ABOUT US: THE FACULTY OF EDUCATION

บทนำ

การประเมินผลภายใน ประจำปีการศึกษา 2565 (ปี 2022) เป็นการประเมินการดำเนินงานระหว่าง 1 มิถุนายน 2565-31 พฤษภาคม 2566 โดยคณะได้ใช้ผลการประเมินในปีการศึกษา 2564 เป็นฐานคุณภาพ(ฺBaseline)ของการวางแผนพัฒนาในปีการศึกษา 2565 ทั้งนี้ การวางแผนพัฒนา จะให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาหรือความเสี่ยงสำคัญ ๆ ขณะเดียวกันก็พยายามเสริมสมรรถนะในบางด้านที่มีคุณภาพระดับดีอยู่แล้ว ให้เข้มแข็งมากขึ้นหรือพัฒนาก้าวสู่การเป็นนวัตกรรมต้นแบบ ในที่สุด …ทั้งนี้ ในเบื้องต้น ขอแนะนำข้อมูลพื้นฐานบางประการของคณะศึกษาศาสตร์ ดังต่อไปนี้

1.ชื่อหน่วยงาน

คณะศึกษาศาสตร์ (Faculty of Education) วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา (St.Theresa International College)

2.ที่ตั้ง

 เลขที่ 1 หมู่ 6 ถนนรังสิต-นครนายก (คลอง 14) ต.บึงศาล อ.องครักษ์ จ.นครนายก 26120

URL : htpp://www.stic.ac.th และ https://facultyofeducation.net/ โทรศัพท์ 037-349934-5  โทรสาร 037-349936

3.ประวัติความเป็นมา

            คณะศึกษาศาสตร์เดิมสอนเฉพาะหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา โดยจัดเป็นสาขาวิชาหนึ่งในคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ต่อมาในปีการศึกษา 2556 คณะได้เปิดสอนหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต(ภาษาอังกฤษ) และได้เสนอขออนุมัติเปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู  และขอรับรองจากองค์กรวิชาชีพคือคุรุสภา ในการนี้ คุรุสภาได้เสนอให้ตั้งเป็นคณะศึกษาศาสตร์แยกเป็นเอกเทศเพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของแหล่งการผลิตครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งจากข้อเสนอนี้ สภาวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซาจึงมีมติให้จัดตั้งคณะศึกษาศาสตร์ในการประชุมครั้งที่ 3/2557  เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2557  ปีการศึกษา 2557  จึงเป็นปีแรกในการดำเนินงานจัดการศึกษาในนามของคณะศึกษาศาสตร์

 4. หลักสูตร ปีการศึกษา 2564-65 : ดำเนินการสอน 8 หลักสูตร ได้แก่

1) หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ)(5 ปี) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2561  เป็นหลักสูตรเพื่อผลิตครูและบุคลากรทางการศึกษา สาขาภาษาอังกฤษ ตามความต้องการของสังคม ที่ต้องการครูที่มีความรู้ภาษาอังกฤษเป็นอย่างดี และสามารถสอนเป็นภาษาอังกฤษได้ เพื่อรองรับประชาคมอาเซียน และการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคม หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ฉบับปรับปรุง 2561  ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม  2561 และได้ทำการปรับปรุงหลักสูตรหลักสูตรอีกครั้งหนึ่งในปลายปีการศึกษา 2561 ปรับเป็นหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ)(หลักสูตร 4 ปี) พ.ศ.2562 โดยเริ่มรับนักศึกษาในปีการศึกษา 2562 โดยสรุปในปัจจุบัน ในปีการศึกษา25564-65 มีการใช้หลักสูตร 2 รูปแบบ คือ หลักสูตร 5 ปี สำหรับผู้เข้าเรียน ตั้งแต่ปี 2560-2561  โดย รุ่นสุดท้ายได้สำเร็จการศึกษา ในปีการศึกษา 2565 และหลักสูตร 4 ปี เริ่มจัดการเรียนการสอนในปีการศึกษา 2562 ซึ่งได้สำเร็จเป็นรุ่นแรกในปีการศึกษา 2565 เช่นกัน

2) หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ) พ.ศ.2558 เพื่อผลิตครูและบุคลากรทางการศึกษา สาขาวิชาคณิตศาสตร์ ตามความต้องการของสังคม ที่ต้องการครูที่มีความรู้คณิตศาสตร์เป็นอย่างดี และสามารถสอนวิชาคณิตศาสตร์เป็นภาษาอังกฤษได้ เพื่อรองรับการเข้าร่วมประชาคมอาเซียน และการขยายตัวทางเศรษฐกิจและสังคม หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ) ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2558  ทั้งนี้ ในปลายปีการศึกษา 2561 ได้ทำการปรับปรุงหลักสูตร เป็นหลักสูตร 4 ปี เช่นเดียวกับสาขาวิชาภาษาอังกฤษ และเริ่มรับนักศึกษา ในปีการศึกษา 2562 จนถึงปีการศึกษา 2565 นักศึกษารุ่นแรกได้สำเร็จการศึกษา

3) หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป (หลักสูตรนานาชาติ) พ.ศ. 2559 เพื่อผลิตครูและบุคลากรทางการศึกษา สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป ตามความต้องการของสังคมที่ต้องการครูที่มีความรู้ทางการจัดการเรียนการสอนวิชาวิชาวิทยาศาสตร์ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2559 ทั้งนี้ ในปลายปีการศึกษา 2561 ได้ทำการปรับปรุงหลักสูตร เป็นหลักสูตร 4 ปี เช่นเดียวกับสาขาวิชาภาษาอังกฤษ และเริ่มรับนักศึกษา ในปีการศึกษา 2562 จนถึงปีการศึกษา 2565 นักศึกษารุ่นแรกได้สำเร็จการศึกษา

4) หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู (หลักสูตรภาษาไทย) พ.ศ.2561 เป็นหลักสูตรเพื่อให้การศึกษา และพัฒนาครูผู้สอนที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาอื่นใด และต้องการจะประกอบวิชาชีพครู เป็นหลักสูตรที่มุ่งยกระดับมาตรฐานของวิชาชีพครูให้มีมาตรฐาน  สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ให้การรับรองหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู (หลักสูตรภาษาไทย) เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม  2560 เริ่มรับนักศึกษา ในปีการศึกษาตามหลักสูตรฉบับปรับปรุง 2561 ในปีการศึกษา 2561 และได้ใช้หลักสูตรนี้ต่อเนื่องจนถึงปีการศึกษา 2565 โดยได้ทำการพัฒนาหลักสูตร ที่ถือเป็นรอบที่สาม สำหรับใช้ในปีการศึกษา 2566-2570 โดยปรับให้เป็นไปตามมาตรฐานอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 ทั้งนี้ เป็นหลักสูตรภาคภาษาไทยรายการเดียว ในจำนวน 8 หลักสูตรของคณะศึกษาศาสตร์

5) หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2561 เป็นหลักสูตรเพื่อให้การศึกษาและพัฒนาครูผู้สอนที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีในสาขาอื่นใด และต้องการจะประกอบวิชาชีพครู ที่เป็นชาวต่างชาติหรือบัณฑิตไทยที่มีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษในระดับดี ได้มีโอกาสเข้าเรียนและขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูจากคุรุสภา  สำนักคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ได้ให้การรับรองหลักสูตรเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2560  เริ่มรับนักศึกษาตามหลักสูตรฉบับปรับปรุง ในปีการศึกษา 2561 และจะใช้หลักสูตรนี้ต่อเนื่องในปีการศึกษา 2562 ถึงปีการศึกษา 2565 ในปีการศึกษา 2565 ได้ทำการพัฒนาหลักสูตร ที่ถือเป็นรอบที่สาม โดยปรับให้เป็นไปตามมาตรฐานอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 สำหรับใช้ในปีการศึกษา 2566-2570 เช่นเดียวกับหลักสูตรภาคภาษาไทย

6) หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา (หลักสูตรนานาชาติ) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2559 เพื่อผลิตบัณฑิตที่จะไปเป็นผู้บริหารและนักวิชาการศึกษาเพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานทางด้านการศึกษาของประเทศให้มีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของวิทยาลัยที่มีความมุ่งมั่นจะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ระดับนานาชาติที่บูรณาการภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาสากล สู่ความเป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติ  โดยการพัฒนาหลักสูตรเป็นไปตามเกณฑ์ของคุรุสภาและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาอุดมศึกษา (สกอ.) ให้การรับรองหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา เมื่อ วันที่ 8 สิงหาคม 2558 รับรองรอบที่สองเมื่อวันที่ 12 มกราคม 2561 โดยได้ใช้ครบรอบ 5 ปี ในปีการศึกษา 2563 โดยในปีการศึกษา 2563 ได้ทำการปรับปรุงหลักสูตรเป็นหลักสูตรฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2564 และได้รับการรับรองรอบที่สาม เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2564 เพื่อใช้ระหว่างปีการศึกษา 2564 ถึงปีการศึกษา 2568

7) หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการจัดการเรียนรู้ (หลักสูตรภาษาอังกฤษ) หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2563 เพื่อผลิตมหาบัณฑิตที่จะเป็นผู้สอนที่เชี่ยวชาญในการพัฒนานวัตกรรมด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ เพื่อยกระดับมาตรฐานทางการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลาง  การพัฒนาหลักสูตรเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรมหาบัณฑิตด้านการศึกษา  สำนักงานปลัดกระทรวงการศึกษาอุดมศึกษาฯ  ให้การรับรองหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการจัดการเรียนรู้แล้ว เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2563 เป็นหลักสูตรที่เริ่มรับนักศึกษาเข้าเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563( เรียนและทำวิทยานิพนธ์ รวม 36 หน่วยกิต) และปรับปรุงในปีเดียวกันเพื่อเปิดโอกาสในการขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูสำหรับผู้ที่ไม่ได้สำเร็จการศึกษาทางครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ซึ่งต้องเรียน ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และทำวิทยานิพนธ์ รวม ไม่น้อยกว่า 46 หน่วยกิต หลักสูตรนี้จะใช้ครบรอบ 5 ปี ในปีการศึกษา 2567

8) หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา(หลักสูตรนานาชาติ/หลักสูตรใหม่ พ.ศ.2565) เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตที่เป็นผู้บริหารและนักวิชาการศึกษาที่มีภาวะผู้นำทางวิชาการ เพื่อยกระดับมาตรฐานทางด้านการบริหารการศึกษาของประเทศให้มีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของวิทยาลัยที่มีความมุ่งมั่นจะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ระดับนานาชาติที่บูรณาการภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาสากลนานาชาติ สู่ความเป็นมหาวิทยาลัยนานาชาติ  โดยได้พัฒนาหลักสูตรเป็นไปตามเกณฑ์ของคุรุสภาและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาอุดมศึกษา(สกอ.) สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาได้ให้การรับรองวิทยฐานะหลักสูตรนี้ เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2565 โดยให้เริ่มใช้หลักสูตรในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 เป็นต้นไป เป็นหลักสูตรที่ ก.ค.ศ. ให้การรับรอง เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2565(ตามหนังสือ ที่ ศธ 0206.6/390 ลงวันที่ 19 เมษายน 2566) หลักสูตรนี้ จะใช้ระหว่างปีการศึกษา 2565 ถึงปีการศึกษา 2569

5. ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ ปณิธาน และอัตลักษณ์ของบัณฑิต

5.1 ปรัชญา  : ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีความรู้  มีทักษะทางวิชาการและวิชาชีพ  มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ และมีลักษณะบุคคลด้านใฝ่เรียนรู้  มีวินัย มีน้ำใจและมีความรับผิดชอบ  นอกจากจะส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของตนเอง แล้ว จะสามารถสร้างคุณค่าในตัวผู้เรียนให้เกิดการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ

5.2 วิสัยทัศน์ : คณะศึกษาศาสตร์เป็นแหล่งเรียนรู้ต้นแบบด้านการศึกษา องค์กรแกนนำทางวิชาการ และการจัดการเรียนรู้ในท้องถิ่น ภูมิภาคและสังคมประเทศ

5.3 พันธกิจ: (1) ผลิตบัณฑิตและมหาบัณฑิตด้านศึกษาศาสตร์ ที่มีสมรรถนะสูง เป็นที่ยอมรับของทุกภาคส่วน (2) พัฒนางานวิจัยในสาขาการศึกษาและที่เกี่ยวข้อง เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาท้องถิ่น ภูมิภาคและสังคมประเทศ (3) ให้บริการทางวิชาการแก่ท้องถิ่น ภูมิภาคและสังคมประเทศ (4) ส่งเสริม พัฒนาศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น และ (5) พัฒนาระบบบริหารจัดการและศักยภาพของคณาจารย์ ให้เอื้อต่อการจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานภายในประเทศและต่างประเทศเพื่อเสริมประสิทธิภาพในการดำเนินงานตามพันธกิจ

5.4 ปณิธาน : มุ่งผลิตบัณฑิตสาขาการศึกษาที่มีสมรรถนะตามมาตรฐานการศึกษาชาติ 3 ด้าน คือเป็นผู้เรียนที่รอบรู้ เป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์ผลงาน และเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม  (Active Learner/Master Learner, Co-Creator, and Active Citizen) และสอดคล้องกับมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2565 4 ประการ  คือ ความรู้ในศาสตร์การศึกษา ทักษะทางวิชาการและวิชาชีพ จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ และลักษณะบุคคลที่เหมาะสมกับวิชาชีพ สังคมไทยและสังคมโลก

