Component 2: Indicator 2.1 Strategy (Strategy Development)

Component 2 Strategy and Management

Indicator 2.1 Strategy (Strategy Development)

MHESI IQA (Items 1-8) assessment is indicated in the table below

1 mark2 marks 3 marks4 marks5 marks
1 item2 items3-4 items5-6 items7-8 items

According to EdPEx standard, the total score to assess items 1-6 is 45 marks, the factors used to evaluate the process are ADLI.

Performance

1. Strategy Development Process (Strategic Planning Process).  How does the dean conduct strategic planning? What are the key process steps? Who are the key participants? What are your short- and longer-term planning horizons? How are they addressed in the planning process? How does the strategic planning process address the potential need for transformational change, prioritization of change initiatives, and organizational agility?

กระบวนการจัดทำแผนกลยุทธ์

——————————————

ในการบริหารจัดการ คณะศึกษาศาสตร์ได้ประยุกต์ใช้กระบวนการพัฒนาแบบเสริมพลังอำนาจ(The Empowerment Approach) ด้วยกระบวนการบริหารจัดการแบบ  6 ขั้นตอน ที่เน้นการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการแผนงานและประกันคุณภาพการศึกษา คือ
1. วิเคราะห์ ทบทวนพันธกิจ(Mission Analysis): ครอบคลุมในเรื่องการตรวจสอบการทำงานตามพันธกิจหลัก 4 ประการ และงานบริหารจัดการตามที่ได้รับมอบหมายจากวิทยาลัย

2. วิเคราะห์สภาพการดำเนินงานในรอบ 1-3 ปีที่ผ่านมา(Taking Stock): เพื่อตรวจสอบผลการดำเนินงานตามแผน ผลการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการประกันคุณภาพภายในของสถาบันและของคณะ รวมถึงข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาต่าง ๆ ทั้งในระดับหลักสูตร ระดับคณะ หรือระดับสถาบัน

3. กำหนดเป้าหมายคุณภาพ(Setting the Goal): เป็นการกำหนดเป้าประสงค์และค่าเป้าหมายสำคัญๆ ในรอบปีถัดไป ซึ่งในปัจจุบัน ยึดเกณฑ์คะแนนประกันคุณภาพภายในของปีล่าสุด หรือพิจารณาผลการดำเนินงานในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา โดยกำหนดค่าเป้าหมายในแต่ละปี คะแนนผลการประเมินจะต้องเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 20 % ของช่วงคะแนนที่ยังสามารถพัฒนาได้

4. การกำหนดยุทธศาสตร์และจัดทำแผนงานโครงการ(Developing Strategies): ได้ทำแผนยุทธศาสตร์ระยะ 3 ปี ปัจจุบัน คือแผนปี 2565-2567 ที่มีการทบทวนแผนทุกปี ก่อนที่จะจัดทำเป็นแผนปฏิบัติการประจำปี   โดยแผนปฏิบัติการประจำปีจะต้องรองรับหรือสอดคล้องปัญหา-ความต้องการจำเป็น  ผลการประเมินคุณภาพในปีการศึกษาที่ผ่านมา และมุ่งแก้ปัญหาหรือมุ่งป้องกันความเสี่ยงที่สำคัญ ๆ( ในแผนกลยุทธืปัจจุบัน จะมีการกำหนดรายการโครงการสำคัญ ๆ 16 โครงการ)

ในการจัดทำแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการของคณะศึกษาศาสตร์ ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ได้ กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ โดยประยุกต์ใช้กรอบแนวคิด The Balanced Scorecard (BSC) ที่ Customer เป็นสำคัญ  พร้อมทั้งมียุทธศาสตร์ด้านกระบวนการบริหารจัดการ และการเตรียมบุคลากรให้มีศักยภาพสูง รวมถึงการเตรียมปัจจัยพื้นฐานอื่นให้พร้อม

