฒนา E-Portfolio ในกลุ่มนักศึกษาและอาจารย์
  3. “การเป็นกัลยาณมิตร เมื่อมีบุคลากรเข้ามาใหม่”   ที่มีการดูแล ช่วยเหลือ แนะนำงาน หรือเปิดโอกาสให้ร่วมงานหรือร่วมกิจกรรมอย่างมีไมตรี
  4. การเปิดช่องทางในการสื่อสารระหว่างนักศึกษาและบุคลากรในคณะกับทีมบริหาร ที่มีช่องทางหลาหลาย ทั้งในระบบออนไลน์  หรือการประชุมปรึกษาหารือเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนางาน ถือเป็นช่องทางในการมีส่วนร่วมเพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนางานที่หลากหลาย มีประสิทธิภาพ

4. Performance Management and Development (Performance Management).  How does the faculty workforce performance management system support high performance?

ระบบการบริหารการปฏิบัติงานของคณาจารย์ เอื้อต่อการส่งเสริมคุณภาพการปฏิบัติงานของอาจารย์มากน้อยเพียงใด

  1. กำหนดเงื่อนไข เวลาในการปฏิบัติงาน และภาระงาน
  2. มีการกำกับ ติดตาม กลั่นกรองและนิเทศงาน
  3. จัดให้มีการสัมมนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคณาจารย์
  4. มีระบบในการส่งเสริมการวิจัย เพื่อสร้างองค์ความรู้และการเผยแพร่ผลงาน
  5. มีระบบแพลตฟอร์มที่เอื้อต่อการพัฒนางานในระบบดิจิทัล

ตามระบบข้างต้น คณาจารย์มีอิสระในการคิดสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในรายการที่ 4 และ 5  เอื้อให้อาจารย์ได้พัฒนางานวิจัย และพัมนาการจัดการเรียนรู้ที่เป็นช่องทางเสริม อย่างมีประสิทธิภาพ

5. Performance Management and Development (Performance Development). How does the learning and development system support the personal development of workforce members and organization’s needs?

ระบบการเรียนรู้และการพัฒนา เอื้อต่อการพัฒนาบุคลากรและและสนองความต้องการขององค์กร อย่างไร?

  1. บุคลากรทุกคน มีโอกาสในการเสนอโครงการวิจัยและพัฒนางาน หรือสร้างองค์ความรู้ในศาสตร์ ที่มีงบประมาณสนับสนุนอย่างทั่วถึง
  2. ระบบการประชุม สัมมนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันเป็นระยะ ๆ หรือ การเปิดให้มีห้อง KM-Online ของคณะ เปิดอกาสให้ทุกคนสามารถสังเคราะห์ หลักวิชา แนวคิด ทฤษฎี หรือแนวปฏิบัติใด ๆ เพื่อการพัฒงานตามพันธกิจ  แล้วมีดอกาสเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้อย่างต่อเนื่อง
  3. การส่งเสริมให้บุคลากรสร้างองค์ความรู้ในศาสตร์ เปิดช่องทางในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ รวมทั้งสนับสนุนการเผยแพร่ผลงานสูสาธารณะ ในรูปแบบต่าง ๆ ที่หลากหลาย เป็นการตอบสนองความต้องการของคณะ ในเรื่อง “การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ชั้นนำ” หรือความต้องการให้คณะศึกษาศาสตร์ เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ

6. Performance Management and Development (Learning and Development Effectiveness). How does the faculty evaluate the effectiveness and efficiency of your learning and development system?

คณะมีระบบในการประเมินประสิทธิผลและประสิทธิภาพของระบบการเรียนรู้และพัฒนาของบุคลากร?

  • ควรมีการประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลของ “ระบบการเรียนรู้และพัฒนาบุคลากร”  ที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง  น่าจะนำมาซึ่งก่ารปรับปรุงและพัฒนาด้านการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

7. Performance Management and Development (Career Development).  How does the faculty manage career development for the workforce and future leaders?