5.5  อัตลักษณ์ของบัณฑิต  มีความโดเด่น ด้านภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร  ใฝ่เรียนรู้  มีวินัย มีน้ำใจ และมีความรับผิดชอบ (ครอบคลุมอัตลักษณ์ของสถาบัน)

6.บุคลากร-ทีมบริหาร

1) รองศาสตราจารย์ ดร.สุพักตร์  พิบูลย์                               คณบดี

2) รองศาสตราจารย์ ดร.บัญชา พนเจริญสวัสดิ์                    รองคณบดี

3) รองศาสตราจารย์ ดร.สันติ ศักดารัตน์                               รองคณบดี

4.) Aj.Dr. Annop Phothisuk Assistant to the Dean for Educational Quality Assurance

5) Asst.Prof.Dr. Pongthep Jiraro Assistant to the Dean for Research Affairs

6) Aj.Dario Abdullah Mando  Assistant to the Dean for Student Affairs

7) Aj.Dr.Nongnuch Suwanruchi.  Assistant to the Dean for Planning and  Management system

8)  Asst.Prof.Dr.Pojanee Mangkang . Assistant to the Dean for International Program of Graduate Studies and Curriculum Development

8. อัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของคณะ

 คณะศึกษาศาสตร์ เป็นคณะวิชาที่เน้นการปฏิบัติงานที่มีความสอดคล้องกับอัตลักษณ์ของวิทยาลัยนานาชาติ คือ มีความโดเด่นด้าน “ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร  ใฝ่เรียนรู้  มีวินัย มีน้ำใจ และมีความรับผิดชอบ (เดิมเน้นเรื่องภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร เป็นหลัก ตามอัตลักษณ์ของวิทยาลัย ต่อมาได้มีการสังเคราะห์ คุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับบัณฑิตศึกษาศาสตร์ จึงได้กำหนดอัตลักษณ์ เพิ่มเติม ในเรื่อง ใฝ่เรียนรู้  มีวินัย มีน้ำใจ และมีความรับผิดชอบ สำหรับนักศึกษารุ่นปีการศึกษา 2561 เป็นต้นไป)

 เพื่อส่งเสริมให้บัณฑิตมีอัตลักษณ์ตามที่กำหนด คณะได้จัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล และจัดกิจกรรมต่างๆ ที่ส่งเสริมความโดดเด่นให้นักศึกษามีความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษในการดำเนินชีวิตตั้งแต่เริ่มเรียนในหลักสูตร ซึ่งสอดคล้องกับเอกลักษณ์ “ความเป็นนานาชาติ” ของสถาบัน เป็นกรณีพิเศษ  อีกทั้งจัดกิจกรรมที่หลากหลาย ผ่านการเรียนการสอนในรายวิชาหรือกิจการนักศึกษา รวมถึงจัดให้มีโครงการบริการทางวิชาการเป็นกรณีพิเศษเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีคุณลักษณะพิเศษตามที่คณะคาดหวัง ทั้งนี้ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 เป็นต้นมา ได้ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้นักศึกษาจัดทำอิเล็กทรอนิกส์พอร์ตโฟลิโอ(Electronic Portfolio) เพื่อสั่งสมผลงานที่สะท้อนถึงการเป็นบัณฑิตที่โดดเด่นด้านใฝ่เรียนรู้  มีวินัย มีน้ำใจ และมีความรับผิดชอบ และในปี 2564-2565 ได้เน้นให้นักศึกษาเริ่มสั่งสมผลงานตั้งแต่เริ่มเรียนในชั้นปีที่ 1 เพื่อสะสมผลงานที่สะท้อนถึงทักษะการจัดการตนเอง(Self-Regulation) ความเป็นนักสร้างสรรค์นวัตกรรม และการเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม….ในชั้นปีที่ 3-5 เน้นการแสดงผลงานที่สะท้อนถึงทักษะวิชาชีพครูคือทักษะการจัดการเรียนรู้ โดยให้จัดเป็น E-Teaching Portfolio ที่ได้กำหนดเงื่อนไขให้นักศึกษาทราบว่า ในการยื่นขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูของผู้เข้าเรียน ปี 2562 เป็นต้นไป นักศึกษาต้องเสนอ E-Teaching Portfolio ต่อคณะเพื่อให้การรับรอง และนำเสนอต่อคุรุสภาในขั้นของการขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู