-องค์ประกอบที่ 5 การประเมินผล

ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 การประเมินผล (การประเมินผู้เรียน)

พิจารณาตามมาตรฐาน สป. อว. (IQA)

1 คะแนน 2 คะแนน 3 คะแนน 4 คะแนน 5 คะแนน
1 ข้อ 2 ข้อ 3-4 ข้อ 5-6 ข้อ 7-9 ข้อ

พิจารณาตามมาตรฐาน AUN-QA ประเมินภาพรวมประเด็น 1-5 ประเมิน 7 ระดับ

ผลการดำเนินการ

1. การประเมินผู้เรียนสอดคล้องกับ วัตถุประสงค์และผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

…… ระบุรายละเอียดผลการดำเนินการ ……

    หลักสูตรได้กำหนด กลยุทธฺ์การประเมินผู้เรียนสอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง และวัตถุประสงค์   ดังนี้   

1) กลยุทธ์การประเมินผลการเป็นผู้เรียนที่กระตือรือร้นและรอบรู้
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษาในด้านต่าง ๆ คือ
(1) การทดสอบย่อย การสอบกลางภาคการศึกษาและปลายภาคการศึกษา
(2) ประเมินจากรายงานหรือผลงานนักศึกษา
(3) ประเมินจากแผนงานหรือโครงการที่นำเสนอ
(4) ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
(5) ประเมินจาก E-Portfolio รายวิชา ผลงานโครงงานประจำภาคเรียนและผลงานโดดเด่น ที่สะท้อนถึงการเป็นผู้รอบรู้ในศาสตร์ทางการบริหารการศึกษา
  2) กลยุทธ์การประเมินผลด้านการเป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม(Co-Creator)
      ประเมินตามสภาพจริง จากผลงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น ผลการดำเนินงานโครงงานที่มอบหมายประจำภาคการศึกษา หรืองานมอบหมายสำคัญ ๆ ในรายวิชา ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน การทดสอบโดยให้แสดงวิสัยทัศน์ในโอกาสที่เหมาะสม ประเมินจาก E-Portfolio รายวิชา ผลงานโครงงานประจำภาคเรียนและผลงานโดดเด่น ที่สะท้อนถึงการเป็นผู้รอบรู้ในศาสตร์ทางการบริหารการศึกษา เป็นต้น

3) กลยุทธ์การประเมินผลด้านการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง (Active Citizen)
(1) ประเมินพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในร่วมมือในการปฏิบัติงานต่าง ๆ
(2) สังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมในโอกาสต่าง ๆ
(3) ประเมินพฤติกรรมที่สะท้อนถึงการเป็นผู้ร่วมงานที่ดี การยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรมในการดำเนินชีวิต
(4) ประเมินพฤติกรรมการรับผิดชอบต่อตนเองในด้านสุขภาพ อนามัยและบุคลิกภาพ และพฤติกรรมการพัฒนาเพื่อนร่วมงานหรือทีมงาน วิสัยทัศน์ในการพัฒนาผู้ร่วมวิชาชีพ
(5) ประเมินจากผลงานการเข้าร่วมในกิจกรรมทางวิชาชีพที่สำคัญ ๆ
(6) ประเมินการเคารพในความแตกต่างระหว่างบุคคล การให้เกียรติ์ ผู้ร่วมงาน การเคารพในสิทธิ์ความเป็นมนุษย์
(7) ประเมินจากแฟ้มสะสมงาน (E-Portfolio) ที่สะท้อนถึงการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งจากหลักฐานตามรายการ (1) – (6)

  การประเมินมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์  ผลประเมินบรรลุตามวะตถุประสงค์และผลลัพธ์การเรียนรู้

