-องค์ประกอบที่ 2 ผลลัพธ์การเรียนรู้

ตัวบ่งชี้ที่ 2.1  ผลลัพธ์การเรียนรู้ (ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5 คะแนน
1 ข้อ 2 ข้อ 3-4 ข้อ 5-6 ข้อ 7 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน AUN-QA ประเมินภาพรวมประเด็น 1-5 ประเมิน 7 ระดับ

ผลการดำเนินการ

1. กำหนดและสื่อสาร ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

หลักสูตรมีการดำเนินการ ดังนี้

  1. การกำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง  หลักสูตรฯ มีการประชุมร่วมกันของผู้เกี่ยวข้อง อาทิ อาจารย์ประจำหลักสูตร   กรรมการพัฒนาหลักสูตร ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย   ร่วมกันวิเคราะห์และสรุปผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง กำหนดไว้ใน มคอ.2 จากนั้นนำเสนอคณะกรรมการเพื่อพิจารณาเห็นชอบ ได้แก่  กรรมการวิพากษ์หลักสูตร  กรรมการสภาวิชาการ กรรมการสภาวิทยาลัย และสป.อว.รับทราบ  มคอ.2 ซึ่งหลักสูตรฯ กำหนด  ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง  จำนวน  3  ด้าน คือ 1) การเป็นผู้เรียนที่กระตือรือร้นและรอบรู้    2) การเป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม  และ 3)  การเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง  
  2. การสื่อสารผลการเรียนรู้  ดำเนินการโดยการ เผยแพร่ มคอ.2 ในเวปไซด์ของวิทยาลัย ของคณะศึกษาศาสตร์  เพื่อเผยแพร่ให้ผู้สนใจได้ทราบ  นอกจากนี้ได้แจ้งให้อาจารย์ผู้สอน  นักศึกษา ได้ทราบผลการเรียนรู้พร้อมรายละเอียด กลยุทธ์การสอนการประเมินผล ในวันปฐมนิเทศและอาจารย์ผู้สอนกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ใน TQF 3 ในแต่ละรายวิชา                              ดังนั้นหลักสูตรฯ ได้มีการกำหนดและสื่อสารผลการเรียนรู้ที่คาดหวังอย่างเป็นระบบ และมาจากการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้รับรู้รับทราบ 

2. ออกแบบผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง เหมาะสมกับการจัดการเรียนรู้

             หลักสูตรได้กำหนดผลการเรียนรู้ แนวทางการพัฒนา และแนวทางการประเมินผลการเรียนรู้ในด้านต่าง ๆ ครอบคลุมตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร พ.ศ.2558  จำนวน  5 ด้าน  คือ ด้านคุณธรรมจริยธรรม  ด้านความรู้  ด้านทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ  และทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  โดยนำมาบูรณาการ  ได้จำนวน  3 ด้าน และแต่ละด้าน มีการกำหนดกลยุทธ์การสอน  กลยุทธ์  การประเมินผล เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน และประเมินผลได้สอดคล้อง เหมาะสมกับผลการเรียนรู้ในแต่ละด้าน   ประกอบด้วย

1) ด้านการเป็นผู้เรียนที่กระตือรือร้นและรอบรู้    (ด้านความรู้)

        (1) การรอบรู้ในเนื้อหาสาระที่เรียน
        (2) การเป็นใฝ่รู้ ในแนวคิด ทฤษฎีใหม่ ๆ ทางการบริหารการศึกษาหรือที่เกี่ยวข้อง
        (3) ความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้ด้านบริหารการศึกษาเพื่อการพัฒนางาน
        (4) การมีทักษะในการบริหารจัดการเชิงยุทธศาสตร์

        กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเป็นผู้เรียนที่กระตือรือร้นและรอบรู้
         ใช้การสอนในหลากหลายรูปแบบโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ นอกจากนี้จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงาน หรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ตลอดจนฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ และฝึกปฏิบัติโครงงานประจำภาคการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

