-องค์ประกอบที่ 3 หลักสูตร

ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 หลักสูตร (โครงสร้างโปรแกรมและเนื้อหา)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5 คะแนน
1 ข้อ 2 ข้อ 3-4 ข้อ 5-6 ข้อ 7-9 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน AUN-QA ประเมินภาพรวมประเด็น 1-7 ประเมิน 7 ระดับ

ผลการดำเนินการ

1. หลักสูตรทันสมัยเป็นปัจจุบันและมีความเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม

…… ระบุรายละเอียดผลการดำเนินการ …… 

         หลักสูตรฯ เป็นหลักสูตรใหม่ ทันสมัยเป็นปัจจุบันและมีความเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมกล่าวคือ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา  ได้ศึกษา วิเคราะห์ สถานการณ์ การเปลี่ยนแปลงปัจจุบัน ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาพัฒนาหลักสูตร ได้แก่ สถานการณ์ทางด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป ซึ่งประเทศไทยได้จัดทำยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) รองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จำเป็นต้องพัฒนาคนให้มีศักยภาพสูงขึ้น มีคุณธรรม มีความรอบรู้และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ประกอบกับมีการเปลี่ยนแปลง  ด้านมาตรฐานวิชาชีพทางการบริหารการศึกษา ซึ่งคุรุสภาได้มีการปรับปรุงข้อบังคับว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2559 ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2561 และ ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2562  หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา จึงมีความทันสมัย สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาผู้บริหารการศึกษาให้มีสมรรถนะเทียบเท่ามาตรฐานสากล รองรับการพัฒนาการศึกษาและพัฒนาสังคมที่ปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว สามารถสร้างองค์ความรู้รองรับการเปลี่ยนแปลงในสังคมดิจิทัลได้เป็นอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงเป็นหลักสูตรที่สามารถตอบสนองความต้องการของบุคคลที่มีประสบการณ์สูงด้านการวิจัย ที่ทำงานด้านการศึกษาหรือการพัฒนาสังคมมายาวนาน ที่ประสงค์จะมีความรู้ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนางานบริหารการศึกษา หรือเพื่อเพิ่มคุณวุฒิการศึกษา เพื่อประโยชน์ในการร่วมพัฒนาการศึกษากับนักบริหารการศึกษาทั่วไป  ทั้งนี้ ได้นำสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลง มาวิเคราะห์ร่วมกันของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และนำมา  กำหนดวัตถุประสงค์  ผลลัพธ์การเรียนรู้  โครงสร้าง หลักสูตร  รายวิชา คำอธิบายรายวิชา โครงการ กิจกรรมที่กำนดในแผนการเรียนของหลักสูตร

2. หลักสูตรครอบคลุม ทันสมัย และมีการสื่อสารไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

…… ระบุรายละเอียดผลการดำเนินการ ……

         1. หลักสูตรฯ ครอบคลุม ทันสมัย   กล่าวคือ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา  ได้ศึกษา วิเคราะห์ สถานการณ์ การเปลี่ยนแปลงปัจจุบัน ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาพัฒนาหลักสูตร ได้แก่สถานการณ์ทางด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป ซึ่งประเทศไทยได้จัดทำยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) รองรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จำเป็นต้องพัฒนาคนให้มีศักยภาพสูงขึ้น มีคุณธรรม มีความรอบรู้และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง ประกอบกับมีการเปลี่ยนแปลง  ด้านมาตรฐานวิชาชีพทางการบริหารการศึกษา ซึ่งคุรุสภาได้มีการปรับปรุงข้อบังคับว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2559 ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2561 และ ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2562  หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา จึงมีความทันสมัย สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการพัฒนาผู้บริหารการศึกษาให้มีสมรรถนะเทียบเท่ามาตรฐานสากล รองรับการพัฒนาการศึกษาและพัฒนาสังคมที่ปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว สามารถสร้างองค์ความรู้รองรับการเปลี่ยนแปลงในสังคมดิจิทัลได้เป็นอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงเป็นหลักสูตรที่สามารถตอบสนองความต้องการของบุคคลที่มีประสบการณ์สูงด้านการวิจัย ที่ทำงานด้านการศึกษาหรือการพัฒนาสังคมมายาวนาน ที่ประสงค์จะมีความรู้ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนางานบริหารการศึกษา หรือเพื่อเพิ่มคุณวุฒิการศึกษา เพื่อประโยชน์ในการร่วมพัฒนาการศึกษากับนักบริหารการศึกษาทั่วไป  ทั้งนี้ ได้นำสถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลง มาวิเคราะห์ร่วมกันของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และนำมา  กำหนดวัตถุประสงค์  ผลลัพธ์การเรียนรู้  โครงสร้าง หลักสูตร  รายวิชา คำอธิบายรายวิชา โครงการ กิจกรรมที่กำนดในแผนการเรียนของหลักสูตร