5. ดำเนินการตามแผน(Implementing): ในขั้นตอนนี้ ได้ให้ความสำคัญกับการจัดทำปฏิทินการกำกับติดตามงาน  การรายงานความก้าวหน้า หรือการสัมมนาประเมินผลการดำเนินงาน โดยจะเน้นเรื่องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ระหว่างโปรแกรมวิชา  ระหว่างคณาจารย์ที่มีผลงานโดดเด่น ตามแนวคิดและหลักการ Professional Learning Community (PLC)  ทั้งนี้ ได้ให้ความสำคัญกับการใช้ระบบ ไอ ซี ที เพื่อการกำกับติดตาม(E-Monitoring) และ

6. ประเมินผลการดำเนินงาน(Documenting Progress): เน้นการรวบรวมเอกสาร หลักฐานที่สะท้อนการทำงานหรือผลงาน  การจัดทำฐานข้อมูล หรือแฟ้มสะสมงานในระดับรายบุคคลของคณาจารย์ ระดับหลักสูตร และระดับคณะ ทั้งนี้ ได้พยายามพัฒนาระบบฐานข้อมูลออนไลน์ เพื่อง่ายแก่การสืบค้น  และนำสารสนเทศไปใช้ในการปรับปรุง-พัฒนางาน 

เมื่อจบการประเมินระยะสำคัญสำคัญๆ ก็จะนำผลการประเมินหรือข้อเสนอแนะ จัดทำ Improvement Plan ซึ่งอาจจะทำการเพิ่มเติมโครงการหรือกิจกรรมระหว่างปี ในแผนปฏิบัติการประจำปี หรือรวบรวมไว้เป็นฐานข้อมูลเพื่อการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี ในปีการศึกษาถัดไป

…การดำเนินการตามขั้นตอน 1-4 คือกระบวนการจัดทำแผนกลยุทธ์ของคณะศึกษาศาสตร์ ซึ่งใด้ออกแบบเป็นแผนยุทธ์ศาสตร์ระยะ 3 ปี (ด้วยเห็นว่า บริบททางการศึกษาเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว หากทำแผนระยะ 5 ปี ในระยะ 2 ปีหลัง บริบทค่อนข้างจะเปลี่ยนแปลงไปมาก หรือเกือบทั้งหมด)

2. Strategy Development Process (Innovation). How does the strategy development process stimulate and incorporate innovation?

ในการจัดทำแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการของคณะศึกษาศาสตร์ ช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ได้ กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ โดยประยุกต์ใช้กรอบแนวคิด The Balanced Scorecard (BSC) ที่ให้ความสำคัญกับ Customer หรือกลุ่มเป้าหมายผู้รับบริการ เป็นสำคัญ  พร้อมทั้งมียุทธศาสตร์ด้านกระบวนการบริหารจัดการ และการเตรียมบุคลากรให้มีศักยภาพสูง รวมถึงการเตรียมปัจจัยพื้นฐานอื่นให้พร้อม

ทางคณะเห็นว่า การกำหนดกรอบยุทธศาสตร์ ตามกรอบ BSC  เป็นมิติคุณภาพที่ครอบคลุมในทุกด้าน เป็นการกำหนดกรอบยุทธศาสตร์ที่คำนึงถึง ห่วงโซ่คุณภาพ คือเชื่อว่า ถ้า..ปัจจัยพร้อม โดยเฉพาะบุคลากร คืออาจารย์และสายสนับสนุน มีความพร้อมและได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ(learning& Growth) >>>กระบวนการบริหารจัดการ(Internal Process) จะเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ >>>จะนำสู่ คุณภาพการให้บริการแก่ Customers หรือ กลุ่มผู้รับบริการทุกกลุ่ม(กลุ่มผู้บรับบริการจะได้รับบริการที่มีคุณภาพ

การกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ และภาพความสำเร็จ จะครอบคลุม KPI ที่สำคัญ ๆ ที่วิทยาลัยกำหนด และเน้นการนำแนวคิดใหม่ๆ (Initiatives) เข้าสู่ระบบพัฒนางาน เช่น การส่งเสริมให้คณาจารย์จัดทำ E-Portfolio และสร้างชุมชนแห่งวิชาชีพของตนเอง(personalized-Learning Community)  รวมถึงการส่งเสริมให้ผู้เรียนทุกคน ทุกโปรแกรมวิชา จัดทำ E-Portfolio เป็นของตนเอง  โดยทุกสิ้นภาคเรียน/สิ้นปีการศึกษาจะส่งเสริมให้นักศึกษาแสดงผลงานโดดเด่นในรอบภาคเรียนหรือในรอบปี

ในปี 2564-2565 เราได้เรียนรู้ว่า การส่งเสริมให้นักศึกษาจัดทำ E-portfolio จะมีผลโดยตรงต่อการพัฒนาและสั่งสมผลงานบนเส้นทางวิชาชีพครู เมื่อพวกเขาสำเร้จการศึกษา  แนวคิดหรือจุดเน้นของคณะในเรื่องนี้จะสอดรับกับระบบ DPA-Database Performance Appraisal ของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครู(ก.ค.ศ.)

3. Strategy Development Process (Analysis and Strategy). How does the dean collect and analyze relevant data and develop information for use in the strategic planning process?

คณะให้ความสำคัญกับการสั่งสมผลงานในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา วิเคราะห์เปรียบเทียบผลการประเมินในระยะ 3 ปี เพื่อกำหนดจุดเน้นในแผนกลยุทธ์ระยะถัดไป  รวมทั้งมีการวิจัยเชิงประเมินประสิทธิผลของโครงการบริการทางวิชาการที่สำคัญๆ ต่างๆ อย่างต่อเนื่องเป็นระยะ ๆ (เป็น Program effectiveness Research/Evaluation Research) โดยแต่ตั้งคณะทำงานรับผิดชอบในการประเมิน  ส่วนหนึ่งจะทำเพื่อการรายงานผลการดำเนินงานต่อผู้เกี่ยวข้อง หรือผู้สนับสนุนงบประมาณ แต่อีกส่วนหนึ่งก็ใช้เป็นฐานข้อมูลเพื่อการปรับปรุง พัมนางานในระยะถัดไป

ในปัจจุบัน ได้รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ทั้งข้อมูลระดับหลักสูตร และระดับคณะให้อยู่ในรูปของฐานข้อมูลออนไลน์(Online Database) เพื่อาะดวกในการสืบค้น และเรยีกใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ ใช้เว็บไซต์ของคณะเป็นสื่อกลางในการกำกับคุณภาพ(Monitoring System) ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการกำกับติดตามและการสื่อสารระหว่างกัน  Website ของคณะฯ เป็นเสมือน Operation Room ที่คณะจะจัดทำให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น ในอนาคต

4. Strategy Development Process (Work Systems and Core Competencies). How does the dean decide which key processes will be accomplished by your workforce and which by external suppliers, partners, and collaborators both official and unofficial?

ระบบงานหรือจุดเน้นของกระบวนการบริหารจัดการระดับหลักสูตร สมรรถนะของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรหรืออาจารย์ผู้สอน ได้กำหนดไว้ เป็นเนื้อหาสาระสำคัญ จำแนกตามหลักสูตรหรือโปรแกรมวิชา สามารถตรวจสอบได้ใน pages ของโปรแกรมวิชา(หลักสูตรสาขาวิชา) ที่เน้นใช้เป็นฐานข้อมูลในการทบทวนระบบงานหรือส่งเสริมให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบตรงกัน  เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนา อย่างต่อเนื่อง

ในส่วนของการสื่อสารกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องภายนอก  การจัดให้มี Homepage ของโครงการสำคัญๆ รวมถึงฐานข้อมูลเพื่อใช้ในการพัฒนานักศึกษากับเครือข่ายสถานศึกษา ได้ช่วยให้เครือข่ายเกี่ยวข้องได้รับทราบตรงกัน มีช่องทางในการสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งนับตั้งแต่ ปีการศึกษา 2563  ได้พัฒนาช่องทางเหล่านี้ให้สามารถสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

