องค์ประกอบที่ 3 หลักสูตร

ตัวบ่งชี้ที่ 3.1 หลักสูตร (โครงสร้างโปรแกรมและเนื้อหา)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5 คะแนน
1 ข้อ 2 ข้อ 3-4 ข้อ 5-6 ข้อ 7-9 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน AUN-QA ประเมินภาพรวมประเด็น 1-7 ประเมิน 7 ระดับ

ผลการดำเนินการ

1. หลักสูตรทันสมัยเป็นปัจจุบันและมีความเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม

                สาขาวิชา G-DIP THAI เป็นการสร้างวิศวกรสังคม ได้ทำการออกแบบรายวิชาที่ครอบคลุม ทั้ง การสอน สพฐ. สอศ. สกอ. การให้ผู้เรียนมีสมรรถนะที่สามารถเป็นครูไปปฏิบัติภารกิจผลิตนักเรียนที่ตอบสนองความต้องการกำลังคนตามบริบทของต้นสังกัด ครอบคลุมทั้งสายสามัญและสายอาชีพ ด้วยรายวิชาต่างๆ ที่เป็นพลวัตร ที่มีความทันสมัย และเป็นปัจจุบัน ผู้ที่มาเป็นนักศึกษาเป็นครูที่มีต้นสังกัดหลากหลาย โดยกลุ่มที่มีต้นสังกัดเป็น สอศ.ได้แก่ วิทยาลัยการอาชีพ วิทยาลัยเทคนิค ซึ่งเป็นสถาบันผลิตบุคลากรสายอาชีวศึกษาจำนวนมากได้เข้ามาเป็นนักศึกษาในหลักสูตรดังกล่าว ดังนั้นการจัดการเรียนรู้ในทุกวิชารวมถึงการฝึกปฏิบัติงานเป็นการตอบสนองความต้องการของผู้เรียนที่สำเร็จไปเป็นครูอาชีวศึกษา อันเป็นบุคลากรสำหรับสนับสนุนการอุตสาหกรรมของประเทศ

2. หลักสูตรครอบคลุม ทันสมัย และมีการสื่อสารไปยังผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

          สาขาวิชา ได้เผยแพร่ข้อมูลความครอบคลุมของหลักสูตรตามความต้องการของสาขาวิชา และความทันสมัย สื่อสารไปยังผู้สนใจเข้าศึกษาและผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ผ่านทางโบชัวร์  สื่อสารไปยังนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ผ่านคู่มือนักศึกษาในการปฐมนิเทศนักศึกษา และสื่อสารไปยังอาจารย์ผู้สอนโดยการประชุมอาจารย์ผู้สอนอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ก่อนเปิดเทอม ระหว่างเทอม และหลังปิดภาคการศึกษา  ในการปฐมนิเทศอาจารย์ใหม่ ทุกภาคการศึกษา

3. การออกแบบเนื้อหาหลักสูตรสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

             สาขาวิชา ได้ออกแบบหลักสูตรให้เป็นการบูรณาการเนื้อหารายวิชาต่างๆ กับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง ทั้ง 6 ด้าน กล่าวคือ การเรียนในเนื้อหาแต่ละรายวิชา สามารถวัดผล ประเมินผลการเรียนรู้ ทั้งในด้านคุณธรรมจริยธรรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และทักษะด้านวิชาชีพครู โดยแต่ละรายวิชา ได้ระบุผลการเรียนรู้ทั้ง 6 ด้าน ร่วมกับการส่งผลการเรียนในแต่ละรายวิชา ที่ครอบคลุมด้วยการกำหนดจากคณะศึกษาศาสตร์ให้ทุกรายวิชาต้องออกแบบประเมินผลการเรียนรู้ด้วยกรอบการประเมินรายวิชา(Evaluation framework หรือ Evaluation Blueprint)ที่ครอบคลุมตาม PLO และในส่วนของ LO ที่เป็น Cognitive กำหนดให้มีการแสดง พิมพ์เขียวข้อสอบ(Test Blueprint)ให้ชัดเจน ทุกรายวิชา

4. การออกแบบหลักสูตรสอดคล้องผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

                  ในการจัดทำหลักสูตรสาขาวิชา ได้ใช้ข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรเมื่อสิ้นสุดปีที่ 5 ของการใช้หลักสูตร จาก ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเช่น ศิษย์ปัจจุบัน ศิษย์เก่า ผู้ประกอบการที่นักศึกษาปฏิบัติ และหน่วยงานที่รับบัณฑิตเข้าทำงาน รวมถึงคณาจารย์  ร่วมกันให้ข้อมูลใหม่ๆที่ทันสมัยในศาสตร์การสอนมาใช้ในการออกแบบ หลักสูตรและใช้หลักสูตรมาครบ5 ปีในปีการศึกษา 2565 โดยได้มีการประเมินหลักสูตรเพื่อเป็นสารสนเทศในการพัฒนาหลักสูตรในระยะเวลาต่อไป