        2. มีการสื่อสารไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย   หลักสูตรฯ มีการสื่อสารหลักสูตรให้ผู้เกี่ยวข้องทราบโดยการประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตร  อาจารย์ผู้สอน  สำหรับนักศึกษาได้สื่อสารให้ทราบจากการปฐมนิเทศ , TQF 3  นอกจากนี้ได้มีการเผยแพร่ในเวปไซด์ของคณะศึกษาศาสตร์ และเวปไซด์ของวิทยาลัย เพื่อให้บุคคลผู้สนใจ องค์กรวิชาชีพ สถานศึกษา หน่วยงานทางการศึกษา ได้ทราบอย่างทั่วถึง

3. การออกแบบเนื้อหาหลักสูตรสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

…… ระบุรายละเอียดผลการดำเนินการ ……

        หลักสูตรฯ มีการออกแบบเนื้อหาหลักสูตรสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ดังนี้   

    1) หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน  เน้นสาระสำคัญที่เกี่ยวกับ ผลการเรียนรู้ด้านการเป็นผู้เรียนที่กระตือรือร้นและรอบรู้  ศาสตร์บริหารการศึกษา  และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน มุ่งเน้นผลการเรียนรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง   ประกอบด้วย  3 รายวิชา คือ   

          143 001  ระบบการศึกษาและทฤษฎีทางการศึกษา

          143 002  หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา 

          143 003  วิธีการเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพในการวิจัยทางการศึกษา 

      2)  หมวดวิชาบังคับ  เน้นสาระสำคัญที่เกี่ยวกับ ผลการเรียนรู้ด้านการเป็นผู้เรียนที่รอบรู้  ศาสตร์บริหารการศึกษาและความทันสมัย ทันต่อการเปลี่ยนแปลงสอดคล้องยุคดิจิทัล    ตลอดจนมุ่งเน้นผลการเรียนรู้ด้านการเป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม ประกอบด้วย 3 รายวิชา คือ                 

          143 101 สัมมนานโยบายและยุทธศาสตร์การบริหารการศึกษานานาชาติ

           143 102 สัมมนากลยุทธ์การบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาในยุคดิจิทัล

          143 103 สัมมนาการวิจัยและนวัตกรรมด้านการบริหารการศึกษา 

     3)   หมวดวิชาบังคับ (มาตรฐานวิชาชีพ) มุ่งเน้นสาระสำคัญครอบคลุมเกี่ยวกับมาตรฐานวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษา เพื่อเป็นผู้ที่มีความรอบรู้ ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง   ประกอบด้วย  3 รายวิชา คือ

          143 201 การบริหารจัดการคุณภาพในองค์กรทางการศึกษา 

          143 202 หลักสูตร การจัดการเรียนรู้ และงานกิจการนักเรียน 

          143 203 ปฏิบัติการวิชาชีพบริหารการศึกษา         

     4) หมวดวิทยานิพนธ์  เน้นสาระสำคัญที่เกี่ยวกับ ผลการเรียนรู้ด้านการเป็นผู้เรียนที่รอบรู้  ศาสตร์บริหารการศึกษาและความทันสมัย ทันต่อการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนมุ่งเน้นผลการเรียนรู้ด้านการเป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม ประกอบด้วย    2 รายวิชา คือ   

           143 400 สัมมนาวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก 

           143 401 – 6 วิทยานิพนธ์ 1 – 6

          ทุกรายวิชาสอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้  Curriculum mapping

         ดังนั้นหลักสูตรฯมีการออกแบบเนื้อหาหลักสูตรทุกรายวิชาสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวังทั้ง 3 ด้า่น   มีความทันสมัย  สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง โดยกำหนดไว้ในรายวิชา  คำอธิบายรายวิชา  และกิจกรรม/โครงการในแผนการเรียนแต่ละภาคการศึกษา

4. การออกแบบหลักสูตรสอดคล้องผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

…… ระบุรายละเอียดผลการดำเนินการ ……

   หลักสูตรฯ มีการดำเนินการออกแบบหลักสุตรสอดคล้องผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ดังนี้ 