…สำหรับบุคลากรสายสนับสนุน ได้กำหนดสมรรถนะหลักที่สำคัญ คือ “ทักษะไอซีที และ การมีจิตสาธารณะ(ICT-Skills and Public Mind)” ถือเป็นสมรรถนะสำคัญ ที่ได้สื่อสารโดยตรงกับบุคลากรให้พัฒนาตนเอง รวมถึงคณะได้วางแผนส่งเสริมให้มัทักษะด้านไอซีทีสูงขึ้นในอนาคต เพื่อให้สามารถสนับสนุนงานของคณะได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5. Strategic objectives (Key strategic objectives). What are the faculty’s key strategic objectives?

คณะได้ระบุเป้าประสงค์(Objectives/Image of Success) ของกลยุทธ์หลักในการพัฒนา ที่สอดรับกับรายการกลยุทธ์หลัก ไว้ในแผนกลยุทธ์ และแผนปฏิบัติการประจำปี ดังตัวอย่างต่อไปนี้

พันธกิจ

  1. ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ มาตรฐานสากล  มีสมรรถนะและอัตลักษณ์ที่พึงประสงค์เพื่อตอบสนองความต้องการของสังคมไทยและนานาชาติ
  2. ส่งเสริมการผลิตผลงานวิจัยงานสร้างสรรค์ และงานบริการทางวิชาการเพื่อตอบสนองต่อท้องถิ่น ภูมิภาค และวงวิชาการ
  3. พัฒนาระบบบริหารจัดการสู่การเป็นองค์กรอัจฉริยะด้านการจัดการเรียนรู้ การวิจัย  การบริการทางวิชาการ และการนำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
  4. พัฒนาศักยภาพอาจารย์ให้เป็นนักวิชาการมืออาชีพ ด้านการสอนการวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษา  การบริการทางวิชาการ และการนำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
  5. พัฒนาระบบสนับสนุนงานตามพันธกิจหลัก ในด้านสารสนเทศเพื่อการจัดการศึกษา แหล่งเรียนรู้ และกองทุนเพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษา

 

เป้าประสงค์

  1. บัณฑิตมีคุณภาพ มาตรฐานสากล มีสมรรถนะและอัตลักษณ์อันพึงประสงค์ตามที่หลักสูตรกำหนด
  2. ผลงานวิจัยงานสร้างสรรค์ และบริการทางวิชาการเพื่อตอบสนองต่อท้องถิ่น ภูมิภาค และวงวิชาการ มีความหลากหลาย และต่อเนื่อง
  3. ระบบบริหารจัดการมีความเป็นองค์กรอัจฉริยะเพื่อสนับสนุนการสอน การวิจัย การบริการทางวิชาการและการนำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
  4. คณาอาจารย์มีสมรรถนะสูงมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ในการสอน การวิจัย การบริการทางวิชาการและการนำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
  5. มีปัจจัยพื้นฐานที่พร้อมและเอื้อต่อการจัดการเรียนรู้ การวิจัยและบริการทางวิชาการ

6. Strategic objectives (Strategic Objective Considerations). How do strategic objectives achieve an appropriate balance among varying and potentially competing for organizational needs?

