องค์ประกอบที่ 7 นักศึกษา

ตัวบ่งชี้ที่ 7.1 นักศึกษา (การบริการและการช่วยเหลือผู้เรียน)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5 คะแนน
1 ข้อ 2 ข้อ 3-4 ข้อ 5-6 ข้อ 7-8 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน AUN-QA ประเมินภาพรวมประเด็น 1-6 ประเมิน 7 ระดับ

ผลการดำเนินการ

1. มีการสื่อสารเรื่องการรับผู้เรียน เกณฑ์และขั้นตอนการรับเข้าเรียนในหลักสูตรอย่างชัดเจน

      การคัดเลือกและรับนักศึกษาของหลักสูตร มีเกณฑ์และขั้นตอนการรับเข้าเรียนเป็นไปตามนโยบาย และระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาของสถาบัน ซึ่งเป็นระบบการรับตรง  โดยคุณสมบัติของผู้สมัคร มีดังนี้ 1) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือที่สูงกว่า ทุกสาขา  2) มีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งร่างกาย และจิตใจไม่เจ็บป่วยหรือเป็นโรคติดต่อร้ายแรงหรือมีความผิดปกติที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษา 3) มีผลการสอบภาษาอังกฤษตามมาตรฐานสากล หรือตามเกณฑ์ที่วิทยาลัยกำหนด  รวมทั้งหลักสูตรมีแผนการรับนักศึกษาปีการศึกษาละ 30 คน ซึ่งเป็นไปตามที่ระบุไว้ใน มคอ.2 หมวด 3 ระบบการจัดการศึกษาอย่างชัดเจน นอกจากนี้หลักสูตรได้กำหนดระบบและกลไกการรับนักศึกษาโดยมีคณะกรรมการคัดเลือกนักศึกษา เป็นกรรมการที่แต่งตั้งโดยสถาบัน มีคณบดีและอาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ เป็นกรรรมการ ทั้งนี้การสื่อสารและประชาสัมพันธ์ข้อมูลเกี่ยวกับ การรับนักศึกษาใหม่ให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ ผู้บริหารการศึกษาในสถาบันต่างๆ ผู้บริหารโรงเรียน ครูที่สนใจที่จะศึกษาต่อในระดับปริญาโท สาขาบริหารการศึกษา  โดยมีช่องทางการสื่อสารข้อมูลที่หลากหลาย ได้แก่ โปสเตอร์ แผ่นพับประชาสัมพันธ์ Website วิทยาลัย https://www.stic.ac.th

2. มีการวางแผนบริการสนับสนุนผู้เรียนที่เพียงพอและมีคุณภาพ

คณะกรรมการบริหารหลักสูตร มีการวางแผนบริการสนับสนุนผู้เรียนแต่ละด้าน ดังนี้
1) ด้านหลักสูตร มีการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตร ปริญญาโท สาขาบริหารการศึกษา ทุก 5 ปี เพื่อให้มีความทันสมัยและความก้าวหน้าของศาสตร์สาขาวิชาชีพ และทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ทั้งนี้หลักสูตรบริหารการศึกษา หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 25ุ64  ได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา  ระยะ 5 ปี (2564-2568) โดยมีวัตถุประสงค์ของหลักสูตรเพื่อพัฒนาความรู้ทักษะและสมรรถนะการบริหารตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติและมีคุณลักษณะพิเศษของบัณฑิตตามอัตลักษณ์ของหลักสูตรบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซาให้ มีความรู้ คู่คุณธรรม และมีคุณลักษณะตามเอกลักษณ์ของวิทยาลัย คือ ความเป็นนานาชาติ
2) ด้านการจัดการเรียนการสอน คณะกรรมการบริหารหลักสูตรจัดทำแผนแม่บทการศึกษา (Master Plan) ตารางการเรียนการสอนในแต่ละภาคการศึกษา และการมอบหมายให้ผู้รับผิดชอบรายวิชาออกแบบการจัดการเรียนการสอน กำหนดผู้สอน จัดทำรายละเอียดรายวิชา (มคอ.3) และรายละเอียดประสบการณ์ภาคปฏิบัติ (มคอ.4) ให้สอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ กำกับ ติดตาม ตรวจสอบ การจัดการเรียนการสอน การวัดประเมินผลให้เป็นไปตามที่หลักสูตรออกแบบไว้ และมีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ระดับรายวิชาและระดับหลักสูตร
3) ด้านทะเบียนและประมวลผล มีระบบการลงทะเบียนเรียนของนักศึกษา การแสดงผลการเรียนของนักศึกษา โดยแผนกทะเบียนของวิทยาลัย ซึ่งนักศึกษาสามารถตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ที่เป็นปัจจุบันได้อย่างครบถ้วน ทางระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร https://mis.ac.th และจากฝ่ายทะเบียนของวิทยาลัย
4) ด้านการประกันคุณภาพ คณะกรรมการบริหารหลักสูตร มีการวางแผนงาน (Planning) ดำเนินงานตามแผน (Doing) ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงาน (Checking) และนำผลการประเมินผลไปพัฒนา/ปรับปรุง (Acting) ตามวงจรคุณภาพเดมมิ่ง เพื่อให้การจัดการศึกษาหลักสูตรปริญญาโท สาขาบริหารการศึกษา อย่างมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และสำนักงานรับรองคุณภาพการศึกษา (สมศ.) และคณะกรรมการบริหารหลักสูตรปริญญาโท สาขาบริหารการศึกษา คณะศึกษา มีการจัดทำรายงานการประเมินตนเอง (SAR) เพื่อรับการประเมินคุณภาพภายใน ระดับหลักสูตรทุกปีการศึกษา ซึ่งผลการประเมินคุณภาพอยู่ในระดับ พอใช้ – ดี นอกจากนี้นักศึกษา และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย สามารถเข้าถึงข้อมูลการรายงานด้านประกันคุณภาพของหลักสูตรได้ทาง ระบบ QA Online ของหลักสูตรปริญญาโท สาขาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัย นานาชาติเซนต์เทเรซา ในระบบ MED Reports
5) ด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ คณะกรรมการพัฒนาสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ได้จัดสรรสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ตามมาตรฐานขององค์กรวิชาชีพครู ด้านบริหารการศึกษา ได้แก่ ห้องเรียนชั้น 3 ตึกบริหาร วิทยาลัยนานาชาติเวนต์เทเรซา  ห้องปฏิบัติการ ห้องสมุด โสตทัศนูปกรณ์ วัสดุ ครุภัณฑ์ หนังสือ ตำรา วารสาร บทความ งานวิจัย ทางบริหารการศึกษาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ มีระบบฐานข้อมูลเพื่อการสืบค้น พัฒนาระบบอินเตอร์เนตให้มีคุณภาพตามมาตรฐาน

3. ติดตามความก้าวหน้าของผู้เรียนอย่างเป็นระบบ มีการให้ข้อมูลย้อนกลับ และข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขข้อบกพร่อง

