การดำเนินงานหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2566


1. ความเป็นมาของหลักสูตร ป.บัณฑิต 2566

หลักสูตรประกาศนียบัตร สาขาวิชาชีพครู ของวิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา ได้ผ่านการปรับปรุงมาแล้ว 2 รอบ หลักสูตรฉบับแรกได้ใช้ระหว่างปีการศึกษา 2556-2560  หลักสูตรฉบับที่ 2 ได้ใช้ระหว่างปีการศึกษา 2561-2565  สำหรับฉบับนี้ เป็นหลักสูตร ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 2 เพื่อเริ่มใช้ในปีการศึกษา 2566 และต่อเนื่องถึงปี 2570 ลักษณะสำคัญของหลักสูตร จะเน้นการเรียนรู้ควบคู่การปฏิบัติมากขึ้น เป็นลักษณะของ Work-Integrated Learning-WIL  การจัดการเรียนการสอนแต่ละรายวิชาที่กำหนดน้ำหนัก 3 หน่วยกิต ได้กำหนดรหัสเป็น 3(2-2-5)ทุกรายวิชา คือ เรียน ทฤษฎีและความคิดรวบยอด 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์และฝึกปฏิบัติงานในสถานการณ์จริงในสถานศึกษา 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ โดยนักศึกษาทุกคนจะต้องมีปฏิทินการปฏิบัติงานแต่ละสัปดาห์ อย่างเป็นรูปธรม กิจกรรมการเรียนรู้จะเน้นสู่การพัฒนาผู้เรียนให้มีสมรรถนะครบถ้วนกล่าวคือ นักศึกษาจะต้องประสบความสำเร็จตามผลลัพธ์การเรียนรู้ที่กำหนด ครบถ้วน ก่อนสำเร็จการศึกษา


หลักสูตรฉบับปรับปรุง 2566 เป็นหลักสูตรที่กำหนดวิสัยทัศน์ด้านผู้เรียน ด้วยการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังในตัวผู้เรียน(Learning Outcomes) ในรูปแบบที่เรียกว่าหลักสูตรฐานสมรรถนะ ผ่านการรับรองของ สป.อว.ในเดือนธันวาคม 2565 และผ่านการรับรองสุดท้ายจากคุรุสภาในฐานะองค์กรทางวิชาชีพ ในวันที่ 29 มิถุนายน 2566 อนุมัติให้รับนักศึกษาได้ปีละ 150 คน โดยรับผู้จบปริญญาอื่นที่สนใจเข้าสู่วิชาชีพครู เป็นหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอน 3 ภาคการศึกษาปกติ สำเร็จการศึกษาแล้ว มีสิทธิ์เข้ารับการทดสอบและประเมินเพื่อรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู มีอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรจำนวน 3 คน ประกอบด้วย

  1. ผศ.ดร.พูลสุข  กิจรัตน์ภร
  2. ผศ.นต. ดร.พงศ์เทพ จิระโร
  3. อ.ดร.นงนุช สุวรรณะรุจิ

>>>รายละเอียด อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และอาจารย์ประจำหลักสูตร<<<


2. ปรัชญาของหลักสูตร

“การเรียนรู้ควบคู่กับการปฏิบัติในบริบทของการจัดการศึกษาในสถานการณ์จริง(Authentic Situation) จะเป็นการเรียนรู้ที่แท้จริงและเกิดประโยชน์อย่างแท้จริง ทั้งกับผู้เรียนคือนักศึกษาครูและกับโรงเรียนที่นักศึกษาเหล่านี้ปฏิบัติงานในฐานะครูประจำการ” ตามแนวปรัชญานี้ หลักสูตรจึงเน้นการเรียนรู้แบบบูรณาการกับการปฏิบัติงานประจำ ที่เรียกว่า “Work-Integrated Learning-WIL”

3. วัตถุประสงค์ของหลักสูตร และผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง

3.1 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

     เพื่อผลิตบัณฑิตในระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต ให้มีสมรรถนะที่สำคัญ ดังนี้

1. มีความรู้เกี่ยวกับศาสตร์แห่งวิชาชีพครูและมีความรู้-ความสามารถพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพในด้านการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพของคุรุสภา

2. มีทักษะด้านการจัดการเรียนรู้และการสนับสนุนการเรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลายเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ มีทักษะสำคัญที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในวิชาชีพ และมีทักษะในการสังเคราะห์ สร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ในการประกอบวิชาชีพครู เพื่อให้สามารถพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

3. มีจริยธรรมตามมาตรฐานจรรยาบรรณวิชาชีพครู ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพ และปฏิบัติตนตามกฎหมายและวัฒนธรรมที่ดีงามของสังคมและชุมชนที่อยู่อาศัย

4. มีลักษณะบุคคลที่สำคัญสำหรับการปฏิบัติงานในวิชาชีพ คือ บุคลิกภาพดี น่าเชื่อถือ เป็นแบบอย่างได้  มีความคิดเชิงตรรกะ คิดเป็นระบบและคิดสร้างสรรค์  เป็นผู้นําทางวิชาการ มีนิสัยใฝ่รู้ มุ่งมั่นในการทำงานและรับผิดชอบ   เป็นมิตร มีเมตตา กรุณา เอื้ออาทร เคารพสิทธิเด็ก ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล  และมีความมั่นใจในตัวเอง กล้าคิด กล้าแสดงออก

3.2 ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง

คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรฉบับปรบปรุง 2566 ได้กำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้คาดหวัง โดยอาศัยข้อมูลสำคัญ 3 แหล่ง คือ 1) ผลการประเมินหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต พ.ศ. 2561 ที่ใช้มาครบ 5 ปี 2) มาตรฐานความรู้และประสบการณ์ตามที่คุรุสภากำหนด และ 3) การวิเคราะห์ทบทวนสมรรถนะที่จำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิตหรือการปฏิบัติงานในศตวรรษที่ 21 ซึ่งในที่สุดได้กำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง 4 ด้าน รวม 17 รายการ ดังแนบ

>>>ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง 4 ด้าน รวม 17 รายการ<<<


4. การออกแบบหลักสูตรและการนำหลักสูตรสู่การปฏิบัติ

ในการออกแบบหลักสูตรและนำหลักสูตรสู่การปฏิบัติ ยึดแนวคิดหรือหลักการในการจัดการหลักสูตร และแนวทางการจัดประสบการณ์ ดังต่อไปนี้

4.1 ยึดหลักการในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ความสำคัญกับ Self-Directed Learning, Work-Integrated learning และ การสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เรียน มุ่งมั่นในการพัฒนาตนเองและเห็นพัฒนาการของตนเองอย่างต่อเนื่อง ตามแนวทางที่แนบ

    >>> Guideline for Managing the Grad Dip Program.<<<

    4.2 จัดกลุ่มวิชารองรับที่สอดคล้องกับ PLOs

    4.3 กำหนดแนวทางการจัดการเรียนการสอนและแนวทางการวัดและประเมินผล แยกตามกลุ่มสมรรถนะด้านพุทธิพิสัย ด้านทักษะพิสัย และ ด้าน จิตพิสัย

    >>> แนวทางการจัดการเรียนรู้และวัด-ประเมินผล<<<

    4.4 กำหนดชุดกิจกรรมบูรณาการประจำภาคเรียน Act.01-09 เป็นชุดกิจกรรมเสริมความเป็นครู และเสริมสมรรถนะในการจัดการเรียนการสอน ที่นักศึกษาต้องปฏิบัติตลอดหลักสูตร ที่กำกับติดตามการปฏิบัติงานของนักศึกษาผ่านรายวิชาฝึกประสบการณ์ระหว่างเรียนและฝึกสอนในรายวิชาเฉพาะ(รายวิชา 146 201 ฝึกประสบการณ์วิชาชีพระหว่างเรียน 416 202 ฝึกสอนวิชาเฉพาะ 1 และ 146 203 การฝึกสอนในวิชาเฉพาะ 2)