        กลยุทธ์การประเมินผลการเป็นผู้เรียนที่กระตือรือร้นและรอบรู้
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษาในด้านต่าง ๆ คือ
            (1) การทดสอบย่อย การสอบกลางภาคการศึกษาและปลายภาคการศึกษา
           (2) ประเมินจากรายงานหรือผลงานนักศึกษา
            (3) ประเมินจากแผนงานหรือโครงการที่นำเสนอ
            (4) ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
            (5) ประเมินจาก E-Portfolio รายวิชา ผลงานโครงงานประจำภาคเรียนและผลงานโดดเด่น ที่สะท้อนถึงการเป็นผู้รอบรู้ในศาสตร์ทางการบริหารการศึกษา

2) ด้านการเป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม (ด้านทักษะทางปัญญา/ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทึโนโลยีสารสนเทศ)

       (1) ทักษะในการวิเคราะห์ สังเคราะห์
       (2) ทักษะในการแก้ปัญหา เผชิญปัญหา และจัดการความเสี่ยง
       (3) ทักษะเชิงตัวเลข การสื่อสารและดิจิทัล
       (4) ทักษะในการสร้างสรรค์งานวิจัยและนวัตกรรม

        กลยุทธ์การสอนด้านการเป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม (Co-Creator)
        (1) ฝึกกระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์ ตั้งแต่เริ่มเข้าศึกษา โดยเริ่มต้นจากปัญหาทั่วไปเพิ่มระดับความยากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งนี้ ต้องจัดให้เหมาะสมและสอดคล้องกับรายวิชา
       (2) จัดการสอนโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ด้วยการแก้ปัญหาจากสถานการณ์จำลองและสถานการณ์จริงในการปฏิบัติงาน
       (3) ให้มีการปฏิบัติจริงในสถานศึกษาเพื่อเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาหรือพัฒนางานอย่างเป็นระบบจากชุดโครงงานประจำภาคการศึกษาและชุดฝึกปฏิบัติจากรายวิชาต่าง ๆ
       (4) ส่งเสริมทักษะการใช้เทคโนโลยีบูรณาการกับการบริหารสถานศึกษา
       (5) ส่งเสริมการเรียนรู้หรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้หรือกำกับติดตามงานในระบบออนไลน์
       (6) ใช้กลยุทธ์การสอนโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน (The Research-Based Instructional Strategies)

        กลยุทธ์การประเมินผลด้านการเป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม(Co-Creator)
              ประเมินตามสภาพจริง จากผลงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น ผลการดำเนินงานโครงงานที่มอบหมายประจำภาคการศึกษา หรืองานมอบหมายสำคัญ ๆ ในรายวิชา ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน การทดสอบโดยให้แสดงวิสัยทัศน์ในโอกาสที่เหมาะสม ประเมินจาก E-Portfolio รายวิชา ผลงานโครงงานประจำภาคเรียนและผลงานโดดเด่น ที่สะท้อนถึงการเป็นผู้รอบรู้ในศาสตร์ทางการบริหารการศึกษา เป็นต้น

3) ด้านการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง (คุณธรรมจริยธรรม/ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ)
      (1) การมีปฏิสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างบุคคล และการทำงานเป็นทีม
      (2) การเป็นผู้มีความรับผิดชอบต่อตนเองและต่อเพื่อนร่วมงาน
      (3) การเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรมในการดำเนินชีวิต มีจรรยาบรรณวิชาชีพ ที่รับผิดชอบต่อวิชาชีพและต่อสังคม
      (4) มีความเป็นพลโลกที่เคารพในควมแตกต่าง เคารพในสิทธิความเป็นมนุษย์

    กลยุทธ์การสอนด้านการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง (Active Citizen)
    (1) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาให้นักศึกษาเรียนแบบร่วมมือในการทำงาน
    (2) สอดแทรกความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมในการจัดการเรียนการสอน
    (3) ปลูกฝังการมีมนุษยสัมพันธ์ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมขององค์การที่เข้าไปร่วมปฏิบัติงานในการเรียนรายวิชาต่าง ๆ