หลักสูตรปริญญาโท สาขาบริหารการศึกษา ดำเนินการจัดการเรียนการสอนเป็นไปตามระเบียบของวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาโท พ.ศ. 25ุ64 การจัดการเรียนการสอนในเวลามีทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ   โดยจัดการเรียนการสอนไม่เกินสัปดาห์ละ 9 ชั่วโมง จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 42 หน่วยกิต   โดยหลักสูตรได้จัดทำแผนการศึกษาในแต่ละภาคการศึกษาอย่างชัดเจน ใน มคอ.2 ของหลักสูตร และมีการควบคุม ติดตามความก้าวหน้าของผู้เรียนอย่างเป็นระบบ ดังนี้ 
         1. คณะกรรมการบริหารหลักสูตร มีการติดตามผลการเรียนของนักศึกษาแต่ละคนทุกภาคการศึกษา จากระบบการประมวลผลการศึกษาทางระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร https://mis.ac.th และจากฝ่ายทะเบียนของวิทยาลัย 
        2. มีกระบวนการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักศึกษาระหว่างการศึกษา ในระดับรายวิชาและหลักสูตร ดังนี้                                                                             
                    2.1 การทวนสอบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักศึกษาระดับรายวิชา มีการแต่งตั้งคณะกรรมการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักศึกษาระดับรายวิชาประกอบด้วย รองคณบดีฝ่ายวิชาการ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และหัวหน้าภาควิชา โดยกำหนดเกณฑ์การคัดเลือกรายวิชาทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติที่จะนำมาทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละปีการศึกษา คณะกรรมการฯ ดำเนินการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของนักศึกษา คะแนน/เกรด โดยทวนสอบการวัดและประเมินผลสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่กำหนดในรายวิชาตามมคอ.3, มคอ.4  และรายงานผล และข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการบริหารหลักสูตรตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
    2.2 มีกระบวนการทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้หลังจากนักศึกษาสำเร็จการศึกษา โดยมีการแต่งตั้งคณะกรรมการทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ หลังจากนักศึกษาสำเร็จการศึกษา อย่างน้อย 6 เดือน     ซึ่งกำหนดการประเมินผลครอบคลุมมาตรฐานผลการเรียนรู้ 6 ด้าน และการได้งานทำ หรือ อาชีพอิสระ พร้อมจัดทำเครื่องมือการประเมิน คณะกรรมการฯ ดำเนินการทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ โดยการสัมภาษณ์ และ/หรือ การตอบแบบสอบถาม จากบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา ผู้ใช้บัณฑิต ผู้บังคับบัญชา และเพื่อนร่วมงาน
จากนั้นสรุปรายงานผลการทวนสอบต่อคณะกรรมการบริหารหลักสูตรปริญญาโท สาขาบริหารการศึกษา เพื่อเป็นข้อมูลในการปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอน และหลักสูตรให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

4. มีกิจกรรมเสริมหลักสูตร และการบริการสนับสนุนช่วยเหลือผู้เรียนเพื่อปรับปรุงประสบการณ์การเรียนรู้ และความสามารถในการทำงาน

1.นักศึกษาร่วมกิจกรรมปฐมนิเทศเพื่อ ให้ทราบกิจกรรมการเรียนการสอน การวัดผลการประเมินผล การทำวิทยานิพนธ์ 

2.นักศึกษาร่วมกิจกรรมวันไหว้ครูเพื่อมอบตัวเป็นศิษย์และรับฟังโอวาทจากท่านอธิการบดีและจากคณบดี คณะศึกษาศาสตร์

3. นักศึกษาฝึกประสบการบริหารการศึกษา หรือ การบริหารโรงเรียน หรือ บริหารสถานศึกษาที่นักศึกษาทำงานเพื่อเรียนรู้ การบริหารทางวิชาการ การบริหารบุคคล การบริหารงบประมาณและการบริหารทั่วไป รวมทั้ง การบริหารคุณภาพการศึกษา

4.กิจกรรมสัมมนาทางวิชาการเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานวิจัยทางการบริหารการศึกษา รวมทั้งทฤษฎีการบริหารสมัยใหม่ 

5. กำหนดสมรรถนะบุคลากรสายสนับสนุนที่ชัดเจนเกี่ยวกับการให้บริการผู้เรียน เพื่อให้มั่นใจว่า สามารถให้บริการได้อย่างราบรื่น มีประสิทธิภาพ

1.วิทยาลัยจัดเจ้าหน้าที่ ห้องสมุดให้บริการการสืบค้นข้อมูล ทั้ง งานวิจัยในระบบ อิเลคโทรนิคและตำราทางวิชาการบริหารการศึกษาและทฤษฎีการบริหารสมัยใหม่

 2.วิทยาลัยจัดเจ้าหน้าที่ ห้องคอมพิวเตอร์เพื่อบริการให้นักศึกษาจัดทำรายงานและพัฒนางานวิจัยและวิทยานิพนธ์

3.ให้บริการการใช้ห้องเรียน ห้องสมุดวิทยาลัย ห้องสมุคของคณะศึกษาศาสตร์ในการบริการการศึกษาและสืบค้นความรู้เพิ่มเติม

6. ประเมินผลการให้การบริการและช่วยเหลือผู้เรียน และเทียบเคียงสมรรถนะเพื่อปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