2. มีการประเมินผลและการอุทธรณ์ผลการประเมินที่ชัดเจน

…… ระบุรายละเอียดผลการดำเนินการ ……

        อาจารย์ผู้สอนประเมินผู้เรียนในทุกรายวิชา โดยมีการประเมินหลากหลายวิธีตามที่กำหนดใน มคอ.2 และมคอ.3   นอกจากนี้ กรณีที่ผู้เรียนขออุทธรณ์ผลการประเมิน สามารถยื่นเรื่องผ่านประธานสาขาวิชา และ/หรือ คณบดี กรณีเป็นรายวิชาที่สอนโดยประธานสาขาวิชา ได้ภายใน 2 สัปดาห์   ทั้งนี้ยังไม่มีผู้ขออุทธรณ์ผลการประเมิน    นักศึกษาสามารถอุทธรณ์ ผ่านเวปไซด์ของคณะศึกษาศาสตร์ เสนอโดยตรงถึงคณบดี  และตามระเบียบของวิทยาลัยกำหนด

3. มีมาตรฐานและขั้นตอนการประเมินความก้าวหน้า และการสำเร็จการศึกษาของผู้เรียนอย่างชัดเจนและเปิดเผย

…… ระบุรายละเอียดผลการดำเนินการ ……     

      หลักสูตรฯกำหนดการทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ขณะนักศึกษายังไม่สำเร็จการศึกษา ดังนี้
การทดสอบรายวิชา      
1. วิธีการวัดผลการศึกษา ได้แก่ การสอบข้อเขียน การสอบปากเปล่า การเสนอรายงานจากการอ่าน การค้นคว้า การอภิปรายในชั้นเรียน ซึ่งอาจใช้วิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีร่วมกัน ทั้งนี้ ได้ระบุวิธีการวัดผลพร้อมค่าน้ำหนักแต่ละวิธีไว้ใน TQF 3
2. นักศึกษาต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมดจึงจะมีสิทธิได้รับ การวัดผลการศึกษา

3.จัดทำแผนการเรียนรายบุคคล

4. แค้งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษาทางวิชาการ เพื่อให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับทางวิชาการ

5.วางแผนการจัดทำวิทยานิพนธ์  จัดทำห้องสัมมนาออนไลน์เพื่อติดตามการเรียน การทำวิทยานิพนธ์
          การประเมินสมรรถนะ/ทักษะการบริหารจัดการ จากแฟ้มสะสมงาน (E-Portfolio) เน้นการประเมินรวมสรุป จากผลงานโครงงานที่เรียนรู้แบบบูรณาการกับงานประจำ (Work – Integrated Learning) ตามที่กำหนดให้ปฏิบัติในแต่ละภาคการศึกษา

หลักสูตรฯกำหนดสมรรถนะชั้นปีไว้ใน มคอ. 2  ดังนี้

สมรรถนะแต่ละชั้นปีของนักศึกษา

ชั้นปีที่ 1

  1. ความสามารถในการใช้ภาษาและเทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้
  2. ความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์และบริบททางด้านการบริหารการศึกษา
  3. ความสามารถวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นและความเสี่ยงของสถานศึกษา และการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษา
  4. บุคลิกภาพ คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพการบริหารการศึกษา

               ชั้นปีที่  2

1.ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาและเผชิญปัญหา อย่างเป็นระบบ

2.ความรอบรู้ในองค์ความรู้ทางการบริหารการศึกษา

3.ความรอบรู้ด้านการวิจัยทางการบริหารการศึกษา

4.ความเป็นผู้นำทางวิชาการ

5.ความสามารถในการทำงานร่วมกับสถานศึกษาในการวางแผน ดำเนินงาน กำกับติดตาม และประเมินนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงานหรือโครงการ

                  ชั้นปีที่  3

1.ความสามารถในการออกแบบการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางการบริหารการศึกษา หรือสร้างสรรค์ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพสูงในสาขาวิชาชีพการบริหาร
การศึกษา

2.ความสามารถในการสร้างองค์ความรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพทางด้านวิชาการ

3.ความสามารถในการดำเนินโครงการศึกษาหรือโครงการวิจัยที่สำคัญอย่างมีคุณภาพ และสามารถหาข้อสรุป เพื่อขยายองค์ความรู้หรือแนวปฏิบัติทางด้านการบริหารการศึกษาและสถานศึกษา ตลอดทั้งการเผยแพร่ข้อค้นพบในวารสารระดับชาติและระดับนานาชาติ

