องค์ประกอบที่ 4 การจัดการเรียนรู้

ตัวบ่งชี้ที่ 4.1  การจัดการเรียนรู้ (แนวทางการจัดเรียนการสอน)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5 คะแนน
1 ข้อ 2 ข้อ 3-4 ข้อ 5-6 ข้อ 7-8 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน AUN-QA ประเมินภาพรวมประเด็น 1-5 ประเมิน 7 ระดับ

ผลการดำเนินการ

1. ปรัชญาการศึกษาชัดเจน มีการสื่อสาร และนำไปสู่กิจกรรมการเรียนรู้

      หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษาเปิด สอนครั้งแรก ปีการศึกษา 2559 และปรับปรุง ปีการศึกษา 2564  กำหนดปรัชญาของหลักสูตร คือ

มุ่งผลิตมหาบัณฑิตทางการบริหารการศึกษาที่มีสมรรถนะในการบริหารจัดการร่วมสมัยและมี

ความรับผิดชอบต่อวิชาชีพ

มีการสื่อสารให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งภายในและภายนอกสถาบัน ได้แก่ อาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ผู้สอน  ได้สื่อสารโดยการประชุม และเวปไซด์  สำหรับศิษย์เก่า นักศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา องค์กรวิชาชีพ  ได้เชิญมาร่วมพัฒนาหลักสูตร  นอกจากมี สำหรับ สถานศึกษา นักเรียน ผู้ปกครอง รวมถึงผู้สนใจทั่วไป  ได้ประกาศเผยแพร่หลักสูตรทาเวปไซด์ของคณะ

       เมื่อกำหนดปรัชญาของหลักสูตร  จากนั้นกำหนดวัตถุประสงค์  ผลลัพธ์การเรียนรู้  และโครงสร้างรายวิชา คำอธิบายรายวิชา  กิจกรรมการเรียนรู้  การวัีดประเมินผล ที่มีความสอดคล้องสัมพันธ์กัน

      สำหรับ นักการศึกษาที่ต้องการพัฒนาการเรียนรู้ทางด้านการศึกษาเพื่อนำไปพัฒนาเด็ก เยาวชน ประชาชน หรือสมาชิกของสังคมโดยหลักสูตรมุ่งพัฒนานักการศึกษารุ่นใหม่ในทุกๆด้าน ได้แก่ ความรู้ ความคิด ความสามารถ ทัศนคติ พฤติกรรม คุณธรรม จริยธรรม และความเป็นคนดี และมุ่งพัฒนานักการศึกษาให้มีความเข้าใจบริบทที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ในด้านสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ไปพัฒนางานด้านการศึกษาของประเทศและสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพจัดการศึกษาให้เป็นไปตามปรัชญาการศึกษาของหลักสูตรและได้สื่อสารปรัชญาการศึกษาของหลักสูตรกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย คือ

       นักศึกษา มีความรู้ตามทฤษฎีการบริหารโรเรียนหรือบริหารการศึกษา นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์บริหารการศึกษาในสถานศึกษาที่ตนทำงาน นักศึกษาประชุมสัมมนาการบริหารของสถานศึกษาในต่างประเทศ โดยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการบริหารการศึกษาในต่างๆประเทศโดยเลือกมาแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ในชั้นเรียน

       โรงเรียนหรือสถานที่การศึกษา ได้รับความพึงพอใจ ที่นักศึกษาได้นำความรู้ไปพัฒนาการบริหารในตนสถานที่ตนทำงานได้อย่างมีคุณภาพ

      ทั้งนี้ ทางหลักสูตรบริหารการศึกษาของคณะศึกษาได้ทำโครงการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ จัดทำคู่มือการฝึกภาคปฏิบัติ และคู่มือนักศึกษา คู่มือการทำวิทยานิพนธ์  และทำระบบการจัดการเรียนการสอน ใน TQF เพื่อนําผลการประเมินจากนักศึกษา รวมทั้งผู้ใช้บัณฑิต จากช่องทางต่างๆได้แก่ การตอบแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพของบัณฑิตทั้งนี้เพื่อนำ มาพัฒนา ปรับปรุงในกระบวนการจัดการเรียนรู้ให้เป็นไปตามปรัชญาการศึกษาของหลักสูตรต่อไป

2. ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดการเรียนรู้

 หลักสูตรมีกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามระบบและกลไกการจัดการเรียนรู้/การบริหารหลักสูตร เพื่อช่วยพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่มุ่งหวังตามหลักสูตร (LO) ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ สาขาบริหารการศึกษา พ.ศ. 2565 (TQF) ทั้ง 6 ด้าน มีกระบวนการดำเนินงานโดยคณะกรรมการบริหารหลักสูตรได้มีการประชุม มอบหมายอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา โดยอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร/หัวหน้าภาควิชาเสนอชื่ออาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาต่อคณะกรรมการบริหารหลักสูตรเพื่อขอความเห็นชอบ เมื่อได้รับความเห็นชอบ ผู้รับผิดชอบรายวิชาศึกษาคำอธิบายรายวิชาที่รับผิดชอบ และ curriculum mapping ใน มคอ.2 และออกแบบการเรียนการสอน (มคอ. 3 และ มคอ.4) ร่วมกับอาจารย์ผู้สอน โดยใช้ข้อมูลจากมคอ. 5 และ มคอ.6 ของปีที่ผ่านมา หลังจากนั้นคณะกรรมการวิพากษ์ มคอ. พิจารณาการออกแบบการเรียนการสอน (มคอ. 3 และ มคอ.4) ก่อนเปิดภาคการศึกษาอย่างน้อย 2 สัปดาห์ เมื่อได้รับการเห็นชอบแล้วให้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนตาม มคอ. 3 และ มคอ.4 ที่ออกแบบไว้ และเมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอน มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา และประเมินการสอนของอาจารย์ โดยคณะกรรมการวัดและประเมินผลโดยอาจารย์ประจำวิชาที่สอนหรือ อาจารย์ผู้ควบคุมวิทยานิพนธฺ์และหัวหน้าภาควิชา และผู้รับผิดชอบรายวิชาจัดทำมคอ.5 และ มคอ.6 ภายใน 30 วันหลังสิ้นสุดการเรียนการสอน และมีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยคณะกรรมการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ระดับรายวิชา เพื่อรายงานผลการบริหารหลักสูตรในภาพรวมของแต่ละปีการศึกษา

        ซึ่งในกระบวนการจัดการเรียนรู้ดังกล่าวหลักสูตรเปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในกระบวนการในทุกรายวิชารวมทั้งวิชาวิทยานิพนธ์ โดยเป็นการมีส่วนร่วมทั้งในลักษณะของรายบุคคล และรายกลุ่ม โดยในขณะจัดการเรียนการสอนนักศึกษาสามารถมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมการเรียนสอนในรูปแบบต่างๆ ตามที่รายวิชาออกแบบไว้ใน มคอ.3 และ มคอ.4 และเมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนนักศึกษาทุกคนมีส่วนร่วมในการประเมินประสิทธิภาพการสอนของอาจารย์ และประเมินผลการจัดการเรียนการสอนของรายวิชาผ่านระบบของวิทยาลัย ซึ่งผู้รับผิดชอบรายวิชาจะนำข้อมูลและผลการประเมินดังกล่าวมาจัดทำมคอ.5 และ มคอ.6 และนําผลการประเมินไปพัฒนาและปรับกลยุทธ์การเรียนการสอน และออกแบบการเรียนการสอน (มคอ. 3 และ มคอ.4) ของรายวิชานั้นในปีการศึกษาถัดไป เพื่อให้สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่มุ่งหวังตามหลักสูตร (LO) มากขึ้น   

3. กิจกรรมการเรียนรู้เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม

     หลักสูตรได้จัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเรียนรู้แบบ Active learning ในทุกรายวิชา โดยออกแบบการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ในรูปแบบที่หลากหลายทั้งหลักการทางทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ทางการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง เช่น

    1.การบรรยายโดยให้นักศึกษาแบบมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและการอภิปรายความรู้ในทฤษฎีการบริหารร่วมกัน

    2. การเรียนรู้แบบร่วมมือกันในการศึกษาความรู้เกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนที่ตนสนใจทั้งในต่างๆประเทศและในประเทศไทยเพื่อ อภิปรายแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน

    3.การเรียนรู้แบบสัมมนาเชิงวิชาการเพี่ยวกับการบริหารโรงเรียนรูปแบบต่างๆ 

         ซึ่งเป็นกิจกรรมการเรียนการสอนที่ให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้       ทั้งแบบรายบุคคลที่เน้นการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้สอน ผู้เรียนกับบุคคลอื่น และแบบรายกลุ่มที่เน้นการทำงานเป็นทีม เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน โดยการมีส่วนร่วมในการวางแผนกิจกรรมในจัดทำโครงการต่างๆ 

         ร่วมออกแบบกิจกรรมต่างๆในการจัดโครงการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนกับบริการวิชาการ/ทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ศึกษาค้นคว้างานวิจัยและหลักฐานเชิงบริหารการศึกษาทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ

         จัดทำสื่อสนับสนุนการเรียนรู้ สื่อดิจิทัล ที่เกี่ยวกับทฤษฎีการบริหารสมัยใหม่ ทฤษฎีการบริหารการศึกษา ทฤษฎีพัฒนาองค์การสมัยให่ได้แก่ ทฤษฎีภาวะผู้การเปลี่ยนแปลง ทฤษฎีภาวะผู้นำทางวิชาการ ทฤษฎีภาวะผู้นำองค์กรสมัยใหม่ ได้ องค์กรแห่งการเรียนรู้ เป็นต้น รวมทั้ง งานวิจัยทางการบริหารการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อให้นักศึกษามีความรู้เพิ่มเติมในการนำไปพัฒนาความก้าวหน้าในงานสายบริหารโรงเรียนหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษารวมทั้งนำไปพัฒนางานวิทยานิพนธ์ต่อไป

4. มีกิจกรรมปลูกฝังให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต

…… ระบุรายละเอียดผลการดำเนินการ ……ดังนี้

      หลักสูตรมีการจัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นและส่งเสริมและปลูกฝังให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตั้งแต่เริ่มเข้าศึกษาจนกระทั่งสำเร็จการศึกษา ผ่านกิจกรรมทั้งในห้องเรียนและกิจกรรมนอกห้องเรียน เพื่อช่วยพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่มุ่งหวังตามหลักสูตร (LO) มีคุณลักษณะพิเศษของบัณฑิตตามอัตลักษณ์ของหลักสูตรบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ คือ มีความรู้ คู่คุณธรรม มีคุณลักษณะตามเอกลักษณ์ของวิทยาลัย คือ ความเป็นนานาชาติ และเกิดผลลัพธ์ผู้เรียนตามมาตรฐานการอุดมศึกษาทั้ง 3 ด้าน คือ การเป็นผู้รอบรู้ การเป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์ และการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง โดยผ่านกิจกรรมดังนี้
               การเตรียมความพร้อมนักศึกษาตั้งแต่เริ่มเข้าศึกษาผ่านโครงการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ โครงการ “Learning How to Learn” เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาให้เกิดการเรียนรู้ทั้งในทฤษฎีการบริหารการศึกษา แนะนำโครงการพัฒนาวิทยานิพนธ์ รวมทั้งการนำทฤษฎีทางการบริหารไปใช้เพื่อพัฒนาการบริหารงานโรงเรียนรวมทั้งพัฒนาตนเองให้มีความก้าวหน้าทางการบริหารการศึกษา 
             จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้น Active learning ทุกรายวิชา เช่น การบรรยายแบบมีส่วนร่วม การอภิปราย การเรียนรู้แบบร่วมมือ การเรียนรู้แบบสัมมนา และแบบรายกลุ่มที่เน้นการทำงานเป็นทีม เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน โดยการมีส่วนร่วมในการวางแผนกิจกรรมในจัดทำโครงการต่างๆ และมีส่วนร่วมในการประเมินผลงาน และการประเมินการทำงานทีม เพื่อให้นักศึกษาการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

            โดยอาจารย์ผู้สอน นำหลักการของ พรบ การศึกษาแห่งชาติ พศ 2542  ที่ ส่งเสริมให้ทุกคน เรียนรู้ตลอดชีวิต ตามที่ตนถนัดและสนใจ เพื่อสนับสนุนให้นักศึกษาทุกคนพัฒนาตนเองตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง

            นำหลักการสอนตามแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาบูรณาการสอนให้นักศึกษา ได้นำแนวคิดไปบริหารตนเอง บริหารงานในหน้าที่ รวมทั้งบริหารคน เพื่อให้ทุกคนพัฒนาความรู้ตลอดเวลา เพื่อความสำเร็จขององค์กร

5. มีกิจกรรมปลูกฝังให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์ และการเป็นผู้ประกอบการ

…… ระบุรายละเอียดผลการดำเนินการ  ได้ส่งเสริมสนับสนุนให้นักศึกษาค้นคว้าและจัดทำวิทยานิพนธ์ในประเด็นที่ทันสมัย สร้างสรรค์

         หลักสูตรได้ออกแบบการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริม active learner และมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อช่วยพัฒนามาตรฐานผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน 3 ด้าน และทักษะในศตวรรษที่ 21

          เพื่อให้บรรลุตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่มุ่งหวังตามหลักสูตร (LO) โดยมีการออกแบบกิจกรรมการเรียนสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความคิดใหม่ ๆ ความคิดสร้างสรรค์ การสร้างนวัตกรรม และแนวคิดของผู้ประกอบการทั้งในภาคทฤษฎี ภาคทดลอง และภาคปฏิบัติ