5. โครงสร้างหลักสูตรจัดลำดับวิชาอย่างเป็นระบบและเหมาะสม

                       สาขาวิชา ได้จัดลำดับรายวิชาให้สอดคล้องกับโครงสร้างหลักสูตร โดยการเรียนตามหลักสูตรประกอบด้วย 9 รายวิชาในหมวดวิชาชีพครู รายวิชาชีพเฉพาะที่เป็นทฤษฏีให้ศึกษาในภาคการศึกษาที่ 1 2  3 ตามลำดับประกอบด้วย วิชาพื้นฐานวิชาชีพครู ได้แก่รายวิชาหลักแห่งวิชาชีพครู รายวิชาความเป็นครู รายวิชาภาษาและวัฒนธรรมสำหรับครู รายวิชาจิตวิทยาสำหรับครู รายวิชาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้  รายวิชานวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา รายวิชาการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ รายวิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ รายวิชาการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษา  และรายวิชาชีพที่เป็นปฏิบัติ ให้ฝึกปฏิบัติและนิเทศการสอนใน ภาคเรียนที่ 2  3  

6. หลักสูตรมีทางเลือกสำหรับผู้เรียนที่ต้องการความเชี่ยวชาญพิเศษ

           หลักสูตร grad dip th. เป็นหลักสูตรเฉพาะทาง ที่เป็นทางเลือกให้กับผู้เรียนที่ต้องการความเป็นวิชาชีพครู เป็นหลักสูตรปีครึ่ง ศึกษา 3 ภาคการศึกษา  จึงไม่ได้มีทางเลือกสำหรับผู้เรียนโดยทั่วไป แต่สำหรับนักศึกษาบางคนที่มีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในบางเรื่องเช่น มีความเชี่ยวชาญการสอนภาษาจีน การสอนวิชาพละ ทางหลักสูตรได้เสริมความแกร่งในสาขาเหล่านั้นให้ในบางเรื่องที่สามารถส่งเสริมได้เช่น การส่งเสริมทักษะการวิจัยพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้านนั้นๆ  จนสามารถจัดการเรียนรู้ในสาขานั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีผลงานวิจัยพัฒนาการจัดการเรียนรู้ส่งดีพิมพ์ลงวารสาร ฐาน SCOPUS ได้

7. หลักสูตรได้รับการทบทวนให้ทันสมัยและความต้องการของอุตสาหกรรม

               สาขาวิชา ได้มีการจัดสัมนาทบทวนความทันสมัยของหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและความต้องการเชิงพื้นที่ โดยในปีการศึกษา 2565 ได้มีการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิจาก มหาวิทยาลัย และผู้เชี่ยวชาญสถานประกอบการ มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2566 ในงาน วันปัจฉิมนิเทศนักศึกษา ผลการประชุมมีข้อเสนอแนะให้ ประยุกต์ใช้หลักการ CWIE ในการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาปีการศึกษาต่อไป สำหรับในแต่ละปีการศึกษาได้มีการประเมินหลักสูตรอย่างต่อเนื่องด้วยการทำวิจัยประเมินหลักสูตรทุกปี อย่างต่อเนื่อง

8. หลักสูตรเป็นไปตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา

              สาขาวิชา ได้มีระบบการกำกับ การบริหารหลักสูตรให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ผลการดำเนินการ พบว่า การบริหารหลักสูตร G-DIP THAI เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพ เป็นไปตามมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษา และ เป็นไปตามมาตรฐานหลักสูตร พ.ศ. 2565

9. บริหารหลักสูตรให้เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา

               สาขาวิชา ได้นำข้อเสนอแนะจาก การรายงานผลการบริหารหลักสูตรG-DIP THAI ต่อ คณะบดีคณะศึกษาศาสตร์ ในปีการศึกษา 2564 มาใช้ในการวางแผนพัฒนาหลักสูตร G-DIP THAI ในปีการศึกษา 2565 ผลการดำเนินการตามแผนที่กำหนด (Improvement Plan) ทำให้ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา  สูงขึ้น และเมื่อเปรียบเทียบ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2563-2565 จะพบว่า ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

…5 ข้อ…

IQA(1-9)

1,2,3,4,5,7,8,9

….8…ข้อ

…5..คะแนน

AUN-QA(1-7)

1,2,3,4,5,7(5)

ระดับ……5…….

รายการหลักฐานอ้างอิง

รหัสหลักฐานรายการ
3.1.1.1TQF2 หลักสูตรปรับปรุง 2561
3.1.1.2 ช่องทางการสื่อสารประชาสัมพันธ์ แผ่นพับประชาสัมพันธ์หลักสูตร
ประกาศรับสมัครเข้าศึกษา ป.บัณฑิต 2565
รายละเอียดการรับสมัคร ป.บัณฑิต 2565
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ 2565
3.1.1.3รายงานวิจัยประเมินหลักสูตร 2565
3.1.1.4 รายงานวิจัยประเมินหลักสูตร 2565
3.1.1.5หน้าอนุมัติระบบรับทราบหลักสูตร 2566
TQF2 หลักสูตรปรับปรุง 2566
3.1.1.6 รายงานวิจัยประเมินหลักสูตร 2565

ผลการประเมินตนเอง

ผลการประเมินตนเองIQAAUN-QA
ตัวบ่งชี้ที่ 3.1…5……5…

Leave a Reply