 4.ความเป็นผู้นำทางวิชาการระดับสูงทางด้านการบริหารการศึกษา

4. มีวิธีการประเมินผล ที่คลอบคลุม วิธีการ ระยะเวลา เกณฑ์การประเมิน การกระจายค่าน้ำหนักและการตัดเกรด ที่มีความถูกต้อง เชื่อถือได้ และเป็นธรรม

…… ระบุรายละเอียดผลการดำเนินการ ……   

      หลักสูตรฯมีกระบวนการในการประเมินผล ตามเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้ใน TQF 3 กำหนดเวลาสอดคล้องตามปฏิทินการศึกษาของวิทยาลัย   อาจารย์ผู้สอนส่งผลการประเมิน ให้คณบดีตรวจสอบ จากนั้นส่งไปยัง สำนักทะเบียนและวัดผล เพื่อทำการทวนสอบ การประเมินผล การกระจายค่าน้ำหนัก และการตัดเกรด ตามเกณฑ์การประเมินที่หลักสูตรกำหนด ให้ผลการประเมินมีความถูกต้อง เชื่อถือได้ และเป็นธรรมกับผู้เรียน 

5. มีวิธีการประเมินเพื่อวัดผลสำเร็จของผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตรและรายวิชา

…… ระบุรายละเอียดผลการดำเนินการ ……   

      หลักสูตรฯ  นำผลการประเมินรายวิชาที่ผ่านการทวนสอบแล้ว มาจัดทำรายงานการวัดผลสำเร็จของผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของรายวิชา และรายงานการวัดผลสำเร็จของผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตรรายชั้นปี เพื่อให้มั่นใจว่า มีผลการดำเนินการเป็นไปตามที่หลักสูตรกำหนด               วิธีการ  ทวนสอบ  ผลครอบคลุม   วิธีการวัดประเมิน  รายชั้นปี  ประเมินเพื่อรับรองสมรรถนะตามที่กำหนด ในมคอ.2

6. ให้ข้อมูลป้อนกลับกับผู้เรียนที่เหมาะสมกับระยะเวลาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้

…… ระบุรายละเอียดผลการดำเนินการ ……     

       หลักสูตรฯ มอบหมายให้อาจารย์ที่ปรึกษา ทำการให้ข้อมูลป้อนกลับในการประเมินผลการเรียนรู้กับผู้เรียนหลังการประกาศผลการประเมินอย่างเป็นทางการ ภายใน 1 สัปดาห์ เพื่อให้ผู้เรียนวางแผนการเรียนซ้ำในบางรายวิชา(ถ้ามี) หรือวางแผนการเรียนเพิ่มในบางรายวิชา(ถ้ามี) หรือใช้วางแผนในการพัฒนาการเรียนรู้เป็นรายบุคคล 

          กระบวนการ ทันเวลา เหมาะสม   ต้นเทอม  พัฒนาการแต่ละขั้นตอน     การสอบถาม   การสอบย่อย  แจ้งให้ทัน   ใน Google  classroom  ประเมินผล ให้ข้อแนะนำ

7. มีการทบทวนและปรับปรุงการประเมินผลผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง ให้สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

…… ระบุรายละเอียดผลการดำเนินการ ……

       หลักสูตรฯกำหนดการทวนสอบมาตรฐานผลการเรียนรู้ขณะนักศึกษายังไม่สำเร็จการศึกษา  ดังนี้

            การทดสอบรายวิชา

            1. วิธีการวัดผลการศึกษา ได้แก่ การสอบข้อเขียน การสอบปากเปล่า การเสนอรายงานจากการอ่าน  การค้นคว้า การอภิปรายในชั้นเรียน ซึ่งอาจใช้วิธีใดวิธีหนึ่งหรือหลายวิธีร่วมกัน ทั้งนี้ ผู้สอนระบุวิธีการวัดผลพร้อมค่าน้ำหนักแต่ละวิธีไว้ใน TQF 3 