        โดยการให้นักศึกษาค้นคว้าจัดทำโครงงานวิจัย เกี่ยวการบริหารการศึกษา จากรูปแบบในประเทศและต่างประเทศมาสร้างและพัฒนาเป็นแนวทางในการบริหารต่อไป

              นอกจากวิชาที่ศึกษาในเชิงบริหารการศึกษาแล้วนักศึกษาสมารถนำทฤษำีวิชาการบริหารเพื่อวางแนวทางในการพัฒนาสถานศึกาาหรือโรงเรียนของตนให้มีคุณภาพและ จนเขียนแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์กรทางการศึกษาที่ตนสน.ใจได้ในอนาคต เมื่อเสนอผลงานวิทยานิพนธ์เรียบร้อยแล้วอนาคตจะเป็นนักบริหารโรงเรียนหรือนักบริหารการศึกษา ผ่านการศึกษาวิจัยเชิงบริหารการศึกษาและสร้างโมเดลได้ตรงเป้าหมายการพัฒนาโรงเรียนเพื่อความสำเร็จขององค์กรที่ทำงานผ่านการวิจัยในเชิงบริหารทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ….

6. ปรับปรุงกลยุทธ์การจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับอุตสาหกรรมและผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง

…… ระบุรายละเอียดผลการดำเนินการ …

1. อาจารย์ผู้สอนผลิตตำราสอนประจำวิชาเพื่อพัฒนานักนักศึกษาเป็นผู้บริหารมืออาชีพ

2.อาจารย์พัฒนาความเชี่ยวชาญด้านการสอน เพิ่มขีดความสามารถ การจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลนักศึกษา โดยมุ่งเรียนให้นักศึกษาพัฒนาตนเองในเชิงบริหารการศึกษา ทั้งด้าน การครองตน การคครองคน และการครงงาน

3.,มุ่งเน้นพัฒนาสมรรถนะการบริหารการศึกษาตามกรอบสมรรถนะของผู้บริหารในเชิงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของผลงานผ่านการจัดทำสารสนเทศด้วย ระบบ ICT …

7. จัดการเรียนรู้ในระบบชั้นเรียน ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ระบุรายละเอียดผลการดำเนินการ

1.นักศึกษาสืบค้นความรู้และนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในห้องเรียนโดยอาจารย์ให้ความเพิ่มเติม..

2. นักศึกษาฝึกการเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการเรียน เป็นผู้นำการเสนองานวิชาการในห้องเรียน รวมทั้ง นำเสนอผลงานวิทยาพินธ์ ในเวทีวิชาที่เป็นที่ยอมรับ

3.นักศึกษาฝึกการเป็นผู้บริหารในสถานศึกษาในหน่วยงานตน และหน่วยงานท่สนใจเพิ่มเพิ่มประสบการณ์

8. จัดการเรียนรู้ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศด้วยเทคนิควิธีการต่างๆ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

 ระบุรายละเอียดผลการดำเนินการ

1.นักศึกษาใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ในการ จัดทำรายงาน และสื่อเพื่อสรุปความรู้ตามประเด็นที่ผู้สอนมอบหมาย โดยใช้ โปรแกรมต่างๆ ได้แก่ รายงาน e learning  e-book และ โปรมสำเร็จรูป 

2.นักศึกษาเรียนรู้การพัฒนางานวิทยานิพนธ์ในระบบ Online และ Onsite โดยใช้เทคโนโยีที่ทันสมัย เช่น นำเสนอ โดย ผ่านแฟ้มสะสมงาน ทางอีเลคโทรนิด google wix.com.

….

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

…5….ข้อ

IQA(1-8)

1,2,3,7,8

….5…ข้อ

…4..คะแนน

AUN-QA(1-6)

1(4), 2(4), 3(4)

ระดับ……3…….

รายการหลักฐานอ้างอิง

รหัสหลักฐานรายการ
4.1.1.1 มคอ.2
4.1.1.2 ภาพกิจกรรมการนำเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์ การแลกเปลี่ยน แสดงความคิดเห็น
Google Classroom รายวิชาวิทยานิพนธ์
4.1.1.3 ภาพกิจกรรมการนำเสนอวิทยานิพนธ์
4.1.1.4 Google Classroom รายวิชา Thesis
4.1.1.5 TOF3 ประจำวิชา ปริญญาโท บริหารการศึกษา
รายชื่อหัวข้อวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา
4.1.1.6 Google Classroom
4.1.1.7 Google Classroom
เวปไซด์คณะศึกษาศาสตร์

ผลการประเมินตนเอง

ผลการประเมินตนเองIQAAUN-QA
ตัวบ่งชี้ที่ 4.1…4……3…

Leave a Reply