    >>>ชุดกิจกรรมเสริมความเป็นครูและทักษะวิชาชีพ<<<

    4.5 ให้ความสำคัญกับการปลูกฝังให้ผู้เรียนมีแรงบันดาลใจ(Inspiration) สามารถวิเคราะห์ตนเองและชี้นำตนเองในการพัฒนาตามผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง(Self-Directed Learning) และเน้นการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการกับงานประจำ(Work-Integrated learning)…“ผู้เรียนมีความรู้และทักษะเพื่มขึ้น คุณภาพการปฏิบัติงานก็ดีขึ้น”

    4.6 ให้ผู้เรียนจัดทำ E-Portfolio ของตนเอง สั่งสมผลงานที่เกิดจากการเรียนรู้ในรายวิชา และให้ผู้เรียนประเมินพัฒนาการของตนเองตามผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง เมื่อจบภาคเรียนที่ 2 และภาคเรียนที 3 และอาจารย์ที่ปรึกษาประเมินเชิงยืนยันอีกชั้นหนึ่ง นำผลการประเมินบันทึกไว้ใน E-Portfolio

    4.7 จัดระบบนิเทศภายในให้อาจารย์ผู้สอน รับทราบตรงกันเกี่ยวกับ (1) รายการ PLOs (2) จุดเน้นของหลักสูตร (3) แนวทางการจัดการเรียนการสอน และ (4) แนวทางการวัดผล-ประเมินผล และตัดสินผลการเรียนในระดับรายวิชา ทั้งนี้ มีการตกลงร่วมกันระหว่างอาจารย์ผู้สอน “ทุกคนจะต้องออกแบบการสอนแบบเน้น PLOs และปรากฏร่อยการการดำเนินงานในห้องเรียนออนไลน์(ในที่นี้ คือ Google Classroom ที่ใช้คู่ขนานกับการสอนในชั้นเรียนตามปกติ)…

    >>>จัดให้มีห้องเรียนออนไลน์เพื่อการนิเทศภายใน<<<

    4.8 จัดให้มีศูนย์กลางในการกำกับคุณภาพหลักสูตรในระบบออนไลน์ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องทุกคน สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ตลอดเวลา

    >>> ศูนย์กำกับคุณภาพหลักสูตร ป.บัณฑิต(ไทย) <<<


    5. ผลการดำเนินงานตามหลักสูตร

    4.1 ผลการดำเนินงานในเชิงปริมาณ

    การรับนักศึกษาในปีการศึกษา 2566 เนื่องจากผู้ที่จบปริญญาสาขาวิชาอื่นๆ ที่ได้เข้าสู่วิชาชีพครูอยู่แล้ว แต่ยังไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู อยู่ระหว่างการรอเข้ารับการอบรมจากคุรุสภา(คุรุสภา จัดให้มีการอบรมด้วยชุดโมดูล ในระบบออนไลน์ ซึ่งเริ่มเป็นปีแรกในปีการศึกษา 2566 ) ส่งผลให้มีผลกระทบต่อจำนวนนักศึกษาที่สมัครเข้าเรียนตามหลักสูตรนี้ ในภาคเรียนที่ 1 รับได้เพียง 3 หมู่เรียน (หมู่เรียนละ 30 คน) และสมัครเข้าเรียนในภาคเรียนที่สอง อีก 2 หมู่เรียน รวมทั้งสิ้น 150 คน ตามโควต้าที่ได้รับการอนุมัติจากคุรุสภา

    4.2 ผลการดำเนินงานในเชิงคุณภาพ

    4.2.1 Student’s E-Portfolio: ผลงานนักศึกษาที่สะท้อนคุณภาพการจัดการเรียนการสอน

    4.2.2 ผลการประเมิน: การบรรลุผลสำเร็จตาม PLOs

    Leave a Reply