องค์ประกอบที่ 7 นักศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่ 7.1 นักศึกษา (การบริการและการช่วยเหลือผู้เรียน)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5 คะแนน
1 ข้อ 2 ข้อ 3-4 ข้อ 5-6 ข้อ 7-8 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน AUN-QA ประเมินภาพรวมประเด็น 1-6 ประเมิน 7 ระดับ

ผลการดำเนินการ

1. มีการสื่อสารเรื่องการรับผู้เรียน เกณฑ์และขั้นตอนการรับเข้าเรียนในหลักสูตรอย่างชัดเจน

               หลักสูตรทำการประชาสัมพันธ์ผ่านwebsite ของวิทยาลัย และส่ง Link ตามกลุ่มไลน์ของศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน ทุกรุ่น และมีการแนะนำจากอาจารย์นิเทศที่ออกไปนิเทศโรงเรียนในพื้นที่มีการประชาสัมพันธ์ ในกระบวนการรับ คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา และขั้นตอนการรับ ตลอดจนความเข้าใจในการมาศึกษาในหลักสูตรนี้ ในเรื่องรายวิชาที่จะต้องศึกษา และโอกาสการรับใบประกอบวิชาชีพครู  การบรรจุเป็นครูหลังสำเร็จการศึกษารวมถึงการสื่อสารผ่านเวปไซต์ของวิทยาลัย เวปไซต์ของคระศึกษาศาสตร์ 

2. มีการวางแผนบริการสนับสนุนผู้เรียนที่เพียงพอและมีคุณภาพ

                  หลักสูตรกำหนดแผนกิจกรรม โครงการประจำปีที่ให้บริการสนับสนุนนักศึกษาหลากหลายรูปแบบโดยการดำเนินการของฝ่ายกิจการนักศึกษา อย่างต่อเนื่องตลอดปี และเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้มามีส่วนร่วมในการกำหนดแผน ในการจัดการเรียนรู้ ระบบการส่งเสริมวิชาการ และกิจกรรมที่ไม่เป็นวิชาการ

3. ติดตามความก้าวหน้าของผู้เรียนอย่างเป็นระบบ มีการให้ข้อมูลย้อนกลับ และข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง

                 คณะศึกษาศาสตร์จัดทำฐานข้อมูลของนักศึกษาในด้านการเรียนรายวิชา และกิจกรรม โครงการที่สนับสนุนการเรียนรู้ มีระบบอาจารย์ที่ปรึกษาที่พบนักศึกษาทุกคนทุกสัปดาห์ที่มีตารางเรียน และตรวจสอบความก้าวหน้าในการเรียนรู้และความประพฤติ ให้คำแนะนำในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ผ่านการพบที่ปรึกษาตามกำหนดและเวลาที่อาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์รายวิชากำหนดเป็นตารางการพบนอกเหนือจากตารางการให้คำปรึกษาประจำสัปดาห์ มีการติดตามและติดต่อผู้ที่สำเร็จโดยหลากหลายช่องทาง การจัดโปรแกรมสรุป ติว ให้มีโอกาสการสอบใบประกอบวิชาชีพ  และการสอบบรรจุให้ผ่านการสอบ

4. มีกิจกรรมเสริมหลักสูตร และการบริการสนับสนุนช่วยเหลือผู้เรียนเพื่อปรับปรุงประสบการณ์การเรียนรู้ และความสามารถในการทำงาน

                หลักสูตรมีการวางแผนในเรื่องกิจกรรมเสริมหลักสูตร การบริการที่ให้กับนักศึกษา ตลอดจนการจัดโครงการต่างๆที่นักศึกษาจะเข้าร่วมเพื่อเสริมทางด้านการเรียนรู้ ประสบการณ์นอกเหนือจากด้านวิชาการเพื่อให้นักศึกษามีความสมบูรณ์ในความรู้ในสาขานี้ และการเป็นประชากรที่ดีในสังคมโดยการกำหนดให้นักศึกษาร่วมกิจกรรมกับสถานศึกษาต้นสังกัด ครอบคลุม กิจกรรมของโรงเรียนต้นสังกัดตลอดปี ในปีการศึกษา 2565 วิทยาลัยได้เข้าร่วมโครงการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ด้วยกระบวนการชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ(E-PLC) เป็นโครงการที่เน้นการส่งเสริมจรรยาบรรณวิชาชีพครูให้กับนักศึกษาของคุรุสภาเป็นโครงการร่วมมือกันระหว่างคุรุสภา วิทยาลัยและโรงเรียนต้นสังกัด

5. กำหนดสมรรถนะบุคลากรสายสนับสนุนที่ชัดเจนเกี่ยวกับการให้บริการผู้เรียน เพื่อให้มั่นใจว่า สามารถให้บริการได้อย่างราบรื่น มีประสิทธิภาพ