จัดห้อง Google Classroom สำหรับวิชา Thesis เพิื่อให้ นักศึกษา ส่งงาน หรือสอบถามการทำวิทยานิพนธ์ และมีอาจารย์คอยช่วยเหลือแนะนำ หรือมีการแลกเปลี่ยน การนำเสนอผ่านระบบออนไลน์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ความรู้เพิ่มสมรรถนะการบริหารและการพัฒนาวิทยานิพนธ์

7. มีการรับฟัง วิเคราะห์และตอบสนองความต้องการของผู้เรียน

.1. วิทยาลัยรับฟังความมคิดเห็นของนักศึกษาและรับทราบปัญหาที่เกิดขึ้นเพื่อหาทางแก้ไข ปรับปรุงให้เป็นไปตามปกติ เช่น ความเพียงพอของน้ำดื่ม การให้บริการการต่างๆ

2. นักศึกษาสะท้อนความคิดเห็นเกี่ยวกับหลักสูตร  หรือ สะท้อนการสอนของ อาจารย์ผู้สอนเพื่อทางวิทยาลัยนำมาเป็นฐานข้อมูลในการปรับปรุงและแก้ไขให้เป็นไปตามเป้าหมายของหลักสูตร และนักศึกษา

3. นักศึกษาสามารถไปพบเพื่อขอคำแนะนำ ปรึกษา ในสถาบัน หรือผ่านชอ่องทางออนไลน์  Google classroom  E-mail  Line  โทรศัพท์  หรือผ่านเวปไซด์ ของคณะ  โดยทางคณบดี เป็นต้น

8. มีการให้คำปรึกษาและดูแลผู้เรียนให้ประสพความสำเร็จในการศึกษา

1.ผู้บริหารหลักสูตร อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และอาจารย์ผู้สอนประจำหลักสูตรผ่านการปฐมนิเทศการสอนและการพัฒนานักศึกษาให้มีคุณภาพตามเป้าหมายของสถาบัน

2.อาจารย์ประจำหลักสูตรมีหน้าที่ติดตามนักศึกษาตามขั้นของการเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์ การพัฒนาต่อเนื่องของงานวิจัยเพื่อให้นักศึกษาสำเร็จสามารถให้ดำเนินการนำเสนอผลงานวิทยานิพนธ์เพื่อขอจบตรงเวลาโดยมีการติดตามเป็นระยะ

3.ในกรณีที่นักศึกษาที่มีปัญหาเรื่องการศึกษา เช่น ปัญหาด้านสุขภาพ ปัญหาด้านการทำงานรวมทั้งปัญหาเกี่ยวกับการจัดทำเอกสารที่เกี่ยวข้องกับวิทยานิพนธ์ ได้แก่ ไม่เข้าใจสถิติ การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ทางวิทยาลัย ได้กำหนดให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบของหลักสูตร อาจารย์ผู้สอนรวมทั้งอาจารย์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิจัยให้บริการตลอดทั้งวัน ในวันเสาร์และวันอาทิตย์

4.จัดอาจารย์ที่ปรึกษาหลักและที่ปรึกษาร่วมเพื่อคอยให้การช่วยเหลือแนะนำการทำวิทยานิพนธ์ 

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

…5 ข้อ…

IQA(1-8)

1,2,3,5,6

….5…ข้อ

…4..คะแนน

AUN-QA(1-6)

1(3), 2(3), 3(2)

ระดับ……1…….

รายการหลักฐานอ้างอิง

ผลการประเมินตนเอง

รหัสหลักฐานรายการ
7.1.1.1 มคอ.2
เวปไซด์คณะศึกษาศาสตร์
7.1.1.2 Facilities & Other Learning Support
Google Classroom สำหรับวิชา Thesis
7.1.1.3 มคอ 2
7.1.1.4 ภาพกิจกรรมการเรียนการสอน
7.1.1.5
7.1.1.6 Google Classroom สำหรับวิชา Thesis
7.1.1.7 Google Classroom
เวปไซด์คณะศึกษาศาสตร์
7.1.1.8 รายชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
ผลการประเมินตนเองIQAAUN-QA
ตัวบ่งชี้ที่ 7.1…5……1…

Leave a Reply