            2. นักศึกษาต้องมีเวลาเรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมดจึงจะมีสิทธิได้รับการวัดผลการศึกษา

           การประเมินสมรรถนะ/ทักษะการบริหารจัดการ จากแฟ้มสะสมงาน (EPortfolio) เน้นการประเมินรวมสรุป จากผลงานโครงงานที่เรียนรู้แบบบูรณาการกับงานประจำ (WorkIntegrated Learning) ตามที่กำหนดให้ปฏิบัติในแต่ละภาคการศึกษา

            การสอบวิทยานิพนธ์

            1. นักศึกษาที่สอบวัดคุณสมบัติผ่านแล้ว จึงจะมีสิทธิ์เสนอขออนุมัติเค้าโครงวิทยานิพนธ์

            2.ให้คณะกรรมการสอบโครงร่างวิทยานิพนธ์ร่วมทำหน้าที่สอบวิทยานิพนธ์ด้วย

            3. นักศึกษาแสดงความจำนงขอสอบวิทยานิพนธ์ต่อเมื่อลงทะเบียนวิทยานิพนธ์ครบตามจำนวนหน่วยกิตที่ระบุไว้ในหลักสูตร ทั้งนี้ ต้องสอบและส่งวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในภาคการศึกษาที่ลงทะเบียนวิทยานิพนธ์ครบตามจำนวนหน่วยกิตที่ระบุไว้ในหลักสูตร มิฉะนั้น จะต้องชำระค่าเล่าเรียนเรียกเก็บตามอัตราที่สภาวิทยาลัยให้ความเห็นชอบ

             4. การสอบวิทยานิพนธ์ ให้คณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตรเป็นผู้พิจารณาเสนอให้คณะแต่งตั้งคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ประกอบด้วย กรรมการสอบที่มาจาก ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก ผู้ทรงคุณวุฒิเฉพาะทาง อาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลักและอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วม  โดยประธานกรรมการสอบต้องมาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกสถาบัน รวมไม่น้อยกว่า 5 คน ทั้งนี้ ประธานกรรมการสอบ และ กรรมการสอบ ต้องมีคุณวุฒิ คุณสมบัติ และผลงานวิชาการ เป็นไปตามประกาศกระทรวงศึกษา เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.. 2565 และระเบียบวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา ว่า การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.. 2565  โดยการสอบวิทยานิพนธ์ต้องเปิดโอกาสให้ผู้สนใจเข้าร่วมรับฟังได้

            5. เมื่อนักศึกษาทำวิทยานิพนธ์เสร็จแล้ว ผลงานวิทยานิพนธ์ หรือส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ต้องได้รับการตีพิมพ์ หรืออย่างน้อยได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ หรือระดับนานาชาติที่มีคุณภาพตามประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการสำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการก่อน จึงเสนออาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก และอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ร่วมให้ความเห็นชอบ ให้นักศึกษาสำเนาวิทยานิพนธ์เท่าจำนวนคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ส่งที่คณะศึกษาศาสตร์เพื่อกำหนดวันสอบวิทยานิพนธ์ต่อไป

             ุ6.  เมื่อการสอบวิทยานิพนธ์เสร็จสิ้นแล้ว ให้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขวิทยานิพนธ์ตามคำแนะนำของคณะกรรมการสอบวิทยานิพนธ์ ภายในระยะเวลาที่กำหนดตามคู่มือของบัณฑิตวิทยาลัย เมื่อได้รับการตรวจสอบและอนุมัติแล้ว บัณฑิตวิทยาลัยจะส่งข้อมูลไปยังสำนักทะเบียนและประมวลผล เพื่อขอสำเร็จการศึกษา และเสนอสภาวิทยาลัยอนุมัติผู้สำเร็จการศึกษาต่อไป