การส่งเสริมและพัฒนาบุคลากรบนเส้นทางวิชาชีพ และการสร้างผู้นำในอนาคต

  1. การกำหนดเป้าหมายในการส่งเสริมคณาจารย์ให้มีตำแหน่งทางวิชาการ ปีละ 2-3 คน โดยมีการชี้แนะให้ทำวิจัย ที่มีผู้ทรงคุณวุฒิ คอยให้คำปรึกษา กลั่นกรองผลงาน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อย่างต่อเนื่อง
  2. การเปิดโอกาสให้ทุกคนสร้างผลงานวิจัยในรอบปีที่มีการจัดตั้งงบประมาณสนับสนุนด้านนี้เป็นการเฉพาะ เป็นกิจกรรมหนึ่งในการพัมนาบุคลากรบนเส้นทางวิชาชีพ
  3. การจัดให้มีระบบ KM ของคณะ ทำให้คณาจารย์มีช่วงทางในการสื่อสารสู่วงวิชาการ
  4. การส่งเสริมให้คณาจารย์ร่วมกิจกรรมในโครงการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่น  เช่น U-School Monitoring   โครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ล้วนเป็นช่องทางในการส่งเสริมและพัฒนาผลงานทางวิชาการ ประเภทผลงานการพัฒนาสังคม

…ในปี 2566-2567 คณะเตรียมการนำระบบ Performance Agreement (PA) เพื่อการบริหารงานบุคคล และส่งเสริมให้บุคลากร ได้สร้างผลงานทางวิชาการ ไปในตัว  อีกทั้งจะเน้นการส่งเสริมสมรรถนะในการผลิตตำราและเอกสารประกอบการสอน ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งของผลงานเพื่อก้าวสู่ตำแหน่งทางวิชาการ ต่อไป

8. The faculty supervises and monitors the implementation of the personnel development plan to meet the specified goals.

คณะมีการนิเทศและกำกับติดตามแผนพัฒนาบุคลากร ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด อย่างไร

  1. ได้มอบหมายให้มีคณาจารย์ที่ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาในการพัฒนาผลงานทางวิชาการ สำหรับอาจารย์กลุ่มเป้าหมายที่เตรียมพร้อมเพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการ
  2. ได้มีการประชุม สัมมนาความก้าวหน้า นิเทศงาน และติดตามการพัฒนาผลงานทางวิชาการของอาจารย์กลุ่มเป้าหมาย โดยคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ เป็นผู้กำกับ ติดตามและชี้แนะ

9. The faculty encourages morale and praises personnel whose performance exceeds the target.

คณะฯ เสริมสร้างขวัญกำลังใจและยกย่องบุคลากรที่มีผลงานเกินเป้าหมาย อย่างไร

  • ได้ประเมินผลงาน และเสนอสถาบันเพื่อมอบรางวัลในระดับสถาบัน  คณะเป็นเพียงผู้มีส่วนร่วมในการคัดเลือก
  • ในอนาคต ควรมีการประเมิน และประกาศเกียรติคุณอาจารย์ที่มีผลงานโดดเด่น อย่างสม่ำเสมอ เป็นรายปี

Self-Assessment

Goal

Performance

Qualitative indicators

(indicated items)

Self-Assessment

….. 5 items …..

IQA (1-9)

1,3,4,5,7,8

           6 items

     4   marks

EdPEx (1-7)

1,3,4,5,7,

Percentage level= 5

    2.86         marks

Evidence

Evidence No.List of evidences
5.2.1.1ภาพการประชุมอาจารย์ของคณะศึกษาศาสตร์
5.2.3.1ภาพกิจกรรม KM
E-portfolio
Google Classroom
5.2.4.1ผลงานวิจัยเผยแพร่ของอาจารย์
5.2.5.1เวปไซด์คณะศึกษาศาสตร์
5.2.7.1แผนพัฒนาอาจารย์ของคณะศึกษาศาสตร์
โครงการ U – school
โครงการพัฒนาครูคืนถิ่น
5.2.8.1การประชุมอาจารย์เพื่อพัฒนาผลงานทางวิชาการ

Self-Assessment

Self-Assessment IQAEdPEx
Indicator 5.1….4.. 2.70
Indicator 5.2…..4…… 2.86
Overall Average Score(IQA)/
Overall Score (EdPEx)
….4…… 2.78