  1. คณะกรรมการพัฒนาหลักสุตร ประกอบด้วย อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก  มีการประชุมร่วมกันศึกษา วิเคราะห์ ประเมิน และพัฒนาหลักสูตรให้มีความสอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร  ข้อบังคับคุรุสภาที่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานวิชาชีพผู้บริหาร ปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน   สนองตอบต่อความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการวิพากษ์หลักสูตรพิจารณา   

   2. คณะกรรมการวิพากษ์หลักสูตร ประกอบด้วย  ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก  องค์กรวิชาชีพ        ผู้ใช้บัณฑิต   อาจารย์ประจำหลักสูตร  อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร  ประชุมร่วมกันเพื่อพิจารณาให้ข้อเสนอแนะเพื่อให้หลักสูตร ครอบคลุมตามเกณฑ์มาตรฐาน  ข้อบังคับคุรุสภามีความทันสมัย  สอดคล้อง ตรงความความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  เพื่อนำเสนอสภาวิชาการและสภาวิทยาลัยพิจารณาเห็นชอบ ซึ่งหลักสูตรได้รับการอนุมัติจากสภาวิทยาลัย และการรับรองจาก สกอว.แล้ว   

         ดังนั้น หลักสูตรฯมีการดำเนินการออกแบบหลักสุตร โดยการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนอย่างเป็นระบบ  จึงมีความสอดคล้องผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

5. โครงสร้างหลักสูตรจัดลำดับวิชาอย่างเป็นระบบและเหมาะสม

…… ระบุรายละเอียดผลการดำเนินการ ……

       หลักสูตรฯ มีการจัดทำโครงสร้างหลักสูตรจัดลำดับวิชาอย่างเป็นระบบและเหมาะสม   โดยจัดโครงสร้างหลักสูตร จำแนกเป็น 4 หมวด คือ 1) หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน 2)  หมวดวิชาบังคับ 3) หมวดวิชาบังคับ (มาตรฐานวิชาชีพ) 4) หมวดวิทยานิพนธ์  โดยจัดรายวิชาตามลำดับความจำเป็นในการเรียนก่อนหลัง เช่น กลุ่มที่ 1 เป็นการเสริมทักษะพื้นฐานทางการบริหารและการศึกษา  หมวด 2 เป็นวิชาบังคับศาสตร์บริหารการศึกษา  สำหรับหมวดที่ 3 บังคับสำหรับผู้ประสงค์ขอใบประกอบวิชาชีพการบริหารการศึกษา  หลังจากได้เรียน ศาสตร์เนื้อหา มาอย่างน้อย 1 ภาคเรียนเพื่อได้หลักการแนวคิดทฤษฎีทางการบริหาร  นักศึกษาจะได้เริ่มศึกษาหัวข้อวิทยานิพนธ์ควบคู่กันไป โดยจัดให้เรียนรายวิชาสัมมนาวิทยานิพนธ์สำหรับระดับปริญญาเอก เพื่อพัฒนาหัวข้อ กรอบแนวคิดวิทยานิพนธ์  แต่อย่างไรการจัดการเรียนการสอนจะเน้นการบูรณาการรายวิชาเพื่อให้ผู้เรียนเกิดประโยชน์มากที่สุด

       ดังนั้น หลักสูตรฯ จัดทำโครงสร้างหลักสูตรจัดลำดับวิชาอย่างเป็นระบบและเหมาะสม 

6. หลักสูตรมีทางเลือกสำหรับผู้เรียนที่ต้องการความเชี่ยวชาญพิเศษ

…… ระบุรายละเอียดผลการดำเนินการ ……

      หลักสูตรฯ ได้มีทางเลือกสำหรับผู้เรียนที่ต้องการความเชี่ยวชาญพิเศษ โดยโครงสร้างหลักสูตร กำหนดแผนการเรียน จำนวน 3 แผน เพื่อให้ผู้เรียนที่มีความต้องหรือความเชี่ยวชาญแตกต่างกัน  ได้แก่     

        แบบ 1.1 ทำวิทยานิพนธ์ที่ก่อให้เกิดความรู้ใหม่ในศาสตร์การบริหารการศึกษา จำนวน 48 หน่วยกิต   เป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ประสงค์ทำวิทยาพนธ์อย่างเดียว 

         แบบ 2.1 (1) เรียนรายวิชา ไม่น้อยกว่า 12 หน่วยกิต และทำวิทยานิพนธ์ที่มีคุณภาพสูง จำนวน 36 หน่วยกิต รวมไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต   เป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการเรียนรายวิชา และทำวิทยานิพนธ์