     กลยุทธ์การประเมินผลด้านการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง (Active Citizen)
     (1) ประเมินพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในร่วมมือในการปฏิบัติงานต่าง ๆ
     (2) สังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมในโอกาสต่าง ๆ
     (3) ประเมินพฤติกรรมที่สะท้อนถึงการเป็นผู้ร่วมงานที่ดี การยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรมในการดำเนินชีวิต
    (4) ประเมินพฤติกรรมการรับผิดชอบต่อตนเองในด้านสุขภาพ อนามัยและบุคลิกภาพ และพฤติกรรมการพัฒนาเพื่อนร่วมงานหรือทีมงาน วิสัยทัศน์ในการพัฒนาผู้ร่วมวิชาชีพ
    (5) ประเมินจากผลงานการเข้าร่วมในกิจกรรมทางวิชาชีพที่สำคัญ ๆ
   (6) ประเมินการเคารพในความแตกต่างระหว่างบุคคล การให้เกียรติ์ ผู้ร่วมงาน การเคารพในสิทธิ์ความเป็นมนุษย์
   (7) ประเมินจากแฟ้มสะสมงาน (E-Portfolio) ที่สะท้อนถึงการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งจากหลักฐานตามรายการ (1) – (6) 

             ดังนั้น จากการดำเนินการดังกล่าว แสดงได้ว่าหลักสูตรฯ มีการออกแบบผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง เหมาะสมกับการจัดการเรียนรู้                      

3. ระบุผลลัพธ์การเรียนรู้ทั่วไป และผลลัพธ์การเรียนรู้เฉพาะทาง

           หลักสูตรฯ มีการระบุผลลัพธ์การเรียนรู้  ทั้งผลลัพธ์การเรียนรู้ทั่วไป และผลลัพธ์การเรัยนรู้เฉพาะทาง  ไว้ในแต่ละด้าน และกำหนดแผนที่การกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้สู่รายวิชา (Curriculum Mapping)   

4. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังบรรลุตามความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

      หลักสูตรฯ มีการดำเนินการตรวจสอบ ติดตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง  ทั้ง 3 ด้าน บรรลุตามความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย   

     1)  มีการประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษาในด้านต่าง ๆ   จากประเมินจาก E-Portfolio รายวิชา ผลงานโครงงานประจำภาคเรียนและผลงานโดดเด่น ที่สะท้อนถึงการเป็นผู้รอบรู้ในศาสตร์ทางการบริหารการศึกษา  พบว่า ผู้เรียนอย่างน้อย     ร้อยละ 85  บรรลุ 

    2)   การเป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม(Co-Creator)  มีการประเมินตามสภาพจริง จากผลงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น ผลการดำเนินงานโครงงานที่มอบหมายประจำภาคการศึกษา หรืองานมอบหมายสำคัญ ๆ ในรายวิชา ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน การทดสอบโดยให้แสดงวิสัยทัศน์ในโอกาสที่เหมาะสม ประเมินจาก E-Portfolio รายวิชา ผลงานโครงงานประจำภาคเรียนและผลงานโดดเด่น ที่สะท้อนถึงการเป็นผู้รอบรู้ในศาสตร์ทางการบริหารการศึกษา เป็นต้น   พบว่า ผู้เรียน อย่างน้อยร้อยละ  80  บรรลุ