  1. ภายใต้ภาพความสำเร็จด้านผู้เรียนหรือภารกิจด้านการผลิตบัณฑิต ได้เน้นการศึกษา วิเคราะห์ เพื่อตรวจสอบพัฒนาการของโปรแกรมวิชา(ปัจจุบัน มี 8 โปรแกรมวิชา) ซึ่งพบว่า จากคะแนนผลการประเมินภายในระดับหลักสูตร โดยรวม มีพัฒนาการดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง…ยกเว้นเป้าประสงค์ด้านจำนวนผู้เรียน ยังไม่ประสบความสำเร็จ ไม่เป็นไปตามเป้า
  2. คณะได้ตรวจสอบคุณภาพบัณฑิต โดยใช้ตัวชี้วัดที่สำคัญบางรายการ เช่น อัตราการสอบผ่านและได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ที่ดำเนินการทดสอบโดยคุรุสภา พบว่า หากเทียบกับสถาบันอื่น ๆ ที่ผลิตบัณฑิตในโปรแกรมที่เทียบเท่ากัน  อัตราการสอบผ่านและได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพของนักศึกษาจากคณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนตืเทเรซา ทั้ง ป.บัณฑิต และ ป.ตรี มีสัดส่วนการสอบผ่านที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศ เช่น การสอบรอบปี 2565 ค่าเฉลี่ยระดับประเทศ ผ่าน 18 % ในขณะที่ นักศึกษาจากวิทยาลัยนานาชาติเซนตืเทเรซา สอบผ่าน ประมาณ 38 % หรือ ในกรณีของการสอบวิชาชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร พบว่า นักศึกษาหลักสูตร ป.ตรี ที่เข้ารับการทดสอบจากคุรุสภา สามารถสอบผ่าน 100 %
  3. ในด้านการบริการทางวิชาการ ได้ดำเนินการโครงการบริการทางวิชาการที่สำคัญ เช่น U-School Mentoring  หรือ การนิเทศและพัฒนาข้าราชการครู ภายใต้โครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น  พบว่า โครงการเหล่านี้ ประสบความสำเร็จตามเป้าประสงค์(จากการประเมินประสิทธิผลของโครงการ)
  4. ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม การดำเนินการภายใต้โครงการ U-School Mentoring  พบว่า ประสบความสำเร็จในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในลักษระการสืบสานและต่อยอภูมิปัญญาท้องถิ่นได้อย่างดี (ตรวจสอบได้จากฐานข้อมูลเว็บไซต์ของโครงการ)
  5. ด้านการวิจัย อาจารย์ประจำหลักสูตร ได้ทำการศึกษา ค้นคว้า วิจัย ผลมีผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ อย่างต่อเนื่อง….ในปี 2566-2567 นอกจากงานวิจัยแล้ว คณะได้เน้นการส่งเสริมให้อาจารย์ประจำหลักสูตร พัฒนาผลงานสร้างสรรค์ในลักษณะอื่น ๆ มากขึ้น เช่น โครงการบริการทางวิชาการ  ผลิตหนังสือ ตำรา ฯลฯ

7. Strategies achieve success in accordance with the faculty’s vision

วิสัยทัศน์: “องค์กรพัฒนาและส่งเสริมวิชาชีพครูชั้นนำ ที่ผลิตบัณฑิต วิจัย และบริการทางวิชาการเพื่อการพัฒนาการจัดการศึกษาในระดับชาติและนาชาติ”

หากพิจารณาผลการดำเนินงานของคณะ ที่พบว่า ประสบความสำเร็จตามพันธกิจสำคัญ 4 ประการ ดังกล่าวในข้อ  6.

ส่วนการบรรลุวิสัยทัศน์นั้น หากพิจารณาการยอมรับในวงวิชาการ ในความเป็นองค์กรชั้นนำ การที่คณบดี ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการมาตรฐานวิชาชีพครู(กมว.) ชุดที่ 4(พ.ศ. 2565-2569) ที่มีกรรมการรวม 17 ราย  หรือ การได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธาน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปราจีนบุรี นครนายก ซึ่งทั้งสองรายการ ถือเป็นกรรมการระดับประเทศ ก็น่าจะถือว่า ได้รับการยอมรับระดับชาติ  รวมถึง คณาจารย์ของคณะศึกษาศาสตร์ ได้รับเชิญให้ไปเป็นวิทยากรหรือผู้ทรงคุณวุฒิในระดับประเทศ เช่น เป็นนายกสมาคมวิจัยสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย หรือ อนุกรรมการของคุรุสภา หรือวิทยากรด้านต่างๆ ทั้งในระดับภุมิภาคและระดับประเทศ