            วิทยาลัยพิจารณาคัดเลือกและส่งเสริมให้บุคลากรสายสนับสนุนมีคุณสมบัติ มีความรู้ในด้านต่างๆที่จำเป็นต่อการให้บริการแก่นักศึกษา กำหนดให้มีการอบรมเพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์ ที่จะนำมาใช้ในการให้บริการกับนักศึกษา กระบวนการพัฒนาเป็นระดับวิทยาลัย โดยดำเนินการอย่างต่อเนื่องทุกปีการศึกษา

6. ประเมินผลการให้การบริการและช่วยเหลือผู้เรียน และเทียบเคียงสมรรถนะเพื่อปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

               หลักสูตรมีการประเมินหลักสูตรทุกปี โดยดำเนินการเป็นวิจัยเชิงประเมินที่เก็บข้อมูลจากผู้มีส่วนได้เสียครอบคลุมทุกส่วนงาน ได้แก่นักศึกษาปัจจุบัน ศิษย์เก่า และผู้บังคับบัญชาของศิษย์เก่า รวมถึงเปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นต่อการให้บริการด้านต่างๆ ในหลายๆรูปแบบ ได้แก่ กล่องรับความคิดเห็น แบบประเมินความพึงพอใจการให้บริการ นักศึกษาให้ข้อเสนอแนะการปรับปรุงการให้บริการ โดยหลักสูตรกำหนดเวลาที่นักศึกษาสามารถแสดงความคิดเห็นได้ เช่น ก่อนเปิดภาคเรียน กลางภาคเรียน และปลายภาคเรียน

7. มีการรับฟัง วิเคราะห์และตอบสนองความต้องการของผู้เรียน

          หลักสูตรมีการประเมินประจำปี การประเมินหลักสูตรทุกปี โดยดำเนินการเป็นวิจัยเชิงประเมินที่เก็บข้อมูลจากผู้มีส่วนได้เสียครอบคลุมทุกส่วนงาน ได้แก่นักศึกษาปัจจุบัน ศิษย์เก่า และผู้บังคับบัญชาของศิษย์เก่า นำผลการประเมินมาพิจารณาหาแนวทางในการปรับปรุง และแจ้งผลการพิจารณา แก้ไขปรับปรุงให้นักศึกษาได้รับทราบโดยผ่านการประชาสัมพันธ์หลายรูปแบบทั้งเป็นลายลักษณ์อักษรและการพุดคุยผ่านการประชุมนักศึกษา

8. มีการให้คำปรึกษาและดูแลผู้เรียนให้ประสพความสำเร็จในการศึกษา

              หลักสูตรโดยคณะศึกษาศาสตร์ ได้จัดให้มีการติดตามผลการรับใบประกอบวิชาชีพครูโดยกำหนดให้มีหลักสูตรติวเข้มให้กับผู้สำเร็จการศึกษา โดยอาจารย์ที่ปรึกษาของนักศึกษาและอาจารย์ผู้สอนในรายวิชาต่างๆ  รวมถึงการประเมินหลักสูตรทุกปี โดยดำเนินการเป็นวิจัยเชิงประเมินที่เก็บข้อมูลจากผู้มีส่วนได้เสียครอบคลุมทุกส่วนงาน ได้แก่นักศึกษาปัจจุบัน ศิษย์เก่า และผู้บังคับบัญชาของศิษย์เก่า ในการติดตามผู้สำเร็จ

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

…5 ข้อ…

IQA(1-8)

1,2,3,5,7,8

….6…ข้อ

…4..คะแนน

AUN-QA(1-6)

1,2,3,5  (4)

ระดับ……4…….

รายการหลักฐานอ้างอิง

รหัสหลักฐานรายการ
7.1.1.1 ประกาศเปิดรับสมัครนักศึกษา ป.บัณฑิต 2565
ปฐมนิเทศนักศึกษาปีการศึกษา 2565
7.1.1.2 ตารางการจัดการเรียนการสอน ปีการศึกษา 2565 (1)
ตารางการจัดการเรียนการสอน ปีการศึกษา 2565 (2)
7.1.1.3 ตารางการจัดการเรียนการสอน ปีการศึกษา 2565 (1)
ตารางการจัดการเรียนการสอน ปีการศึกษา 2565 (2)
7.1.1.4 ตัวอย่างผลงานนักศึกษา E-portfolio
7.1.1.5 แบบประเมินความพึงพอใจผู้ใช้
7.1.1.6 แบบประเมินความพึงพอใจผู้ใช้
7.1.1.7 วิจัยเชิงประเมิน
7.1.1.8 การเตรียมความพร้อมก่อนสอบใบประกอบวิชาชีพครู
โครงสร้างการทำข้อสอบ
แนวปฏิบัติในการทำข้อสอบแบบเลือกตอบ
การกำกับดูแลคุณภาพผู้เรียน

ผลการประเมินตนเอง

ผลการประเมินตนเองIQAAUN-QA
ตัวบ่งชี้ที่ 7.1…4……3…

Leave a Reply