SUGGESTION FROM DEVELOPING AND IMPLEMENTING THE CURRICULUM 2564-65

การดำเนินการปี 2564 เป็นการพัฒนาหลักสูตรใหม่ คือ หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต(การบริหารการศึกษา) เป็นหลักสูตรนานาชาติ/หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2565 ตามกรอบมาตรฐานหลักสูตร พ.ศ.2558 และมาตรฐานอุดมศึกษา 2561 มุ่งหวังที่จะเริ่มการเรียนการสอนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565

จะอย่างไรก็ตาม เนื่องจากจำเป็นต้องได้รับการประเมินและรับรองวิทยฐานะจากคณะกรรมการอุดมศึกษา เนื่องจากเป็นหลักสูตรระดับปริญญาเอกที่เปิดใหม่เป็นหลักสูตรแรกของวิทยาลัย ซึ่งปรากฏว่าได้รับการรับรองวิทยฐาะนะอย่างเป็นทางการในวันที่ 10 สิงหาคม 2565 โดยอนุมัติให้เปิดทำการสอนตั้งแต่ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 เป็นต้นไป ในการนี้ จึงได้มีการปรับเปลี่ยนแผนการจัดการเรียนการสอน เป็นเริ่มเรียนในภาคเรียนที่ 2/2565

คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรและอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรได้เตรียมความพร้อมของหลักสูตรอย่างต่อเนื่องตลอดปี 2564 และ ภาคต้นปีการศึกษา 2565 เช่น เตรียมห้องสัมมนาในระบบออนไลน์ เตรียมปัจจัยสนับสนุนการเรียนรู้ และพัฒนาโปรแกรมการเรียนให้สอดคล้องกับความต้องการ ทั้งนี้ได้พัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรให้มีความโดดเด่นที่สำคัญ ๆ ดังนี้

ข้อเสนอแนะ: หลังการเรียนใน 2 เดือนแรก(ตุลาคม-พฤศจิกายน 2565)

หลังจากเริ่มเรียนตามหลักสูตรในช่วง 2 เดือนแรก ระหว่าง ตุลาคม-พฤศจิกายบน 2565 ได้มีการประชุมคณาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและผู้สอนในภาคเรียนที่ 2/2565 มีความเห็นตรงกันว่า (1) น่าจะเน้นให้นักศึกษาสำรวจความสนใจและเสนอประเด็นวิจัยและพัฒนาที่ต้องการทำเป็นวิทยานิพนธ์ เพื่อให้นักศึกษาใด้เกาะติดในประเด็นปัญหาวิจัยที่สนใจอย่างต่อเนื่องในขณะเรียนรายวิชาต่าง ๆ เช่น รายวิชา 143 101 สัมมนานโยบายและยุทธศาสตร์การบริหารการศึกษานานาชาติ รายวิชา 143 103 สัมมนาการวิจัยและนวัตกรรมด้านการบริหารการศึกษา ซึ่งการให้นักศึกษาทำการทบทวนวรรณกรรม หรือเลือกตัวอย่างผลงานวิจัยที่จะนำมาสัมมนาในห้องเรียนที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อวิทยานิพนธ์ควบคู่ไปด้วย มีผลทำให้นักศึกษา สามารถกำหนดปัญหาวิจัย วัตถุประสงค์ของการวิจัย และกรอบแนวคิดการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่สนใจอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น เมื่อจบภาคเรียนที่ 2/2565 และ (2) ควรให้นักศึกษาปรับเปลี่ยนกันทำหน้าที่ประธานการสัมมนา ในการสัมมนาแนวคิดทางการศึกษา แนวคิดทางการบริหารการศึกษา หรือ สัมมนาเสนอกรณีศึกษาผลงานวิจัย จะช่วยเสริมสร้างสมรรถนะในการเป็นผู้นำทางวิชาการที่สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประสานงานหรือการจัดการสัมมนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการนี้ จึงเปิดโอกาสให้นักศึกษาเลือกเป็นประธานในการสัมมนาในภาคเรียน คนละ 4-5 ครั้ง ต่อภาคเรียน มีผลทำให้นักศึกษามีพัฒนาการด้านทักษะการจัดการสัมมนามากขึ้น

หลักฐานอ้างอิง

  1. ตัวอย่างห้องสัมมนาออนไลน์ ประจำรายวิชา
  2. ตัวอย่างหัวข้อวิจัย เพื่อการพัฒนาเป็นวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา
  3. ตัวอย่างตารางการทำหน้าที่ประธานการสัมมนาประจำสัปดาห์ของนักศึกษา รายวิชา 143 001-002 Educational Theory……, 143 101 Policy….., 143 103 Seminar on research…..

  Seminar on Researches and Innovations in Educational Administration

Leave a Reply