       ผลการดำเนินการ  มีการทบทวนปรับปรุงโดยให้ข้อเสนอแนะเพื่อให้นักศึกษานำไปปรับปรุง เช่น E-Portfolio ได้ให้ข้อเสนอแนะผ่าน Google Classroom สำหรับกระบวนการนำเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์  ได้มีการจัดประชุมออนไลน์  มีคณกรรมการประจำหลักสูตรซึ่งจะทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษา ให้คำแนะนำหัวข้อ และมีการวางแผนกำหนดอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ให้นักศึกษา เพื่อให้นักศึกษาได้พัฒนาวิทยานิพนธ์ และสำดร็จการศึกษาภายในเวลา

8. มีการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้และการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน

…… ระบุรายละเอียดผลการดำเนินการ ……

หลักสูตรได้กำหนด ผลลัพธ์การเรียนรู้ ที่คาดหวัง และพัฒนาการของผู้เรียน   ดังนี้   

1) ด้านการเป็นผู้เรียนที่กระตือรือร้นและรอบรู้
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษาในด้านต่าง ๆ คือ
(1) การทดสอบย่อย การสอบกลางภาคการศึกษาและปลายภาคการศึกษา
(2) ประเมินจากรายงานหรือผลงานนักศึกษา
(3) ประเมินจากแผนงานหรือโครงการที่นำเสนอ
(4) ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
(5) ประเมินจาก E-Portfolio รายวิชา ผลงานโครงงานประจำภาคเรียนและผลงานโดดเด่น ที่สะท้อนถึงการเป็นผู้รอบรู้ในศาสตร์ทางการบริหารการศึกษา
  2) ด้านการเป็นผู้ร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรม(Co-Creator)
      ประเมินตามสภาพจริง จากผลงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น ผลการดำเนินงานโครงงานที่มอบหมายประจำภาคการศึกษา หรืองานมอบหมายสำคัญ ๆ ในรายวิชา ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน การทดสอบโดยให้แสดงวิสัยทัศน์ในโอกาสที่เหมาะสม ประเมินจาก E-Portfolio รายวิชา ผลงานโครงงานประจำภาคเรียนและผลงานโดดเด่น ที่สะท้อนถึงการเป็นผู้รอบรู้ในศาสตร์ทางการบริหารการศึกษา เป็นต้น

3) ประเมินผลด้านการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง (Active Citizen)
(1) ประเมินพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในร่วมมือในการปฏิบัติงานต่าง ๆ
(2) สังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมในโอกาสต่าง ๆ
(3) ประเมินพฤติกรรมที่สะท้อนถึงการเป็นผู้ร่วมงานที่ดี การยึดมั่นในคุณธรรม จริยธรรมในการดำเนินชีวิต
(4) ประเมินพฤติกรรมการรับผิดชอบต่อตนเองในด้านสุขภาพ อนามัยและบุคลิกภาพ และพฤติกรรมการพัฒนาเพื่อนร่วมงานหรือทีมงาน วิสัยทัศน์ในการพัฒนาผู้ร่วมวิชาชีพ
(5) ประเมินจากผลงานการเข้าร่วมในกิจกรรมทางวิชาชีพที่สำคัญ ๆ
(6) ประเมินการเคารพในความแตกต่างระหว่างบุคคล การให้เกียรติ์ ผู้ร่วมงาน การเคารพในสิทธิ์ความเป็นมนุษย์
(7) ประเมินจากแฟ้มสะสมงาน (E-Portfolio) ที่สะท้อนถึงการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งจากหลักฐานตามรายการ (1) – (6)

  หลักสูตรฯให้ความสำคัญจากการประเมิน  E-portfolio  อย่างต่อเนื่อง ต้องมีความก้าวหน้า  มีห้องประสานงานของ Ph.D.  ubdate ทุกสิ้นเทอม  และกำหนด Quality Management System

9. มีการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ตามที่กำหนดในหลักสูตรการศึกษา

…… ระบุรายละเอียดผลการดำเนินการ ……,

     หลักสูตรฯ มีการประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ตามที่กำหนดในหลักสูตร มคอ.2 รายชั้นปี ดังนี้

สมรรถนะแต่ละชั้นปีของนักศึกษา

ชั้นปีที่ 1

  1. ความสามารถในการใช้ภาษาและเทคโนโลยีในการแสวงหาความรู้
  2. ความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์และบริบททางด้านการบริหารการศึกษา
  3. ความสามารถวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นและความเสี่ยงของสถานศึกษา และการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษา
  4. บุคลิกภาพ คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพการบริหารการศึกษา

               ชั้นปีที่  2

1.ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แก้ปัญหาและเผชิญปัญหา อย่างเป็นระบบ

2.ความรอบรู้ในองค์ความรู้ทางการบริหารการศึกษา

3.ความรอบรู้ด้านการวิจัยทางการบริหารการศึกษา

4.ความเป็นผู้นำทางวิชาการ

5.ความสามารถในการทำงานร่วมกับสถานศึกษาในการวางแผน ดำเนินงาน กำกับติดตาม และประเมินนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงานหรือโครงการ

                  ชั้นปีที่  3

1.ความสามารถในการออกแบบการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ทางการบริหารการศึกษา หรือสร้างสรรค์ผลงานวิจัยที่มีคุณภาพสูงในสาขาวิชาชีพการบริหาร
การศึกษา

2.ความสามารถในการสร้างองค์ความรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพทางด้านวิชาการ

3.ความสามารถในการดำเนินโครงการศึกษาหรือโครงการวิจัยที่สำคัญอย่างมีคุณภาพ และสามารถหาข้อสรุป เพื่อขยายองค์ความรู้หรือแนวปฏิบัติทางด้านการบริหารการศึกษาและสถานศึกษา ตลอดทั้งการเผยแพร่ข้อค้นพบในวารสารระดับชาติและระดับนานาชาติ

 4.ความเป็นผู้นำทางวิชาการระดับสูงทางด้านการบริหารการศึกษา

    ทั้งนี้หลักสูตร ประเมินจาก การประเมินผลรายวิชา  การนำเสนอผลงาน กิจกรรม โครงการที่มอบหมาย จาก E-portfolio ของนักศึกษา  และประเมินด้านคุณธรรม ด้านบุคคลจาการสังเกตพฤติกรรม  การตอบคำถาม  การเสนอความคิดเห็น  และความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายจากการส่งงานใน Google Classroom และกำหนด Quality Management System

 

การประเมินตนเอง

เป้าหมาย

การดำเนินการ(KPIเชิงคุณภาพให้ระบุข้อ)

การประเมินตนเอง

 ….9ข้อ….

IQA(1-9)

1,3,4,7,8,9

….6…ข้อ

…4..คะแนน

AUN-QA(1-7)

1,3

ระดับ……1…….

รายการหลักฐานอ้างอิง

รหัสหลักฐานรายการ
5.1.1.1มคอ.2
TQF 3
E-portfolio
5.1.1.2 มคอ.2
TQF 3
เวปไซด์หลักสูตร Ph.D.
5.1.1.3มคอ.2
TQF 3
คำสั่งแต่งตั้งอาจารย์ที่ปรึกษา
อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
แผนการเรียนรายบุคคล
แผนการเรียนรายบุคคล
E-portfolio
5.1.1.4มคอ.2
TQF 3
E-portfolio
5.1.1.5
5.1.1.6
5.1.1.7 มคอ.2
ห้องเรียน Ph.D Classroom
เวปไซด์คณะ
5.1.1.8 มคอ.2
ห้องเรียน Ph.D Classroom
เวปไซด์คณะ
E-portfolio
Quality Management System
5.1.1.9 มคอ.2
ห้องเรียน Ph.D Classroom
เวปไซด์คณะ
E-portfolio
Quality Management System

ผลการประเมินตนเอง

ผลการประเมินตนเองIQAAUN-QA
ตัวบ่งชี้ที่ 5.1…3……3…

Leave a Reply