        แบบ 2.1 (2) เรียนรายวิชาและฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต และทำวิทยานิพนธ์ที่มีคุณภาพสูง จำนวน 36 หน่วยกิต รวมไม่น้อยกว่า 60 หน่วยกิต  เป็นทางเลือกสำหรับผู้ประสงค์จะขอใบประกอบวิชาชีพผู้บริหาร เป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับผู้เรียนที่สนใจจะเป็นผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้บริหารการศึกษาในอนาคต

       โดยแบบ 1.1 และ 2.1 (1) เป็นแบบสำหรับผู้ไม่ประสงค์ขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา ตามข้อบังคับของคุรุสภา ส่วนแบบ 2.1 (2) เป็นแบบสำหรับ ผู้ประสงค์ขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา ตามข้อบังคับของคุรุสภา

 มีกลุ่มวิชาเลือก  ได้แก่

รหัสวิชา          ชื่อวิชา                                                                              

143  301     ประเด็นคัดสรรด้านกลยุทธ์ทางการบริหารจัดการทางการศึกษา                  

143  302         เอกัตศึกษาด้านการบริหารการศึกษา                                               

143  303                ภาวะผู้นำในการบริหารจัดการ การวิจัย และการสร้างสรรค์คุณภาพการศึกษา        

 143  304            กลยุทธ์การบริหารจัดการทรัพยากรทางการศึกษา                              

143  305            กลยุทธ์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในสังคมดิจิทัล                               

143  306            กลยุทธ์การบริหารจัดการคุณภาพและการบริหารความเสี่ยงของสถานศึกษา            

143  307        กลยุทธ์การบริหารการเงินสำหรับนักบริหารการศึกษา                                   

143  308            ภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษาเพื่อการพัฒนาประเทศ                   

7. หลักสูตรได้รับการทบทวนให้ทันสมัยและความต้องการของอุตสาหกรรม

…… ระบุรายละเอียดผลการดำเนินการ ……

      หลักสูตรฯมีการทบทวนหลักสูตรและปรับปรุงระหว่างการใช้หลักสูตร เช่น แผนการเรียน เนื้อหาสาระ และรายละเอียดของรายวิชาให้มีความทันสมัยและสอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนไปและเหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละปี   เปิดโอกาสให้อาจารย์ในสาขาวิชาร่วมวิพากษ์หลักสูตรนอกจากนั้นก็ได้ตรวจความสอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต  ภาคเรียนละ 1 ครั้งเมื่อเสร็จสิ้นภาคเรียน และมอบหมายผู้รับผิดชอบแก้ไขปรับปรุงหรือรวบรวมไว้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงเมื่อหลักสูตรครบวงรอบปรับปรุงในการประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรได้เน้นให้อาจารย์ทุกท่านเขียนรายงานผลการดำเนินงานของรายวิชา (มคอ.5) มีสาระดังนี้

       1) รายงานผลการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ผู้สอนแต่ละรายวิชาเมื่อสิ้นภาคเรียนเกี่ยวกับภาพรวมของการจัดการเรียนการสอนในวิชานั้นๆ

      2) รายงานการดำเนินการสอนว่าครอบคลุมและเป็นไปตามแผนที่วางไว้ในรายละเอียดของรายวิชาหรือไม่หากไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ต้องให้เหตุผลและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนของรายวิชาดังกล่าวในครั้งต่อไป

      3) รายงานผลการเรียนของนักศึกษาจำนวนนักศึกษาตั้งแต่เริ่มเรียนจนสิ้นสุด

      4) ปัญหาในด้านการบริหารจัดการและสิ่งอำนวยความสะดวก

      5) สรุปวางแผนและให้ข้อเสนอแนะเพื่อเป็นฐานในการปรับปรุงและพัฒนารายวิชา 

         ต่อไป เป็นต้น

         นำผลมาปรับปรุง    คำอธิบายรายวิชาระบุ current trand  นำมาจัดการเรียนการสอน  เรียน online  onsite    ให้มีความทันสมัย

8. หลักสูตรเป็นไปตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา

…… ระบุรายละเอียดผลการดำเนินการ ……

      หลักสูตรฯเป็นไปตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา โดยได้รับการรับทราบและการรับรองการเปิดสอน จาก สป.อว. เมื่อวันที่  11 เมษายน 2565  ทั้งนี้ หลักสูตรได้เริ่มเปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ภาคเรียนที่ 2/2656  และดำเนินการให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในรายละเอียดของหลักสูตร (มคอ.2) ดังนี้

1. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรอย่างน้อยร้อยละ 80 มีส่วนร่วมในการประชุมเพื่อวางแผน ติดตาม และทบทวนการดำเนินงานของหลักสูตร

2. มีรายละเอียดของหลักสูตรตามแบบ มคอ.2 ที่สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิแห่งชาติ หรือมาตรฐานคุณวุฒิสาขาวิชา

3. มีรายละเอียดของรายวิชา ตามแบบ มคอ.3  อย่างน้อยก่อนการเปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษาครบทุกรายวิชา

4. มีการพัฒนา/ปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน กลยุทธ์การสอนหรือการประเมินผลการเรียนรู้  โดยหลักสูตรฯมอบหมายอาจารย์ผู้สอนทบทวน ตรวจสอบ เมื่อสิ้นแต่ละภาคการศึกษา โดยนำผลการประเมินจากผู้สอน และนักศึกษามาพิจารณาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

5.อาจารย์ใหม่ ได้รับการปฐมนิเทศหรือคำแนะนำด้านการจัดการเรียนการสอน โดยวิทยาลัยและสาขาวิชาได้ประชุม ทำความเข้าใจเรื่องการเรียนการสอนก่อนเปิดภาคเรียน

6.อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรได้รับการพัฒนาทางวิชาการและ/หรือวิชาชีพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ได้แก่ การเข้าร่วมประชุมทางวิชาการ การพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดทำ E-portfolio

7. หลักสูตรฯมีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ประจำหลักสูตร ที่มีคุณวุฒ คุณสมบัติ มีผลงานทางวิชาการเผยแพร่ตามเกณฑ์กำหนด

8. มีการปรับปรุงหลักสูตร สมอ.08 เพื่อเพิ่มศักยภาพ ความเหมาะสม ความเพียงพอ ในการบริหารหลักสูตรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

9. บริหารหลักสูตรให้เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา

…… ระบุรายละเอียดผลการดำเนินการ ……

   หลักสูตรฯ ดำเนินการบริหารหลักสูตรให้เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา โดยมีกระบวนการในการดำเนินการดังนี้   

   1. สื่อสาร ผลลัพธ์การเรียนรู้ ใน มคอ.2 ให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ  ได้แก่  อาจารย์ประจำหลักสูตร  อาจารย์ผู้สอน ผู้เรียน 

   2. ผู้สอน นำรายละเอียด รายวิชา คำอธิบายรายวิชา  ผลลัพธ์การเรียนรู้   Curriculum mapping ของรายวิชาที่สอน  ใน มคอ.2  ไปจัดทำ TQF 3 ที่ได้กำหนด ผลลัพธ์การเรียนรู้   กิจกรรมการเรียนการสอน  การประเมินผล ที่สอดคล้องกับ มคอ. 2

    3. ผู้สอนดำเนินการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับ TQF 3 และประเมินผลการเรียนที่ครอบคลุมผลลัพธ์การเรียนรู้ ด้วยวิธีการหลากหลาย   

    4.  อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร กำกับติดตาม เพื่อให้เป็นไปตามที่กำหนด  โดยตรวจสอบติดตาม TQF 3  ผลการเรียน  E-portfolio 

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้รมตะบุข้อ)

การประเมินตนเอง

…5 ข้อ…

IQA(1-9)

1,2,3,4.5,7,8,

….ุ7…ข้อ

…5..คะแนน

AUN-QA(1-7)

1,2,3,5

ระดับ……2…….

รายการหลักฐานอ้างอิง

รหัสหลักฐานรายการ
3.1.1.1มคอ.2
3.1.1.2มคอ.2
ภาพเวปไซด์คณะศึกษาศาสตร์
ภาพเวปไซด์วิทยา่ลัย
ตัวอย่าง TQF 3
3.1.1.3มคอ.2
3.1.1.4มคอ.2
-คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาหลักสูตร
-คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการวิพากษ์หลักสูตร
3.1.1.5มคอ.2
3.1.1.6มคอ.2
3.1.1.7มคอ.2
3.1.1.8มคอ.2
สมอ.08
การประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตร
ภาพการประชุมอาจารย์ผู้สอน
3.1.1.9มคอ.2
ตัวอย่าง TQF 3
การประชุม อาจารย์ประจำหลักสูตร

ผลการประเมินตนเอง

ผลการประเมินตนเองIQAAUN-QA
ตัวบ่งชี้ที่ 3.1…5……2…

Leave a Reply