…จะอย่างไรก็ตาม ความมุ่งมั่นในการเป็นองค์กรชั้นนำด้านการพัฒนาวิชาชีพครู ทั้งการผลิตบัณฑิต และการพัฒนาครูประจำการ เมื่อเทียบกับสถาบันการผลิตครูทั่วประเทศ เราน่าจะติด 1 ใน 5 ของกลุ่มสถาบันเอกชน แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ หรือมีตัวชี้วัดใดที่ยืนยันว่า เรามีคุณภาพใน 10 อันดับแรกของประเทศ(ซึ่งน่าจะต้องพายามต่อไป)

8. Strategies are aligned with the higher education plan which produces and develops the country’s workforce

แผนอุดมศึกษาระยะยาว 20 ปี(2561-2580) ได้กำหนดยุทธศาสตร์หลัก 6 ประการ
ยุทธศาสตร์ที่ 1 อุดมศึกษาเป็นแหล่งพัฒนากำลังคนและสร้างเสริมศักยภาพทั้งทักษะความคิดและการรู้คิด เพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาศักยภาพและคุณภาพนักศึกษา เสริมสร้างความรู้ และทักษะทางอาชีพให้พร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ยุทธศาสตร์ที่ 3 เสริมสร้างสมรรถนะหลักของอุดมศึกษาไทยให้เป็นแหล่งพัฒนาต่อยอดความสามารถในการใช้ความรู้ สร้างผลงานวิจัย ค้นหาคำตอบที่จะน าไปใช้ประโยชน์ในการแก้ปัญหา และพัฒนาเศรษฐกิจทั้งระดับท้องถิ่นและระดับประเทศ
ยุทธศาสตร์ที่ 4 อุดมศึกษาเป็นแหล่งสนับสนุนการสร้างงานและนำความรู้ไปแก้ปัญหาผ่านความร่วมมือกับภาคเอกชนและท้องถิ่น
ยุทธศาสตร์ที่ 5 ปรับปรุงระบบการบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพ มีประสิทธิผล และมีระบบการกำกับดูแลที่รับผิดชอบต่อผลการดำเนินการของมหาวิทยาลัยในทุกด้าน
ยุทธศาสตร์ที่ 6 ปรับระบบโครงสร้างการตรวจสอบ การจัดสรรงบประมาณ และการติดตามรายงานผลที่มีประสิทธิภาพ

กลยุทธ์ด้านการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ  สอดคล้องกับกลยุทธ์อุดมศึกษา ด้านที่ 1& 2

กลยุทธ์การวิจัย สอดคล้องกับ กลยุทธ์อุดมศึกษา รายการที่ 3

กลยุทธ์ด้านบริการทางวิชาการและทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม สอดคล้องกับกลยุทธิอุดมศึกษา ด้านที่ 4

Self-Assessment


Goal

Performance

Qualitative indicators

(indicated items)

Self-assessment

  5 items 

IQA (1-8)

1-8

     …..8… items

……5…. marks

EdPEx (1-6)

1-6

Percentage=level 5

….. 4.0… marks

Evidence

Evidence
No.
List of evidences
2.1.1System, >>แผนกลยุทธ์ 2565-2567<<
2.1.2แนวคิด BSC, >>กลยุทธ์ที่ปรากฏตาม BSC page 3<<
2.1.3>>การเทียบ IQA 3 ปี<< >>Eval Report<< >>Website<<
2.1.4>>ตัวอย่างระบบจัดการ และสมรรถนะผู้สอน ระดับหลักสูตร<<
2.1.5 >>เป้าประสงค์ในแผนกลยุทธ์<<
2.1.6>>ตัวอย่างการบรรลุวัตถุประสงค์<< >>Eval Report<<
2.1.7 >>การได้รับการยอมรับ ระดับประเทศ กมว.<<
>>ประธาน อ.ก.ค.ศ. ปราจีนบุรี นครนายก<<
2.1.8>>แผนอุดมศึกษา 2561-2580<<