    2)  ประเมินจากแฟ้มสะสมงาน (E-Portfolio) ที่สะท้อนถึงการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งจากหลักฐาน
(1) ประเมินพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในร่วมมือในการปฏิบัติงานต่าง ๆ
(2) สังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมในโอกาสต่าง ๆ
(3) ประเมินพฤติกรรมที่สะท้อนถึงการเป็นผู้ร่วมงานที่ดี การยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรมในการดำเนินชีวิต
(4) ประเมินพฤติกรรมการรับผิดชอบต่อตนเองในด้านสุขภาพ อนามัยและบุคลิกภาพ และพฤติกรรมการพัฒนาเพื่อนร่วมงานหรือทีมงาน วิสัยทัศน์ในการพัฒนาผู้ร่วมวิชาชีพ
(5) ประเมินจากผลงานการเข้าร่วมในกิจกรรมทางวิชาชีพที่สำคัญ ๆ
(6) ประเมินการเคารพในความแตกต่างระหว่างบุคคล การให้เกียรติ์ ผู้ร่วมงาน การเคารพในสิทธิ์ความเป็นมนุษย์

          พบว่า ผู้เรียนอย่างน้อยร้อยละ 90 บรรลุผลตามความคาดหวัง

        ดังนั้น จากผลการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง แสดงว่าบรรลุตามความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

5. ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง บรรลุผลกับผู้เรียนเมื่อสำเร็จการศึกษา

            ยังไม่มีการดำเนินการในข้อนี้เนื่องจากผู้เรียนยังไม่สำเร็จการศึกษา่

6. ผลการประเมินผลการเรียนรู้ ด้านความรู้ ทักษะ จริยธรรม และลักษณะบุคคล ของนักศึกษา(กลุ่มตัวอย่างทุกชั้นปี) สูงกว่า 3.51

       หลักสูตรนำผลการประเมินผลลัพธ์การเรียนตาม มคอ.2 จำนวน 3 ด้าน เทียบเคียงผลลัพธ์การเรียนรู้ ตามเกณฑ์มาตรฐาน   พ.ศ.2565   จำนวน  3 ด้าน  โดยได้ประเมินจากการสัมภาษณ์นักศึกษา จำนวน 9 คน และจาก E-portfolio  พบว่า

       1. การเป็นผู้เรียนที่กระตือรือร้นและรอบรู้ (ความรู้)   ผลการประเมินไม่น้อยกว่าร้อยละ 85  หรือ 4.25

       2.การเป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม (ทักษะ)  ผลการประเมินไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 หรือ 4.00

        3. การเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง (จริยธรรมและลักษณะบุคคล)ผลการประเมินไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 หรือ 4.50

              จากผลการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้  พบว่า ทั้ง 3 ด้าน สูงกว่า 3.51  

7. ผลการประเมินผลการเรียนรู้เฉลี่ยทั้ง 4 ด้าน สูงกว่า 3.51

             ผลการประเมินผลการเรียนรู้เฉลี่ยทั้ง 3  ด้าน (เทียบเคียง 4 ด้าน)  เท่ากับ 4.25

สูงกว่า 3.51  

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

….5ข้อ….

IQA(1-7)

1,2,3,6,7

….5…ข้อ

…4..คะแนน

AUN-QA(1-5)

1, 2

ระดับ……1…….

รายการหลักฐานอ้างอิง

รหัสหลักฐานรายการ
2.1.1.1มคอ.2
: แสดงผลลัพธ์การเรียนรู้
: ภาคผนวก แสดง คำสั่งแต่งตั้งกรรมการพัฒนาหลักสูตร กรรมการวิพากษ์หลักสูตร
เวปไซด์วิทยาลัีย/คณะศึกษาศาสตร์
https://suphak1954.wixsite.com/doctoralproject
2.1.1.2มคอ.2
กิจกรรมการเรียนรู้ของนักศึกษา
2.1.1.3
2.1.1.4E-portfolio
การสัมมนาของนักศึกษา
2.1.1.5
2.1.1.6 E-portfolio
ข้อมูลการสัมภาษณ์
2.1.1.7 E-portfolio
ข้อมูลการสัมภาษณ์

ผลการประเมินตนเอง

ผลการประเมินตนเองIQAAUN-QA
ตัวบ่งชี้ที่ 2.1…4……3…

Leave a Reply